การดำเนินการด้านบัญชี (โครงการเงินนอกงบประมาณ)


เปิด-ปิด บัญชีธนาคาร

เมื่อได้รับแจ้งจากเจ้าของโครงการว่าได้รับจัดสรรเงิน โครงการใหม่ๆก็เกิดขึ้น จากการที่กองคลังต้องปฏิบัติ  ดังนี้

เปิดบัญชี

1.  ฝ่ายบัญชีทำหนังสือขอรับแบบฟอร์มประกอบการเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และและกระแสรายวัน ไปยังธนาคารที่ต้องการเปิดบัญชี

2.  เมื่อได้รับแบบฟอร์ม สิ่งที่ต้องกรอกรายละเอียดและต้องเตรียม คือ

2.1 หนังสือคำขอเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์  1 ฉบับ

2.2 หนังสือคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน  1  ฉบับ

2.3 บัตรตัวอย่างลายมือชื่อบัญชีเงินฝากออมทรัพย์  ผู้มีอำนาจสั่งจ่าย ท่านละ  2  ฉบับ                              

2.4 บัตรตัวอย่างรายมือชื่อบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ท่านละ  2  ฉบับละ  2  ฉบับ               

2.5  สำเนาบัตรข้าราชการ และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีอำนาจสั่งจ่าย ท่านละ 1 ฉบับ

3.  ส่งเอกสารตามข้อให้ธนาคาร พร้อมกับทำหนังสือขอยกเว้นค่าอากรเช็คและค่าธรรมเนียมในการโอนเงิน

4.  ได้สมุดธนาคารเล่มใหม่ของโครงการใหม่ สร้างรหัส Bank Book ในระบบ GFMIS  จะได้เลขรหัสมาหลัก เพื่อนำไปสู่การบันทึกด้านรับ ด้านจ่าย ด้านทั่วไป ในระบบ GFMIS ต่อไป

5. เมื่อการเงินรับเช็คนำเข้าฝากธนาคาร บันทึกรับเงินในระบบ GFMIS  ประเภทเอกสาร RE 

6.  ต่อจากนั้นคือกระบวนการดำเนินการตามโครงการฯ ตามแผนยุทธศาสตร์ การเบิกจ่ายเงิน ฯลฯ   

การปิดบัญชี

1.  ฝ่ายบัญชีทำหนังสือขอปิดบัญชีธนาคาร ดังนี้   

1.1  ขออนุมัติปิดบัญชีธนาคาร และนำเงินเหลือจ่ายพร้อมดอกเบี้ย จนถึงวันปิดบัญชี สั่งจ่ายแก้ผู้จัดสรรเงิน 

1.2  ให้ผู้บริหารลงนามในเช็ค (เงินเหลือจ่ายพร้อมดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร,ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร ณ วันปิดบัญชี)  ที่จะส่งคืนแก้ผู้จัดสรรเงิน 

1.3  ผู้บริหารลงนามในใบถอนเงินฝากออมทรัพย์ 

2.  ทำหนังสือแจ้งปิดบัญชีธนาคาร ที่ธนาคารผู้เปิดบัญชี โดยแนบเช็คธนาคารที่ยังค้างอยู่ (ไม่ได้ใช้) และใบขอเบิกสมุดเช็ค โดยสังเกตวัตถุประสงค์ของโครงการให้โอนเงินเหลือจ่ายพร้อมดอกเบี้ย ณ วันปิดบัญชีธนาคารจัดทำเป็นแคชเชียร์เช็ค (แล้วแต่กรณี) โดยระบุชื่อผู้รับแคชเชียร์ ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ3.  ทำหนังสือส่งคืนเงินเหลือจ่ายพร้อมดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาให้กับผู้จัดสรรเงิน รายงานการรับจ่าย ,รายงานผลการดำเนินงาน และการเงินถือแคชเชียร์เช็คส่งคืนเงินเหลือจ่ายพร้อมดอกเบี้ยไปพร้อมหนังสือนี่ด้วย หมายเหตุ  ขั้นตอนที่และ 3 ต้องกระทำภายในวันเดียวกัน เพื่อที่จะไม่ให้แคชเชียร์เช็คตกค้าง เพื่อป้องกันความผิดพลาดเป็นไปได้ไม่ควรทำในวันศุกร์ และต้องตรวจสอบผู้มีอำนาจลงนามในเช็คด้วยว่าติดราชการหรือไม่

 

หมายเลขบันทึก: 103299เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2007 18:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 19:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • เป็นอีกหนึ่งบันทึกที่นำความรู้ฝังลึกมาแลกเปลี่ยนกันผ่านบล็อก
  • น่าจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนชาวบล็อกที่มีลักษณะงานที่ใกล้เคียงกันเป็นอย่างดี
  • ขอบพระคุณมากครับ

แวะมาทักทายครับ  ขอบคุณมากเลยครับสำหรับความรู้และขั้นตอนการเงินของโครงการฯ...

 

 

อยากได้ตัวอย่างการทำหนัสือแจ้งปิดบัญชีออมทรัพย์ และกระแสรายวันค่ะ

ขอบคุณค่ะ

อยากได้ตัวอย่างการทำหนังสือแจ้งปิดบัญชีออมทรัพย์กับธนาคาร ค่ะ รบกวนช่วยหน่อยค่ะ ต้องการด่วน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท