เรื่องเล่าจากออสเตรเลีย (27.4)


NSW Health is a zero tolerance zone ที่ถือเป็นนโยบายของระบบบริการสุขภาพของรัฐที่จะลดความรุนแรงในโรงพยาบาล

        ตอนที่ดูงานที่โรงพยาบาลมะนิลลาได้อ่านบอร์ดความรู้ประชาสัมพันธ์พบโครงการเกี่ยวกับการรณรงค์และจัดการเพื่อความปลอดภัยในโรงพยาบาลชื่อ NSW Health is a zero tolerance zone ที่ถือเป็นนโยบายของระบบบริการสุขภาพของรัฐที่จะลดความรุนแรงในโรงพยาบาล โดยจะทำให้ทีมงานและผู้ป่วยได้ทำงานและได้รับการดูแลในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยทั้งจากความรุนแรงและคำพูดที่ไม่เหมาะสม

Zero tolerance เป็นเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยของทีมงานสุขภาพ ผู้ป่วย ญาติและผู้มาเยี่ยม ที่ทุกฝ่ายต้องช่วยให้เกิดขึ้นจริงในโรงพยาบาล เพื่อ

  1. ทุกคนในที่ทำงานหรือที่มาใช้บริการในระบบริการสุขภาพของรัฐทั้งเจ้าหน้าที่ ผู้ป่วย ญาติและผู้มาเยี่ยมมีสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยส่วนบุคคล
  2. กระตุ้นเตือนให้เกิดความปลอดภัย NSW Health จึงได้กำหนดนโยบาย zero tolerance ขึ้นเพื่อจัดการกับความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นแก่ใครคนใดคนหนึ่งขณะมารับบริการหรือเมื่ออกไปรับหรือให้บริการในชุมชน
  3. การกระทำที่เป็นการคุกคาม ความผิดพลาดหรือความรุนแรงทางร่างกายจากใครก็ตามจะไม่ได้รับอนุญาตให้เกิดขึ้นในพื้นที่ของเราและในทุกวิถีทาง
  4. การตอบสนองต่างๆจะเกิดขึ้นทันทีหากเกิดความรุนแรงขึ้น รวมทั้งการให้บริการทางการแพทย์อย่างเหมาะสม มีการตักเตือนอย่างเป็นทางการ การใช้บริการของระบบรักษาความปลอดภัย หรือการเรียกตำรวจและการเสียค่าปรับ
  5. เตรียมความพร้อมที่จะหยุดความรุนแรงก่อนที่มันจะเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามหากมันเกิดขึ้นก็จะมีการกระทำอย่างทันทีทันใด อย่างเหมาะสมเพื่อที่จะลดผลเสียของมันและลดโอกาสที่จะเกิดซ้ำอีก

เพื่อให้นโยบายนี้ประสบผลสำเร็จ เจ้าหน้าที่ทุกคนหรือผู้ใช้บริการของสถานบริการจะต้องมีบทบาทร่วมกันในการลดความเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรงขึ้น ดังนี้

เจ้าหน้าที่ (Health staff)

  1. ให้เกียรติผู้อื่นโดยที่ผู้ป่วย ญาติ และเจ้าหน้าที่ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติอย่างมีศักดิ์ศรี ได้รับการเคารพ และต้องปลอดจากความรุนแรงโดยเจ้าหน้าที่จะต้องเป็นตัวหลักในการป้องกันความรุนแรง
  2. ปฏิบัติตามสัญญาณเตือนเพราะการป้องกันเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการจัดการความรุนแรง
  3. รู้และปฏิบัติตามข้อแนะนำ ต้องรู้วิธีจัดการและลดความรุนแรง เรียนรู้แนวทางที่กำหนดไว้และปฏิบัติตาม เข้าร่วมในกิจกรรมฝึกอบรมเพื่อลดความรุนแรงเพราะเป็นทางที่จะช่วยป้องกันตนเอง ผู้ป่วยและญาติ
  4. รายงานเหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อพบปัญหาที่ไม่ได้รับการรายงานอย่าเก็บเอาไว้ ทุกเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความรุนแรงจะถูกสืบค้นหาสาเหตุและวางแผนป้องกันแก้ไขอย่างเหมาะสม

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับเจ้าหน้าที่ในการจัดการกับความรุนแรงสามารถดูได้ใน NSW Health Publication Zero tolerance-NSW Health response to violence in the Public Health Systems, Policy & Framework Guidelines

ผู้ป่วยและญาติ (Patients &visitors)

  1. ให้เกียรติและรับฟังผู้อื่น มีสิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติอย่างสมศักดิ์ศรี ได้รับการเคารพและได้รับการดูแลอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย แต่ต้องเคารพสิทธิของเจ้าหน้าที่ ครอบครัว ผู้ป่วยและญาติคนอื่นๆด้วย
  2. มีการยับยั้งข่มใจโดยผู้ป่วยและญาติต้องไม่ละเมิด คุกคามหรือทำให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นๆมีความเสี่ยงที่จะได้รับความรุนแรงในสถานบริการทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
  3. ไม่ทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่น ไม่ทำสิ่งที่ทำให้เจ้าหน้าที่เกิดความลำบากในการให้บริการแก่คุณและคนที่คุณรัก

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ดูได้จาก NSW Health Publication You and Your Health Service

ผู้บริหาร (Manager)
  1. ทำให้ทุกคนมีความพร้อม สร้างความมั่นใจว่าทีมงานรู้วิธีเผชิญกับความรุนแรง
  2. ทำให้เจ้าหน้าที่รายงานเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น จัดระบบการรายงานให้ง่ายจนสร้างเป็นวัฒนธรรมการรายงาน
  3. สืบค้นหาสาเหตุอุบัติการณ์ความรุนแรงทุกเรื่อง เพื่อช่วยสร้างความมั่นใจได้ว่ากลยุทธ์ในการป้องกันความรุนแรงทำได้จริงและปรับปรุงให้ดีขึ้นได้เมื่อจำเป็น

ผู้บริหารควรศึกษาแนวทางของNSW Health ที่กำหนดและจัดพิมพ์ไว้เพื่อให้การนำ Zero tolerance ไปใช้ประสบความสำเร็จ โดยศึกษาจาก

-         NSW Health Security Manual

-         Workplace Health & Safety : A Better Practice Guide (C2001/22)

-         Joint Management & Employee Association Policy Statement on Bullying, Harassment & Discrimination (C2001/109)

-         Effective Incidence Response : A Framework for prevention & Management in the Health Workplace (C2001/19)

เอกสารเหล่านี้สามารถดูได้ที่ www.health,nsw.gov.au

            การก้าวเดินไปตามแนวทางของzero tolerance เพื่อเป็นการตอบสนองต่อจำนวนของอุบัติการณ์คามรุนแรงที่เกิดขึ้นในNSW Public Health System นั้นทาง NSW Minister for Health โดยกลุ่มงานPrevention & Management of Violence in the Health Workplace ได้นำแนวทางของzero tolerance มาใช้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2001 โดยใช้เป็นข้อเสนอแนะหลักของกลุ่มงาน จัดโครงการริเริ่มเช่นจัดทำโปสเตอร์ติดที่ห้องฉุกเฉิน จุดรับผู้ป่วย จัดทำคู่มือ Design series Health Facility Guideline Security & Safety ในการออกแบบสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย การจัดทำแนวทางเพื่อส่งเสริมสุขภาพ วิจัยและจัดโครงการฝึกอบรมในการทำงาน

                จะเห็นว่า ออสเตรเลียเขาคำนึงถึงความปลอดภัยในโรงพยาบาล ก็เหมือนกับบ้านเราที่กรมอนามัยได้นำเอามาตรฐานที่ทำงานน่าอยู่น่าทำงานมาใช้แต่ให้โรงงานหรือหน่วยงานต่างๆนำไปใช้และมีการประเมินออกเป็นระดับทอง ระดับเงินและระดับทองแดง แต่ไม่ได้บังคับใช้กับสถานบริการหรือหน่วยงานทางสาธารณสุขโดยให้เป็นความสมัครใจเท่านั้น ทั้งๆที่หน่วยงานทางสาธารณสุขควรเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องความปลอดภัยในที่ทำงาน เกณฑ์ของการประเมินHealthy Workplace มี 4 หมวดคือสะอาด ปลอดภัย สิ่งแวดล้อมดี มีชีวิตชีวา เดิมเป็น สะอาด ปลอดภัย ไร้มลพิษ มีชีวิตชีวา ในส่วนของโรงพยาบาลบ้านตากเองได้รับการประเมินเป็นระดับทอง มา 3 ปีแล้ว
หมายเลขบันทึก: 10831เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2005 09:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท