บำเหน็จตกทอด


บำเหน็จตกทอด
ข้าราชการบำนาญมีเรื่องค้างคาใจเกี่ยวกับเรื่องราวการให้เอาเงินอนาคต คือบำเหน็จตกทอด มาใช้ก่อนเสียชีวิตมาให้ช่วยทวงถาม  มีการเท้าความว่ารัฐบาลปัจจุบันเคยมีมติ ครม.เมื่อเดือนมกราคม 2550 ให้ดำเนินการเรื่องนี้ต่อเนื่องจากรัฐบาลก่อน โดยเสนอเป็นกฎหมายเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่เรื่องราวดังกล่าวกลับหายเงียบไปราวคลื่นกระทบฝั่ง ติดตามทางไหนก็ไม่ได้คำตอบที่ชัดเจน  เลยย้อนไปค้นมติ ครม.เก่ามาดู พบว่าเป็นวิธีการหลีกเลี่ยงข้อกฎหมายอย่างแยบยล คือเสนอแก้กฎหมายให้เอาสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ ในการประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงินได้  เท่ากับว่าอยากใช้เงินเท่าไหร่ให้ไปกู้เอาโดยใช้ บำเหน็จตกทอด มาค้ำประกันตามร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการที่เสนอแก้ไขซึ่งมีสาระสำคัญคือ1.  กำหนดให้ผู้รับบำนาญปกติ หรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุผลทุพพลภาพ มีสิทธินำสิทธิในบำเหน็จ-ตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงินได้ โดยในกรณีที่ผู้รับบำนาญได้รับบำเหน็จดำรงชีพไปแล้ว ก็ให้หักบำเหน็จดำรงชีพออกจากสิทธิในบำเหน็จตกทอดเสียก่อน2.  กำหนดให้กรณีที่ผู้รับบำนาญซึ่งได้นำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ ในการประกันการกู้เงินถึงแก่ความตาย หรือผิดสัญญากู้เงินจนต้องบังคับเอากับสิทธิในบำเหน็จตกทอดที่เป็นหลักทรัพย์ ให้กระทรวงการคลังจ่ายเงินแก่สถาบันการเงินเท่ากับจำนวนที่ถูกบังคับ แต่ไม่เกินจำนวนที่นำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันกู้เงิน ส่วนการจ่ายเงินให้แก่สถาบันการเงินกรณีนี้ ให้กระทรวงการคลังจ่ายจากงบประมาณที่ตั้งไว้สำหรับการเบิกจ่ายบำเหน็จตกทอด3.  กำหนดให้กระทรวงการคลังมีอำนาจหักจำนวนเงินที่ได้จ่ายแก่ สถาบันการเงิน แทนผู้รับบำนาญออกจากสิทธิในบำเหน็จตกทอด แต่หากไม่สามารถหักได้ก็ให้เรียกคืนจากผู้รับบำนาญหรือจากกองมรดก ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด4.  กำหนดให้ในกรณีผู้รับบำนาญได้นำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักประกันเงินกู้ ต่อมาได้กลับเข้ารับราชการใหม่ และนับเวลาราชการต่อเนื่องเมื่อออกจากราชการครั้งหลัง โดยเลือกรับบำเหน็จจะได้รับบำเหน็จตามสิทธิ โดยกระทรวงการคลังจะกันเงินบำเหน็จเท่ากับจำนวนที่นำไปเป็นหลักประกันเงินกู้ เมื่อสัญญากู้เงินสิ้นสุดลงโดยไม่มีการบังคับเอากับสิทธิในบำเหน็จตกทอด กระทรวงการคลังจะคืนเงินบำเหน็จที่กันไว้5.กำหนดให้ทายาทมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดเต็มตามจำนวนสิทธิ หากผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย หรือสัญญากู้เงินสิ้นสุดลง โดยมีการบังคับเอากับสิทธิในบำเหน็จตกทอดที่นำไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงิน ทายาทมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดเท่ากับจำนวนที่เหลือหลังจากที่กระทรวงการคลัง ได้หักจำนวนเงินที่จ่ายให้แก่สถาบันการเงิน ออกจากสิทธิในบำเหน็จตกทอดส่วนความคืบหน้าว่าการเสนอกฎหมายดังกล่าวดำเนินไปถึงขั้นใดแล้ว ต้องให้ผู้รับผิดชอบในสภานิติบัญญัติแห่งชาติช่วยตอบให้ด้วยไทยรัฐ (คอลัมน์มุมข้าราชการ)  22  มิ.ย.  50
คำสำคัญ (Tags): #บำเหน็จตกทอด
หมายเลขบันทึก: 105477เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2007 15:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 20:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท