โครงสร้างของความจำ : SM,STM,LTM


SM,STM,และ LTM เป็นองค์ประกอบของโครงสร้างของความจำ

ดูความสัมพันธ์ข้างล่างนี้

(ก) : (1)สิ่งเร้า----(2)(กิจกรรมของนิวโรน)----(3)(ความรู้สึก:จิต)----(4)(พฤติกรรม)

ความจำการรู้สึกสัมผัส(SM), ความจำระยะสั้น(Short-Term Memory:STM), และ ความจำระยะยาว (Long-Term Memory:LTM), เป็ระบบย่อยสามระบบ  รวมกันเป็นโครงสร้างของความจำ(Memory Structure)  ดังนั้นสามระบบนี้จึงเป็นองค์ประกอบ(Components)ของโครงสร้างของความจำ องค์ประกอบและโครงสร้างดังกล่าวนี้คือส่วนที่(2)และ(3)ของ(ก)ข้างบนนี้  และการที่นักจิตวิทยาศึกษาค้นคว้าในส่วนที่(2)&(3) นี้เองที่เรียกกันว่า Cognitive Psychology  หรือ จิตวิทยาความรู้(บางทีเรียกว่า จิตวิทยาปัญญา)  ซึ่งเริ่มศึกษากันมาตั้งแต่ราวๆ ค.ศ. 1885 เป็นต้นมา และซบเซาลงไปบ้างในช่วงปีราว 1913-1960 และรุ่งเรืองอย่างรวดเร็วนับแต่ปีราว 1960 เป็นต้นมา  และจะพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ  โครงสร้างของความจำอาจจะอธิบายสั้นๆให้เข้าใจง่ายได้ดังนี้

สิ่งเร้าที่เข้าเร้าทางตา(หรือทางหู,ทางจมูก,ทางลิ้น,ทางผิวหนัง)จะไปเกิดการรู้สึกสัมผัส(Sensation) ที่บริเวณการรู้สึกเห็น(Visual Cortex)ที่บริเวณท้ายทอย(ถ้าอวัยวะสัมผัสอื่นก็ไปเกิดการรู้สึกสัมผัสที่บริเวณอื่น)  สิ่งที่รู้สึกสัมผัสนั้นจะมีลักษณะเหมือนกับสิ่งที่เข้าไป คือถ้าเข้าทางตาก็จะรู้สึกเห็นเป็นภาพ  เข้าทางหูก็จะรู้สึกสัมผัสเป็นเสียง เป็นต้น  ถ้าสิ่งเร้าที่เข้าไปนั้นขณะนั้นยังคงอยู่ที่นั่นนานประมาณ 1 วินาที และยังไม่รู้ความหมาย  ก็เรียกว่า  ความจำการรู้สึกสัมผัส(SM) ปริมาณของสิ่งเร้าที่จะคงอยู่ได้ในระบบนี้มีประมาณ 4 หน่วย(ตัวอักษร,ตัวเลข,หรือคำสั้นๆ) ถ้าหากว่านานกว่านั้น  สิ่งที่เข้าไปนั้นก็จะเลือนหายไป  หรือ ลืม(Forgetting)

ถ้าต่อมา  ในช่วงเวลาราว 1 วินาทีนั้น  สิ่งที่เข้าไปนั้นได้รับความหมาย  การรู้สึกสัมผัสนั้นก็จะกลายไปเป็น  การรับรู้(Perception)  การรับรู้นี้  ถ้าไม่มีการทบทวน(Rehearsal)ก็จะคงอยู่ได้นานประมาณ 30 วินาที  นานกว่านั้นมันจะเลือนหายไป  เรียกว่า ลืม(Forgetting)  และการที่การรับรู้นี้ยังคงอยู่ได้นานราว 30 วินาทีนี้เอง เราจึงเรียกว่า  ความจำ  แต่ยังเป็นระยะสั้นๆอยู่  แต่นานกว่าในSM  สำหรับปริมาณของสิ่งเร้าที่สามารถจะยังคงอยู่ในระบบนี้ในช่วงราว 30 วินาทีก็มีประมาณ 7 หน่วย(เช่น 7 หน่วยตัวอักษร,หน่วยตัวเลข,หน่วยคำ,หน่วยกลุ่มคำร่วมความหมายหรือ Chunk)  นอกจากนี้  สิ่งที่จำในระบบนี้ก็เป็นทั้งภาพ,เสียง,และความหมาย  ซึ่งทั้งหมดนี้แตกต่างจากระบบSM  เราจึงได้เรียกระบบนี้ว่า  ความจำระยะสั้น(STM).

ถ้าเวลาผ่านไป  และสิ่งที่เข้าไปอยู่ใน STM ได้หายไปหมดแล้ว  แต่สามารถยังระลึกได้(Recall) แสดงว่ายังมีระบบความจำอีกระบบหนึ่ง  สำหรับเก็บความรู้ที่หายไปจากระบบ STM  เราเรียกความจำระบบนี้ว่า  ความจำระยะยาว(LTM)  ความจำในระบบนี้จำได้นานไม่จำกัดเวลา  และไม่จำกัดจำนวนสิ่งที่จำ  สิ่งที่จำไว้ได้ก็มีทั้งที่เป็นภาพ, เป๋นเสียง, และเป็นความหมาย.  ความรู้จากโลกภายนอกที่ได้จากการเรียนรู้และประสบการณ์จะถูกเก็บไว้ในระบบนี้

อนึ่ง มีความเป็นไปได้ว่า  ระดับสติปัญญาจะมีบทบาททำให้ความจุของ SM,STM,LTM, เปลี่ยนแปลงไปบ้าง  เช่น  คนที่มีระดับสติปัญญาตำ  อาจจะมีความจุน้อยกว่า 4 หน่วยใน SM  และน้อยกว่า 7 หน่วยใน STM  เป็นต้น  และคนที่ฉลาดสูงกว่าปรกติก็อาจจะมีความจำมากกว่า 7 หน่วยในSTM  เป็นต้น  แต่  ถึงแม้ว่าจะมากขึ้นหรือน้อยลง  ก็ไม่ทำให้เอกลักษณ์ของ SM,STM,LTM เปลี่ยนไป

ขอให้สังเกตว่า  โครงสร้างของความจำที่กล่าวมานี้ไม่ได้ระบุชัดเจนว่า  เป็นระบบของกิจกรรมของนิวโรน(ก)(2),  หรือระบบของจิต(ก)(3), แต่  แน่นอนทีเดียวว่า  ภาวสันนิษฐานของ SM,STM,และ LTM ก็คือ กิจกรรมของนิวโรนหรือกลุ่มนิวโรนในสมองของคน

เราเชื่อว่า  คนทุกคน  ทุกชาติ  ทุกภาษา  ในโลกนี้จะมีโครงสร้างของความจำดังที่กล่าวมา.

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 10594เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2005 23:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เพิ่งตระหนักว่านี่คือ บล็อก ของอาจารย์ครับ    ดีใจที่ได้พบเพื่อนเก่าใน บล็อก   สวัสดีปีใหม่ครับ

วิจารณ์

ขอบคุณมากคะอาจารย์ อ่านที่อาจารย์เขียนแล้วเข้าใจเรื่องการ Human Information Processing ได้เป็นอย่างดีทีเดียวคะ ดิฉันคงเขียนอย่างอาจารย์ไม่ได้คะ เพราะความรู้ด้านนี้ที่ดิฉันมียังไม่ลึกซึ้งมาก ส่วนใหญ่ก็จะประยุกต์ใช้เสียมากกว่าคะ :)

อันนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของการ  Information Chunking  คะ ผู้อ่านท่านอื่นมีตัวอย่างอีกไหมคะ จะได้มาต่อยอดความรู้ของ ดร.ไสว กันต่อคะ

และสำหรับท่านผู้อ่านและผู้เขียนที่สนใจเรื่อง Cognitive Psychology สามารถเข้าที่ชุมชน http://Cognition.gotoknow.org เช่นกันคะ

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

ผมพบหมอวิจารณ์จากภาพที่ gotoknow.org ตั้งแต่ผมเริ่มเข้าชมเว็บไซต์นี้ครั้งแรกแล้วครับ และเมื่อทราบว่า มอ.มีทีมที่มีศักย์ภาพสูงในการพัฒนา gotoknow.org ซึ่งนำโดย ดร.จันทวรรณ และ ดร.ธวัชชัยได้ล้ำหน้าประเทศเพื่อนบ้านอย่างเช่นเกาหลีใต้ได้ด้วยแล้ว ยิ่งรู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างมาก คิดว่าปีใหม่นี้ก็คงจะพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ  ผมขอถือโอกาสนี้สวัสดีปีใหม่กับทุกท่านครับ

ผมก็รู้สึกชื่นชมเช่นเดียวกับ ดร.จันทวรรณ ที่มีต่อ Dr.Miller เกี่ยวกับ Phrase อันลือลั่นของเขาคือ The magical number seven,plus or minus two ซึ่งเขาได้โยนเข้ามาในสังคมของมนุษย์ให้ได้สื่อสารกันตั้งแต่ปี 1956 และนำไปประยุกต์ใช้กันเพื่อให้จำได้ง่ายขึ้น เช่น เบอร์โทรศัพท์  เลขทะเบียนรถยนต์ เป็นต้น  ผมคิดว่า การค้นหาความรู้ใหม่ก็ยังต้องค้นกันต่อไป แต่เป้าหมายสุดท้ายก็คือ นำมันมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้เพื่อชีวิตที่ดีกว่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท