ตัวอย่างการนำการจัดการด้านความรู้มาใช้ในองค์กร


น่าสนใจนะจ๊ะ

วันนี้ดิฉันได้เข้าไปอ่านข้อมูลในอินเตอร์เนตเกี่ยวกับการจัดการความรู้ และเห็นว่ามีประโยชน์สำหรับเพื่อนคนอื่นๆ  ก็เลยขออนุญาตนำมาเปิดเผยให้เพื่อนๆได้ทราบกันนะคะ

กรณีศึกษาจากต่างประเทศ
- 3M : มี Forum และ Conference ภายในสำหรับพนักงานได้มาแลกเปลี่ยนความรู้ และการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ จนทำให้ 3M เป็นบริษัทชั้นนำ ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นองค์กรที่มีการสร้านวัตกรรมยอดเยี่ยมของโลก
- Dow Chemical : ได้เก็บข้อมูลสิทธิบัตร 25,000 รายการ ไว้ในฐานข้อมูล เพื่อให้พนักงานได้นำความรู้ใหม่ ๆ มาต่อยอด จากความคิดในสิทธิบัตรเดิม

- Xerox จัดสร้างห้องกาแฟส่วนกลาง เพื่อให้พนักงานจากทุกฝ่ายที่ต้องการแลกเปลี่ยนความรู้ มาพบปะพูดคุยกัน ได้ตลอดเวลา

กรณีศึกษาจากในประเทศ

- TRUE : มีการผสมผสานระหว่างการจัดการความรู้กับ Call Center ที่ต้องการความรวดเร็วและความเชี่ยวชาญในการค้นหาข้อมูลจากพนักงาน ซึ่งจะทำให้ความน่าเชื่อถือและความพึงพอใจของผู้รับบริการ โดยมีการใช้ซอฟต์แวร์ จาก eGain เข้ามาช่วยบริหารงานด้านCall Center ในองค์กร

- บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) : เริ่มจากเป้าหมายของธุรกิจหรือหน่วยงาน มาใช้เป็นตัวกำหนดความรู้ที่ต้องการใช้ โดยรวบรวมความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร การเผยแพร่ความรู้ ได้ใช้วิธีการผสมผสาน เช่น การจัดอบรมในห้องเรียน การใช้ระบบที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยง (Coaching และ Mentor)  การเรียนรู้จาก E-learning ภายในบริษัท เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือที่ช่วยทำให้การจัดการความรู้ของเครือปูนซิเมนต์ไทย ประสบควาสำเร็จนั่นคือ การใช้ Web Board เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน การจดบันทึกที่มีประสิทธิภาพ การใช้กรณีศึกษา (CaeStudy) มาวิเคราะห์ทั้งความล้มเหลวและประสบความสำเร็จของกิจการที่เรียนรู้จากกรณีศึกษา การมีเป้าหมายเพื่อสร้างพฤติกรรมโดยอิงหลักการ วินัย 5 ประการของ Peter Senge” เป็นต้น

- บริษัท ปูนซิเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) : มีการบริหารความรู้และกระตุ้นให้เรียนรู้ในลักษณะเชิงรุก และทำงานเป็นระบบโดยการสอนงานอย่างใกล้ชิดแบบตัวต่อตัว เช่น วิศวกรอาวุโสเป็นผู้ให้แนวทางการทำงาน และเป็นครูฝึกให้กับวิศวกรใหม่ เพื่อเรียนรู้ระบบการผลิต เครื่องจักร แล้วนำความรู้ที่ได้มาเขียนเป็นคู่มือปฏิบัติงานเก็บไว้ในศูนย์กลางข้อมูล ซึ่งทุกคนสามารถเข้ามาใช้โดยผ่านระบบอินทราเน็ต เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอีกมากมายเพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศในการจัดการความรู้ในองค์กร และผู้บริหารเป็นผู้ให้การสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเต็มที่

 
สรุป 

จะเห็นได้ว่าทุกองค์กร ไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต่างก็ให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เพราะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการก้าวหน้าหรือถอยหลังขององค์กร การทำให้บุคลากรมีความกระตือลือล้นที่จะสร้างบรรยากาศในการแสวงหาความรู้ เพื่อนำพาองค์กรเจริญต่อไปในอนาคต จำเป็นจะต้องคำนึงถึงปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประกอบกันไปด้วย มิฉะนั้นความรู้ทุกคนที่ได้ร่วมแรงร่วมใจในการสร้างนั้น ก็จะไม่มีประโยชน์อันใดเลย    

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1052เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2005 18:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท