ระบบประกันคุณภาพในสถานศึกษา


การประกันคุณภาพในสถานศึกษา

                สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 ได้ทำ KM เรื่องการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยมีกระบวนการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามกฎกระทรวง 8 ข้อ ดังนี้               

              1. การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ               

              2. การพัฒนามาตรฐานการศึกษา               

             3. การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา               

             4. การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา               

             5. การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา               

             6. การประเมินคุณภาพการศึกษา               

             7. การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี               

             8. การผดุงระบบประกันคุณภาพการศึกษา               

                   โรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นโรงเรียนที่มีผลการประเมินคุณภาพ  ภายนอก รอบแรก อยู่ในระดับดี จำนวน  70  โรงเรียน จากการใช้กิจกรรม เรื่องเล่าเร้าพลัง (Story Telling) สามารถสังเคราะห์และสรุปเป็นแก่นความรู้ในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาได้ดังนี้               

                  1. ด้านการจัดระบบบริหารและสารสนเทศ  มีวิธีการในการดำเนินงานดังนี้                    

                          1.1 ศึกษามาตรฐานการศึกษาที่เกี่ยวข้อง คือ  มาตรฐานการศึกษาชาติ  มาตรฐานการศึกษา        ขั้นพื้นฐาน  มาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอก                    

                         1.2  กำหนดโครงสร้างการบริหารจัดการงาน 4 งาน คือ  ด้านวิชาการ  ด้านบริหารงานบุคคล  ด้านการเงินและพัสดุ  และด้านการบริหารทั่วไป ให้ชัดเจน                    

                          1.3  ประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องวิเคราะห์งาน และพิจารณามอบหมายผู้รับผิดชอบ                     

                          1.4 แต่งตั้ง มอบหมายผู้รับผิดชอบงานในการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ                           

                                -   ประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง วิเคราะห์ภารกิจ และบริบทของโรงเรียน กำหนดขอบข่ายของ สารสนเทศ                          

                               -   จัดทำกรอบ  โครงสร้าง  และขั้นตอนการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศ         -   คัดเลือกผู้รับผิดชอบ มอบหมายภารกิจ           -   กำหนดปฏิทินการดำเนินงาน       -   พัฒนาผู้รับผิดชอบ     

                        1.5 วิเคราะห์ และกำหนดความต้องการข้อมูลสารสนเทศในการบริหารจัดการ         

                           -  ประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง          -  วิเคราะห์ภารกิจ และข้อมูลสารสนเทศที่จำเป็นในการบริหารจัดการศึกษา แยกเป็นหมวดหมู่    

                    1.6  สร้างเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ         

                         -  ศึกษาตัวชี้วัด เกณฑ์การประเมินในมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการบริหารงานทั้ง 4 งาน          -  จัดทำเครื่องมือในการเก็บข้อมูล    

                   1.7  เก็บรวบรวมข้อมูล        

                       -  เตรียมสถานที่ในการจัดเก็บให้เป็นระบบ เช่น  ตู้เก็บเอกสาร  แฟ้มงาน  คอมพิวเตอร์  ชั้นเอกสาร  ฯลฯ          -  ดำเนินการจัดเก็บ    

                1.8  จัดกระทำข้อมูล         

                     -  จัดหมวดหมู่          -  วิเคราะห์ข้อมูล          -  เก็บรักษาข้อมูล    

                1.9  ปรับปรุงพัฒนาสารสนเทศให้เป็นปัจจุบัน         

                     -  ประชุมทบทวนข้อมูล          -  ตรวจสอบ ปรับปรุงข้อมูล    

               1.10  นำข้อมูลไปใช้ และรายงาน         

                    -  เลือกใช้ข้อมูลให้ถูกต้อง          -  ผู้รับผิดชอบตรวจสอบและรับรองข้อมูล

              2. การพัฒนามาตรฐานการศึกษา  มีวิธีการในการดำเนินงานดังนี้    

                    2.1  แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนามาตรฐานการศึกษา  ประกอบด้วย  ผู้บริหารโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  หัวหน้ากลุ่มสาระ  ตัวแทนครูปฐมวัย  ศิษย์เก่า  นักเรียน  ผู้ปกครองนักเรียน         

                         -  ศึกษาและวิเคราะห์มาตรฐานการศึกษาที่เกี่ยวข้อง คือ  มาตรฐานการศึกษาชาติ  มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย  และมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอก         

                        -  ศึกษาสภาพบริบท และความต้องการของท้องถิ่น   

                 2.2  จัดทำร่างมาตรฐานให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาชาติ  มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย  มาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอก  สภาพบริบท และความต้องการของท้องถิ่น โดยการเพิ่มมาตรฐาน หรือตัวบ่งชี้    

                2.3  นำร่างมาตรฐานเสนอคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  เพื่อขอความเห็นชอบ    

               2.4  จัดพิมพ์ และเผยแพร่ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ และนำไปเป็นเป้าหมายในการจัดการศึกษาของโรงเรียน

           3. การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา  มีวิธีการในการดำเนินงานดังนี้    

                3.1  เตรียมการจัดทำแผน         

                       -  แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผน  ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน  คณะครู ตัวแทนผู้ปกครอง  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน           -  ประชุมชี้แจงบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ          -  จัดทำปฏิทินการจัดทำแผน   

                3.2  ประเมินความต้องการจำเป็น         

                        -  ทบทวน ตรวจสอบ วิสัยทัศน์ ภารกิจ และการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา          -  กำหนดภาพความสำเร็จในแต่ละด้านร่วมกัน          -  สำรวจ และวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของโรงเรียน         -  กำหนดประเด็น จัดลำดับความสำคัญในการพัฒนา   

                   3.3  กำหนดแนวทางในการพัฒนา         

                         -  วิเคราะห์ ทบทวน ปัญหา สาเหตุ และประเด็นในการพัฒนาตามลำดับความสำคัญ          -  กำหนดแนวทางในการพัฒนาตามลำดับความต้องการจำเป็น          -  กำหนดแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม  และผู้รับผิดชอบในการพัฒนา   

               3.4  จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา         

                      -  รวบรวมแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ในการพัฒนา จัดทำเป็นแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา         -  นำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน          -  จัดลำดับความสำคัญของแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ตามความต้องการจำเป็น มาจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ

            4. การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา  มีวิธีการในการดำเนินงานดังนี้    

                    4.1  ประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ชี้แจง ทำความเข้าใจ  เกี่ยวกับการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม    

                  4.2  มอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการ    

                  4.3  ประชาสัมพันธ์โครงการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบ    

                  4.4  ประสานการทำงานในแต่ละแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ให้มีการบูรณาการกิจกรรมที่มี เป้าหมายสอดคล้อง ใกล้เคียงกัน    

                  4.5  จัดทำคู่มือการดำเนินงานให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกคนใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน    

                  4.6  นิเทศ  ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ก่อนการดำเนินงาน  ระหว่างการดำเนินงาน และหลังการดำเนินงาน    

                 4.7  รายงานผลระหว่างการดำเนินงาน และเมื่อสิ้นสุดการดำเนินงาน       

               4.8  สรุปผลการดำเนินงาน รายงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ

          5. การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา  มีวิธีการในการดำเนินงานดังนี้

               5.1  ประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ และทบทวนคุณภาพการศึกษา             

                  -  วิสัยทัศน์ และภารกิจของสถานศึกษา        -  แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา  โครงการ  กิจกรรม          -  กระบวนการจัดการเรียนรู้          -  ผลการเรียนรู้           -  การบริหารและการจัดการทางวิชาการ

               5.2  มอบหมาย  ชี้แจงบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ    

             5.3  กำหนดเป้าหมาย  วิธีดำเนินการ  ตัวชี้วัดความสำเร็จ  วิธีการตรวจสอบและประเมินผล  และเครื่องมือในการวัด และประเมินผล    

              5.4  จัดทำแผน และคู่มือ ในการตรวจสอบ และทบทวนคุณภาพการศึกษา    

              5.5  คณะกรรมการดำเนินการตรวจสอบตามปฏิทินที่กำหนด    

              5.6  ประชุมชี้แจง  สรุปผล และให้ข้อเสนอแนะ ในการปรับปรุง แก้ไข แก่ผู้เกี่ยวข้องในแต่ละแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทุกครั้ง

          6. การประเมินคุณภาพการศึกษา  มีวิธีการในการดำเนินงานดังนี้    

                 6.1  ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง           

                      -  กำหนดกรอบในการประเมินตนเอง พิจารณาจาก สภาพปัจจุบันปัญหา  นโยบาย แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา  แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ            -  กำหนดกระบวนการ วิธีการในการประเมิน เครื่องมือที่ใช้  ระบบการจัดเก็บข้อมูล         -  กำหนดเกณฑ์ในการประเมิน       6.2  แต่งตั้งคระกรรมการประเมิน หรือกำหนดผู้รับผิดชอบในการประเมิน     6.3  วางแผนการประเมินตนเอง           -  กำหนดเป้าหมายของการ        -  กำหนดมาตรฐาน ตัวบ่งชี้           -  วางแผนการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ สรุป และรายงานผล     6.4  ลงมือทำการประเมินผล     6.5  วิเคราะห์ สรุปผลการประเมิน     6.6  รายงานผลการประเมิน สรุปจุดอ่อน จุดแข็ง และแนวทางการพัฒนาเผยแพร่ต่อผู้เกี่ยวข้อง7. การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี<span style="font-size: 16pt; font-fami

หมายเลขบันทึก: 104542เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2007 14:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 14:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท