การพัฒนาวิธีเรียนที่หลากหลายและเชื่อมโยง


ตอบโจทน์ในใจผู้เรียน พัฒนาวิธีเรียน

การดำเนินงาน ยุทธศาสตร์ที่ 2 “ ตอบโจทย์ในใจผู้เรียน”

โดย ดร . ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ ผอ. กลุ่มพัฒนา กศน.

แนวคิดยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาวิธีเรียนที่หลากหลายและเชื่อมโยง

“ ตอ บโจทย์ในใจผู้เรียน”

      เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ที่หลากหลายรูปแบบ มีเนื้อหาสาระของหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการ สามารถพัฒนาความรู้และเพิ่มพูนศักยภาพของตนเอง ตลอดจนสามารถได้รับบริการการศึกษาจากหน่วยงานพันธมิตรต่าง ๆ ของแต่ละชุมชนทั่วประเทศ อีกทั้งผู้เรียนสามารถนำผลจากการเรียนรู้ไปเทียบโอนเข้าสู่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อยก

ระดับการศึกษาของผู้เรียนได้ ซึ่งมีแนวทางการดำเนินงานดังนี้

ก . พัฒนาหลักสูตรและมาตรฐานการศึกษานอกโรงเรียน

การปฏิรูปการเรียนการสอนการศึกษานอกโรงเรียน ตามแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษา นอกโรงเรียน เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายยุทธศาสตร์การพัฒนาคน และสังคมที่ดีที่กำหนดไว้ใน แผนการบริหารราชการที่ดี ซึ่งมุ่งหมายที่จะเพิ่มระยะเวลาที่คนไทยพึงได้รับการศึกษา เฉลี่ย 9.5 ปี และร้อยละ 50 ของประชากรกำลังแรงงานได้รับการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปนั้น หากจะดำเนินการโดยแนวคิดและวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียนเท่าที่เคยปฏิบัติมา จะไม่สามารถตอบสนองตามแนวทางการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริง ดังนั้น จึงควรจะได้มีการปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานจัดการศึกษาตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียนให้มีความยืดหยุ่นคล่องตัวตอบสนองความต้องการการเรียนรู้ได้กว้างขวางขึ้น ในขณะเดียวกันจะต้องมีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนขึ้นใหม่ ภายใต้กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 โดยเน้นการจัดสาระการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพชีวิตและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายประชากรกำลังแรงงาน

วิธีการ

(1) พัฒนาหลักสูตรและมาตรฐานการศึกษานอกโรงเรียน และปรับหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานใหม่ โดยยึดมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 แต่ปรับโครงสร้างหลักสูตรและเนื้อหาสาระการเรียนรู้ใหม่ตามสภาพชีวิตของกลุ่มเป้าหมายประชากรกำลังแรงงาน ( อายุ 15 – 59 ปี) ได้แก่ แรงงานในสถานประกอบการ เกษตรกรแม่บ้าน เยาวชนนอกระบบโรงเรียน ผู้นำชุมชน ผู้สูงอายุ ฯลฯ โดยมุ่งตอบสนองความต้องการการเรียนรู้และการนำไปใช้ประโยชน์

(2) พัฒนาแนวปฏิบัติการจัดการศึกษาตามหลักเกณฑ์ และวิธีการเดิม เพื่อส่งต่อกลุ่ม

เป้าหมายเดิม โดยเน้นความคล่องตัวในการดำเนินงาน

(3) พัฒนาหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน ให้มีความหลากหลายตอบสนองนโยบายของรัฐบาล เช่น การแปลงสินทรัพย์เป็นทุน กองทุนหมู่บ้าน ฯลฯ เพื่อเป็นทางเลือกในการเรียนรู้ แต่สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่มาตรฐานการเรียนรู้ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานได้
(4) พัฒนาเครื่องมือประเมิน– วิเคราะห์ความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับหลักสูตร การศึกษา ขั้นพื้นฐาน สำหรับหลักสูตรต่าง ๆ
(5) พัฒนาครูและผู้บริหารในเรื่องการพัฒนาหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้
(6) จัดให้มีระบบคลังหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน

ข . พัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนการศึกษานอกโรงเรียน
     
กลุ่มเป้าหมายประชากรกำลังแรงงาน ช่วงอายุ 15 – 59 ปี เป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของประเทศ มีลักษณะเฉพาะของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งแตกต่างกัน เช่น แรงงานในสถานประกอบการ แรงงานรับจ้าง เกษตรกร เยาวชน ผู้นำชุมชน ฯลฯ กลุ่มเป้าหมายเหล่านี้มีวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย ดังนั้น การจัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวจึงต้องมีความหลากหลาย ยืดหยุ่น และเอื้อให้ผู้เรียนใช้ศึกษาภายในการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่

วิธีการ

(1) กำหนดให้ผู้เรียน สามารถลงทะเบียนเรียนที่สถานศึกษาที่สนใจจะเรียน และเข้าสู่ระบบการแนะแนว เพื่อวิเคราะห์ความถนัด ความสามารถ การเรียนรู้นำไปสู่การจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล
(2) จัดให้มีระบบแนะแนวการศึกษานอกโรงเรียน โดยผู้เรียนสามารถเลือกเรียนด้วยวิธีเรียนใด ก็ได้ตามความสนใจ และความเหมาะสมกับความสามารถในการเรียนรู้ทั้งการเรียนในห้องเรียน การเรียนจากสื่อทางไกล การเรียนจากสื่อเอกสาร – โมดุล ฯลฯ ผู้เรียนจะมีสมุดบันทึกจากการเรียนรู้ที่ได้เรียนจากสถานศึกษาหรือแหล่ง เรียนรู้ต่างๆ ในขณะเดียวกันสถานศึกษาก็จะมีโปรแกรมบันทึกผลการเรียนของผู้เรียนด้วย ซึ่งสามารถเชื่อมโยงข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลกลาง
(3) จัดให้มีระบบครูพี่เลี้ยง ( Mentor) โดยพัฒนาบทบาทของครูการศึกษานอกโรงเรียนให้สามารถช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จาก วิธีการที่หลากหลายจากหลากหลายสถานศึกษาหรือแหล่งเรียนรู้จนสามารถเรียนจบหลักสูตร ในขณะเดียวกันสถานศึกษาสามารถจัดหาครูผู้เชี่ยวชาญเข้ามาสอน หรือประสานกับองค์กรพันธมิตรในการจัดการศึกษาได้ด้วย
(4) จัดให้มีระบบการวัดผล ประเมินผลที่มีความเที่ยงตรง สามารถประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร โดยเน้นการจัดให้มีระบบคลังข้อสอบที่เชื่อมโยงฐานข้อมูลด้วยข้อสอบกลางไปสู่เครือข่ายที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนหรือศูนย์การประเมินต่าง ๆ มีผู้เรียนสามารถเข้ามาทดสอบได้ตลอดเวลา
(5) จัดให้มีระบบการบริหารหลักสูตร โดยให้ความสำคัญกับการจัดทำระบบหลักฐานการศึกษาที่เป็นปัจจุบันและสามารถบันทึกข้อมูลของผู้เรียนได้เป็นรายบุคคล

ค . พัฒนาสื่อและแหล่งการเรียนรู้เพื่อการศึกษาตลอดชีวิต
      การจัดการศึกษานอกโรงเรียนที่หลักสูตรและวิธีการเรียนมีความหลากหลาย ผู้เรียนซึ่งเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ นอกจากจะมีครูคอยช่วยเหลือ แนะแนวการเรียนแล้ว สื่อยังมีความสำคัญต่อการเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง และเมื่อสังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ที่เทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการเรียนรู้และสื่อมีความหลากหลายมากขึ้น การบริหารจัดการสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ สำหรับกลุ่มเป้าหมายประชากรกำลังแรงงานที่ได้รับการศึกษานอกโรงเรียนที่มีความเหมาะสมกับสภาพ และความต้องการการเรียนรู้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยในการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีการ
     
  (1) พัฒนาระบบการเทียบโอนผลการเรียน ความรู้ และประสบการณ์ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน โดยมีตัวบ่งชี้และเกณฑ์ที่มีความเที่ยงตรง ความเชื่อถือ สำหรับใช้ในกระบวนการของการเทียบโอนต่าง ๆ
     (2) พัฒนาระบบการสะสมผลการเรียน ที่ผู้เรียนจะมีสมุดบันทึกผลการเรียน ตั้งแต่การขึ้นทะเบียนเป็นผู้เรียน และเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลกลาง
     (3) พัฒนาบุคลากรผู้ดำเนินการเทียบโอน ให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีคุณภาพ มีมาตรฐาน
จ . ประกันคุณภาพการศึกษานอกโรงเรียน
     การจัดการศึกษานอกโรงเรียนให้แก่ประชากรกำลังแรงงานในรูปแบบวิธีการและหลักสูตรที่หลากหลาย โดยให้อิสระแก่ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดความต้องการการเรียนของตนเองได้อย่างยืดหยุ่นนั้น แม้จะยึดกรอบมาตรฐานของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นแกนกลางก็ตาม ในการจัดการศึกษาก็จำเป็น จะต้องมีการควบคุมคุณภาพการจัดการศึกษาและประกันคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งใช้สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนและหน่วยงานเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา

วิธีการ

(1) พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการจัดการศึกษานอกโรงเรียน ให้ได้ตามมาตรฐานของหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนและมาตรฐานการศึกษาของชาติ
(2) พัฒนาระบบผู้ตรวจการศึกษา (Inspector) ให้ทำหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบให้การรับรองคุณภาพการจัดการศึกษาและมาตรฐานหลักสูตรของสถานศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ
(3) พัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษานอกโรงเรียน (NT – กศน.) ที่ใช้สำหรับกลุ่มเป้าหมายการศึกษานอกโรงเรียนและสัมพันธ์กับระบบ O – NET ของประเทศ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 10659เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2005 09:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 10:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท