สรุปผลการศึกษาค้นคว้าเรื่องโครงการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายด้วยกิจกรรมกีฬาฟุตบอล


นักเรียน

 

ศึกษา :  เรื่องโครงการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายด้วยกิจกรรมกีฬาฟุตบอล พ40201 (สาระเพิ่มเติม) ของนักเรียนโรงเรียนบ้านกร่างวิทยาคม  อ.เมือง  จ.พิษณุโลก  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2550 
ครูผู้สอนวิชาพลศึกษา ต้องการทราบว่านักเรียนชายและหญิง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2  จำนวน 29 คน เป็นชาย 19 คน เป็นหญิง 10 คน และนักเรียนชายที่เข้าร่วมโครงการฯ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1-4 จำนวน 29 คน มีสมรรถภาพทางร่างกายอยู่ในระดับใด โดยทำการทดสอบครั้งที่ 1 ในเดือน พฤษภาคม 2550ก่อนการเรียนและก่อนการฝึกฟุตบอล  และทดสอบครั้งที่สอง ในเดือนกันยายน 2550 หลังการเรียนและหลังการฝึก โดยใช้แบบทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายมาตรฐานระหว่างประเทศ (International Committee for the Standardization of Physical Fitness มีชื่อย่อว่า (ICSPFT)   แบบทดสอบนี้มุ่งเน้นถึง ความเร็ว พลัง ความแข็งแรง ความอดทน  ความคล่องแคล่วว่องไว  และความอ่อนตัว  ซึ่งมีทั้งหมด รายการ   ผู้จัดทำได้ทำการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายของนักเรียนทุกคน  ทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายทั้ง 8 รายการ ซึ่งประกอบด้วย  วิ่ง 50 เมตร, ยืนกระโดดไกล, แรงบีบมือ, ลุก-นั่ง ใน 30 วินาที, ดึงข้อ  ชาย  งอแขนห้อยตัว หญิง, วิ่งเก็บของ, งอตัวไปข้างหน้า, วิ่งระยะไกล  ชาย 1,000 เมตร, หญิง 800 เมตร   

ความมุ่งหมายในการศึกษาค้นคว้า

                เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบน้ำหนัก ส่วนสูง ดัชนีมวลกาย  สมรรถภาพทางกายของนักเรียน และสร้างเกณฑ์สมรรถภาพทางกายของนักเรียน จากการเรียนวิชาฟุตบอล พ 40201 (สาระเพิ่มเติม)   และจากการฝึกกีฬาฟุตบอล

สรุปผลการศึกษาค้นคว้าเรื่องโครงการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายด้วยกิจกรรมกีฬาฟุตบอล พ40201 (สาระเพิ่มเติม) ของนักเรียนโรงเรียนบ้านกร่างวิทยาคม อ.เมือง จ.พิษณุโลก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 

                จากการศึกษาพบว่า 

1.  ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของนักเรียนชาย  ก่อนและหลังการเรียนวิชาฟุตบอล พ 40201

 (สาระเพิ่มเติม)  มีดังนี้ 

                        1.1 ค่าเฉลี่ยน้ำหนัก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 58.30  และ 59.35  ตามลำดับ 

                        1.2 ค่าเฉลี่ยส่วนสูง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.69  และ 1.71  ตามลำดับ 

                        1.3 ค่าเฉลี่ย ค่าดัชนีมวลกาย  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 20.35  และ 20.51  ตามลำดับ 

                        1.4 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของน้ำหนัก เท่ากับ 13.44 และ 12.36 ตามลำดับ 

                        1.5 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานส่วนสูง เท่ากับ 0.05  และ 0.05  ตามลำดับ 

                        1.6 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าดัชนีมวลกาย เท่ากับ 4.44 และ 3.92  ตามลำดับ 

                        1.7 ทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติ ที (t-test dependent) กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พบว่า น้ำหนัก ส่วนสูง มีความแตกต่างกัน  และค่าดัชนีมวลกาย ไม่แตกต่างกัน

2.  ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของนักเรียนหญิง  ก่อนและหลังการเรียนวิชาฟุตบอล พ 40201 (สาระเพิ่มเติม)   มีดังนี้ 

                        2.1 ค่าเฉลี่ยน้ำหนัก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 52.10  และ 53.10  ตามลำดับ 

                        2.2 ค่าเฉลี่ยส่วนสูง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.58  และ 1.59  ตามลำดับ 

                        2.3 ค่าเฉลี่ย ค่าดัชนีมวลกาย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 20.77  และ 20.77  ตามลำดับ 

                        2.4 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของน้ำหนัก เท่ากับ 10.39 และ 8.37 ตามลำดับ 

                        2.5 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของส่วนสูง เท่ากับ 0.03  และ 0.03  ตามลำดับ 

                        2.6 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของค่าดัชนีมวลกาย เท่ากับ 3.97 และ 2.80  ตามลำดับ 

                        2.7 ทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติ ที (t-test dependent) กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  พบว่า น้ำหนัก ส่วนสูง และค่าดัชนีมวลกาย ไม่มีความแตกต่างกัน

                3.  ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย 8 รายการ  ของนักเรียนชาย  ที่เรียนรายวิชาฟุตบอล พ 40201

                (สาระเพิ่มเติม)   มีดังนี้ 

        3.1 ก่อนการเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.47, 8.44, 214.84, 21.47, 10.94, 17.78, 4.6 และ42.45

ตามลำดับ และหลังการเรียน  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.01, 8.18, 223.10, 24.63, 10.62, 20.57, 6.31 และ43.97  ตามลำดับ 

                        3.2 ก่อนการเรียนมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ  0.69, 0.91, 23.71, 3.70, 0.63, 4.90, 2.79 และ7.52  ตามลำดับ  และหลังการเรียน เท่ากับ 0.80, 0.86, 5.33, 4.08, 0.68, 6.93, 3.35 และ7.33   ตามลำดับ 

                        3.3 ทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติ ที (t-test dependent) กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พบว่า ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย มีความแตกต่างกัน ทุกรายการ

4.  ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย 8 รายการ  ของนักเรียนหญิง  การเรียนวิชาฟุตบอล พ 40201

               (สาระเพิ่มเติม)   มีดังนี้ 

                        4.1 ก่อนการเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.43, 11.57, 145.90, 11.30, 13.23, 13.10, 2.88 และ24.90  ตามลำดับ และหลังการเรียน  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.98, 10.87, 151.50, 13.30, 12.90, 15.60, 3.48 และ26.60  ตามลำดับ 

                        4.2 ก่อนการเรียนมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  เท่ากับ  0.31, 1.19, 16.89, 1.94, 0.87, 6.43, 1.73 และ4.19  ตามลำดับ  และหลังการเรียน เท่ากับ 0.23, 0.77, 15.99, 2.62, 0.95, 2.21, 2.09  และ4.59   ตามลำดับ 

                        4.3 ทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติ ที (t-test dependent) กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พบว่า ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย มีความแตกต่างกัน ทุกรายการ

5.   เกณฑ์สมรรถภาพทางกายของนักเรียนชาย ที่เรียนรายวิชาฟุตบอล พ 40201 (สาระเพิ่มเติม)  มีดังนี้

                        5.1 วิ่ง 1,000 เมตร  มีเกณฑ์ดังนี้  ดีมาก คะแนนที สูงกว่า 68 ,  ดี คะแนนที 60-68 ,  ปานกลาง คะแนนที 41-59 , ต่ำ คะแนนที 32-40   และต่ำมาก คะแนนที  น้อยกว่า 32

                        5.2 วิ่ง 50 เมตร มีเกณฑ์ดังนี้   ดีมาก คะแนนที สูงกว่า 64 ,  ดี  คะแนนที 58-64 ,  ปานกลาง คะแนนที  43-57 , ต่ำ คะแนนที 36-42   และต่ำมาก คะแนนที น้อยกว่า 36

                        5.3 ยืนกระโดดไกล มีเกณฑ์ดังนี้  ดีมาก  คะแนนที สูงกว่า 66 ,  ดี คะแนนที  59-66 ,  ปานกลาง คะแนนที  42-58 , ต่ำ คะแนนที  34-41  และต่ำมาก คะแนนที  น้อยกว่า 34

                        5.4 ลุก-นั่ง  มีเกณฑ์ดังนี้  ดีมาก ดีมาก คะแนนที สูงกว่า 64,  ดี  คะแนนที  58-64, ปานกลาง คะแนนที  43-57 , ต่ำ คะแนนที 36-42  และต่ำมาก คะแนนที น้อยกว่า 36

                        5.5 วิ่งเก็บของ มีเกณฑ์ดังนี้  ดีมาก คะแนนที สูงกว่า 66,  ดี คะแนนที  59-66,  ปานกลาง คะแนนที  42-58 ,  ต่ำ คะแนนที  34-41 และต่ำมาก คะแนนที  น้อยกว่า 34

                        5.6 นั่งงอตัวไปข้างหน้า  มีเกณฑ์ดังนี้  ดีมาก คะแนนที  สูงกว่า 68,  ดี  คะแนนที 60-68,  ปานกลาง คะแนนที  41-59,  ต่ำ  คะแนนที  32-40  และต่ำมาก คะแนนที  น้อยกว่า 32

                        5.7 ดึงข้อ มีเกณฑ์ดังนี้  ดีมาก คะแนนที  สูงกว่า 68,  ดี  คะแนนที 60-68,  ปานกลาง คะแนนที  41-59,  ต่ำ คะแนนที  32-40  และต่ำมาก คะแนนที  น้อยกว่า 32

                        5.8 แรงบีบมือ  มีเกณฑ์ดังนี้  ดีมาก คะแนนที  สูงกว่า 68,  ดี  คะแนนที 60-68,  ปานกลาง คะแนนที  41-59,  ต่ำ คะแนนที  32-40  และต่ำมาก คะแนนที  น้อยกว่า 32

6.  เกณฑ์สมรรถภาพทางกายของนักเรียนหญิง ที่เรียนรายวิชาฟุตบอล พ 40201(สาระเพิ่มเติม)  มีดังนี้

6.1 วิ่ง 1,000 เมตร  มีเกณฑ์ดังนี้  ดีมาก คะแนนที สูงกว่า 60,  ดี คะแนนที  56-60,  ปานกลาง 

คะแนนที 45-55, ต่ำ คะแนนที 40-44  และต่ำมาก  คะแนนที  น้อยกว่า 40

                        6.2 วิ่ง 50 เมตร  มีเกณฑ์ดังนี้  ดีมาก คะแนนที สูงกว่า 64, ดี  คะแนนที 58-64, ปานกลาง คะแนนที  43-57,  ต่ำ คะแนนที 36-42  และต่ำมาก คะแนนที น้อยกว่า 36

                        6.3 ยืนกระโดดไกล มีเกณฑ์ดังนี้  ดีมาก  คะแนนที สูงกว่า 66,  ดี คะแนนที  59-66,  ปานกลาง คะแนนที  42-58,  ต่ำคะแนนที  34-41 และต่ำมาก คะแนนที  น้อยกว่า 34

                        6.4 ลุก-นั่ง  มีเกณฑ์ดังนี้  ดีมาก คะแนนที  สูงกว่า 62,  ดี คะแนนที57-62,  ปานกลาง คะแนนที  44-56,  ต่ำ คะแนนที  38-43  และต่ำมาก คะแนนที  น้อยกว่า 38

                        6.5 วิ่งเก็บของ มีเกณฑ์ดังนี้  ดีมาก คะแนนที  สูงกว่า 62,  ดี คะแนนที 57-62,  ปานกลาง คะแนนที  44-56,  ต่ำ คะแนนที  38-43  และต่ำมาก คะแนนที  น้อยกว่า 38

                        6.6 นั่งงอตัวไปข้างหน้า  มีเกณฑ์ดังนี้  ดีมาก คะแนนที  สูงกว่า 62,  ดี คะแนนที 57-62,  ปานกลาง คะแนนที  44-56,  ต่ำ คะแนนที  38-43  และต่ำมาก คะแนนที  น้อยกว่า 38

                        6.7 งอแขนห้อยตัว  มีเกณฑ์ดังนี้  ดีมาก คะแนนที  สูงกว่า 62,  ดี คะแนนที57-62,  ปานกลาง คะแนนที  44-56,  ต่ำ คะแนนที  38-43  และต่ำมาก คะแนนที  น้อยกว่า 38

                        6.8 แรงบีบมือ มีเกณฑ์ดังนี้  ดีมาก คะแนนที  สูงกว่า 62,  ดี คะแนนที57-62,  ปานกลาง คะแนนที  44-56,  ต่ำ คะแนนที  38-43  และต่ำมาก คะแนนที  น้อยกว่า 38

7.  ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของนักเรียนชาย  ก่อนและหลังการฝึกตามโครงการเสริมสร้าง

สมรรถภาพทางกายด้วยกิจกรรมกีฬาฟุตบอล มีดังนี้ 

                        7.1 ค่าเฉลี่ยน้ำหนัก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 48.51  และ 51.48  ตามลำดับ 

                        7.2 ค่าเฉลี่ยส่วนสูง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.58  และ 1.60  ตามลำดับ 

                        7.3 ค่าเฉลี่ย ค่าดัชนีมวลกาย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 19.25  และ 20.01  ตามลำดับ 

                        7.4 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของน้ำหนัก เท่ากับ 10.65 และ 9.08 ตามลำดับ 

                        7.5 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของส่วนสูง เท่ากับ 0.12  และ 0.11  ตามลำดับ 

                        7.6 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของค่าดัชนีมวลกาย เท่ากับ 19.25 และ 20.01  ตามลำดับ 

                        7.7 ทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติ ที (t-test dependent) กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พบว่า น้ำหนัก ส่วนสูง และค่าดัชนีมวลกาย  มีความแตกต่างกัน 

8.  ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย 8 รายการ  ของนักเรียนชาย  การฝึกตามโครงการเสริมสร้าง

               สมรรถภาพทางกายด้วยกิจกรรมกีฬาฟุตบอล มีดังนี้ 

                         8.1 ก่อนการฝึก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.62, 8.60, 184.65, 20.62, 10.89, 16.75, 3.65 และ31.31 ตามลำดับ และหลังการฝึก  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.32, 8.18, 189.79, 22.44, 10.49, 18.96, 5.00 และ32.77  ตามลำดับ 

                         8.2 ก่อนการฝึก มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ  1.36, 1.09, 27.02, 3.96,  0.91, 5.78, 2.55 และ9.05  ตามลำดับ  และหลังการฝึก เท่ากับ 1.24, 0.95, 27.69, 3.74, 0.18, 5.81, 2.39 และ8.86   ตามลำดับ 

                         8.3 ทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติ ที (t-test dependent) กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พบว่า ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย มีความแตกต่างกัน ทุกรายการ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #นักเรียน
หมายเลขบันทึก: 107355เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2007 18:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 13:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท