KM สัญจรกับภาวะผู้นำ


ทุกคนเป็น "ผู้นำ" ได้

จากกิจกรรม KM สัญจร เมื่อวันที่ 5-7 ก.ค. ที่ผ่านมา ทำให้ผู้เขียนได้เห็น "ภาวะผู้นำ" หรือ leadership อย่างชัดเจน จากที่เคยอ่านบทความ หนังสือมาพอสมควร แต่ก็ยังไม่เข้าใจ ยังสับสนระหว่าง ผู้นำโดยตำแหน่ง กับ ภาวะผู้นำ ผู้เขียนยอมรับว่ายังนึกภาพไม่ออกว่าคนที่ไม่ใช่ผู้นำโดยตำแหน่ง จะมีภาวะผู้นำได้อย่างไร   และผู้เขียนก็คาดหวังว่าผู้ร่วมทางจะได้ตระหนักถึงจุดนี้เช่นกัน

ภาวะผู้นำที่เกิดขึ้นใน KM สัญจร เห็นได้ชัดมากจากการที่เจ้าหน้าที่ของ สคส. จะเป็นผู้ที่ปรากฎตัวต่อสาธารณชนมากกว่าผู้บริหาร เริ่มตั้งแต่กล่าวต้อนรับ ชี้แจงภาพรวม ก็ทำโดยคนที่เป็นแกนหลักของกิจกรรมนี้ ต่อมาก็เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ที่จะไปเยี่ยมชม ตั้งแต่ จ.สุพรรณบุรี  จ.นครสวรรค์  จ.ตาก  จ.พิจิตร  จ.พิษณุโลก   ตลอดจนการดูแลปากท้องของผู้เข้าร่วม ดูแลอุปกรณ์เครื่องใช้ให้พร้อมใช้อยู่เสมอ ฯลฯ    ซึ่งตรงส่วนนี้เองที่ผู้เขียนเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนกับองค์กรอื่นๆ ที่เจ้าหน้าที่มีหน้าที่เพียงเตรียมทุกอย่างไว้ให้แล้วกลับไปเก็บเนื้อเก็บตัวอยู่เบื้องหลัง  ให้ผู้นำโดยตำแหน่งโซโล่อยู่คนเดียว และก็มีผู้ทรงคุณวุฒิให้ความเห็นว่าการร่วมเดินทางครั้งนี้รู้สึกแปลกใจที่ หมอวิจารณ์ (ผอ. สคส.) ไม่ต้องทำอะไรเลย   ซึ่งจริงๆ แล้วผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรงน่าจะเป็นผู้ที่รู้และเข้าใจงานได้มากที่สุด การถ่ายทอดจากคนที่คลุกคลีย่อมจะดีกว่า แต่ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมหน่วยงานหลายๆ หน่วยงานจึงยังไม่เปิดโอกาสให้บุคลากรของตนได้ฝึกฝนการนำเสนอ การพูดต่อสาธารณะ  และผู้เขียนก็เชื่อว่ายังมีอีกหลายหน่วยงานที่มองข้ามการให้โอกาสแก่บุคลากรของตน ทั้งๆ ที่พวกเขามีศักยภาพมากพอที่จะเป็น "ผู้นำ" ได้เช่นกัน

คมขำ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1060เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2005 07:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท