คณิตศาสตร์รอบตัววันนี้ "คณิตศาสตร์รอบตัวว่าด้วยการทำกับข้าว"


"คณิตศาสตร์รอบตัวว่าด้วยการทำกับข้าว"

คณิตศาสตร์รอบตัววันนี้ นำเสนอตอน

      "คณิตศาสตร์รอบตัวว่าด้วยการทำกับข้าว"

อิๆ ไหนๆก็ไหนๆ แล้วนะครับ อันว่า เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว  ปลาทูกับสะตอบนยอดเขา  สิ่งเหล่านี้ นำไปสู่บทสรุปที่ว่า ทุกสิ่งในโลกล้วนสัมพันธ์กัน ดังนั้นวันนี้ก็ไม่แปลกที่จะเอาคณิตศาสตร์มาโยงใยกับการทำกับข้าวซึ่งทุกวันทุกคนก็ต้องกินอาหาร  ก่อนจะนำไปสู่การโยงใยกับคณิตศาสตร์ ขอแนะนำเมนูซักอย่างก่อนครับ วันนี้เอาเมนูแกงง่ายๆ ซักอย่าง เอาแกงส้มปลาเซลมอนกับผักกาดขาว แล้วกันนะครับ

    เมนู แกงส้มปลาเซลมอนกับผักกาดขาว  (อาจจะไม่ตรงกับสูตรคนอื่น อันนี้สูตรใครก็สูตรใครครับ)

เริ่มด้วย สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนนะครับ

  1. เครื่องแกงส้ม (ของแม่อะไรก็ได้ ซักแม่นะครับ หากไม่มีเครื่องแกงส้ม ก็ใช้เครื่องแกงแดงก็ได้ครับ หรือว่าจะตำเองก็ได้ อันได้แก่ ตำพริกแห้ง หรือสดแล้วแต่ชอบ หรือพริกป่น กระเทียม เกลือ ขมิ้น(สูตรปักษ์ใต้) โขลกให้ละเอียดให้เข้ากัน แล้วตามด้วย กะปิกุ้งครับ)

  2. ปลาเซลมอน หากซื้อได้ที่แช่แข็ง ครับ มีหลายแบบให้เลือก ในท้องตลอดครับ หั่นเป็นชิ้นๆครับ

  3. ผักกาดขาว หันเป็นชิ้นพอคำตามความชอบครับ

  4. น้ำปลา หรือแมกกี้

  5. น้ำส้มมะนาว

ต่อมา ว่าด้วยขั้นตอนในการทำนะครับ

  1. ต้มน้ำให้เดือดครับ

  2. จากนั้นก็ละลายเครื่องแกงรอให้เดือดครับ

  3. ใส่ปลารอให้ปลาสุกครับ และให้เดือดด้วยครับ

  4. ใส่ผักกาดขาว รอให้เดือดครับ แล้วแต่ชอบว่าจะให้ผักนุ่มหรือว่าผักกรอบอยู่ครับ

  5. ปรุงรสด้วยน้ำปลา หรือแมกกี้ หรือเกลือ ตามความชอบครับ

  6. ต่อมาขั้นตอนสุดท้ายครับ คือ ปรุงเปรี้ยว (เทคนิคของแกงส้มสูตรคุณแม่ผม ต้องใส่ส้มหลังสุด เพราะส้มจะเป็นตัวน็อคให้ผักกรอบหรือไม่กรอบ ตามลำดับการเปื่อยของผักนะครับ จะให้ผักเข้าส้มหรือไม่ตอนนี้หล่ะครับ เช่นหากแกงมะลอ หากให้กรอบก็ใส่ส้มในตอนที่ มะละกอยังไม่เปื่อย หากต้องการให้มันเข้าส้มดี ก็ใส่ตอนที่มะละกอเปื่อย ผักกาดขาวก็เช่นกันครับ  แต่แกงส้มตามตำราของ กทม. หรือแม่อื่นๆ อาจจะผสมส้มมาแล้ว ดังนั้นการใช้เครื่องแกงแดงก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่ไม่ต้องตำเครื่องเองครับ)

  7. ปรับปรุงรสชาติตามที่ต้องการครับ

อิๆๆ แล้วก็ตามด้วยข้าวร้อน ซักจานสองจานสามจาน ให้พุงปลิ้นเลยครับ อาจจะมีเมนูอื่นเคียงข้างเช่น ไข่เจียว หรือว่าปลาเค็ม หรือว่า ไส้กรอกทอด ก็แล้วแต่นะครับ อิๆๆๆๆ ว่าแล้วยังไม่ถึงการผสมกับคณิตศาสตร์เลย น้ำลายเริ่มไหลแล้ว นึกถึงแกงส้มในครัวเลย อิๆ

ต่อมา ดูเรื่องคณิตศาสตร์ สำหรับเรื่องนี้ ก็ไม่ยากไรเลยครับ มันจะเกี่ยวกับเรื่องของ เซต เรื่องของลำดับขั้นตอน

ในการทำก่อนหลัง หรืออัลกอริทึม ส่วนการผสมรสชาติให้เข้ากันตามที่ชอบนี่ก็อาจจะออกไปทางเคมีหน่อยครับ

ขั้นแรก ผมจะนิยาม เซตของเครื่องแกง ก่อนครับ

เครื่องแกงส้ม = {พริก, กระเทียม, ขมิ้น, เกลือ}

เนื้อปลา = {ปลาเซลมอน หรือปลาอื่นๆ}

ผัก = {ผักกาด หรือ ผักอื่นๆ}

เครื่องปรุง = {น้ำปลา, เกลือ, น้ำมะนาว, แมกกี้}

ตัวทำละลาย = {น้ำต้มเดือด}

เซตของแกงส้ม = {เครื่องแกงส้ม ,  เนื้อปลา , ผัก, เครื่องปรุง, ตัวทำละลาย}

จะเห็นว่าเรามีทุกอย่างครบตามที่เรากำหนดในส่วนผสมสำหรับแกงส้มครับ แต่คณิตศาสตร์อันหนึ่งที่ผมไม่กล่าวในเรื่องนี้คือ อัตราส่วนครับ นั่นคือ สัดส่วนของ ส่วนประกอบของแต่ละอย่างในเซตของแกงส้ม ไม่ว่าจะเครื่องแกงส้มเท่าไหร่ ใส่เนื้อปลาเท่าไหร่ ผักเท่าไหร่ เครื่องปรุงเท่าไหร่ ที่จะทำให้รสชาติที่เราถูกใจและปรารถนา

ต่อไปก็จะเป็นขั้นตอนของการผสม ซึ่งก็จะเป็นไปตามหลักของการผสมทางเคมี ในการใส่ลำดับก่อนหลัง และจะมีคณิตศาสตร์อีกตัวที่ไปเกี่ยวคือ ลำดับเวลาจากขั้นที่หนึ่งไปยังขั้นที่สอง เราจะได้ลำดับเหล่านี้ ซึ่งอาจจะมีบทบาทในการทำให้อาหารรสดีหรือไม่ด้วย ซึ่งอาจจะมีการทำให้ขึ้นต่อกันแบบตามลำดับก่อนหลัง หากบางอย่างช้าหรือเร็วก็อาจจะมีบทบาทในการได้รสชาติ

อันนี้เอาไว้ให้ไปลองทำกันนะครับ รสชาติตามที่ต้องการ การใส่ส่วนผสมเครื่องปรุง หากต้องการจะบอกให้นะครับ อิๆๆ

ขอให้โชคดีกับการทำอาหารเมนูอื่นๆ ด้วยคณิตศาสตร์ครับผม

เม้ง

หมายเลขบันทึก: 10559เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2005 10:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • เพ้อฝันดีไหมครับ
  • เขียนไว้นานสองนานครับ
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะ อ.เม้ง

ชอบไอเดียนี้มากค่ะ

เป็นเรื่องใกล้ตัวและดูน่าสนใจมากๆ ค่ะ

โอ๋ AppMath

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท