HNQA


Hospital Network Quality Audit

       HNQA เป็นชื่อย่อมาจากHospital Network Quality Audit เป็นระบบการรับรองมาตรฐานโรงพยาบาลที่สำนักพัฒนาระบบริการสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เป็นผู้คิดริเริ่มขึ้น โดยการสนับสนุนของนายแพทย์ชาญวิทย์ ทระเทพ ผู้อำนวยการสำนัก มีที่ปรึกษาคืออาจารย์ชูชาติ วิรเศรณี

      จากการที่กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้การกำหนดมาตรฐานบริการสาธารณสุข พิมพ์แจกโรงพยาบาลต่างๆ(เล่มสีม่วง) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่มองในมุมของผู้รับบริการ ทางสำนักพัฒนาระบบฯจึงได้พยายามคิดระบบการประเมินผลออกมา เป็นลักษณะของการประกันคุณภาพให้แก่ลูกค้าหรือผู้มารับบริการ

       การดำเนินงานตามมาตรฐานนี้ โรงพยาบาลต้องกำหนดสิ่งส่งมอบ (Service specification)แก่ลูกค้า ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า (Customer requirement) โดยต้องมีจุดคุณภาพ (Quality point)อย่างเหมาะสมตรงใจลูกค้า และเพื่อให้สามารถส่งมอบบริการที่มีคุณภาพตรงตามจุดคุณภาพได้หน่วยงานจึงต้องกำหนดวิธีการบริการที่เหมาะสม (Service procedure) ในทุกจุดสัมผัสบริการ(Service interface) ในการพัฒนาคุณภาพเพื่อการประกันคุณภาพ(QA)นี้ให้ใช้หลักการStandardizationของ TQM ประกอบด้วย

1. Documentation การทำให้เป็นลายลักษณ์อักษร หลังจากมีเหตุการณ์หรือข้อบกพร่องขึ้นแล้วให้ทำการแก้ไขข้อบกพร่อง(Correction) ทำการแก้ไขสาเหตุข้อบกพร่อง (Corrective action)และทำการแก้ไขป้องกันสาเหตุของข้อบกพร่อง (Preventive action) เมื่อได้วิธีการที่เหมาะสมก็เอามาทำเป็นลายลักษณ์อักษร

2. Training นำไปฝึกอบรมสรางความเข้าใจให้ปฏิบัติได้

3. Motivation จูงใจให้ปฏิบัติตามเอกสารที่กำหนด

4. Monitoring มีการติดตามผลดูเป็นระยะๆ ว่าเป็นไปตามที่กำหนดไว้หรือไม่

5. Review มีการทบทวนเอกสารเป็นระยะๆ อย่างน้อยทุก 1 ปี

        ในการส่งมอบบริการให้ลูกค้านั้นต้องมองให้ครอบคลุมทั้งบริการส่วนบุคคล (Individual service)เช่นทำคลอด ตรวจผู้ป่วยนอก ผ่าตัดคนไข้ หรือบริการกลุ่มคน (Mass service) เช่นให้สุขศึกษารายกลุ่ม หรือบริการสังคม (Social service) เช่นการหยอดวัคซีนโปลิโอ การปฏิบัติตามจรรยายวิชาชีพ โดยในบริการเหล่านี้โรงพยาบาลต้องจัดให้องค์ประกอบของบริการได้คุณภาพทั้งหมด คือ

1.  Personalized service หัตถการ การดูแลและพฤติกรรมบริการ

2. Mechanize service เครื่องมือ อาคารสถานที่ที่ให้บริการแล้วไม่ได้ให้ผู้ป่วยไปด้วย เช่นห้องพัก เตียงนอน ผ้าห่ม ครุภัณฑ์การแพทย์

3. Product content in service อุปกรณ์การให้บริการที่ให้ผู้ป่วยไปด้วยเช่นยา ไหมเย็บแผล อาหาร น้ำดื่ม

        ในการเข้าร่วมการพัฒนาและการประเมินนั้นจะต้องสมัครที่สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ในหนึ่งจังหวัดจะทำเป็นเครือข่ายประมาณ 6 โรงพยาบาลเป็นอย่างน้อย มีการให้ผู้อำนวยการและหัวหน้างานที่เกี่ยวข้อง(ประมาณ5-6หน่วยงาน) ไปอบรม ก่อนแล้วจึงมาทำเป็นเครือข่าย ในแต่ละปีจะมีกดารประกวด TQM Best Practice ด้วย ทีมผู้ประเมินจะเป็นทีมของสำนักพัฒนาระบบบริการที่มีกรรมการบางส่วนมาจากโรงพยาบาลหลายแห่งและมีอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด

คำสำคัญ (Tags): #kmกับคุณภาพ
หมายเลขบันทึก: 10756เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2005 11:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 08:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท