ประสบการณ์ 3 วันกับโดโรธี แม็คเคลน (2)


แบบฝึกหัดแรกนี้ใช้เปิดประตูเข้าสู่ภายใน เธอใช้ชื่อว่า "Doorway Exercise" เป็นวิธีการที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อกับภายใน (Inner Connection) ซึ่งต้องทำให้ได้ก่อนที่คิดจะไปเชื่อมต่อกับ Nature พูดง่ายๆ ก็คือต้องหา "God ภายใน" ให้เจอเสียก่อน ก่อนที่จะไปหา "God ภายนอก" วิธีการที่เธอแนะนำก็ตรงไปตรงมา ฟังดูง่ายๆ แต่จะได้ผลเป็นอย่างไรก็คงต้องลองฝึกดูเองครับ

คุณโดโรธี พูดเสมอว่า ประสบการณ์ที่ได้ในแต่ละคนนั้นไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน เพราะคนแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน  แต่ละคนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สิ่งที่ได้ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน

   ถ่ายรูปคู่กับคุณโดโรธี                                              บรรยากาศระหว่างการบรรยาย

    

..ในตอนแรกผมได้สรุปไว้ประเด็นไว้แล้ว 5 ข้อ ในตอนนี้จะขอสรุปต่ออีก 5 ประเด็น ดังนี้:


 (6) ผมถามเธอว่า สารที่เธอได้รับนั้นออกมาเป็นคำพูดเป็นคำๆ เลยหรือ  ......ซึ่งคำตอบที่ได้ก็คือ .... มันเป็นความกระจ่าง เป็นการหยั่งรู้ (intuition) ที่ผุดบังเกิดขึ้นมาในใจ ... ตรงกับคำที่ผมใช้ในการแปลหนังสือ Osho ว่า "ปัญญาญาณ"  นั่นเอง  โดยที่เธอต้องเอา "ถ้อยคำภาษา" มาใช้อธิบายสิ่งที่เธอได้รับนั้น


 (7) คุณโดโรธี  ย้ำอยู่เสมอเรื่อง "Wholeness" และ "Inner Presence"  ซึ่งหลังจากที่ได้พูดคุยกับเธอ ทำให้ผมได้เข้าใจว่า Wholeness นี้มาจากการที่เรา "มีสติ" อยู่ในทุกการกระทำของเรานั่นเอง เรียกว่าเป็นพลังที่ได้จากการมีชีวิตอยู่กับ "ปัจจุบันขณะ"


 (8) เธอพยายามเน้นว่า สิ่งที่ทำอยู่นี้ เป็นเรื่อง "การไหลของพลัง (Flow of  Power)"  ที่พวกเราจะต้องพยายาม Harmonize กับจิตวิญญาณ หรือ ปัญญา (Intelligent) ของธรรมชาติให้ได้


 (9) เธอได้นำพวกเราฝึกปฏิบัติ  แบบฝึกหัดแรกนี้ใช้เปิดประตูเข้าสู่ภายใน เธอใช้ชื่อว่า "Doorway Exercise"  เป็นวิธีการที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อกับภายใน (Inner Connection) ซึ่งต้องทำให้ได้ก่อนที่คิดจะไปเชื่อมต่อกับ Nature  พูดง่ายๆ ก็คือต้องหา "God ภายใน" ให้เจอเสียก่อน  ก่อนที่จะไปหา "God ภายนอก"  วิธีการที่เธอแนะนำก็ตรงไปตรงมา  ฟังดูง่ายๆ  แต่จะได้ผลเป็นอย่างไรก็คงต้องลองฝึกดูเองครับ คำแนะนำของเธอก็คือ....


...ให้หลับตาทำเหมือนกับว่ากำลังจะเข้าสมาธิ.... ให้นั่งนิ่งๆ คิดถึงช่วงเวลาที่เรารู้สึกว่าตัวเรานั้นใหญ่กว่าปกติ หลังจากนั้นให้เราคิดถึงช่วงเวลาที่สวยงาม  เป็นช่วงเวลาแห่งความประทับใจ ซาบซึ้งใจในความสวยงามนั้น  หลังจากนั้นให้นึกถึงคนที่เรารัก  พยายามจับความรู้สึกดีๆ นี้ให้ได้  เสร็จแล้วเธอก็ถามพวกเราว่า ในความรู้สึกที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ มีอะไรที่คล้ายคลึงกันบ้าง มีอะไรบ้างที่เป็น "จุดร่วม"  มันทำให้เรารู้สึกถึงส่วนไหนในร่างกาย ให้พยายามจับความรู้สึกนี้ให้ได้ เพื่อว่าเวลาที่เราต้องการจะเข้าไปสัมผัสกับ "God ภายใน"  จะได้ใช้ตรงนี้เป็นทางผ่าน หรือ เป็น "Doorway" นั่นเอง

 (10) หลังจากที่ทุกคนได้ลองทำแบบฝึกหัดข้างต้น (ตามข้อ 9) แล้ว เธอได้ขอให้ทุกคนเขียนบันทึกสั้นๆ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ที่ได้รับในช่วงเวลานั้น  เสร็จแล้วให้จับกลุ่ม 3 คน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน  ผู้ฟังจะต้องช่วยจับส่วนที่เป็นความรู้สึก (Sensation)  ร่วมที่เกิดขึ้นจากความทรงจำทั้งใน 3 กรณีนี้ด้วย


 ...เป็นอย่างไรบ้างครับ ลองทำตามคำแนะนำของคุณโดโรธีดู ...ได้ผลเป็นอย่างไรอย่าลืม Share ให้ฟังบ้าง ผมจะ Share ความรู้สึกของผมให้ฟังในครั้งหน้า วันนี้ขอแค่นี้ก่อนนะครับ ...สวัสดี

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 10672เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2005 13:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ใช้เวลาอยู่กับการค้นหาความสุขอยู่หลายอัน แต่ละอันยังไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง สรุปว่าการให้คิดถึงช่วงเวลาที่มีความสุข น้ำไม่ผ่านน่ะค่ะ จะลองคิดถึงสิ่งที่สวยงามดูคงดีกว่า

นึกถึงความตาย ทำไงดี
พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ตอบคำถามที่ว่า "คนเราทุกคนย่อมรู้ว่าความตายเป็นของธรรมดาที่จะหลักเลี่ยงไม่พ้น ถึงกระนั้น ก็ไม่วายที่จะหวาดกลัวความตาย อะไรเป็นเหตุทำให้คนหวาดกลัวความตาย ?"

พุทธดำรัสตอบ “.....บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความกำหนัดยินดี... ชอบใจ.... รักใคร่.... กระหาย.... เร่าร้อน มีตัณหาในกามทั้งหลายยังไม่หมดสิ้น ครั้นโรคาพาธเจ็บไข้หนักอย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องผู้นั้นเข้า ผู้นั้นก็มีความวิตกอย่างนี้ว่า กายทั้งหลายซึ่งเป็นของรักจักละเราไปเสีย แลเราก็จักละกาย ทั้งหลายซึ่งเป็นที่รักไปหนอ ดังนี้.... เขาย่อมเศร้าโศกลำบากพิไรตรีอกคร่ำครวญ... บุคคลนี้แล.. ย่อมกลัวต่อความตาย ถึงความสะดุ้งต่อความตาย
“.....บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความกำหนัดยินดี... พอใจรักใคร่....ในกาย ครั้นโรคาพาธหนักอย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องผู้นั้นเข้า ผู้นั้นก็มีความวิตกอย่างนี้ว่า กายทั้งหลายซึ่งเป็นของรักจักละเราไปเสีย แลเราก็จักละกาย ทั้งหลายซึ่งเป็นที่รักไปหนอ ดังนี้.... เขาย่อมเศร้าโศกลำบากพิไรตรีอกคร่ำครวญ... บุคคลนี้แล.. ย่อมกลัวต่อความตาย ถึงความสะดุ้งต่อความตาย
“.....บุคคลบางคนในโลกนี้ มีกรรมงามดีไม่ได้ทำไว้แล้ว มีกุศลไม่ได้ทำไว้แล้ว มีกรรมซึ่งจะเป็นที่พึ่งของคนขลาดไม่ได้ทำไว้แล้ว มีบาปได้ทำไว้แล้วมีกรรมของคนละโมบได้ทำไว้แล้ว มีกรรมหยาบได้ทำไว้แล้ว ครั้นโรคาพาธหนักอย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องผู้นั้นเข้า ผู้นั้นก็มีความวิตกอย่างนี้ว่า
กรรมงามดีไม่ได้ทำไว้แล้ว..... ผู้มีกุศลไม่ได้ทำไว้แล้ว มีกรรมเป็นบาปอันได้ทำไว้แล้ว มีประมาณเพียงใด ตัวเราจะละโลกนี้ไปสู่คติมีประมาณเท่านั้น ดังนี้.... เขาย่อมเศร้าโศกลำบากพิไรตรีอกคร่ำครวญ... ถึงความสะดุ้งต่อความตาย
“.....บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความเคลือบแคลง... สงสัย ถึงความแน่ใจในพระสัทธรรม ครั้นโรคาพาธหนักอย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องผู้นั้นเข้า ผู้นั้นก็มีความวิตกอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีความเคลือบแคลง... สงสัย ถึงความแน่ใจในพระสัทธรรมแล้ว ดังนี้.... เขาย่อมเศร้าโศกลำบากพิไรตรีอกคร่ำครวญ... บุคคลนี้แล.. กลัวต่อความตาย สะดุ้งต่อความตาย

 

โยธาชีวรรค จ. อํ. (๑๘๔)
ตบ. ๒๑ : ๒๓๕-๒๓๘ ตท. ๒๑ : ๒๐๑-๒๐๓

ตอนที่นึกถึงความตาย ไม่ได้ตื่นกลัวกับมัน แต่คิดว่าที่เมื่อให้หลับตาแล้วคิดถึงความสุข ความสวยงาม ความยิ่งใหญ่ จิตใต้สำนึกหรือทัศนคติต่อความตายส่วนตัวแล้วคิดว่าเป็นการพ้นจากทุกข์....และคิดว่าทำไมเราถึงไม่มีช่วงแห่งความสุขให้ได้คิดถึงมันบ้าง

เรีรยนคุณน้ำ  ด้วยความเคารพ

 

ก่อนตาย ต้องใช้ สติครับ

ทำจิตให้ว่าง

การนึกแต่ความสุข  เป็นการใช้ความคิด  และ เป็นความคิดที่ผสมกับจิต

ขอแนะนำด้วยความเคารพว่า  ควรใช้สติ เข้าไปแยก ให้จิตเขาว่างๆ

รับรู้ สภาวะตาย บนความเป็นจริง

มีสติ   เอาสติไปทำงานแทนจิต    

อย่าให้ จิต กับ ความคิด  รวมตัวกันเด็ดขาดนะครับ

ขอให้โชคดีครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท