ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา


เทคโนโลยีทางการศึกษา

ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาเทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)          สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น (boonpan edt01.htm)          ดร.เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอน ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล วัสดุเครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน (boonpan edt01.htm)          Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการ (boonpan edt01.htm)          นอกจากนี้เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษา ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์ เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจจะพิจารณาจาก ความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ คือ
          1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ตามความคิดรวบยอดนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่านี้ มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา
          ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามความคิดรวบยอดนี้ ทำให้บทบาทของเทคโนโลยีทางการศึกษาแคบลงไป คือมีเพียงวัสดุ และอุปกรณ์เท่านั้น ไม่รวมวิธีการ หรือปฏิกิริยาสัมพันธ์อื่น ๆ เข้าไปด้วย ซึ่งตามความหมายนี้ก็คือ "โสตทัศนศึกษา" นั่นเอง
          2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา มนุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียน เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมิใช่เพียงการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เท่านั้น แต่รวมถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย มิใช่วัสดุ หรืออุปกรณ์ แต่เพียงอย่างเดียว (boonpan edt01.htm)
ที่มา : http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htmความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา มีอยู่หลายทัศนะ ดังต่อไปนี้องค์กรร่วมสาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา ประเทศอังกฤษ (Council for Educational Technology for the United Kingdom - CET) อธิบายว่า "เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึงการพัฒนาการนำไปใช้และการประเมินระบบ วิธีการดำเนินงาน และอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อทำให้การเรียนรู้ของคนเราให้ดีขึ้น"ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้น โดยครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์หรือเครื่องมือ วิธีการดร. เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการศูนย์บทเรียนโปรแกรมแห่งชาติ ประเทศอังกฤษ (National Centre for Programmed Learning , UK) อธิบายว่า "เทคโนโลยีทางการศึกษาคือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้ และเงื่อนไขของการเรียนรู้ มาใช้เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสอนและการฝึกอบรม แต่ถ้าหากปราศจากหลักการทางวิทยาศาสตร์แล้ว เทคโนโลยีทางการศึกษาจะแสวงหาวิธีดำเนินการโดยการทดลองเพื่อเสริมสร้างสถานภาพองการเรียนรู้ให้ดีขึ้น"คณะกรรมาธิการสาขาเทคโนโลยีการสอน ประเทศสหรัฐอเมริกา (The Commission on Instructional Technology . USA) ได้อธิบายว่า "เทคโนโลยีทางการศึกษาคือการนำแนวความคิดที่เป็นระบบไปใช้ในการออกแบบ ดำเนินการ และประเมินกระบวนการเรียนการสอนทั้งกระบวนการในรูปของวัตถุประสงค์เฉพาะ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากผลการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้และการสื่อความหมายของมนุษย์เรา อีกทั้งนำเอาทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรอื่น ๆ มาผสมผสานกัน ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพของการเรียนรู้ที่สูงยิ่งขึ้น"Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุตามแผนการครรซิต มาลัยวงษ์ กล่าวว่า "การใช้เทคโนโลยีสำหรับผู้ที่อยู่ในวงการศึกษา ก็คงจะเรียกว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ส่วนผู้ที่อยู่ในวงการธุรกิจและอุตสาหกรรม อาจเรียกว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมองว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการใช้เทคโนโลยีลักษณะเดียวกัน แต่มีจุดมุ่งหมายแตกต่างกัน" ชัยยงค์ (2523) อธิบายถึง เทคโนโลยีทางการศึกษาไว้อย่างละเอียดว่า "เทคโนโลยีเป็นระบบการประยุกต์ผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ (วัสดุ) และผลิตกรรมของวิศวกรรม (อุปกรณ์) โดยยึดหลักทางพฤติกรรมศาสตร์ (วิธีการ) มาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษาทั้งในด้านบริหารด้านวิชาการ และด้านบริการ" หรืออีกนัยหนึ่ง เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นระบบการนำวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการมาใช้ในการปรับปรุงระบบการศึกษาเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น วัสดุ (Material) หมายถึงผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ สิ่งที่มีการผุผังสิ้นเปลืองได้ง่าย เช่น ชอร์ค ดินสอ ฟิล์ม กระดาษ ส่วนอุปกรณ์ (Equipment) หมายถึงผลิตกรรมทางวิศวกรรมที่เป็นเครื่องมือค่าง ๆ เช่น โต๊ะกระดานดำ เก้าอี้ เครื่องฉาย เครื่องเสียง เครื่องรับโทรทัศน์ ฯลฯ และวิธีการ (Technique) หมายถึงระบบ กระบวนการ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องคำนึงถึงหลักจิตวิทยา หลักสังคมวิทยา ภาษา ฯลฯ ที่นำมาใช้ในการศึกษา เช่น การสาธิต ทดลอง กลุ่มสัมพันธ์ เป็นต้นจากความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาตามที่กล่าวมานั้น ต่างเน้นให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า บทบาทและหน้าที่หลักของเทคโนโลยีทางการศึกษาคือ การพัฒนาประสิทธิ์ผลของกระบวนการของการเรียนรู้ชาวกรีกโบราณ ได้ใช้วัสดุในการสอนประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง ด้วยการแสดงละครเพื่อสร้างเจตคติทางจรรยาและการเมือง ใช้ดนตรีเพื่อสร้างอารมณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาของชาวกรีก และโรมันโบราณ ยังได้ย้ำถึงความสำคัญของการศึกษานอกสถานที่ด้วย การสอนศิลปวิจักษ์ ในสมัยนั้นได้ใช้รูปปั้น และแกะสลักช่วยสอนแล้ว คนสำคัญ ๆ ของกรีกและโรมันสมัยนั้น ต่างเห็นความสำคัญของทัศนวัสดุในการสอน ว่าทัศนวัสดุช่วยการปาฐกถาได้มากเพลโต นักปราชญ์ชาวกรีก ได้ย้ำถึงความสำคัญของคำพูดที่ใช้กันนั้นว่า เมื่อพูดไปแล้วอะไรเป็นความหมายที่อยู่เบื้องหลังสิ่งนั้น จึงได้กระตุ้นให้ใช้วัตถุประกอบเพื่อช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้นโจฮันน์ อะมอส คอมินิอุส (Johannes Amos comenius .. 1592 - 1670) เป็นผู้ที่พยายามใช้วัตถุ สิ่งของช่วยในการสอนอย่างจริงจังจนได้รับเกียรติว่าเป็นบิดาแห่งโสตทัศนศึกษา ท่านผู้นี้เป็นพระในนิกายโปรแตสแตนท์ ในตำแหน่งสังฆราชแห่งโมราเวีย เยอรมัน ท่านมีแนวคิดในเรื่องวิธีการสอนใหม่ โดยได้ย้ำความสำคัญของสิ่งของ ของจริง ในการสอน และได้รวบรวมหลักการสอนจากประสบการณ์ที่ทำการสอนมาถึง 40 ปี คอมินิอุสได้แต่งหนังสือสำคัญ ๆ ไว้มากมาย ที่สำคัญยิ่งคือ หนังสือ Obis Sensualium Pictus หรือโลกในรูปภาพ ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.. 1685 เป็นหนังสือที่ใช้มากและมีอิทธิพลมาก ใช้รูปภาพเป็นหัวใจของเรื่องมีรูปภาพประกอบการเรียนถึง 150 รูป บทเรียนบทหนึ่ง จะมีรูปภาพประกอบรูปหนึ่ง เรื่องต่าง ๆ ที่มีในหนังสือ เช่น พระเจ้า สวรรค์ อากาศโลก ต้นไม้ เป็นต้นธอร์นไดค์ นักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกัน ที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการศึกษาประกอบหลักการทางจิตวิทยา เขาได้เริ่มสร้างห้องทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสัตว์ ในชณะที่เขายังเป็นนักศึกษาอยู่ ต่อมาได้ร่วมเป็นอาจารย์สอน ในมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในปี 1898 และได้ใช้ชีวิตเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เบื้องต้นการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา โดยได้ทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับ การตอบสนองของสัตว์และมนุษย์ ในปี ค.. 1912 เขาได้ออกแบบสื่อการสอน เพื่อให้ตอบสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนแบบโปรแกรม จึงได้ชื่อว่า เป็นคนแรกที่ริเริ่มเทคโนโลยีการศึกษาแนวใหม่บี เอฟ สกินเนอร์ เป็นผู้ใช้แนวคิดใหม่ทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสิ่งเร้าและผลตอบสนองโดยคำนึงถึงธรรมชาติ ของมนุษย์ เขาได้ทำการทดลองกับสัตว์โดยฝึกเป็นขั้นๆ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียง ในการสอนแบบโปรแกรม และเป็นผู้ที่คิดเครื่องช่วยสอน ได้เป็นผลสำเร็จเป็นคนแรก แนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาปัจจุบัน ได้รากฐานมาจากแนวความคิดของสกินเนอร์เป็นส่วนมากแนวคิดทางการศึกษาของบุคคลทั้งหลายเหล่านี้ พัฒนาไปพร้อม ๆ กับความก้าวหน้าทางสิ่งประดิษฐ์คิดค้นของนักวิทยาศาสตร์ ที่ส่งผลให้เทคโนโลยีการศึกษาเจริญก้าวหน้า เช่น การผลิตกระดาษ การพิมพ์ การถ่ายภาพ การฉายภาพ การบันทึกเสียง วิทยุ-โทรทัศน์ การบันทึกภาพ จนถึงยุคคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันเทคโนโลยีก่อประโยชน์แก่ระบบการศึกษามากขึ้น การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาสามารถเร่งอัตราการเรียนรู้ให้เร็วขึ้น ลดภาระทางด้านการบริหารของครูและยังทำหน้าที่แทนครูในการถ่ายทอดเรื่องราวหรือข่าวสารประจำวันต่าง ๆ
เทคโนโลยีเน้นการศึกษาไปสู่ความเป็นส่วนบุคคลมากขึ้น การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสมนั้นเป็นการขยายขอบเขตของการเรียนรู้ออกไปได้อย่างกว้าง
เทคโนโลยีทำให้การสอนมีพลังยิ่งขึ้น ระบบการสื่อสารในปัจจุบันได้ช่วยเพิ่มความสามารถให้กับคนเรา ดังนั้นสื่อการสอนในยุคใหม่นี้จึงสามารถจำลองสถานการณ์จริง ช่วยร่นระยะทางและเหตุการณ์ที่อยู่คนซีกโลกมาสู่นักเรียนได้
เทคโนโลยีทำให้การเรียนเป็นไปอย่างฉับพลันยิ่งขึ้น เทคโนโลยีการสอนเปรียบเสมือนสะพานที่เชื่อมโยงระหว่างที่อยู่ภาย นอกโรงเรียนและโลกที่อยู่ภายในโรงเรียน
เทคโนโลยีสามารถทำให้เกิดความเสมอภาคของการศึกษามากขึ้น
ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้ทุกหนแห่ง เทคโนโลยีพร้อมที่จะหยิบยื่นความรู้ให้แก่ทุกคนเสมอ
Technology in education (หรือ Tools technology)
Technology in education หมายถึงวิธีการต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการนำเสนอเนื้อหาสาระทางการศึกษาหรือการฝึกอบรม ได้แก่ โทรทัศน์ ห้องปฏิบัติการภาษา เครื่องฉายประเภทต่าง ๆ ( หรือที่เรียกว่า สื่อการสอน)
Technology of education (หรือ System technology)
Technology of education หมายถึง เป็นการนำเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ อักทั้งวัสดุ และวิธีการมาผสมผสานกัน เพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ที่มา : http://student.nu.ac.th/fon/tecnomean.htmเทคโนโลยีทางการศึกษา(Educational Technology)        เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึงการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตรมาประยุกต์ในการแก้ปัญหาการศึกษา การศึกษา หมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเนื่องมาจาก ประสบการณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น ต้องเป็นที่ยอมรับของสังคม             สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติ ได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษาว่า เป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ให้สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น         ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ใช้กันทั่ว ๆ ไป หมายถึงการระดมสรรพความรู้ที่มีเหตุผล (พิสูจน์ได้)มาประยุกต์ให้เป็นระบบที่ดีสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงเพื่อแก้ใขปัญหาให้บรรลุจุดมุ่งหมาย (เป้าประสงค์) ของการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด โดยการใช้ทรัพยากร อย่างประหยัด      รองศาสตราจารย์ดร.เปรื่องกุมุทกล่าวว่าเทคโนโลยีการศึกษาคือระบวนการที่ซับซ้อนและประสานสัมพันธ์อย่างมี บูรณาการระหว่างบุคคล วิธีการ แนวคิด เครื่องมือ และการจัดระบบองค์การ สำหรับวิเคราะห์ปัญหา หาวิธีแก้ปัญหาดำเนินการประเมินผลและจัดการแก้ปัญหาเหล่านั้นซึ่งเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับทุกลักษณะของการเรียนรู้          อันที่จริง แก่นแท้ของเทคโนโลยีการศึกษา ก็คือ วิธีการแก้ปัญหาให้แก่การศึกษาด้วยการคิดไตร่ตรองหาทางปรับปรุงเกี่ยวกับการเรียนการสอน ด้วยการตั้งข้อสงสัย และทำไปอย่างเป็นระบบ ก่อนหน้าที่จะมีการกล่าวถึงเทคโนโลยีทางการศึกษา เราคุ้นเคยอยู่กับ โสตทัศนศึกษากันแล้ว แม้กระทั่งเดี่ยวนี้ คนก็ยังคิดว่า โสตทัศศึกษา ก็คือ เทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีทางการศึกษา ก็คือ โสตทัศนศึกษา ที่คิดอย่างนั้น ก็มีส่วนถูกอยู่บ้าง โดยเฉพาะความคิดแรก แต่มันมีความถูกต้องไม่มากนักหรือเกือบผิด ก็ว่าได้ ความคิดหลังนั้น ถูกตรงที่ โสตทัศนศึกษาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีทางการศึกษาเท่านั้น          รองศาสตราจารย์ ดร.เปรื่อง กุมุท กล่าวว่า แต่ก่อน คนที่ทำงานด้านโสตทัศนศึกษา หรือนักโสตทัศนศึกษา เรามองว่าเป็น "ผู้บริการ" โดยเฉพาะ การบริการทางด้านการจัดหา การใช้เครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ และการผลิตสื่อการสอนให้แก่ครูผู้สอน ดังนั้น บทบาทของเขาโดยสรุปก็คือ เป็นบริกร ที่ทำหน้าที่จัดหา ผลิตสื่อการสอน และควบคุมเครื่องโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ เมื่อมีผู้ต้องการใช้ ที่มา : http://sophon.bcnlp.ac.th/educational_tech.htmlความหมายของเทคโนโลยี      มีการให้ความหมายของเทคโนโลยีหลากหลายกันออกไป ดังนี้      เทคโนโลยีเป็นการประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ การนำความรู้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานมาประดิษฐ์คิดค้น การควบคุมการผลิต เพื่อให้ มนุษย์มีความสะดวกสบาย ในการดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ      เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาและปฏิบัติงาน อย่างเป็นระบบ โดยสามารถนำไปใช้ในสาขาต่าง ๆ กัน เช่น  เทคโนโลยีการเกษตร: การคิดค้นวิธีการเครื่องมือ ปัจจัยในการผลิต ทางการเกษตร  เทคโนโลยีการสื่อสาร: การเก็บรวบรวมการค้นหา การส่งข้อมูลทั้ง ทางโทรเลข   โทรศัพท์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการศึกษา: วิธีการให้ความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการวิธีการให้ การศึกษา สื่อการศึกษา และครุภัณฑ์ทางการ ศึกษา      เป็นกระบวนการผสานทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์การ โดยอาศัยองค์ความรู้ทางการจัดการ บูรณาการกับงานทางด้านเทคโนโลยีและการเพิ่มศักยภาพทางด้านเทคโนโลยี เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จตามแผนกลยุทธ์ในการดำเนินงาน      คำนิยามของ เทคโนโลยี คำว่า Technology   มาจากคำศัพท์ภาษากรีก คือ 'technologia' หมายถึง "ศิลปะของการปฏิบัติอย่างเป็นระบบ"   มีรากศัพท์ภาษากรีก คือ 'techne' หมายถึง ศิลปะ(art) หรือ งานช่างฝีมือ (craft)   Aristotle ใช้คำนี้อ้างอิงถึง "การปฏิบัติอย่างเป็นระบบของไวยากรณ์หรือการพูด (speech)" คำศัพท์คำว่า เทคโนโลยี นี้ถูกใช้ในศตวรรษที่17 อธิบายถึง "การศึกษาอย่างเป็นระบบของศิลปะหรือวิชาการเฉพาะของศิลปะเชิงปฏิบัติ"   ในศตวรรษที่18 ให้คำจัดความว่า "เป็นศิลปะเฉพาะด้านเครื่องกล" ในTechnology Society  Robert Metron ให้คำจำกัดความว่า เป็นมรรควิธี (means) มาตรฐานที่ซับซ้อน เพื่อบรรลุถึงผลที่กำหนดไว้ (predetermind result)   Jacques Ellul นิยาม เทคโนโลยี ว่าเป็นผลรวมของวิธีการอย่างเป็นเหตุเป็นผล และทรงประสิทธิภาพสูงสุดในทุกๆขอบข่ายของกิจกรรมมนุษย์   และ Ellul นำเสนอทฤษฏีสื่อสารของ H.D. Lasswell's ซึ่งเขาเห็นด้วยกับคำอธิบาย   เรื่องเทคโนโลยีว่า เป็นการรวมของวิธีการปฏิบัติโดยใช้ทรัพยากรมีค่าให้ประสบความสำเร็จถึงคุณค่าที่เป็นเป้าหมายในตนเอง       ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 "เทคโนโลยี" หมายถึง "วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะ ในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม" ที่มา : http://72.14.235.104/search?q=cache:_zbMMdBuPO8J:web.bsru.ac.th/~jumpot/TM%2520Book1_jumpot/index%2520V2%2B%2B%2B.doc+%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2&hl=th&ct=clnk&cd=16&gl=thความหมายของ "เทคโนโลยีการศึกษา" (education technology)           
            ได้มีนักการศึกษาได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ดังนี้
. วิจิตร ศรีสะอ้าน (2517 : 120-121)
            เป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ ๆ มาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุง
คุณภาพของการเรียนการสอน
. คาร์เตอร์ วี กูด (Carter V.Good ,1973)
           เป็นการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อการออกแบบ และส่งเสริมระบบการเรียนการสอนโดยเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้
อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียน รวมถึงเทคนิคการสอนโดย
ใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อการสอนต่าง ๆ ในลักษณะของสื่อประสม
และ การศึกษาด้วยตนเอง
. กิดานันท์ (2543)
          เป็นการประยุกต์เอา เทคนิค วิธีการ แนวความคิด วัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งต่าง ๆ อันสืบเนื่องมาจากเทคโนโลยีมาใช้ในวงการศึกษา
        จากการที่นักการศึกษาและนักวิชาการท่านต่าง ๆ ด้ให้ความหมายของ
เทคโนโลยีการศึกษาไว้มากมาย หลายแง่มุมเพื่ออธิบายภาพลักษณ์ของ
เทคโนโลยีการศึกษา เป็นที่น่าสนใจอย่างหนึ่งว่า ความหมายของคำนี้ได้มี
พัฒนการ และเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยตามการพัฒนาเทคโนโลยีีนับตั้งแต่ปี
ีพ.ศ.2506เป็นต้นมาจนถึงความหมายที่ใช้กันในปัจจุบันตามที่สมาคมเทคโนโลยี
ีและสื่อสารการศึกษา (Association for Educational Communications and
Technology: AECT) แห่งสหรัฐอเมริกาได้ให้ความหมาย ไว้เมื่อปี พ.ศ.2537
ว่า (Seels&Richey, 1994:9)
                  "เทคโนโลยีการศึกษาเป็นทฤษฎีและการปฏิบัติของ
การออกแบบ การพัฒนา การใช้ การจัดการ และการประเมินของ
กระบวนการและทรัพยากรสำหรับการเรียนรู้"
   
ที่มา : http://72.14.235.104/search?q=cache:CFYK7XTpmtAJ:area.obec.go.th/pathumthani1/nikhom/page1.html+%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2&hl=th&ct=clnk&cd=19&gl=th

หมายเลขบันทึก: 104095เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2007 19:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แหม ครอบคลุมครบถ้วนดีจังครับ

เป็นกำลังใจให้ อยู่เขียน-สรรหา เรื่องราวดี ๆ มาแบ่งปันกันอีกนะครับ

:-) 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท