สื่อรุนแรง : พฤติกรรมก้าวร้าว


    สื่อรุนแรง : พฤติกรรมก้าวร้าว ในยุคปัจจุบันที่เด็กไทยกำลังเติบโตขึ้นมาในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสื่อที่ดูจะแฝงไว้ซึ่งความรุนแรงถึงเวลาแล้วที่ผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องควรจะหันมามองผลงานวิจัยและแนวคิดทางทฤษฎีสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลกระทบของความรุนแรงในสื่อที่มีต่อพัฒนาการพฤติกรรมก้าวร้าวในตัวเด็ก

     ผู้ปกครองและพี่เลี้ยงเด็กควรรับรู้ความจริงที่ว่า มีอยู่หลายผลงานวิจัยที่สนับสนุนสัญชาตญาณของความเป็นพ่อแม่ที่เกิดมีความรู้สึก และเข้าใจได้ด้วยตัวเองว่า การได้เห็นหรือการได้เฝ้าดูคนเราแสดงออกซึ่งพฤติกรรมรุนแรงก้าวร้าว จะไม่มีทางเป็นตัวส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่ดีเลย

     ความจริงที่ได้จากงานวิจัยและข้อคิดทางทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ควรเป็นสิ่งกระตุ้นให้ผู้ปกครองและพี่เลี้ยงเด็กได้หันมาใส่ใจกับความรู้สึกของตัวเองที่ว่าการได้เห็นสื่อที่มีการใช้ความรุนแรงอยู่เรื่อยๆ นั้นเป็นสิ่งเลวร้ายสำหรับเด็ก

     เด็กๆ เป็นนักเลียนแบบ แม้จะมีอายุได้ไม่เพียงกี่เดือน ทารกน้อยสามารถเลียนแบบสีหน้าของพี่เลี้ยงของตน เด็กเล็กเรียนรู้วิธีกิน แต่งตัว เข้าห้องน้ำ และเริ่มต้นมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ทั้งนี้เพราะบุคคลรอบข้าง โดยเฉพาะผู้ปกครองและพี่เลี้ยง รวมทั้งเพื่อนฝูงและลูกพี่ลูกน้อง เป็นผู้กำหนดแบบอย่างให้ตลอดเวลา

     ตัวเด็กเองจะไม่คัดเลือกว่าจะเอาใครเป็นแม่แบบ ผู้ใหญ่หลายคนคงจำคำที่ตัวเองเคยอุทานได้ว่า “ตายแล้ว….ไปจำใครมา” เมื่อลูกน้อยวัย 3 ขวบ พูดคำหยาบไห้ได้ยินเป็นครั้งแรก ดูเหมือนไม่มีอะไรจะหลุดลอด “หู-ตา” ของเด็กเล็กไปได้แม้ว่าการเลียนแบบจะไม่ใช่หนทางเดียวที่เด็กเรียนรู้ที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสังคม แต่อย่างน้อยมันก็เป็นวิธีแรกสุด และเป็นเสาหลักสำหรับการเรียนรู้อื่นๆ ในอนาคต

     ถ้าเด็กเลียนแบบบุคคลรอบข้างโดยไม่เลือกหน้าแล้ว ไฉนเลยเด็กจะไม่เลียนแบบพฤติกรรมของคนที่พวกเขาเห็นในโทรทัศน์หรือภาพยนต์ จากยอดมนุษย์อุลตร้าแมนไปจนถึงชินจังจอมแก่น เครื่องแต่งกายหรือสินค้าที่มีตัวเอกเหล่านี้เป็นยี่ห้อได้รับความนิยมกันสุดๆ

     การเลียนแบบตัวเอกจากจอทีวีหรือภาพยนต์ ไม่ระบาดจำกัดอยู่เฉพาะกับเด็กเล็กเท่านั้น แต่ยังลามไปในหมู่ของวัยรุ่นอีกด้วย ดารายอดนิยมคนไหนแต่งหน้าใส่ชุดหรือใช้สินค้ายี่ห้อใดเหล่าวัยรุ่นส่วนใหญ่จะเอาตามอย่างหมด

     ถ้าสงสัยว่าลูกสาวหรือลูกชายวัยรุ่นของเราอยู่ “ค่าย” ไหนควรหาโอกาสเปิดทีวีดูช่วงคอนเสิร์ตถ่ายทอดสดรายการมิวสิควีดีโอ หรือไม่ก็ MTV ตลอดเส้นทางชีวิตเราเลียนแบบผู้อื่นเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และเพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพ ความโดดเด่นในกลุ่มเฉพาะของตน

     ประเทศไทยเราขาดข้อมูลทางสถิติ ที่เป็นตัวบ่งชี้สาเหตุแท้จริงของความผิดปกติหลายอย่างที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน อย่าว่าแต่เรื่องที่เป็นพฤติกรรมหลายต่อหลายอย่างที่จะนำไปสู่ความหายนะทางวัฒนธรรม จริยธรรม และศีลธรรม แม้แต่ความแม่นยำของข้อมูลที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับความอยู่รอดของประเทศชาติก็ยังเป็นที่กังขากันอยู่ เมื่อขาดข้อมูลทางสถิติขาดข้อเท็จจริงที่ได้จากงานวิจัยที่อาศัยวิธีการต่างๆ ทางวิชาการ

     สิ่งที่พึ่งได้ตอนนี้ก็คือสัญชาตญาณ และสามัญสำนึกเท่านั้น เราพอ “รู้สึก” ได้ว่า การเลียนแบบตัวละครในจอโทรทัศน์และจอภาพยนตร์จะเป็นตัวนำความเศร้าสลดมาสู่ลูกหลานของเราไม่วันใดก็วันหนึ่งในที่นี้คงต้องยกตัวอย่างของการเลียนแบบสื่อที่นำมาซึ่งความน่าเศร้าสลดในที่สุด

     ตัวอย่างเหล่านี้ เป็นหัวข้อข่าวของเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ…เด็กชายอายุ 5 ขวบ ก่อไฟเผาบ้านของตัวเอง ทำให้น้องสาววัย 2 ขวบ ถูกไฟคลอกตาย ที่ทำเช่นนี้เพราะเอาตามอย่างฉากหนึ่งในการ์ตูนที่ตัวเอกชอบเล่นซุกซนและแกล้งเพื่อนบ้าน

     เด็กวัยรุ่นคนหนึ่งถูกรถชนตายและเพื่อนอีกหลายคนบาดเจ็บสาหัสขณะเล่นเลียนแบบภาพยนตร์เรื่องหนึ่งซึ่งมีฉากพิสูจน์ความกล้าโดยนอนลงระหว่างช่องเดินรถที่มีการจราจรพลุกพล่าน….เด็กชายอายุ 13 ปี และเพื่อนของเขาเล่นบทรัสเซียนรูเล็ตเลียนแบบหนัง The Deer Hunter ผลที่ตามมาก็คือ เด็กคนนั้นตายคาที่หลังลั่นไกขณะเอาปืนจอหัวตัวเอง

     โชคดีที่เรื่องเศร้าเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งนัก เป็นที่แน่ชัดว่าเด็กส่วนใหญ่ไม่ได้หลับหูหลับตาเลียนแบบสิ่งที่พวกเขาเห็นจากจอ ในกลุ่มพฤติกรรม ภาพลักษณ์ ทัศนคติและค่านิยมต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็น พวกเขาจะเลือกรับเอาเฉพาะบางสิ่งมาเป็นส่วนหนึ่งของตนเท่านั้น เมื่อเกิดความรู้สึกอึดอัดขึ้นมาเด็กคนหนึ่งอาจจะร้องไห้อยู่ที่มุมห้อง อีกคนหนึ่งอาจจะออกท่าออกทางเตะถีบระบายอารมณ์ ขณะที่อีกคนหนึ่งอาจจะรับมือกับความรู้สึกของตนได้อย่างสบาย

     แม้การเลียนแบบจะเป็นการเรียนรู้ประเภทแรกสุด แต่เด็กก็ไม่ได้กลายมาเป็นเครื่องอัดสำเนา พฤติกรรมของบุคคลรอบข้าง เพราะหากเราเรียนรู้หยุดอยู่แค่วิธีการเลียนแบบแล้ว ภายใต้อิทธิพลของสื่อที่เต็มไปด้วยความรุนแรงในปัจจุบันนี้คงปรากฏมีหัวข้อข่าวสะเทือนใจให้ได้อ่านกันทุกวัน

     งานวิจัยแรกๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของสื่อที่เต็มไปด้วยความรุนแรงที่มีต่อเด็กนั้นทำโดย Albert Bandura แห่งมหาวิทยาลัยสแตนด์ฟอร์ด เป็นเวลากว่า 3 ปีที่ Bandura ศึกษาถึงวิธีการที่เด็กกลับกลายมาเป็นคนที่มีความก้าวร้าวขึ้น จากการได้สังเกตดูความก้าวร้าวของผู้อื่น งานวิจัยหนึ่งของ Bandura ที่เรียกว่า Bobo doll (ตุ๊กตายางล้มลุกแบบเป่าลม) ถือเป็นงานทดลองคลาสสิกชิ้นหนึ่งในสาขาจิตวิทยาที่แสดงให้เห็นถึงวิธีที่เด็กเรียนรู้จากสื่อประเภทนี้

     มีอยู่การทดลองหนึ่ง Bandura แบ่งเด็กเล็กออกเป็น 3 กลุ่ม โดยกำหนดให้กลุ่มแรกเป็นกลุ่มควบคุมอีกสองกลุ่มเป็นกลุ่มทดลอง เริ่มต้นเด็กทุกคนจะอยู่ในห้องที่เต็มไปด้วยของเล่นที่ล่อตาล่อใจจากนั้นเด็กในกลุ่มควบคุมจะถูกแยกออกไป

     เด็กในกลุ่มทดลองอีกกลุ่มได้ดูของจริงที่แสดงให้เห็นโดยผู้ใหญ่หลังจากนั้นเด็กทั้ง 3 กลุ่มถูกนำมายังห้องที่มีของเล่นอยู่หลายชิ้น เช่น ปืน ตุ๊กตา ตะลุมพุก ตัวต่อ ลูกบอล เป็นต้น ปรากฏว่าเด็กในกลุ่มควบคุมแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวให้เห็นน้อยมากหรือไม่เห็นเลย

     ขณะที่เด็กที่ได้ชมการโจมตี Bobo doll จากฟิล์มหรือการแสดงสด แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวคล้ายกับที่เห็นจากต้นแบบไม่มากก็น้อย ที่น่าสนใจก็คือ เด็กในกลุ่มนี้ไม่เพียงแต่เลียนแบบพฤติกรรมก้าวร้าวเท่านั้น แต่ยังสร้างรูปแบบที่แปลกออกไปจากสิ่งที่พวกตนสังเกตเห็นมานี่เป็นสิ่งที่สนับสนุนคำกล่าวที่ว่าเด็กไม่ใช่เป็นเพียงเครื่องอัดสำเนาพฤติกรรมแต่ยังมีความคิดอ่านสร้างแม่แบบของพฤติกรรมเฉพาะตนด้วย

     ผู้ปกครองนึกถึงอิทธิพลของความรุนแรงผ่านสื่อโฆษณาทางทีวี ที่เด็กไทยได้รับอยู่ทุกวี่ทุกวันบ้างไหม มีอะไรหลายอย่างที่น่าคิดและน่ากังวลอยู่ไม่น้อย

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 10361เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2005 21:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
จากบทความนี้จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนอกจากพ่อแม่และผู้เลี้ยงดูจะมีส่วนสำคัญการพัฒนาพฤติกรรมของเด็กแล้ว สื่อต่างๆที่มีอยู่ก็มีส่วนสำคัญในการเป็นต้นแบบเช่นกันจะเห็นได้จากข่าวต่างๆในหน้าหนังสือพิมพ์ที่เด็กเกิดพฤติกรรามเลียนแบบผู้ใหญ่โดยขาดความเข้าใจในการแสดงออกมาจนกลายเป็นพฤติกรรมก้าวร้าวและถ้าสืบย้อนหลังไปก็จะพบว่าการที่เด็กมีพฤติกรรมรุนแรงก้าวร้าวนั้นมาจากการเลียนแบบผู้เลี้ยงดูหรือโทรทัศน์ที่ตนชอบ  การที่ในปัจจุบันสื่อเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำมากและเปิดกว้างสำหรับผู้คนมากย่อมเป็นเรื่องง่ายที่เด็กจะถูกกระตุ้นและยั่วยุไปในทางที่ผิด ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถป้องกันได้เพียงแต่ผู้ปกครองเล็งเห็นความวสำคัญและช่วยกันดูแลและให้ความใกล้ชิด เข้าใจ  ยอมรับ  และส่งสำคัญที่สุดคือการให้ความรักความอบอุ่น  คอยบอก  คอยสอนในสิ่งที่๔กที่ควรกับเด็ก  ดังที่เคยมีคนกล่าวไว้ว่เด็ก คือ ผ้าขาว  และผ้าขาวก็มักจะเปื้อนง่ายเสมอ  ดังนั้นก่อนที่จะแต่งแต้มสีสันใดลงไปบนผ้าขาวของตนผู้ปกครองควรต้องตระหนักอยู่เสมอว่า  ไม่ใช่เพียงทำให้ผ็ขาวสวยงามเท่านั้นแต่ต้องเปี่ยมไปด้วยคุณค่าด้วย
จากบทความจะเห็นได้ว่า เด็กเปรียบเสมือน "กล่องเปล่า" โดยเฉพาะเด็กที่ยังเล็กมากเท่าไรก็ยังคงมีความว่างเปล่าในความคิดและการกระทำมากขึ้นเท่านั้นถ้าหากว่าสิ่งที่ใส่ลงไปนั้นเป็นสิ่งที่ดีแล้วล่ะก็กล่องใบนั้นก็จะดูมีค่าขึ้นมาทันที ในทางตรงกันข้ามหากสิ่งที่อยู่ในนั้นเป็นสิ่งไม่ดี ลองคิดดูสิว่าเราจะมองมันเป็นอย่างไร เด็กเองก็เช่นเดียวกันถ้าหากสิ่งที่เด็กได้พบเห็นเป็นประจำอย่างสื่อมีแต่ความรุนแรงแล้วล่ะก็ พฤติกรรมเหล่านั้นก็จะเป็นสิ่งที่เติมเต็มเข้าไปในความคิดอันว่างเปล่าทำให้เด็กเข้าใจว่าสิ่งที่เห็น และได้ยินเป็นสิ่งที่สามารถปฏิบัติได้ อย่างที่ได้ยินหรือได้เห็นบ่อยๆ ตามข่าวโทรทัศน์หรือหนังสือพิมพ์ว่าพฤติกรรมของเด็กส่วนมากมักมาจากสื่อที่พบเห็น ขนาดเด็กวัยรุ่นที่ว่าโตและมีความคิดแล้วยังเลียนแบบสื่อเหล่านั้นทั้งที่ดี และไม่ดี แล้วถ้าเป็นเด็กเล็กที่อยู่ในวัยของการเลียนแบบคงไม่ต้องพูดถึงเลยว่าจะเป็นเช่นไร การนำเสนอสิ่งต่างๆ ของสื่อในบางครั้งผู้ปกครองเองก็ไม่สามารถที่จะกำหนดได้เพราะสื่อเองก็ไม่ได้เจาะจงว่าผู้รับเป็นวัยใด จะไปโทษสื่อฝ่ายเดียวก็คงไม่ถูก ดังนั้นถ้าหากไม่สามารถเลือกที่จะให้เด็กดูได้แล้วล่ะก็ ผู้ปกครองเองควรเป็นฝ่ายแนะนำในสิ่งที่เด็กได้รับรู้ไปว่าสิ่งนั้นอันตราย ร้ายแรง ไม่ควรทำแค่ไหน เพราะอะไร หรือสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ดี ถ้าเปรียบเทียบแล้วปฏิบัติสิ่งไหนจะได้รับผลดีมากกว่า เป็นต้น ผู้ใหญ่ทุกคนจึงควรช่วยกันสอดส่องพฤติกรรมและการเลียนแบบสื่อของเด็กแล้วแนะนำให้ดี ไม่ควรใช้วิธีการบังคับเพราะอาจทำให้เด็กไม่เข้าใจ และอยากที่จะลองมากขึ้นไปอีก
จากบทความนี้เห็นได้ว่าสื่อที่รุนแรงส่งผลต่อพฤติกรรมที่ก้าวร้าวของเด็กเพราะเด็กเป็นนักเลียนแบบพ่อแม่และผู้ปกครองควรให้ความสนใจและเอาใจใส่ในการบริโภคสื่อของเด็ก  จากงานวิจัยของต่างประเทศจะเห็นได้ว่าเด็กจะเลียนแบบพฤติกรรมก้าวร้าวเลียนแบบผู้ใหญ่  ดังนั้นผู้ใหญ่จึงควรให้ความสำคัญกับการบริโภคสื่อของเด็กและให้ความรักความเข้าใจและให้คำแนะนำในการบริโภคสื่อที่ดีด้วย

พฤติกรรมก้าวร้าว
 จาการอ่านบทความข้างตันเด็กเป็นแห่งการเรียนรู้และช่างจดจำในการที่ผู้ปกครองแสดงพฤติกรรมอย่างไรออกมาเด็กจะเกิดกระบวนการเรียนรู้และจดจำพฤกรรมนั้นนำมาปฏิบัติโดยเด็กยังไม่สามารถแยกได้ว่าพฤติกรรมใดเหมาะสมหรือไม่อย่างไร สื่อต่างๆก็เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมที่แสดงออกมาของเด็ก 

      พฤติกรรมก้าวร้าวต่างๆที่เกิดกับเด็กมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน หนึ่งในนั้นตัวผู้ใหญ่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เด็กเกิดพฤติกรรมดังกล่าวเพราะเด็กวัยนี้มักชอบเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ฉะนั้นผู้ใหญ่อย่างเราๆควรทำตัวเองให้เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวให้กับเด็ก
เด็กส่วนใหญ่แล้ว ถ้าจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวน่าจะมาจาก ตัวอย่างที่ไม่ดี และการถูกตามใจจนเกินไป
การก้าวร้าวมาจากพฟติกรรมการเลียนแบบเพราะฉะนั้นผู้ใหญ่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็ก

เราไม่สามารถไปหยุดยั้งหรือถอดถอนสิ่งที่คนอื่นสร้างหรือเห็นว่าเป็นสื่อที่รุนแรงที่ไม่ดีได้แต่ข้าพเจ้าเชื่อว่าหากเราเอาใจใส่ดูแลคอยให้เหตุผลชี้แจ้งพูดคุยกล่อมเกลาเด็กเพื่อให้เค้าได้ซึมซับทัศนะคติที่ดีแล้วจะทำให้เด็กได้รู้จักการเลือกที่จะเลียนแบบได้อย่างถูกต้อง

การที่เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าวน่าจะมาจากการที่เด็กได้เห็นพฤติกรรมเหล่านี้มาจากสื่อ พ่อแม่หรือบุคลรอบข้างที่เด็กต้องการเลียนแบบเด็กไม่สามารถแยกได้ว่าพฤติกรรมเหล่านั้นดีหรือไม่ดี นอกจากพ่อแม่จะช่วยชี้แนะสื่อสิ่งไหนดีหรือไม่ดี
เห็นด้วยกับบทความนี้เพราะเด็กวัยนี้เป็นวัยที่กำลังเลียนแบบและเด้กยังสามารถแยกแยะไม่ได้ว่าสื่อที่ได้เห็นดีหรือไม่ผู้ปกครองควรให้คำแนะนำ
เห็นด้วยกับบทความนี้  สื่อในปัจจุบันค่อนข้างล่อแหลม  เด็กมักจะเลียนแบบโดยที่อาจจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ทำให้เด็กเกิดพฤติกรรมก้าวร้าว  ผู้ปกครองควรที่จะชี้แนะให้แก่เด็ก ๆ ด้วย
ควรมีการควบคุมสื่อที่ไม่เหมาะสม  เพื่อความปลอดภัยของเยาวชน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท