เป็นกลาง
นาง วิลาวัณย์ เป็นกลาง อุ่นเรือน

ปฏิบัติการกวาดล้าง(UTI)การติดเชื้อในโรงพยาบาล ใครทำ


ไม่ร่วมไม่ได้ ไม่สำเร็จ

คุณเป็นใครไม่สำคัญ แต่เราเห็นคุณมีคุณค่าทุกหน่วยทุกพื้นที่กี่ตารางนิ้วที่ย่างก้าวคุณคือผู้หนึ่งที่ทำให้งานเราสำเร็จได้ถ้าประสานใจให้ความร่วมมือ

หมายเลขบันทึก: 105828เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2007 10:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (58)

ใครนะช่างหาญกล้ารู้จัก KM ดี

เปล่าเล้ย เราไม่เคยรู้เลยว่า KM คืออะไร

นึกในใจอาจารย์ตั้งใจพูดถึงKFC หรือเปล่าเนี่ย

Far คุณ ลิขิต คุณอะไรต่อมิอะไรเราไม่รู้เลย แต่พวกเราก็พัฒนา ปรับปรุงการทำงานร่วมกันกับแพทย์ อาจารย์แพทย์ที่ให้ความรู้ คำชี้แนะ พยาบาล พนักงานการแพทย์ คนงาน งานจ่ายกลาง  หน่วยควบคุมโรคติดเชื้อ และที่สำคัญหัวหน้างานบริการพยาบาลที่ท่านเห็นความสำคัญมุ่งมั่นพัฒนางานป้องกันการติดเชื้อมาเป็น10ปี จนวันนี้ทีมงานเข้มแข็งที่จะกวาดล้างไป  อย่างน้อยเราตั้งเป้าติดเชื้อ ไม่ถึงหนึ่ง ฮิๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

อยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับท่านผู้รู้ทั้งหลายที่ได้อบรมจนเชี่ยวชาญช่วยแนะนำตักเตือนชี้แนะด้วย

ขอบคุณค้า

เหนื่อยล้ากันบ้างไหม?

เหนื่อยใจบ้างไหมหนอ

เคยท้อกันหรือเปล่า

เคยก้าวแต่กลับถอย

ทำยังไงถึงสร้างอารามณ์ให้คงที่สร่างผลงานได้ต่อเนื่องตลอด

 

อยากรู้ว่าทำอยางไรให้แพทย์เห็นความสำคัญและมาร่วมมือค่ะ

เคยส่งคำถามPost เข้าไปใน ชุมชนนักปฏิบัติการCope อยู่ค่ะแต่ไม่ได้คำตอบเลย อยากรู้ว่าผ้าอนามัยที่ซึมซับได้ดีกว่ามีผลต่อการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะไหทคะ?

ก็สนใจเรื่องที่ป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลเหมือนกันค่ะเพราะเป็นward ศัลย เคยไปอ่านในKMMED ของคณะแพทย์ติดตามตลอดแต่ก็เข้ายากมากเหมือนกันมาอยู่ที่นีจจะได้หากันง่ายๆวันหลังจะมาแชร์ความรู้ค่ะ

เห็นว่าที่wardให้ทุกคนมีส่วนร่วมตั้งแต่แพทย์ถึงคนงาน อยากเห็นจังค่ะว่าหน้าตาเป็นอย่างไร ผลลัพท์ออกมาเป็นยังไง ชื่นชมค่ะเอามาลงให้ด้วยนะคะ จะติดตามค่ะ
เข้ามาใหม่ค่ะอยากเห็นการทำงานจังเลย  เดาว่าคงทำงานสนุกสนานไม่เช่นนั้นคงดึงคนมาทำงานร่วมกันไม่ได้   ยังไงก็ชื่นชมค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณพยาบาล และป้าอ้วน

เคยมาเฝ้าคุณแม่ที่ 3ข.ค่ะจำได้ไหมค่ะ  และที่เข้ามาอ่านจำได้ว่าคุณพยาบาลได้แนะนำให้รู้จักCope ของมหาลัยขอนแก่นสนใจมากๆค่ะที่สำคัญตอนมาเฝ้าคุณแม่ได้รับการรดูแลอย่างดี และที่ขอบคุณจนติดใจก็พี่คนงานเขาน่ารักมากค่ะ  เรื่องความสะอาด  สายนั่นสายนี่ช่วยดูแลนะคะ ดูยังไงก็บอกง่ายๆฟังสบาย ที่สำคัญจริงใจค่ะ พอดีคุณแม่ต้องสวนปัสสาวะทิ้งเป็นครั้งคราวนะคะตอนนี้ก็พยายามหาข้อมูลเคยโทรไท่ตึกด้วยค่ะได้รับคำแนะนำดีมาก แต่ก็อยากหาข้อมูลด้วยตนเองด้วย ดีใจค่ะที่เจอ ward ที่คุณแม่เคยอยู่ ป้าไพเตียง 12 ค่ะ

ขออนุญาตที่ถูกพาดพิง  ขอบคุณคุณนิภามากที่นึกถึง 3ข. 

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านค่ะคือเราอยากเห็นทุกระดับได้ทำงานร่วมกันแต่เราไม่ได้เปิดห้องพูดคุยกันบ่อยค่ะ ก็ใช้เครื่องมือสื่อสาร เพราะต่างคนต่างทำงาน  ก็วางแผนว่าผู้ป่วยและญาติต้องมีส่วนร่วมในการดูแล 100% ก็อยากทำอะไรอีกมากมายที่จะช่วยให้ผู้มารับบริการได้ประโยชน์เต็มที่ค่ะ

ถ้ามีทุนก็จะทำ 5 นาทีชีวีปลอดการติดเชื้อ เอาง่ายๆว่างั้นค่ะ แต่ป้าอ้วยต้องเป็นนางเอกนะขอบอก 55555 

ขอบคุณที่โทรมาให้เข้ามาอ่านเพื่อนก็กำลังKmเข้มแข็ง เรื่องUTI เหมือนนายแหละถ้าส่ง Full paper มาให้ก็ดีแลกเปลี่ยนกัน แต่ก็จะให้ โฮม เข้ามาแลกเปลี่ยนกับนายด้วย ขอบคุณมาก แล้วจะเข้ามาใหม่นะเพื่อน

เข้ามาเยี่ยชมกระทู้ของเพื่อน เราทำงานกับชุมชนที่ทำอยู่ก็มีบ้างที่เจอปัญหาพวกแม่บ้านที่ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะก็ปัสสาวะขัด  อือเรื่องทำความสะอาดสำคัญจริงเพราะคนที่ไม่รู้ก็ทำไม่ถูก  ที่ทำงานยังไม่เปลี่ยนจ้า ขอบคุณมากที่ทำให้เพื่อนได้พบกันทางนี้ เบอร์เดิมโทรได้ตลอด  มีอะไรดีๆก็บอกเพื่อนได้จ้า
  • เข้ามาทักทายครับ
  • ดูจากยอดผู้เข้าชม กับ  คอมเม้นท์ ไกล้เคียงกันเหลือเกิน ใช้เครื่อง IP เดียวกันหรือเปล่าครับ
  • เฉพาะผมก็เข้ามา 3 ครั้งแล้วครับ

 

เข้ามาเป็นกลุ่มมากๆ เพราะโทรเมือนแชทเลย เวสลาออกก็ออกไปเป็นกลุ่ม

 

 พอเพื่อนเขียนก็ตอบเลย

 

พี่ๆมาอีกที่ตอนนี้แหละพี่อยู่บ่ายใช่ใหม?มาคุยกันหน่อยเรื่องติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ   ทำไมไม่ใช้สบ่ทำความสะอาดทั้งหมดเลยหล่ะ หรือว่ามีปัญหาด้านเทคนิคช่วยตอบด้วย อ้อ ธีรพงษ์ที่จะนำเสนอจะไปฟังด้วย เพราะอยากรู้มากจ้ะ
หมู ส่งกำลังใจถึงพี่หมาย

พี่ต้อมเห็นภาพยายหมายแล้วจ้ะดีใจด้วยมากๆ  ที่ยายหมายทำได้เด้อ

เปรียบเทียบการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ ในผู้ป่วย ชายที่คาสายสวนปัสสาวะโดยใช้ น้ำยาทำความสะอาดและ การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์โดยใช้สบู่
หลักการและเหตุผล ผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ และผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือเอง(ไม่ได้คาสายสวนปัสสาวะ ) ถ้าไม่ได้รับการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์อย่างถูกต้อง มีโอกาสเกิดการติดเชื้อในโรงพยาบาลระบบทางเดินปัสสาวะได้ การใช้น้ำยาเซฟลอนทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ในผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ และผู้ป่วยที่ไม่ได้คาสายสวนปัสสาวะ(ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้) ที่ผ่านมา ทำให้เกิดอาการปลายPenis แห้ง ผิวหนังลอก และอาการคัน ผู้ป่วยไม่สุขสบาย นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิดการติดเชื้อจากความแข็งแรงของผิวหนังรอบๆอวัยวะสืบพันธ์ได้ลดลง ในผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้การเตรียมญาติที่ดูแลผู้ป่วยขณะกลับไปอยู่บ้านโดยใช้น้ำนาที่เหมาะสมจะสามารถป้องกันอาการระคายเคืองที่เกิดจาการใช้น้ำยาเซฟลอน ดังนั้นการใช้น้ำสบู่ที่ผู้ป่วยใช้อาบน้ำทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ นอกจากป้องกันการติดเชื้อในร่างกายยังทำให้ลดอาการเหล่านี้ได้

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการใช้น้ำยาทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ในผู้ป่วยโดยการใช้น้ำยาทั้งสองชนิด

วิธีการศึกษา แบ่งกลุ่มผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ (ไม่ได้คาสายสวนปัสสาวะ ) และมีผู้ป่วยที่มีญาติช่วยดูแลอย่างต่อเนื่อง 10 คน กำหนดให้กลุ่มนี้ได้รับการทำความสะอาดโดยใช้น้ำสบู่ถูตัวทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ กับกลุ่มที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้(ไม่ได้คาสายสวนปัสสาวะ) และใช้น้ำยาเซฟลอนทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ 10 คน , กลุ่มที่คาสายสวนปัสสาวะ(ได้รับการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์โดยใช้น้ำสบู่)10 คน , กลุ่มผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะที่ได้รับการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์โดยใช้น้ำยาทำความสะอาด10 คน ผู้ป่วยทั้ง 4 กลุ่มได้รับการสอนและติดตามประเมินผลการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์อย่างเป็นระบบ เก็บข้อมูลในช่วงเดือน มีนาคม ถึง เดือน เมษายน 2550 ติดตามการปฏิบัติของญาติโดยใช้แบบบันทึกการปฏิบัติการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ ในแต่ละวันโดยใช้น้ำสบู่ และชุดทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ ความพึงพอใจของผู้ป่วยด้านความสะอาด ความสบายหลังการใช้น้ำยาทำความสะอาด ด้านตัวบุคคลที่ต้องการให้ทำความสะอาดให้ ทำวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และอัตราการติดเชื้อครั้งต่อการใส่คาสายสวนปัสสาวะ 1000 วันนอนผลการศึกษา ญาติผู้ป่วยสามาถทำความสะอาดอวัยวะได้ถูกต้องทั้ง 4 กลุ่ม ด้านความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ ผู้ป่วยทั้ง4 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน แต่กลุ่มผู้ป่วยที่ใช้น้ำยาทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ปลาย penisจะแห้งและแสบร้อยละ 70 แต่กลุ่มที่ใช้น้ำสบู่ไม่พบปัญหาปลาย penis แห้ง และผู้ป่วยต้องการให้ญาติของตนเองทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์มากกว่าให้เจ้าหน้าที่ทำความสะอาดให้ร้อยละ 90 นอกจากนี้ไม่พบการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะทั้งสองกลุ่ม สรุปผลการศึกษา
ผู้ป่วยที่ใช้น้ำยาทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ทั้งสองชนิดไม่พบการติดเชื้อทั้งสองกลุ่ม ปัจจุบันในโรงพยาบาลมีการใช้น้ำยาทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์อย่างกว้างขวาง ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนมาใช้น้ำสบู่ในการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์แทนน้ำยาเซฟลอน จะช่วยป้องกันอาการระคายเคืองผิวหนัง ปลาย penis แห้งจากการใช้น้ำยาทำความสะอาด ซึ่งทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแสบ บ่งบอกถึงความอ่อนแอของชั้นผิวที่ปกป้องการติดเชื้อตามธรรมชาติ ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยมีความพึงพอใจที่ให้ญาติทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ให้มากกว่าบุคลากร ซึ่งคนไทยยังอายบุคคลอื่น ดังนั้นการติดตามการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ ซึ่งจะช่วยประเมินญาติในการช่วยป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้ ละยังเป็นการเตรียมผู้ป่วยเพื่อกลับไปดูแลที่บ้านอย่างมีคุณภาพ

เปรียบเทียบการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ ในผู้ป่วยหญิงโดยใช้ น้ำยาทำความสะอาดและ การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์โดยใช้สบู่


 

หลักการและเหตุผล ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือเองได้และที่ไม่ได้คาสายสวนปัสสาวะ ถ้าไม่ได้รับการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์อย่างถูกต้อง มีโอกาสเกิดการติดเชื้อในโรงพยาบาลระบบทางเดินปัสสาวะได้ การใช้น้ำยาเซฟลอนทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ที่ผ่านมาเป็นการทำความสะอาดโดยเจ้าหน้าที่ และญาติที่ได้รับการสอนอย่างเป็นระบบแต่ยังเกิดปัญหาคือ
ผิวหนังรอบๆแคมใหญ่ และแคมเล็กแดงจาการระคายเคือง ผู้ป่วยเกิดความไม่สุขสบาย และมีโอกาสติดเชื้อในโรงพยาบาลระบบทางเดินปัสสาวะจากผิวหนังบริเวณนี้อ่อนแอไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อตามธรรมชาติได้ และการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ด้วยน้ำยามีโอกาสเกิดการระคายระคายเคืองได้ นอกจากนี้ยังเป็นการเตรียมญาติที่ดูแลผู้ป่วยสำหรับกลับไปอยู่ที่บ้าน ดังนั้นการใช้น้ำสบู่ที่ผู้ป่วยใช้อาบน้ำทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์จะทำให้ลดอาการระคายเคืองและสามารถป้องกันการติดเชื้อได้เหล่านี้ได้

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการใช้น้ำยาทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ในผู้ป่วยโดยการใช้น้ำยาทั้งสองชนิด

วิธีการศึกษา แบ่งกลุ่มผู้ป่วยรู้สึกตัวดีแต่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เป็นผู้ป่วยที่มีญาติช่วยดูแลอย่างต่อเนื่อง 15 คน กำหนดให้กลุ่มนี้ได้รับการทำความสะอาดโดยใช้น้ำสบู่ถูตัวทำความสะอาด อวัยวะสืบพันธ์เช้าเย็น และทุกครั้งที่ถ่าย กับกลุ่มผู้ป่วยหญิงที่มีญาติดูแลอย่างต่อเนื่องใช้น้ำยาทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ เช้า เย็นและทุกครั้งที่ถ่าย โดยญาติทั้งสองกลุ่มจะได้รับการสอนและสาธิตและติดตามการปฏิบัติการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ทุกราย ในช่วงเดือน มีนาคม ถึง เดือน เมษายน 2550 โดยกำหนดให้ใช้น้ำยาทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ เช้าเย็นและทุกครั้งที่ถ่าย ประเมินผลโดยใช้แบบบันทึกการปฏิบัติการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ ในแต่ละวันโดยใช้น้ำสบู่ และชุดทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ ,ความพึงพอใจของผู้ป่วยด้านความสะอาด ความสบายหลังการใช้น้ำยาทำความสะอาด ด้านตัวบุคคลที่ต้องการให้ทำความสะอาดให้ ความพึงพอใจญาติในการทำความสะอาดผู้ป่วย ทำวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และอัตราการติดเชื้อครั้งต่อการใส่คาสายสวนปัสสาวะ 1000 วันนอนผลการศึกษา ญาติสามารถปฎิบัติได้ถูกต้องทั้ง 2 กลุ่ม และความสะอาดของการใช้น้ำยาทั้ง2กลุ่มไม่แตกต่างกัน ผู้ป่วยพึงพอใจในการให้ญาติของตนเองทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์มากกว่าให้เจ้าหน้าที่ทำความสะอาดให้ร้อยละ 100 ญาติมีความพึงพอใจในการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ ร้อยละ 70 นอกจากนี้ไม่พบการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะทั้งสองกลุ่ม สรุปผลการศึกษา
ผู้ป่วยที่ใช้น้ำยาทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ทั้งสองชนิดไม่พบการติดเชื้อทั้งสองกลุ่ม และผู้ป่วยมีความพึงพอใจที่ให้ญาติทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ให้มากกว่าบุคลากร ซึ่งคนไทยยังอายบุคคลอื่นที่เปิดเผยให้บุคคลอื่นเห็นละยังมีญาติผู้ป่วยที่คิดว่าเป็นหน้าที่ของบุคลากรในการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ ซึ่งการทำความเข้าใจในการเตรียมความพร้อมญาติในการดูแลผู้ป่วยเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้านเป็นบทบาทที่มีความสำคับทบาทหนึ่งของบุคลากรเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อในร่างกายของผู้ป่วย ดังนั้นการติดตามการปฏิบัติของญาติในการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ จะทำให้ญาติปฏิบัติได้ถูกต้องป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะและ ลดการใช้น้ำยาทำความสะอาด งบประมาณจัดซื้อได้

 

น้องผู้ช่วยพยาบาลที่สร้างสรรมาอยากแงปัน  กันเพราะเราเพิ่งเตาะแตะ

 

น้องไก่ และน้องพงษ์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

พี่น้อย นครสวรรค์

เข้ามาแชร์ค่ะ  งานประชุมICที่หัวหิน 2-6กค 2550 มีคนไปเยอะมาก  แล้วก็ชื่นชมทีมศรีนครินทร์จริงๆนะคะ เขาทำงานร่วมกันดีมาก  คือพี่อยากบอกว่าตอบเนื่อหาในงานตัวเองได้ดีค่ะ  พี่ไปดูเรื่องใช้ขวดน้ำเกลือมาบ้สน้ำลาย  ไอเดีย ดีค่ะ ขอให้กำลังใจ   อยากบอกทีมดาวกระจายว่า เข้า คอบของหนูไม่ได้คิดว่าสมาชิกเข้าไปชมมาก ไว้วันหลังพี่จะแวะมาให้กำลังใจค่ะ

ร่วมแจมค่ะ เรื่องการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเนี่ยเป็นปัยหาเดิมๆ แต่ถ้าร่วมมือกันจริงๆแก้ได้   ไอเดียดีนะพี่ วันหลังจะเข้ามายามใหม่เด้อ

อยากได้แบบประเมินการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ ค่ะ ที่พี่นำเสนอที่งานอุบัติใหม่ที่หัวหินค่ะ

 

หนูจะเข้ามาเเวะใหม่ค่ะ

วิลาวัณย์ อุ่นเรือน
ขณะนี้ cOp UTI ปฏิบัติการกวาดล้าง UTI COP ดาวกระจาย ได้ลงแบบประเมินการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ  Cath , non cathที่ Km ของคณะแพทยเข้าไป DOWN load ได้ค่ะ http://kmmed.ac.th
วิลาวัณย์ อุ่นเรือน

 

 เล่าเรื่องหลอดด้ายประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยชายค่ะ

 ผู้ป่วยชายที่ปัสสาวะราดเราใช้ condom  ถุงพลาสติก หรือ pampers ก็มีโอกาสอวัยวะเพศเปื่อย นี่คือปัญหาหนึ่งที่เราประสบค่ะ ทำให้พวกเราชาว 3ข. คิดว่าน่าจะมีอุปกรณ์ที่รองรับปัสสาวะได้ และอวัยวะเพศไม่เปื่อย อับ นะคะ ก็ลองใช้หลอดด้ายจักรอุตสาหกรรมสวมกับCondom ต่อกับ Urine bag เก็บปัสสาวะได้ค่ะลองนำไปใช้ดูนะคะ

ลองไปเยี่ยมชม cop ดาวกระจายปฏิบัติการกวาดล้าง UTI หอผู้ป่วย 3ข.ค่ะที่ http://kmmed.ac.th

วิลาวัณย์ อุ่นเรือน

เนื่องจากhttp//kmmed.ac.th ซึ่ง cop ดาวกระจาย  ปฏิบัติการกวาดล้าง uti เข้ายากค่ะ(ซับซ้อน)

กรุณาเข้าไปที่ Google.แล้วพิมพ์ uti 3ข นะคะ ไปประมาณหน้า 3-4  ก็จะพบคำว่า KM cop  uti  ดาวกระจายก็จะพบค่ะ

  (ชุมชนนักปฏิบัติการหลายกลุ่มมากค่ะ)

วันที่ 3/8/50 นี้ cop ดาวกระจายปฏิบัติการกวาดล้าง uti ได้รับคัดเลือกให้ไปร่วมแสดงผลงานที่อาคารบริการวิชาการลานน้ำพุ มหาวิทยาลัยขอนแก่น งาน Sho and Share 2007 เริ่มงาน 8.30-15.30 ค่ะ

เชิญชวนทุกท่านค่ะ

พวกเราดีใจมากค่ะที่งานนี้บรรดาแพทย์ พยาบาล พนักงานการแพทย์ ผู้ช่วยพยาบาล คนงาน และทีมหนุน เป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน

ต้องขอบพระคุรผุ้บริหาร และผู้นำ KM ของคณะแพทย์ อาจารย์นพ.สุรพล วีระศิริ  ที่ทำให้Cop คณะแพทยศาสตร์ มข.ตื่นเต้นตลอดค่ะ

เห็นพี่ๆเล่าเรื่องเล่าเร้าพลังวนที่ 3กันยายน ชอบมากค่ะหนุกหนานได้ สาระเห็นภาพพจน์หมดเลย เป็นกำลังใจให้ค่ะ
วิลาวัณย์ อุ่นเรือน

โครงการของดาวกระจายปฏิบัติการกวาดล้าง UTI มีโครงการของคนงาาน

1ปฏฺิิบัติตามข้อควรระวังขณะทำความสะอาดพื้น

2.ปฏิบัติตามข้อควรระวังด้านเสื้อผ้า และอุปกรณ์

3.ปฏิบัติตามข้อควรระวัง  ขยะ และความสะอาดของหอผุูป่วย

4การใช้ห้องน้ำ และล้างมือ

โครงการของผู้ช่วยพยาบาล

1ติดตามการทำความสะอาดอวัยวะเพศในผู้ป่วยชาย /หญิง

2การติดตามผู้ป่วยและญาตินการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์โดยการใช้น้ำสบู่(ผู้ป่วย ชาย/หญิง)

3ใช้Syring สะอาดในการถอดสายสวนปัสสาวะ

3.การดูแลตนเองของผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ

พนักงานการแพทย์

1การใช้น้ำยาอย่างมีประสิทธิภาพ

2การใช้สำลีอย่างมีประสิทธิภาพในการตวงน้ำปัสสาวะ

2การตรวจสอบอุปกรณ์ส่งนึ่งอย่างมีประสิทธิภาพ

พยาบาล 2โครงการ

1ติดตามการปฏิบัติของบุคลากร(รวมทั้งแพทย์ด้วย)ในการให้การพยาบาลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ

2.การล้างมือของบุคลากรในหอผู้ป่วย 3ข

 

ชื่นชมพี่คนงาน(ชุดสีน้ำเงินค่ะ)  พี่มีความสามารถจริงๆค่ะ   อยากให้พวกเรารวมตัวกันมากๆค่ะ  อย่างนี้ มข ก้าวไกลค่ะ

   ถึงพี่ชุดสีน้ำเงิน    ดาวกระจาย ถึงพี่จะพูดไม่ออก ในวันที่ 3 กันยายน  ไม่ท้อนะพี่  แต่ก็เก่งนะคะ  ทำงานเก่งพูดยังไม่เก่ง  ฝึกได้ค่ะพี่ เป็นกำลังใจให้ค่ะ   แล้วจะเข้าไปเยี่ยมดาวกระจายนะคะ
โครงการติดตามการใช้วัสดุทางการแพทย์ในการถอดสายสวนปัสสาวะ

โครงการติดตามการใช้วัสดุทางการแพทย์ในการถอดสายสวนปัสสาวะ

เจ้าของโครงการ : เจ้าหน้าที่หอผู้ป่วย 3ข.

ผู้รับผิดชอบโครงการ : นาง นัยนา ศรีสะอาด , นางสมพร สร้อยหิน , นาง จันทร์เพ็ญ ศิลาวิเศษ

นางอภิรญานี แก้วก่ำ , นางจุรีย์ ตระกูลธรรม , นายธีระพงษ์ หงอกสิมมา

นางมยุรี ไชยนอก

หลักการและเหตุผล :

โรงพยาบาลศรีนครินทร์ เป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิที่ให้การบริการประชากรครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือตอนล่าง และประเทศใกล้เคียง ซึ่งมีความเจ็บป่วยด้วยโรคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น หอผู้ป่วยศัลยกรรม 3ข. ให้การบริการผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาด้วยการผ่าตัดระบบประสาท ได้แก่หลอดเลือดสมอง เนื้องอกสมอง เส้นเลือดในสมองโป่งพองฯลฯ ระบบหัวใจ หลอดเลือดและทรวงอกได้แก่ โรคลิ้นหัวใจพิการ ตีบรั่ว โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เส้นเลือดในช่องอกช่องท้องโป่งพอง เนื้องอกที่อก ปอด มะเร็งปอด มะเร็งหลอดอาหารเป็นต้น ระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งลำไส้ เป็นต้น รวมทั้งการให้ยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยชาย - หญิง ทุกวัย รวมทั้งหมด 30 เตียงซึ่งในปี 2546 – 2548 มีผู้มาใช้บริการจำนวน 1,052 1,102 และ1,152 ราย ตามลำดับ ซึ่งผู้ป่วยที่ได้รับการใส่คาสายสวนปัสสาวะ ก่อนและหลังการผ่าตัด ดังนั้นการถอดสายสวนปัสสาวะสามารถการใช้กระบอกฉีดยาที่ใช้แล้วหลังผ่านการล้าง มาใช้ถอดสายสวนปัสสาวะออกได้ ซึ่งสามารถลดงบประมาณในการจัดซื้อกระบอกฉีดยาได้

วัตถุประสงค์

เพื่อให้แพทย์ หรือนักศึกษาแพทย์และเจ้าหน้าที่ได้ตระหนักในการเลือกใช้อุปกรณ์อย่างเหมาะสม

วิธีดำเนินการ

1. ชี้แจงและแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทุกคนทราบสถานที่เก็บกระบอกฉีดยาที่ล้างไว้สำหรับถอดสายสวนปัสสาวะ

2. ติดป้ายบอกสถานที่เก็บในห้องพักแพทย์ กล่องเก็บวางให้เห็นง่ายสะดวกต่อการนำไปใช้

3.ถ้ามีคำสั่งถอดสายสวนต้องนักศึกษาแพทย์ / พาไปดูสถานที่เก็บ / หยิบให้

4. เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกการใช้กระบอกฉีดยาสำหรับถอดสายสวนปัสสาวะทุกเวรทุกวัน

 

การประเมินผล

1. บันทึกผลการปฏิบัติ
  1. 2. การสอบถาม
  2. 3. จำนวนผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะกับจำนวนกระบอกฉีดยาที่ล้างไว้ใช้

    ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

    1. บุคลากรมีความเข้าใจในการเบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์
    2. บุคลากรมีความภาคภูมิใจในตนเองและในงานที่ปฏิบัติอยู่
    3. ประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อ

    ผลการศึกษา

    1. เกิดความร่วมมือจากแพทย์/นักศึกษาแพทย์เพิ่มขึ้น
    2. เจ้าหน้าที่เห็นความสำคัญของการเบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์เพิ่มขึ้น
    3. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้กระบอกฉีดยาใหม่ถอดสายสวนได้

สถิติผู้ป่วยใส่คาสายสวนปัสสาวะ / ถอดสายสวน

จำนวนการใช้กระบอกฉีดยานำกลับมาใช้ใหม่ / เงิน

ม.ค. 95 คน 80 คน

80 x 1.79 = 143.2 บาท

ก.พ. 83คน 78 คน

78 x 1.79 = 138.62 บาท

.มี.ค. 88 คน 70 คน

70 x 1.79 = 125.3 บาท

 

ปัญหาจากการศึกษา

1. ไม่พอใช้
  1. 2. ยังนักศึกษาแพทย์ (บางคน)ใช้ Syring Disposable
ข้อเสนอแนะ

1. ต้องกระตุ้นให้เกิดการใช้ Syring Re-use ในผู้ป่วยที่ถอดสายสวนทุกราย

2. เจ้าหน้าที่ต้องแจ้งให้แพทย์ นักศึกษาแพทย์ นักศึกษาพยาบาล ที่ขึ้นฝึกปฏิบัติ ให้ทราบที่เก็บ Syring Re-use

 

 

 

 

วิลาวัณย์ อุ่นเรือน

วันที่ 20-21 กันยายนนี้ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ร่วมจัดงาน UM, KM ,CQI ขึ้นค่ะที่ตก  สว.ห้องประชุมใหม่ฝั่งตึกอุบัติเหตุฉุกเฉินจึงอยากเรียนเชิญทุกท่านเข้าร่วมประชุมด้วย  สำหรับ Cop ดาวกระจาย  ปฏิบัติการกวาดล้าง UTI มีเพลงประจำแล้วค่ะ พร้อม MV ขำๆ ชมได้พรุ่งนี้นะคะ

 

เอาเพลงมาฝากกันร้องค่ะ


ตอบทำนอง  หมีแพนด้า  

หนูทำได้ หนูทำได้ หนูทำได้ หนู หนู ทำได้

  ดนตรี


ดาวกระจายเขาว่าก้าวหน้านัก ทุกคนชักชักอยากจะเห็น
อยากสัมผัสการทำงานเป็น อยากจะเห็นทีมดาวกระจาย
อยากจะรู้รวมกลุ่มยังไง ใครเป็นคุณกิจ ใครเป็นเอื้อ ฟา
ทำง่ายๆเราชวนกันมา ไม่มีบัญชาทำกันทุกคน

(พูด)ทำอยากไหมน้อ มันอยู่ที่ใจ สามัคคีนะ

ดาวกระจายเราไปได้สวย ก้าวหน้าได้ด้วยเพราะเราฝึกฝน
บันทึกลงมือแก้ไข ร่วมแรงร่วมใจเอาใจใส่ทุกคน
หนึ่งอย่างก็พอหนึ่งคน อาจารย์สุรพลท่านอยากให้ลุย

(พูด) มาทำ KM นะ นะ

UTI มีปัญหามาก รักษายากมีโอกาสตาย
ดาวกระจายอยากให้หมดไป 3ข.จึงได้อาสาทำดู
เพิ่มงานกันมากไหม งานประจำไงแก้ไขกันมา
บันทึกของความก้าวหน้า แล้วเราเอามาปรึกษากัน

(พูด)ลงมือทำปรบปรุง ประชุม ส่งเสริม สานต่อ

ลองทำไม ทำดูซิ ผลงานนี้ชี้ประจักษ์
ที่ปรึกษากันเองมาก มหาลัยอยาก อยากเพิ่มดีกรี
ทุกคนถามเพราะสงสัย มีผลไหมโบนัสนี่
คุณภาพสูงทุนมากมี มข. นี้โบนัสดีเอย

หนูทำได้ หนูทำได้ หนูทำได้ หนู หนูทำได้

(พุด)สามัคคี ทำ KM ทุกหน่วยงาน คณะแพทยศาสตร์เราจะได้ก้าวหน้า

วิลาวัณย์ อุ่นเรือน
ตอบทำนอง  หมีแพนด้า  

(แก้ไขค่ะ)

หนูทำได้ หนูทำได้ หนูทำได้ หนู หนู ทำได้

 ( ดนตรี)


ดาวกระจายเขาว่าก้าวหน้านัก    ทุกคนชักชักอยากจะเห็น
อยากสัมผัสการทำงานเป็น      อยากจะเห็นทีมดาวกระจาย
อยากจะรู้รวมกลุ่มยังไง         ใครเป็นคุณกิจ ใครเป็นเอื้อ ฟา
ทำง่ายๆเราชวนกันมา            ไม่มีบัญชาทำกันทุกคน

(พูด)ทำอยากไหมน้อ มันอยู่ที่ใจ สามัคคีนะ

ดาวกระจายเราไปได้สวย   ก้าวหน้าได้ด้วยเพราะเราฝึกฝน
บันทึกลงมือแก้ไข          ร่วมแรงร่วมใจเอาใจใส่ทุกคน
หนึ่งอย่างก็พอหนึ่งคน      หนึ่งอย่างก็พอหนึ่งคน

อาจารย์สุรพลท่านอยากให้ลุย

(พูด) มาทำ KM นะ นะ

UTI มีปัญหามาก      รักษายากมีโอกาสตาย
ดาวกระจายอยากให้หมดไป      3ข.จึงได้อาสาทำดู
เพิ่มงานกันมากไหม               งานประจำไงแก้ไขกันมา
บันทึกของความก้าวหน้า           แล้วเราเอามาปรึกษากัน

(พูด)ลงมือทำปรับปรุง ประชุม ส่งเสริม สานต่อ

ลองทำไม ทำดูซิ        ผลงานนี้ชี้ประจักษ์
ที่ปรึกษากันเองมาก     มหาลัยอยาก อยากเพิ่มดีกรี
ทุกคนถามเพราะสงสัย  มีผลไหมโบนัสนี่
คุณภาพสูงทุนมากมี     มข. นี้โบนัสดีเอย

หนูทำได้ หนูทำได้ หนูทำได้ หนู หนูทำได้

(พุด)สามัคคี ทำ KM ทุกหน่วยงาน คณะแพทยศาสตร์เราจะได้ก้าวหน้า

: ใจประสานใจ (ดิอิมพอสซิเบิ้ล) : :
มองแววตาทุกคน เปี่ยมสุขล้นระคนสุขสันต์  ยิ้มแย้มเข้าใจกัน ตาสบประสาน ไมตรีฉายมา  ดวงฤทัยทุกดวง ถ่วงด้วยรักและแรงศรัทธา  ปรารถนาในสิ่งเดียวกัน   ความคลางแคลงหายไป  โลกสดใสคืนมาอีกครา  ฟ้า หลังฝนงามตา  ความมืดโรยรา มลายหายพลัน  มีแต่ความเข้าใจ อุ่นไอรักไมตรีต่อกัน  ผ่าน มา นั้น ลืมมันลบไป   ร้องเถิดร้องเพลงกัน  ประสานรอยรักในใจ  ลบรอยร้าวภายใน อุรา  ร้องเถิดร้องเพลงกัน  จับมือกันไว้ดีกว่า  หัน หน้ามา เข้าใจกัน  อันคนเราทุกคน ต่างเกิดมาควรพาพึ่งกัน  มีไมตรีสำพันธ์ โลกนั้นสดใส  จงมารวมพลัง ร่วมสร้างสรรจรรโลงฤทัย  จับมือกันเดินก้าวไป มุ่งสู่จุดหมาย อนาคตเรา   มองแววตาทุกคน เปี่ยมสุขล้นระคนสุขสันต์  ยิ้มแย้มเข้าใจกันตาสบประสาน ไมตรีฉายมา  ดวงฤทัยทุกดวง ถ่วงด้วยรักและแรงศรัทธา  ปรารถนาในสิ่งเดียวกัน   ความคลางแคลงหายไป  โลกสดใสคืนมาอีกครา  ฟ้า หลังฝนงามตา  ความมืดโรยรา มลายหายพลัน  มีแต่ความเข้าใจ อุ่นไอรักไมตรีต่อกัน  ผ่าน มา นั้น ลืมมัน ลบไป เพลงนี้พวกเราพยายามร้องกันอยู่ค่ะ เพราะในกลุ่มพี่บางคนใกล้เกเกษียณแล้วเพิ่งเคยได้เห็นผลงานตนเองค่ะ
ทึ่ง จริงปล่อยมุขและหมัดเด็ดจริงนะเพ่ หนุกจริงๆคราวหน้าขึ้น อีกทีเด้อได้ใจมั่กๆๆๆมากก
เสื้อสีแสดนะพี่  แจ๊ดตาเลย นี่ถามจริงงบแค่นี้ไปทำซะเว่อร์มากอิดฉารู้ป๊ะ

แจ้งสถิติ

ติดตามการปฏิบัติการพยาบาลตามที่audit มาปัญหาแรกคือ

1.ไม่ติดพลาสเตอร์  และติดไม่ถูกต้อง รั้งค่ะ เจอปัญหาที่เป็นรอยกดทับ ไม่ว่าจะย้ายมา หรือผู้ป่วยใหม่ตอนนี้ ระเบียบจัดมาก(เช็คบิล)

2.ได้น้ำไม่พอ ดังนั้นขณะนี้เวลาเดินผ่านผู้ป่วยมองขวดน้ำ มองน้ำเกลือ ตลอด

3.ทำความสะอาดเป็นไหม  ตามติดสนิทเลยญาติต้องได้รับการติดตามประเมิน

เหนื่อยแต่สนุกค่เพราะหวังผลลดการติดเชื้อ ในชุมชนด้วย

 ดึงสายได้ผล

เมื่อวานหนูเก็บปัสสาวะยายสม  ผลปกตินะคะ

ยายซึมลงมีเบาหวานที่เป็นโรคเดิม ความดัน  ผิวหนังที่หลุดออกง่าย ซ้ำเป็นปื้นลามชึ้นตามแขน(ผลเลือดปกติ)ไตวายเฉียบพลันด้วย เอวานเลยมีหมอมาดูหลายสาขา

จริงๆแล้วไม่อยากผูกยึดเพราะไม่อยากให้ยายช้ำเพิ่มขึ้น หมอก็ห่วงก็ยายดึงสารพัดสายลูกสองคนจึงช่วยดูคนละข้าง

และหมอขอเพิ่มตรวจปัสสาวะใหม่อีกรอบ  เหตุเกิดตอนลูกชายอีกคนลงไปพัก

อีกคนที่เฝ้าผูกมือข้างหนึ่ง มือข้างที่ตัวเองจับแม่ไว้หลุดไปดึงซะงั้น

   พี่แม่ดึงสายเยี่ยวหลุด(ข้อต่อหลุด ยังไม่ออกจากกัน)

พอส่งปัสสาวะใหม่ ได้การ มีเม็ดเลือดแดงออกมาด้วยตั้ง 30-50 cell

วิธีการเตรียม set ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์
1. เช็กดูวันหมดอายุของ set ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ก่อนทุกครั้ง
2. เปิด set ออก
3. ใช้มือหยิบสำลีที่อยู่ในถ้วย set ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ออก
4. เทน้ำยาเซฟลอนลงในถ้วยในปริมาณ 50 cc / set หรือ 1/4 ของถ้วย set ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์
5. นำไปใช้ได้เลยค่ะเตรียมเสร็จแล้ว

แต่ละเวรต้องนับจำนวนผู้ป่วยที่ต้องการใช้ ไม่เทไว้ทุกเตียงที่มีสายสวนเพราะพี่พยาบาลเข้มเรื่องการสอนญาติทำความสะอาดด้วยน้ำสะบู่ ถ้าญาติผู้ป่วยคนไหนทำเป็นก็จะใช้น้ำสบู่ ค่ะ  หวังผลเรื่องการป้องกันการติดเช้อระบบทางเดินปัสสาวะ (ชุมชนค่ะ)

( จะเตรียมขณะที่จะใช้ set เท่านั้นเพื่อน้ำยาจะได้มีประสิทธิภาพค่าเชื้อได้ดีค่ะ )

การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ในผู้ป่วยหญิงที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ วิธีการเตรียม 1.เตรียมผู้ป่วยกับญาติให้ทราบ และเห็นถึงความสำคัญของการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ และการป้องกันการติดเชื้อทางระบบทางเดินปัสสาวะ 2.เตรียมอุปกรณ์ - Set Flush -สบู่ หรือน้ำยาทำความสะอาด Savlon -หม้อนอน -กะละมังน้ำสะอาด -ผ้าสะอาด -ถุงมือสะอาด วิธีทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ในผู้ป่วยหญิงที่คาสายสวนปัสสาวะ 1.แบ่งสำลีออกเป็น 6 ก้อน 2.ใช้สำลีก้อนที่1 เช็ดผ่านตรงกลางอวัยวะสืบพันธ์แล้วทิ้งลงถุงพลาสติก 3.ใช้สำลีก้อนที่2 เช็ดแคมด้านนอกด้านไกลตัวออกไปทางขาหนีบแล้วทิ้งถุงพลาสติก 4.ใช้สำลีก้อนที่3 เช็ดแคมด้านนอกด้านใกล้ตัวออกไปทางขาหนีบแล้วทิ้งถุงพลาสติก 5.ใช้สำลีก้อนที่ 4และ5 เช็ดแคมด้านใน แล้วทิ้งลงพลาสติก 6.เช็ดสายสวนปัสสาวะห่างออกมาประมาณ 1คืบแล้วทิ้งถุงพลาสติก 7.ใช้ผ้าสะอาดเช็ดรอบอวัยวะสืบพันธ์ให้แห้ง วิธีทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ในผู้ป่วยหญิงด้วยน้ำสบู่ 1.ให้ผู้ป่วยนอนในหม้อนอน 2.ใช้สบู่ละลายน้ำ แล้วฟอกบริเวณอวัยวะสืบพันธ์ราดผ่านไปทางทวารหนัก 3.ราดด้วยน้ำสะอาด โดยราดผ่านไปทางทวารหนัก 4.ใช้ผ้าสะอาดเช็ดรอบๆบริเวณอวัยวะสืบพันธ์ การติดตาม - ติดตาม และประเมินการปฏิบัติของญาติโดยใช้แบบบันทึกวันละ 2 ครั้งต่อ1วัน -ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และอัตราการติดเชื้อครั้งต่อการใส่คาสายสวนปัสสาวะ 1000 วันนอน สรุป และประเมินผล การทำความสะอาดด้วยน้ำยาสบู่แทนน้ำยาเซฟลอนจะช่วยป้องกันอาการระคายเคืองผิวหนังบริเวณอวัยวะสืบพันธ์ 1.ไม่พบการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม 2.ผู้ป่วยที่ทำความสะอาดด้วยสบู่ไม่มีกลิ่นเหม็นอับ 3.ไม่มีผลข้างเคียงหรืออาการแพ้สบู่กับผิวหนังของอวัยวะสืบพันธุ์ 4.โรงพยาบาลของเราประหยัดค่าใช้จ่ายจากการใช้น้ำยา และset Flush 5.เมื่อผู้ป่วยกลับบ้านสามารถนำแนวทางปฏิบัตินี้ไปทำต่อที่บ้านได้ 6.ผู้ป่วย และญาติพึงพอใจกับความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ โดย ศศิธร ประณามตรังค์(พาบุ)
ารให้คำแนะนำการดูแลสายในผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะและการติดตามการปฏิบัติงานของบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ หอผู้ป่วย 3ข
เมื่อมีผู้ป่วยที่ใส่สายสวนปัสสาวะ พยาบาลหรือผู้ช่วยพยาบาลอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบถึงความจำเป็นที่ต้องใส่สายสวน ตรวจสอบพลาสเตอร์ติดสายที่ติดหน้าขาผู้ป่วยว่าหลุดหรือไม่พร้อมทั้งให้คำแนะนำผู้ป่วยและญาติในการดูแลสาย ไม่ให้สายหักพับงอ ไม่นอนทับสาย ถุงที่รองรับปัสสาวะต้องแขวนไว้ที่คานเตียงไม่ให้หย่อนลงมาลากกับพื้น พลาสเตอร์หลุดให้แจ้ง จ.น.ท.เพื่อติดใหม่ เสื้อผ้าผู้ป่วยต้องแห้งไม่เปียกชื้นและสังเกตว่ามีน้ำปัสสาวะไหล ซึมหรือไม่ การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ด้วยน้ำยา Savlon หรือน้ำสบู่ เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อ ในผู้ป่วยที่ไม่จำกัดน้ำดื่มแนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ หรือถ้าจำกัดน้ำดื่มต้องดูแลให้ได้รับน้ำเกลือ และสังเกตดูปริมาณของปัสสาวะที่ออก
ส่วนที่ต้องเฝ้าติดตามพิเศษคือ การติดดตามการทำงานของเจ้าหน้าที่ทุกระดับในการปฏิบัติการพยาบาลตามแผนการกวาดล้าง UTI 3ข. เก็บรวบรวมใบประเมิน Check list ต่างๆ สรุปรายงานแต่ละเดือน นัดประชุมประจำเดือน หรือนัดกลุ่มย่อยเพื่อหาแนวทางปฏิบัติร่วมกัน และพัฒนางานคุณภาพของทีมต่อไป
จันทร์เพ็ญ ศิลาวิเศษ 3ข
ผู้ป่วยชายในการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ ตอบโดยอ้างข้อความ แก้ไข/ลบข้อความ

ผู้ป่วยที่มานอนรักษาที่ไม่สามารถไปอาบน้ำที่ห้องน้ำและไม่สามารถทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ด้วยสบู่ตามปกติได้ มีโอกาสติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเนื่องจากผู้หญิงรูเปิดทางเดินปัสสาวะกับรูทวารหนัก ใกล้กันมากกว่าผู้ชาย ทำให้ผู้หญิงติดเชื้อทางเดินปัสสาวะมากกว่าผู้ชายและเป็นเชื้อที่มาจากทางทวารหนัก ดังนั้นถ้าทำความสะอาดไม่ถูกต้องจะทำให้เกิดการติดเชื้ออันตรายต่อร่างกายเพิ่มขึ้น
เตรียมอุปกรณ์
- Set Flush
-สบู่ หรือน้ำยาทำความสะอาด Savlon
-หม้อนอน
-กะละมังน้ำสะอาด
-ผ้าสะอาด
-ถุงมือสะอาด
วิธีทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ในผู้ป่วยชายที่คาสายสวนปัสสาวะ
1.ใช้สำลีก้อนที่1,2,3 เช็ดรอบๆรูปัสสาวะโดยเช็ดวนลงไปทางโคนอวัยวะสืบพันธ์แล้วทิ้งลงถุงพลาสติก
2.ใช้สำลีก้อนที่4,5 เช็ดรอบๆโคนอวัยวะสืบพันธ์โดยวนออกรอบๆแล้ว ก่อนทิ้งสำลีให้เช็ดลงไปทางทวารหนักแล้วทิ้งลงถุงพลาสติก
3.ใช้สำลีก้อนที่ 6เช็ดรอบๆสายสวนปัสสาวะออกมาประมาณ 1 คืบ แล้วทิ้งลงถุงพลาสติก
4.ใช้ผ้าสะอาดเช็ดรอบๆอวัยวะสืบพันธ์ให้แห้ง

วิธีทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ในผู้ชายช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือที่ใส่ถุง Condom
1.รูดหนังหุ้มปลายอวัยวะลง
2.ฟอกถูด้วยน้ำสบู่ที่ปลายก่อนแล้วลงมาโคนอวัยวะสืบพันธ์ และรอบๆบริเวณอวัยวะสืบพันธ์
3.ใช้ผ้าบีบน้ำสะอาดราดล้างทำความสะอาดจากปลายลงล่าง
4.ใช้ผ้าสะอาดเช็ดให้แห้ง
5.รูดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศกลับเหมือนเดิม

การติดตาม
- ติดตาม และประเมินการปฏิบัติของญาติโดยใช้แบบบันทึกวันละ 2 ครั้งต่อ1วัน
-ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และอัตราการติดเชื้อครั้งต่อการใส่คาสายสวนปัสสาวะ 1000 วันนอน

สรุป และประเมินผล การทำความสะอาดด้วยน้ำยาสบู่แทนน้ำยาเซฟลอนจะช่วยป้องกันอาการระคายเคืองผิวหนังปลายPennis
1.ไม่พบการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วย
2.ผู้ป่วยที่ทำความสะอาดด้วยสบู่ไม่มีกลิ่นเหม็นอับจากคราบขาวตกค้าง
3.ไม่มีผลข้างเคียงหรืออาการแพ้สบู่กับผิวหนังของอวัยวะสืบพันธุ์
4.โรงพยาบาลของเราประหยัดค่าใช้จ่ายจากการใช้น้ำยา และset Flush
5.เมื่อผู้ป่วยกลับบ้านสามารถนำแนวทางปฏิบัตินี้ไปทำต่อที่บ้านได้
6.ผู้ป่วย และญาติพึงพอใจกับความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์



โดย ธีรพงษ์
เปรียบเทียบการใช้น้ำยาทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ในผู้ชายที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
ด้วยหอผู้ป่วย3ข เป็นหอผู้ป่วยที่ให้การดูแลผู้ป่วยผ่าตัดทางสมอง หัวใจ และอุบัติเหตุฉุกเฉิน จึงทำให้มีผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ทั้งก่อนและหลังผ่าตัด ดังนั้น หอผู้ป่วย 3ข จึงเห็นความสำคัญของการทำความสะอาดร่างกาย รวมทั้งการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ซึ่งผู้ป่วยในบางรายจะไม่สามารถทำเองได้เลย จึงเป็นที่มาของโครงการนี้
ในผู้ป่วยชายที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ หลังจาก Off Cath แล้วจำเป็นต้องใส่Condom ต่อลง Urine bag เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสาวะจึงต้องมีการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์อยู่เป็นประจำ เดิมทีหอผู้ป่วย3ข ทำความสะอาดด้วยการ Flush ด้วยน้ำยา Savlon แต่เนื่องจากการใช้น้ำยา Savlon ไปนานๆ จะเกิดผลข้างเคียงกับผิวหนังของอวัยวะสืบพันธุ์ค่อนข้างมาก เช่น ผัวหนังแห้งคัน ลอก เป็นแผล เป็นต้น จึงมีแนวทางที่จะเปลี่ยนจากน้ำยา Savlon มาเป็นสบู่แทน ซึ่งจากการดำเนินการทดลองใช้ และติดตามผลของการใช้สบู่ทำความสะอาดพบว่า
1.ไม่พบผู้ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะที่ทำความสะอาดด้วยสบู่
2.ผู้ป่วยที่ทำความสะอาดด้วยสบู่ไม่มีกลิ่นเหม็นอับจากคราบขาวตกค้าง
3.ไม่มีผลข้างเคียงหรืออาการแพ้สบู่กับผิวหนังของอวัยวะสืบพันธุ์
4.โรงพยาบาลประหยัดค่าใช้จ่ายลงจากการใช้สบู่แทนน้ำยาSavlon และ set Flush
5.เมื่อผู้ป่วยกลับบ้านสามารถนำแนวทางปฏิบัตินี้ไปทำต่อที่บ้านได้
6.ผู้ป่วย และญาติพึงพอใจกับความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์



การให้ความรู้ โดยคุณหมู
การให้ข้อมูล และการประชาสัมพันธ์ ต้องทำควบคู่กันไป สำหรับการเป็น Information Team UTI 3ข ดาวกระจายนั้น เริ่มตั้งแต่การประเมิน ( Assesment ) เมื่อรับใหม่ ดูแลขณะอยู่ในโรงพยาบาล วางแผนการจำหน่าย และต่อเนื่องไปจน เมื่อผู้ป่วยกลับไปอยู่ที่บ้าน รวมถึงการให้คำปรึกษา การให้ข้อมูลทางโทรศัพท์
การประชาสัมพันธ์ ส่งข่าว แจ้งข่าว และรายงายและส่งต่อถ้ามีอุบัติการณ์ การติดเชื้อ หรือถ้ามีผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง Admit ติดต่อกับหน่วยงานอื่นๆ ที่สนใจ เพื่อนัดหมายทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเสริมให้กำลังใจ เจ้าหน้าที่ และคอยช่วยเหลือด้านข้อมูล การเตียมตัวนำเสนองานต่างๆ

การติดเชื้อ UTI
การติดเชื้อ ที่พบบ่อยก็คือผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ (Catheters) หรือการที่ใส่ท่อไว้ในกระเพาะปัสสาวะ ในคนไข้ที่ปัสสาวะไม่ออก คนที่หมดสติ หรือคนที่ระบบประสาทที่ควบคุมกระเพาะปัสสาวะไม่ทำงาน ที่ต้องใส่สายสวนปัสสาวะไว้ตลอด แบคทีเรียที่สาย สวนปัสสาวะสามารถทำให้ติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะได้ ดังนั้นทางโรงพยาบาลจึงต้องระมัดระวังให้สายสวนปัสสาวะปราศจากเชื้อ และเอาสายสวนปัสสาวะออกให้เร็วที่สุด
อีกกลุ่ม คือ ผู้ป่วย Non- Catheter อย่าพึ่งดีใจว่าท่านปลอดจาก UTI เมื่อไม่มีสายสาวนปัสสาวะในตัวท่าน เพราะในขณะที่คุณกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เยี่ยวราด เป็นประจำ ทางออกของการพยาบาลคือ ใส่ Condom แล้วต่อลง ถุง ( Urine Bag ) และ บางรายก็ใส่ถุงพลาสติกครอบไว้สำหรับผู้ป่วยชาย และผู้ป่วยหญิงก็ใส่ Pampurse ( ผ้าอ้อม ) การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะพบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าชาย
การป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ UTI
กิจกรรมการพยาบาล
1. อธิบายให้ทราบถึงเหตุและผลของการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ
2. สังเกต บันทึก สี ลักษณะ และจำนวนของปัสสาวะ
3. สวนคาสายยางปัสสาวะในกรณีที่ปัสสาวะไม่ออกหรือมีการคั่งค้างมาก
4 . ดูแลให้ได้รับสารน้ำสารอาหารให้เพียงพอ
5. ประเมินการปฏิบัติการกวาดล้าง UTI ตามแบบ check list
6. รายงายและส่งต่อถ้ามีอุบัติการณ์ การติดเชื้อ หรือถ้ามีผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง Admit

ส่วนการกวาดล้าง UTI ในหอผู้ป่วย 3ข. ให้การแนะนำผู้ป่วยและญาติดังนี้
1. แจ้งให้ผู้ป่วยทราบถึงวัตถุประสงค์ และความจำเป็นที่ต้องใส่สายสวนเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ ให้ข้อมูลญาติและผู้ป่วยว่า จำเป็นต้องหมั่นช่วยกันดูแล คือ ถุง ( รองรับน้ำปัสสาวะ ) ไม่ลากพื้น แขวนอยู่เหล็กข้างเตียง คนข้างเคียงช่วยดูแล Take care ง่ายๆ ทำความสะอาดร่างกาย และภายในซ่อนเร้น สังเกตุให้เป็น ปริมาณมากมี สีไม่ขุ่นข้น ทุกคนช่วยกันติดตาม ทุกคำถามยินดีตอบ ขอขอบคุณท่านที่ร่วมมือ ท่านคือคนสำคัญ เพราะฉนั้น ฉันรับรอง UTI ตายไปจากศรีนครินทร์แน่ไม่นอน.....

2. ติด พลาสเตอร์หน้าขา สำหรับผู้ป่วยหญิง และติดพลาสเตอร์หน้าท้องในผู้ป่วยชาย
พลาสเตอร์ติดอยู่ที่หน้าขาจริงหรือเปล่านี่ ดิฉันชอบเช็ค ทุกๆต้นเวรเลยแหละ
3. แขวนถุงน้ำเก็บปัสสาวะกับคานเตียง ถ้าแขวนกับไม้กั้นเตียงอาจทำให้ดึงรั้งเมื่อยกราวขึ้น
4. หักพับสายเมื่อยก ย้ายถุงสูงกว่าระดับผู้ป่วย เมื่อตะแคงตัวให้ยกถุงเปลี่ยนมาข้างเด้านหน้า ผู้ป่วย
5. วัดไข้ และ V/S ทุก 4 ชม. จนถอดสายสาวน
6. เช็ดรูเปิดท่อน้ำปัสสาวะด้วยสำลี Alcohol 70 % ทุกครั้งที่เปิด- ปิด เมื่อเทน้ำปัสสาวะออกจากถุง
7. ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ด้วยน้ำยาทำความสะอาด หรือน้ำสบู่ วันละ 2 ครั้ง และทุกครั้งที่ถ่ายอุจจาระเช็ดให้แห้ง ไม่ต้องโรยแงที่ขาหนีบ
8. ดูแลเสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน ไม่ให้เปียกชื้น ดื่มน้ำให้ได้มากกว่า 2 ลิตร ถ้าไม่มีข้อจำกัด / ห้าม
9. สังเกตลักษณะ สี กลิ่น และปริมาณ บันทึกน้ำดื่ม / ปัสสาวะ ทุกเวร


สรุป
บางกรณีผู้ป่วยมีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะที่ติดเชื้อมาก่อนการนอนในโรงพยาบาล ดังนั้นโครงการให้ข้อมูลผู้ป่วยและญาติในการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจึงเกิดขึ้นเละเริ่มดำเนินการซึ่ง ผู้ป่วยและญาติให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และมี การแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันระหว่างตัวผู้ป่วย และญาติ และเจ้าหน้าที่การจัดให้ความรู้ เป็นทั้งกลุ่มใหญ่ และกลุ่มย่อย และรายกรณี เราทีมผู้ดูแลจึงปรับทำตามความเหมาะสม



โดยสมพร บุปผา

เล่า case สึกษาที่ย้ายมา ตอบโดยอ้างข้อความ

 มาเล่า แฟหำ
1.ผู้ป่วยชื่อนาย จ สาย Gen3 Diag. Aterial occusion P/O Amputation ขาซ้าย
รับย้ายมาที่ 3 ข วันที่ 14 ต.ค.50 On condom ต่อลง urine bag. Condom ติดด้วยพลาสเตอร์เหนียวเวลาดึงออกผู้ป่วยเจ็บมาก (ไม่ได้โกนขนบริเวณรอบอวัยวะเพศ) Condomมีคราบสีเขียวขึ้น หลังจากรูดหนังหุ้มปลายPennis มีคราบขาวเหนียวติดเต็มไปหมด มีกลิ่นเหม็นอับ หลังจากนั้นทำความสะอาดให้ผู้ป่วยด้วยการฟอกน้ำสบู่ล้างทำความสะอาด เช็ดให้แห้ง โกนขนบริเวณรอบใส่Condom อันใหม่ติดด้วย Hypafix
- วิธีการทำความสะอาด(ต้องปรับปรุงด้วย)
- ผู้ป่วยขึ้นเชื้อ klebsilla จากward เดิม

2.ผู้ป่วยชื่อนาย บ สาย Neuro Diag . SAH P/O Aneurysm clippinng รับย้ายมาที่ 3ข วันที่ 15 ต.ค. 50 On condom ต่อลง urine bag. Condom ติดด้วยพลาสเตอร์เหนียวเวลาดึงออกผู้ป่วยเจ็บมาก (ไม่ได้โกนขนบริเวณรอบอวัยวะเพศ) หลังจากรูดหนังหุ้มปลายPennis มีคราบขาวเหนียวติด มีกลิ่นเหม็นอับ หลังจากนั้นทำความสะอาดให้ผู้ป่วยด้วยการใช้ Set Flush เช็ดด้วย NSS ทำความสะอาด ครอบ Pennis ด้วยถุงมือ Sterile ติดด้วย Transpore เพื่อเก็บ U/A ส่งตรวจ
เรื่อง: นี่ก็ติดเชื้อค่ะ เดิม ตอบโดยอ้างข้อความ

คุณยายอายุ 70 ปีมาด้วยมีเลือดออกในสมอง ความดัน เบาหวานเป็นธรรมดา ที่ตามมาติดๆ
ที่สำคัญผิวหนังคุณยายลอกง่าย(Burn น่ะค่ะ) แล้วมีถ่ายเหลวตลอด เริ่มแรกก็ติดเชื้อที่ปอด ต่อมาก็ MDR ที่ปัสสาวะ
และแล้วปัสสาวะไม่ออก HR เร็วเกือบ120-130 ความดันก็เริ่มไต่ระดับปัสสาวะไม่ออก โชคดีที่ปัสสาวะLeakage พอถอดออกมาก็ถึงบางอ้อ เพราะตะกอน คราบติดรูของสายสวนปัสสาวะไม่ออกคุณยายเลยไม่รู้จะบอกยังไงเพราะคาบท่อไว้ พูดไม่ได้ พอใส่สายสวนปัสสาวะใหม่ปัสสาวะออกมาทีเดียว 1,100 ซีซี ท้องแฟบเลยค่ะ
เรื่อง: หนูอยากถ้าม อยากถามมันคาใจค่ะ ตอบโดยอ้างข้อความ

เรื่องมีอยู่ว่า
ผู้ป่วยของหนู มาด้วย DM foot แล้วมีปัญหาทั้งควบคุมเบาหวานไม่ได้ ต่อมาต้องทำ CAPD ค่ะ มีปัญหา BPH ด้วยต้อง retain foley catheter นานมากกว่า 4 สัปดาห์ แล้วติดเชื้อMRSA ที่แผลก่อนนะคะ แล้วมาติดที่ CAPD ต่อมาก็ติดที่ urine ค่ะ แต่antibiotic ไม่เปลี่ยน อาการก็ไม่เปลี่ยนแปลงมาก
ได้ Tozocine ตลอดตั้งแต่ติดเชื้อที่แผลแล้ว อย่างนี้หนูต้องเก็บติดเชื้อที่CAPD กับ urine ไหมคะ?
เรื่อง: การเก็บรายงานการติดเชื้อ ตอบโดยอ้างข้อความ

ผู้ป่วย DM foot ติดเชื้อMRSA ที่แผล แล้วมาติดที่ CAPD ต่อมาก็ติดที่ urine แต่antibiotic ไม่เปลี่ยน อาการก็ไม่เปลี่ยนแปลงมาก ได้ Tozocine ตลอดตั้งแต่ติดเชื้อที่แผลแล้ว
ในกรณีผู้ป่วยรายนี้ติดเชื้อ MRSA แต่ Clinical sign ดี ไม่ต้องรายงานการติดเชื้อในโรงพยาบาล เนื่องจากการติดเชื้อครั้งนี้เป็นแค่ Colonization (การติดเชื้อประจำถิ่น) อีกทั้ง แพทย์ให้ ATB เป็น Tazocin ซึ่งไม่ใช่ยารักษาเชื้อ MRSA (ถ้า MRSA infection จริง แพทย์ต้องให้ ATB เป็น Vancomycin/Fosfomycin
สรุป ผู้ป่วยรายนี่ไม่ต้องรายงานการติดเชื้อในโรงพยาบาลในทั้งตำแหน่งแผล CAPD UTI แต่ผู้ป่วยรายนี้ต้องได้รับการป้องกันการติดเชื้อแบบ Contact precaution จนกว่าผลเพาะเชื้อจะไม่พบ MRSA
สายสมร พลดงนอก



เข้าร่วม: 31 Oct 2007
ตอบ: 1
ที่อยู่: หน่วยควบคุมโรคติดเชื้อ โรงพยาบาลศรีนครินทร์

 

แบบประเมินการดูแลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ

http://kmmed.kku.ac.th/work/wirawun.xls

ลองไปใช้ดูนะคะ 

เรื่องอุณหภูมิของแผ่นเจล   

ท่านอาจารย์ขจิต พาชีรัตน์ ชี้แนะเรื่องอุณหภูมิเพราะไม่ได้ตอบอาจารย์ นานแล้ว เรื่องอุณหภูมิที่แผ่นเจลที่ใช้ประคบเย็น ศูนย์ ถึง 4 องศาเซลเซียส (เราเอาแผ่นเจลแช่ไว้ในช่องทำน้ำแข็งค่ะ)
ดังนั้นเวลาที่เราประคบเย็นจึงต้องระวังการBurn ค่ะญาติอยู่ก็จะได้รับการสอนว่าควรเปลี่ยนตำแหน่งประคบด้วย

ระยะเวลาประคบ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมงค่ะ
ประสบความสำเร็จ ร้อยละ 80 ค่ะ
ข้อดี
1.ช่วยลดภาระงานของแพทย์ นักศึกษาแพทย์ ที่ต้องกลับมาดูแล และต้อง ใส่ Foley cath อีก
2.ลดค่าใช้จ่าย
3.ป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะค่ะ
4.ผู้ป่วยสุขสบาย และความพึงพอใจของผู้ป่วยที่สามารถปัสสาวะเองได้ด้วยตนเอง มากกว่ากลับไปใส่สายสวนปัสสาวะใหม่ค่ะ

โครงการ : การจัดการความรู้ในการดูแลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ ( KM cop ดาวกระจาย)
หอป่วย3ข.แผนการพยาบาลศัลยกรรม ฯ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ความเป็นมา-สภาพปัญหา/สาเหตุปัญหา

ปัจจุบันเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าการแข่งขันขององค์กรจำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้จากหลายส่วนมาผสมผสานกันและผู้ปฏิบัติงานคงเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุด การจัดการความรู้ Knowledge management) จึงมีบทบาทสำคัญในองค์กรที่จะรวบรวมความรู้ทั้งเก่าและใหม่อย่างเป็นระบบ ถ่ายทอดและแบ่งปันระหว่างคนในองค์กรเพื่อที่จะนำไปใช้และขยายผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับบริการ KM เป็นแนวคิดในการบริหารองค์การแบบใหม่ เพื่อให้เกิดการนำองค์ความรู้มาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน เกิดวัฒนธรรมของการแลกเปลี่ยนความรู้ ทำให้เกิดการสร้างนวตกรรมในการดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพและขยายผลในวงกว้างได้อย่างรวดเร็วต่อไป
การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อเป็นมาตรฐานด้านคุณภาพ เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี ความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากร การควบคุมการติดเชื้อส่งผลดีต่อทุกหน่วยงานของสถานบริการทางการแพทย์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับคุณภาพการรักษา รวมทั้งสุขภาพและความปลอดภัย
การป้องกันการติดดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะและการติดตามอย่างต่อเนื่อง เป็นการลดโอกาสการติดเชื้อได้อีกวิธีหนึ่ง หอผู้ป่วย 3ข. งานบริการพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของกระบวนการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในผู้ป่ยที่คาสายสวนปัสสาวะ เพื่อให้เกิดคุณภาพ มีแนวทางการปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและบุคลากรได้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมพัฒนาความรู้ และทักษะให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและควบคุมการ ติดเชื้อในผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ ได้อย่างมีคุณภาพ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. เพื่อลดโอกาสการเกิดการติดเชื้อ และตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยได้มากยิ่งขึ้น
ระยะเวลาดำเนินการ
มีนาคม - กันยายน 2550
สถานที่ดำเนินการ
หอผู้ป่วย 3ข แผนการพยาบาลศัลยกรรมฯ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากรในหอผู้ป่วย3ข ทุกระดับ

แนวทางการแก้ไข / การดำเนินงาน
1.ชี้แจงโครงการและขอความร่วมมือจากบุคลากร และชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ
2.ให้แต่ละโครงการย่อยจะมีบุคลากรเข้าร่วมโครงการประกอบด้วย พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล พนักงานการแพทย์ คนงาน หน.ทีม PCT 1 คน ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการหลัก (Facilitatior) ของหน่วยงาน
3.จัดประชุมกลุ่ม การจัดการความรู้ในการทบทวนดูแลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะตามมาตรฐาน และติดตามการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องทุกเวร
4.หาเวทีเผยแพร่กิจกรรมการพัฒนาคุณภาพตัวอย่างที่แต่ละหอผู้ป่วยได้รับมอบหมายนำมาเสนอผลงาน โดยให้ทีมการดูแลผู้ป่วยมาร่วมรับฟัง พร้อมสรุปประเด็น / ข้อเสนอ หลังการนำเสนอผลงาน
นำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพที่สามารถใช้ได้ในภาพรวม ทดลองปฏิบัติใช้ และติดตามประเมินผล
กิจกรรมการจัดการความรู้การทบทวนดูแลผู้ป่วยนำไปจัดทำเป็นคลังความรู้และนำไปเผยแพร่ใน
INTRANET ของคณะแพทยศาสตร์ รพ.ศรีนครินทร์ และ gotoknow ปฏิบัติการกวาดล้าง UTI

ผลการดำเนินงาน
เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในทีมการดูแลผู้ป่วย และการจัดเก็บองค์ความรู้อย่างเป็นระบบในองค์กร เกิดนวัตกรรมคุณภาพเพื่อให้เกิดกระบวนการดูแลผู้ป่วยที่ดี (Good Practice)

ผลลัพธ์
สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ ป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะได้ น้อยกว่า 2 ครั้งต่อ 1000 วันใส่ บุคลกรสามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ มีความสุข เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
Good Practice
Carec แบบบันทึก check list การ Admit ผู้ป่วยแรกรับที่คาสายสวนปัสสาวะ
Communication
การให้ข้อมูล pt ของบุคลากร การดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องทำให้ผู้ป่วยมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้น
Continuity มีการวางแผนการดูแลผู้ป่วยร่วมกันTeam
แบบบันทึกการดูแลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะเป็นการสื่อสารในทีมการดูแลผู้ป่วยสามารถตรวจสอบได้
Environment ติดตามการประเมินผู้ป่วยสำหรับการแขวนสายสวนปัสสาะอย่างถูกต้อง
Record การบันทึกการปฏิบัติของกิจกรรมทุกเวร

[img][/img]

เรื่อง: โครงการการปฏิบัติการเพื่อลดการเกิดการติดเชื้อทางเดิน 2จ ตอบโดยอ้างข้อความ แก้ไข/ลบข้อความ

หลักการและเหตุผล

การป้องกันการติดเชื้อถือเป็นมิติทางการพยาบาลที่ต้องดูแลในป้องกันความเสี่ยงและ.ให้ผู้ป่วยปลอดภัย ลดระยะเวลานอนโรงพยาบาล และลดค่าใช้จ่ายในการใช้ยาปฏิชีวนะราคาแพงได้ เนื่องจากหอผู้ป่วย 2 จ มีผู้ป่วยมาใช้บริการหลายสาขา แต่เนื่องจากผู้ป่วยของหอผู้ป่วยเป็นผู้ป่วยเรื้อรัง การติดเชื้อจึงไม่เกิดเฉพาะผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะเท่านั้น ยังพบการติดเชื้อในผู้ป่วยที่ไม่ใส่สายสวนปัสสาวะอีกด้วย ในปี 2549 มีอัตราการติดเชื้อUTI Catch 5.86 และ Non Catch 0.45 ต่อ 1000 วันนอน จากข้อมูลดังกล่าวทางหอผู้ป่วยจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังขึ้น โดยเฝ้าระวังผู้ป่วยทุกราย และถือเป็นนโยบายในการเฝ้าระวังการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะของหอผู้ป่วย 2 จ โดยเน้นการเฝ้าระวังทั้งกระบวนการ

ผู้รับผิดชอบโครงการ
นางสาวจิราภรณ์ รัตนพลที ประธาน
นางสาวจิตติยา จิตรกุล กรรมการ

ที่ปรึกษาโครงการ
นางนิภาพรรณ ฤทธิรอด

วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยป้องการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
2. เพื่อลดอัตราการเกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะของผู้ป่วยทั้งใส่สายสวนและไม่ใส่สายสวน
ทางเดินปัสสาวะ
ระยะเวลาดำเนินการ
•ตั้งแต่เดือน มกราคม 2550 ถึง สิงหาคม 2550

ขั้นตอนการดำเนินการ
1.จัดตั้งกรรมการรับผิดชอบ จัดเตรียมเอกสารสำหรับให้คำแนะนำผู้ป่วย แบบประเมินและแบบติดตามการดำเนินงาน
2.ชี้แจงการดำเนินงานแก่เจ้าหน้าที่หอผู้ป่วย ประกาศเป็นฯโยบายของหอผู้ป่วย เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล พัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
3.สรุปผลและนำเสนอผลการดำเนินงานแก่บุคลากรหอผู้ป่วยทุก

ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติได้ม่น้อยกว่าร้อยละ 90
2. อัตราการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะลดลงทั้ง UTI Catch และ Non Catch

ผลลัพธ์การดำเนินการ
1.มีการประชุมและได้ปรับแนวทางการปฏิบัติ ได้จัดเตรียมอุปกรณ์ให้ใช้งานได้สะวก
2.ก่อนการดำเนินงานในภาพรวม สามารถปฏิบัติได้ตามแนวปฏิบัติ ร้อยละ 63.33 หลังดำเนินโครงการปฏิบัติได้ ร้อยละ 87.48
3.อัตราการติดเชื้อ ในผู้ป่วย UTI Catch 3.14 และ Non Catch 0.35 ต่อ 1000 วันนอน

บทเรียนที่สำคัญ
1.การติดตามและประเมินผลต้องมีความต่อเนื่อง และต้องให้ความรู้แก่ผู้ให้บริการและผู้รับบริการอย่างเป็นระบบ

โอกาสหรือแผนการพัฒนางานต่อ
1.พัฒนาการให้ข้อมูลผู้ป่วย/ญาติโดยการใช้สื่อการสอน
2.จัดการสอนแสดงแก่ผู้ป่วย/ญาติและมีการประเมินก่อนและหลังการสอน
เรื่อง: โครงการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการติดเชื้อuti3จ ตอบโดยอ้างข้อความ แก้ไข/ลบข้อความ

เกรียงไกร พันธ์ดงยาง พย.บ. หอผู้ป่วย 3จ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปรึกษาโครงการ น.ส.นุชจรี วุฒิสุพงษ์ หัวหน้าหอผู้ป่วย 3จ

หลักการและเหตุผล
หอผู้ป่วย 3จ ให้บริการผู้ป่วยทั่วไปที่มีความหลากหลาย พบว่าผู้ป่วย เมื่อเข้ามารักษาในโรงพยาบาล อาจเกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในโรงพยาบาลได้ จากสถิติปี พ.ศ.2547 พบอัตราการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนปัสสาวะ 5.04 ครั้งต่อ1000 วันที่ใส่ ทั้งนี้อาจเนื่องจากสุขภาพอ่อนแอจากโรค ผู้ป่วยไม่มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลการใส่คาสายสวนปัสสาวะ ระยะเวลาอยู่รักษาในโรงพยาบาลนาน การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ขาดการสื่อสารการส่งต่อข้อมูลการ ติดเชื้อที่ชัดเจนและต่อเนื่อง ซึ่งการติดเชื้อเป็นตัวบ่งชี้ถึงคุณภาพการพยาบาลอย่างหนึ่ง
เจ้าหน้าที่ตระหนักถึงความสำคัญในปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดโครงการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมการติดเชื้อสำหรับผู้ป่วยที่ใส่คาสายสวนปัสสาวะภายในหอผู้ป่วย 3จ ขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัย มีความรู้ ความเข้าใจการดูแลตนเองเมื่อใส่คาสายสวนปัสสาวะ ลดค่าใช้จ่าย และมีความพึงพอใจในการบริการที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

วัตถุประสงค์
1. เพื่อลดอัตราการติดเชื้อในระบบทางดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการใส่
สายสวนปัสสาวะ
2. เพื่อให้มีแนวทางการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการติดเชื้อสำหรับผู้ป่วย
ใส่สายสวนปัสสาวะ
3. เพื่อให้บุคลากรมีระบบการสื่อสารด้านการติดเชื้อที่ต่อเนื่อง

วิธีการดำเนินงาน

1. โดยใช้กระบวนการพัฒนาคุณภาพงาน PDCA
2. มอบหมายผู้รับผิดชอบโครงการ/รวบรวมปัญหา ระดมสมองกำหนด
แนวทางการปฏิบัติและทำความเข้าใจ
3. ลงมือปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด
4. พัฒนาการให้ข้อมูลผู้ป่วยโดยการจัดทำแผ่นพับ เรื่อง การดูแลผู้ป่วย
ทีได้รับการใส่สายสวนปัสสาวะ
5. จัดทำสัญลักษณ์สื่อสารการติดตามการติดเชื้อในผู้ป่วยที่ใส่สายสวน
ปัสสาวะที่เหมาะสม
6. ติดตามการประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละและอัตราการติดเชื้อ
ครั้งต่อ 1000 วันที่ใส่

ผลการศึกษา
อัตราการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายสวนคาปัสสาวะโดยรวมร้อยละ 86.60

แนวทางการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่ใส่คาสายสวนปัสสาวะ
1. ดูแลสิ่งแวดล้อมให้สะอาดโดยเฉพาะไม้กั้นเตียง สำหรับแขวนถุงปัสสาวะ
2. ดูแลร่างกายให้สะอาดและดูแล Flush perineum bid หรือ Prn. ตามหลัก Sterile technique ในคู่มือปฏิบัติ
3. อธิบายการดูแลสายสวนปัสสาวะให้ผู้ป่วยและญาติทราบ เพื่อความร่วมมือ
4. ประเมินสีและปริมาณปัสสาวะทุกเวรพร้อมลงบันทึก
5. ติดสาย Foley’s cath ด้วย Transpor ถ้าผู้ป่วยชายติดบริเวณหน้าขาถ้าผู้ป่วยหญิง ติดด้านต้นขาด้านใน ป้องกันการดึงรั้ง
6. ดูแลจัดวางถุง Urine bag และสายไม่ให้หักทับงอ แขวนไว้กับไม้กั้นเตียงให้ต่ำกว่าระดับเอวเสมอ
7. แขวงถุง Urine bag ไม่ให้ลากถูกับพื้นและระวังไม่ให้จุกปิดเลื่อนหรือหลุด
8. ขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยต้องพับสายหรือรัดยางไว้สมอ
9. เปลี่ยนสาย Foley’s cath เมื่อสีของ Urine ขุ่นหรือตามแนวการรักษาของแพทย์
10. กระตุ้นให้ดื่มน้ำมากๆและสารน้ำตามแนวการรักษาของแพทย์
11. บันทึกปริมาณน้ำเข้าและออก ทุกเวรพร้อมประเมินผล
12. เช็คจุกปิด-เปิด ถึงเมื่อเท Urine ด้วยสำลีแอลกอฮอล์ทุกครั้ง
13. หากพบการติดเชื้อในโรงพยาบาล ส่งรายงานหน่วยติดเชื้อภายใน 24 ชั้วโมง
14. ส่งเวรต่อเนื่องเพื่อรับทราบข้อมูลพร้อมค้นหาสาเหตุวางแผนการรักษาพยาบาล
15. แจ้งข้อมูลกับแพทย์เจ้าของไข้ ภายใน 24 ชั่วโมง พร้อมติดตามแผนการรักษา
เป้าหมายของโครงการเป้าหมายของโครงการ

1. อัตราการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนปัสสาวะของหอผู้ป่วย 3จ < 5 ครั้ง ต่อ1000 วันที่ใส่
2. มีคู่มือแนวทางการป้องกันการติดเชื้อของหอผู้ป่วย
3. มีสัญลักษณ์สื่อสารการติดเชื้อ
4. บุคลากรปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะร้อยละ100

2. มีสัญลักษณ์สำหรับสื่อสารภายในทีมให้มีการการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการติดเชื้อผู้ป่วยใส่คาสายสวนปัสสาวะให้มีความต่อเนื่อง

ชื่อ…......
สกุล...........
HN..……
BED..… สื่อห่วงใย ใส่ใจ I C 3จ
1. พบการติดเชื้อที่ BSI URI LRI SSI UTI
อื่นๆ……………เมื่อวันที่……………………
2. เชื้อ…………………………
3. ประสานงานแพทย์ ส่งเวร เขียนบันทึกทุกเวร รายงาน ICN
4. แนวทางปฏิบัติ
ล้างมือ ย้ายชิดมุม/แยก ทำแผลสวม Maskสวมถุงมือ เปลี่ยนสาย IV เข็ม
Flush perinium
foley cath suction
5. หมดปัญหาเมื่อวันที่……………………………
( ขอความร่วมมือจากทุกท่าน )

3. แผ่นพับให้ข้อมูลผู้ป่วย เรื่อง การดูแลผู้ป่วยทีได้รับการใส่สายสวนปัสสาวะ

สรุปผลการศึกษา
การป้องกันการติดเชื้อ CaUTI อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ควรทำความเข้าใจกับบุคลากรเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติ เช่น การใช้สำลีแอลกอฮอล์เช็ดปลายถุงรองรับปัสสาวะ การบันทึกการพยาบาล การส่งรายงาน การรายงานแพทย์และการส่งเวร เป็นต้น และควรติดตามความเข้าใจของผู้ป่วยทุกราย รวมทั้งควรทบทวนวิเคราะห์หารากเหง้าของปัญหาผู้ป่วยที่ติดเชื้อซ้ำทุกรายเพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติ



เรื่อง: โครงการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการติดเชื้อuti3จ ตอบโดยอ้างข้อความ แก้ไข/ลบข้อความ

เกรียงไกร พันธ์ดงยาง พย.บ. หอผู้ป่วย 3จ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปรึกษาโครงการ น.ส.นุชจรี วุฒิสุพงษ์ หัวหน้าหอผู้ป่วย 3จ

หลักการและเหตุผล
หอผู้ป่วย 3จ ให้บริการผู้ป่วยทั่วไปที่มีความหลากหลาย พบว่าผู้ป่วย เมื่อเข้ามารักษาในโรงพยาบาล อาจเกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในโรงพยาบาลได้ จากสถิติปี พ.ศ.2547 พบอัตราการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนปัสสาวะ 5.04 ครั้งต่อ1000 วันที่ใส่ ทั้งนี้อาจเนื่องจากสุขภาพอ่อนแอจากโรค ผู้ป่วยไม่มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลการใส่คาสายสวนปัสสาวะ ระยะเวลาอยู่รักษาในโรงพยาบาลนาน การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ขาดการสื่อสารการส่งต่อข้อมูลการ ติดเชื้อที่ชัดเจนและต่อเนื่อง ซึ่งการติดเชื้อเป็นตัวบ่งชี้ถึงคุณภาพการพยาบาลอย่างหนึ่ง
เจ้าหน้าที่ตระหนักถึงความสำคัญในปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดโครงการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมการติดเชื้อสำหรับผู้ป่วยที่ใส่คาสายสวนปัสสาวะภายในหอผู้ป่วย 3จ ขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัย มีความรู้ ความเข้าใจการดูแลตนเองเมื่อใส่คาสายสวนปัสสาวะ ลดค่าใช้จ่าย และมีความพึงพอใจในการบริการที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

วัตถุประสงค์
1. เพื่อลดอัตราการติดเชื้อในระบบทางดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการใส่
สายสวนปัสสาวะ
2. เพื่อให้มีแนวทางการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการติดเชื้อสำหรับผู้ป่วย
ใส่สายสวนปัสสาวะ
3. เพื่อให้บุคลากรมีระบบการสื่อสารด้านการติดเชื้อที่ต่อเนื่อง

วิธีการดำเนินงาน

1. โดยใช้กระบวนการพัฒนาคุณภาพงาน PDCA
2. มอบหมายผู้รับผิดชอบโครงการ/รวบรวมปัญหา ระดมสมองกำหนด
แนวทางการปฏิบัติและทำความเข้าใจ
3. ลงมือปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด
4. พัฒนาการให้ข้อมูลผู้ป่วยโดยการจัดทำแผ่นพับ เรื่อง การดูแลผู้ป่วย
ทีได้รับการใส่สายสวนปัสสาวะ
5. จัดทำสัญลักษณ์สื่อสารการติดตามการติดเชื้อในผู้ป่วยที่ใส่สายสวน
ปัสสาวะที่เหมาะสม
6. ติดตามการประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละและอัตราการติดเชื้อ
ครั้งต่อ 1000 วันที่ใส่

ผลการศึกษา
อัตราการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายสวนคาปัสสาวะโดยรวมร้อยละ 86.60

แนวทางการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่ใส่คาสายสวนปัสสาวะ
1. ดูแลสิ่งแวดล้อมให้สะอาดโดยเฉพาะไม้กั้นเตียง สำหรับแขวนถุงปัสสาวะ
2. ดูแลร่างกายให้สะอาดและดูแล Flush perineum bid หรือ Prn. ตามหลัก Sterile technique ในคู่มือปฏิบัติ
3. อธิบายการดูแลสายสวนปัสสาวะให้ผู้ป่วยและญาติทราบ เพื่อความร่วมมือ
4. ประเมินสีและปริมาณปัสสาวะทุกเวรพร้อมลงบันทึก
5. ติดสาย Foley’s cath ด้วย Transpor ถ้าผู้ป่วยชายติดบริเวณหน้าขาถ้าผู้ป่วยหญิง ติดด้านต้นขาด้านใน ป้องกันการดึงรั้ง
6. ดูแลจัดวางถุง Urine bag และสายไม่ให้หักทับงอ แขวนไว้กับไม้กั้นเตียงให้ต่ำกว่าระดับเอวเสมอ
7. แขวงถุง Urine bag ไม่ให้ลากถูกับพื้นและระวังไม่ให้จุกปิดเลื่อนหรือหลุด
8. ขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยต้องพับสายหรือรัดยางไว้สมอ
9. เปลี่ยนสาย Foley’s cath เมื่อสีของ Urine ขุ่นหรือตามแนวการรักษาของแพทย์
10. กระตุ้นให้ดื่มน้ำมากๆและสารน้ำตามแนวการรักษาของแพทย์
11. บันทึกปริมาณน้ำเข้าและออก ทุกเวรพร้อมประเมินผล
12. เช็คจุกปิด-เปิด ถึงเมื่อเท Urine ด้วยสำลีแอลกอฮอล์ทุกครั้ง
13. หากพบการติดเชื้อในโรงพยาบาล ส่งรายงานหน่วยติดเชื้อภายใน 24 ชั้วโมง
14. ส่งเวรต่อเนื่องเพื่อรับทราบข้อมูลพร้อมค้นหาสาเหตุวางแผนการรักษาพยาบาล
15. แจ้งข้อมูลกับแพทย์เจ้าของไข้ ภายใน 24 ชั่วโมง พร้อมติดตามแผนการรักษา
เป้าหมายของโครงการเป้าหมายของโครงการ

1. อัตราการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนปัสสาวะของหอผู้ป่วย 3จ < 5 ครั้ง ต่อ1000 วันที่ใส่
2. มีคู่มือแนวทางการป้องกันการติดเชื้อของหอผู้ป่วย
3. มีสัญลักษณ์สื่อสารการติดเชื้อ
4. บุคลากรปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะร้อยละ100

2. มีสัญลักษณ์สำหรับสื่อสารภายในทีมให้มีการการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการติดเชื้อผู้ป่วยใส่คาสายสวนปัสสาวะให้มีความต่อเนื่อง

ชื่อ…......
สกุล...........
HN..……
BED..… สื่อห่วงใย ใส่ใจ I C 3จ
1. พบการติดเชื้อที่ BSI URI LRI SSI UTI
อื่นๆ……………เมื่อวันที่……………………
2. เชื้อ…………………………
3. ประสานงานแพทย์ ส่งเวร เขียนบันทึกทุกเวร รายงาน ICN
4. แนวทางปฏิบัติ
ล้างมือ ย้ายชิดมุม/แยก ทำแผลสวม Maskสวมถุงมือ เปลี่ยนสาย IV เข็ม
Flush perinium
foley cath suction
5. หมดปัญหาเมื่อวันที่……………………………
( ขอความร่วมมือจากทุกท่าน )

3. แผ่นพับให้ข้อมูลผู้ป่วย เรื่อง การดูแลผู้ป่วยทีได้รับการใส่สายสวนปัสสาวะ

สรุปผลการศึกษา
การป้องกันการติดเชื้อ CaUTI อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ควรทำความเข้าใจกับบุคลากรเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติ เช่น การใช้สำลีแอลกอฮอล์เช็ดปลายถุงรองรับปัสสาวะ การบันทึกการพยาบาล การส่งรายงาน การรายงานแพทย์และการส่งเวร เป็นต้น และควรติดตามความเข้าใจของผู้ป่วยทุกราย รวมทั้งควรทบทวนวิเคราะห์หารากเหง้าของปัญหาผู้ป่วยที่ติดเชื้อซ้ำทุกรายเพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติ





ปัญหาเดิมๆที่พบการไม่ยึดสายสวนกับตำแหน่งที่ถูกต้องโดยเฉพาะผู้ป่วยที่ย้ายมาพบร้อยละ70ค่ะ
และการติดสายสวนกับตำแหน่งที่ตึงเกินไปทำให้การจัดท่าโดเฉพาะเวลากางขาเพื่อเปลี่ยนผ้าทำให้ดึงรั้งพบร้อยละ30 ค่ะ
การติดเชื้อ E .coli ปัญหาดั้งเดิมคือการทำความสะอาดหลังถ่ายอุจาระไม่ถูกต้องร้อยละ 60
พบปัญหาดั้งเดิมจริงๆค่ะ

ต่อมาคือผู้ป่วยกับจำนวนเจ้าหน้าที่ไม่เหมาะสมทำให้มีข้อบกพร่องค่ะ


ณ จันทร์รายงานข่าวประจำเดือนตุลาคม 2550ค่ะ
อ๋อ..ติดเชื้อรายเก่ารายเดิมที่มีปัญหาที่ไต มาก่อนเจ้าค่ะรายเก่ารายเดิม
[img][/img]


น่าช่นชมจัง บรรยากาศการทำงานคงสนุกนะคะ

ขอบคุณพี่มากนะค่ะ.......พอดีหนูสนใจโครงการนี้เหมือนกัน.........อ่านแล้วเข้าใจมากเลยค่ะ

มีเคล็ลับมาบอกนิดหน่อยค่ะ เรื่องง่ายๆที่ป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ คือ ทำสายให้อยู่นิ่ง(จริงๆ)เพระการเลื่อนเข้าออก ของสายนอกจากจะทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นอาจเกิดการถลอกแล้ว จะช่วยลดอาการรำคาญของสายได้ ใช้พลาสเตอร์ติดดีกว่า เข็มกลัดค่ะ คนไข้บอกมาถ้าเป็นไปได้ ขอให้ใส่ใจเรื่องทำให้สายนิ่งๆนะคะ และเวลาทำความสะอาด perinium ผู้ป่วยบอกว่าตอนสายแกว่งเจ็บมากจริงๆๆ เลยเอามาเล่าให้ฟังค่ะ

หลังจากทำ KM มาสักระยะหนึ่งแล้ว เราพบว่า การบันทึกในใบRecord เป็นภาระงาน ที่ทำให้น้องไม่สนุก ทางที่ดี ทำงี้กันเถอะ

ว่าแล้วก็ let GO

พวกเราก็บอกก่อน ได้ผลก่อน ด้วยการพูดง่ายๆใส่ใจทุกอย่างสายยางของท่าน อาจทำให้คติดเชื้อ ช่วยกันดูแลนะคะ

แล้วการติดพลาสเตอร์สายสวนก็ไม่ค่อยมาปัญหาค่ะ เนื่องจากห้องผ่าตัดติดสายสวนไม่ตรึงแน่นหย่อนพอดี (ไม่ต้องแก้ใหม่ และติดตามที่เราเคยนำเสนอ ดังนั้นอยู่ได้สบายไม่เลื่อนหลุดแน่ค่ะ)

การทำความสะอาดง่ายลงมานิดหนึ่ง เราให้ข้อมูลแล้วผู้ป่วยจะเลือกว่าให้ญาติ/เจ้าหน้าที่ทำให้ด้วยเหตุผลอะไร แต่เราจะสอนผู้ป่วย และญาติว่าทำยังไง(บางคนก็อายมาก แต่ด้วยความที่เราทำให้ผุ้ป่วย/ญาติรู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของทีมทำให้เขาตั้งใจที่จะเรียนรู้)

อีกหนึ่งอย่างที่ ทำให้เขาภูมิใจว่า การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะนั้น การทำความสะอาดสำคัญ และเขาได้นำไปใช้กับตัวเองค่ะ

5นาที สำหรับบอกและสอน และตามด้วยทำให้ดูค่ะ น้องๆทำได้จนเดี๋ยวนี้เป็นพฤติกรรมที่ทำโดยไม่ต้องเช็คเหมือนเดิมแล้ว

ไม่ต้องเพิ่มภาระงน และกระดาษอีกค่ะ

ทำเถอะค่ะ ยิ่งทำบ่อยยิ่งชำนาญ

ช่วงหน้า จะพาร้องเพลงทำดี เพื่อ IC กันเต้อะ

เป็นคนใหม่นะคะ เข้ามาใช้งานครั้งแรก ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ UTI เคยศึกษาข้อมูลกับท่านอาจจารย์ผู้เชี่ยวชาญภาควิชาอายุรศาสตร์ การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ สถาบันในภาคใต้ เกี่ยวกับการใช้ Savlon ทำความสะอาดก่อนการสวนปัสสาวะ และการดูแลผู้ป่วยทั้งที่คาและไม่คาสายสวน จากข้อมูลที่ได้อ่านจากผู้รู้ในที่นี้ ที่ได้มีการวิจัยและพิสูจน์แล้วว่าไม่แตกต่างกันและมีความสิ้นเปลืองงบประมาณเปล่าๆ นั้นน่าจะจริง เพราะว่า Savlon อยู่ในตระกูล loa level disinfectant ซึ่งการทำลายเชื้อต้องใช้ Contact time การเอาสำลีไปเช็ดๆถูๆ ช่วงเวลาแค่แป๊บเดียวน่าจะไม่มีประโยชน์อะไร การดูแลความสะอาดด้วยสบู่ก็น่าจะเพียงพอแล้ว ใช้สารเคมีให้ระคายเคืองเปล่าๆแถมเปลืองเงินซื้ออีกต่างหาก ยังเคยจำกันได้มั๊ยคะ สมัยก่อนที่เราทำงาน IC กันไหม่ๆมีการใช้ SAVLON1:30 แช่ Transfer forceps ซึ่งเป็นอุปกรณ์การแพทย์ในกลุ่ม High level ที่ต้องการความ Sterile เท่านั้น ซึ่งน่ากลัวมากๆเลยนะคะ ทำกันได้อย่างไร ? เพราะเรายังไม่มีความรู้ ซึ่งตอนนี้ทราบว่าแต่ละโรงพยาบาลน่าจะยกเลิกการใช้ SAVLON กันหมดแล้ว และเห็นกันแล้วลดการใช้งบประมาณลงอย่างห็นได้ชัดเจนจนผู้บริหารพึงพอใจ ดังนั้นจึงเห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะให้ความสำคัญกับการให้ความรู้กับผู้ดูแลผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ในเรื่องของการทำความสะอาดร่างกายและอวัยวะขับถ่ายให้สะอาด โดยให้เขาทราบเหตุผลที่เพียงพอ แค่นี้ก็เชื่อว่าสามารถลดอัตราการติดเชื้อได้ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นก็ยังพบว่ามีผู้ป่วย ที่มีโรคหลักและโรคแทรกซ้อนหลายโรค ที่มีภาวะภูมิต้านทานต่ำ สูงอายุ มีโอกาสติดเชื้อสูงในทุกระบบ ซึ่งบางครั้งเราพบว่าจะมีการติดเชื้อระบบต่างๆอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่น Non-CA UTI ขอให้ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ช่วยตอบหน่อยค่ะ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท