การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลตาคลี


การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานต้องยึด ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางในการดูแลแบบองค์รวม

แผนกผู้ป่วยนอก

     โรงพยาบาลตาคลีมีคลินิกเบาหวานทุกวันอังคารและพฤหัสบดีจะมีนัดคนไข้เบาหวานครั้งละ ๙๐-๑๒๐ คน ตอนเช้าประมาณตี ๔ กว่าๆ คนไข้จะมาถึงโรงพยาบาลเพื่อรอคิวเจาะเลือด ๖ โมงเช้าเจ้าหน้าที่จะรับสมุดพร้อมรับคิว ๗ โมงเช้า เจาะเลือด เจาะเสร็จมีข้าวต้ม น้ำสมุนไพร น้ำเต้าหู้ที่ทางโรงพยาบาลจัดเตรียมไว้ ระหว่างรอผลเลือดมีการชั่งน้ำหนัก วัดสัญญาณชีพ กายบริหารให้ผู้ป่วยขยับร่างกายเคลื่อนไหวสนุกสนาน ประมาณ ๙ โมงคนไข้ลุ้นผลสอบ (น้ำตาล) ผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลสูงจะถูกเชิญมาเข้ากลุ่มเพื่อร่วมกันหาสาเหตุและแนวทางในการดูแลตนเองจากการทำกลุ่มหลายครั้ง พบว่าผู้ป่วยรายหนึ่งเพศชายอายุ ๔๕ ปี ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาล ได้ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาล ๒๘๐-๓๕๐ mg/dl  ผู้เล่าได้ให้คำปรึกษารายบุคคล ผู้ป่วยให้ข้อมูลว่าควบคุมอาหารแล้ว กินและฉีดยาตรงเวลา ทำตามคำแนะนำทุกอย่างจากการพูดคุยผู้ป่วยน่าจะสามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ เมื่อผู้ป่วยมาตรวจครั้งต่อมาพบว่าระดับน้ำตาลก็ยังสูง วันนี้ผู้เล่าพบว่าผู้ป่วยคุยกันโดยไม่ต้องเน้นหาสาเหตุของการเกิดระดับน้ำตาลสูง ผู้ป่วยได้พูดคุยเรื่องต่างๆ จนได้ข้อมูลว่าผู้ป่วยมีอาชีพขับรถสิบล้อเวลากลางคืนต้องดื่มกาแฟกระป๋องและเครื่องดื่มชูกำลังเป็นประจำ และไม่สามารถฉีดยาได้สม่ำเสมอเช้า-เย็นตามที่แพทย์สั่ง ผู้เล่าจึงต้องประสานแพทย์เพื่อการพยาบาลรักษาผู้ป่วยรายนี้ให้ตรงตามวิถีชีวิตของผู้ป่วย พบว่าระดับน้ำตาลผู้ป่วยลดลงเรื่อยๆ ในเวลา ๒ เดือนระดับน้ำตาลลดลงเฉลี่ยเหลือ ๑๘๐ mg/dl และมีแนวโน้มจะลดลงเรื่อยๆ ผู้ป่วยมีความสุขมากขึ้น ไม่เครียดว่าน้ำตาลในเลือดสูง มีความภาคภูมิใจที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ผู้เล่าประสบเหตุการณ์เช่นนี้จนทำให้ได้คิดว่าการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานต้องยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางในการดูแลแบบองค์รวม คำนึงถึงวิถีชีวิตของผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายในการดูแลตนเอง

ชุมชน

     โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ผู้ป่วยต้องรักษาตลอดชีวิต ผู้ป่วยมักมีความเบื่อหน่ายท้อแท้กับการที่ต้องควบคุมอาหารและการกินยาและฉีดยาทำให้เกิดความเครียด ส่งผลให้ไม่สามารถปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างต่อเนื่อง จากประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานพบว่าครอบครัวและชุมชนมีผลต่อการดูแลตนเองของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก อาจจะเนื่องจากผู้ป่วยมีชีวิตส่วนใหญ่อยู่ที่บ้านกับครอบครัว และในชุมชนการที่ควบคุมเบาหวานให้ได้ดีจะต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชนที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ โรงพยาบาลตาคลีจึงจัดทำโครงการจัดตั้งชมรมผู้ป่วยเบาหวานประจำหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดการสร้างกลุ่มสนับสนุนทางสังคมในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและครอบครัวได้รับความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับโรคเบาหวาน มีการจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานในชุมชนและมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนทุก ๒ เดือนเพื่อให้เกิดกลุ่มสนับสนุนทางสังคมและเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกในชมรมโดยใช้กระบวนการกลุ่ม ผลการดำเนินงานพบว่าเมื่อผู้ป่วยและครอบครัวเข้าร่วมกิจกรรมทำให้ผู้ป่วยมีความรู้และควบคุมตนเองได้ดีขึ้น สมาชิกในครอบครัวใหการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยได้ถูกต้องเหมาะสมมากขึ้น ผู้ป่วยมีกำลังใจมากขึ้น ทั้งจากกลุ่มผู้ป่วยด้วยกันเองและจากครอบครัว ความเครียดลดลง และมีเป้าหมายร่วมกันระหว่างสมาชิกในกลุ่มเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

เล่าเรื่องโดย: คุณจริยา เพ็งมีศรี

                  พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลตาคลี

หมายเลขบันทึก: 10713เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2005 10:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

ดิฉันอยู่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดนครพนม มีความชนใจในการจัดกิจกรรมกลุ่มในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน มีผู้ป่วยเบาหวานจำนวนมาก1500รายต่อประชากร 70000ราย มีการจัดกิจกรรมกลุ่มทุกวัน อังคารและวันพุธ จำนวน50-70 ราย

 ดฺฉันจึ่งอยากเรียนถามการดูแลผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพ ในด้านการจัดกลุ่มและการดูแลทั่วไป

หวังว่าจะได้รับคำแนะนำจากคุณขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

ผมอยากได้การดูแลตัวเอง แบบสมบรูณ์ว่าการดูแลตัวเองของเบาหวาน คทอ ผมเองเป็นโรคเบาหวานและไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย เพิ่งมารู้ว่าเป็นเมื่อ 2-3 เดือนที่ผ่านมา ตอนแรกๆๆก็รับไม่ได้ว่าเป็น แต่ทำไงได้เป็นแล้วนิครับ ผมอายุ 19 ปี รักษาอยู่ใน จ.นนท ผมฉีดอินซุลีน เช้าเย็น เช้า 30 เย็น 16 หมอให้ฉีด ตอนแรกๆๆ ผมไม่ฉีด เพราะผมเบื่อผมเจ็บที่ต้องฉีดทุกวัน ๆ [หน้าเบื่อหน่ายนะ] ผมเลยอยากได้ความรู้เพิ่มเติมอ่ะครับ ส่งมาให้ที หรืออยากได้คำแนะนำอ่ะครับ msn:[email protected] เมลผมครับ หรือโทรมาคุยได้ 0851808908 หรือ 0890103698 ผมอยากมีความรู้ใหม่ๆๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท