ประสบการณ์ในการบริหารองค์กร (๒)


ดร.อีดิธ นามประกาย KaiZen และ การทำงานทั้งกายและใจ

ประสบการณ์ในการบริหารองค์กร (๒)

 ดร.อีดิธ นามประกาย (โตโยต้า มุกดาหาร) ท่านเป็นชาวอังกฤษ และ จบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยลอนดอน และมาอยู่ประเทศไทยเป็นเวลานาน ปัจจุบัน เป็นผู้จัดการ "โตโยต้ามุกดาหาร ท่าน "เล่าประสบการณ์การทำงานกับคนไทยมากว่า ๒๐ ปี" โดยเน้นบทบาทของคนในการทำงาน ต้องมีการแข่งการให้บริการ โดยเฉพาะเอกชน เช่น โตโยต้า ต่างกับราชการไม่ค่อยมีคู่แข่ง เช่น ไปโรงพัก ไม่สามารถไปให้คนอื่นช่วยแทนได้ เอกชนต้อง ยิ้ม


            นโยบายของเอกชนทำอย่างไร ให้ลูกน้องมีความสุขในการทำงาน ทำเต็มที่

ข้อพิจารณา คือ
๑.  เงินเดือน
๒. ใจในการทำงาน เต็มใจมา มาทำงานเอาหัวใจมา ไม่ใช่มาแต่ตัวใจอยู่ที่บ้าน ยิ้ม แม้กระทั่งโทรศัพท์ (ไม่ต้องกลัวคนว่าผีบ้า ยิ้มขณะ โทรศัพท์ กับลูกค้า) ภาคราชการต้องมีความตั้งใจในการให้บริการสำหรับทั้งประชาชน และ หน่วงานย่อยภายใน ให้เกียรติหน่วยงานภายใน ทักทาย ไหว้ทุกคนในการทำงานให้เป็นเรื่องปกติ เกิดความร้สึกดีๆ ไห้แล้วต้องพูดทักทายกัน เริ่มต้นในการทำงานดีๆ
๓.  ลูกน้อง หากเรามี บางครั้งเราฐานะผู้นำไม่รู้งานเขา ต้องอาศัยคนที่ชำนาญกว่า ถ้าจะพัฒนางานต้อง คุยกับคนที่ทำงาน ต้องมีการจัดประชุม ต้องจำกัดเวลา ประชุมให้มีประสิทธิภาพ อย่าเกิน ๑ ชั่วโมง หากจะได้งานต้องมีการประชุมระหว่างแผนก ประชุมแบบ ฝรั่ง” คือ มาตรงเวลา มาพร้อมเพรียงกัน ดูนาฬิกาให้เป็น

  ในการประชุม เมื่อเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น ต้องแสดงออก ต้องกล้าพูด อย่านำไปพูดกันนอกห้อง เจ้านายต้องดึงความคิดจากลูกน้องให้ได้ ต้องมีนิสัยที่จะคิด วิเคราะห์

 ตัวอย่างที่บริษัทของอาจารย์ ช่างจะให้ความเห็น โดยเฉพาะ เรื่องความเห็น ต้องอาศัย “ผู้ชำนาญ คนทำงานจริง” ต้องแสดงความคิดเห็น ตัวอย่างที่ “โตโยต้า” ใช้ระบบ “Kaizen” มีอะไรที่ต้องพัฒาอย่างต่อเนื่อง สมัยอาจารย์เรียนปริญญาเอก ระบบคอมพิวเตอร์ ใช้แค่เลข 0 กับ 1 ปัจจุบันเปลี่ยนไป

 อีกตัวอย่าง คุณแม่ อายุ ๘๔ ปี ที่ประเทศอังกฤษ ยังเรียนอย่าต่อเนื่อง ไปเรียน “การอ่านปาก” “การวาดภาพ” เมืองนอกทุกคนเรียนอย่างต่อเนื่องไม่ใช่ จบเมื่อเรียนจบที่ ๒๕ ปี ดังนั้น Kaizen ต้องพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง จุดเล็ก หรือ จุดอะไรก็ได้ที่ไม่สะดวก ไม่ดี อยากปรับปรุง และ มีรางวัลเล็กๆมอบให้ แต่ละกลุ่มคิดไม่เหมือนกัน เช่น การพัฒนาการทำความสะอาด คิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นทีม การติดตามลูกค้า คิดเปรียบเทียบใครคิดดีกว่า เจ้านายเสริมให้เขามาพัฒนางาน โดยสรุป “ทำงานทั้งกายและใจ

๔.การวัดความเก่งในองค์กร เช่น แบบสอบถาม ตัวอย่าง การซ่อมรถ ถามลูกค้า ว่าใครซ่อมดี อีกวิธี ถามในองค์กร ใครมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

            ๔.๑. ต่อลูกค้า
            ๔.๒. คนในองค์กร
อาจนำมาให้รางวัลคนที่ดี และ เก่ง

 

JJ

หมายเลขบันทึก: 10590เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2005 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013 09:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท