ชัย ป่ายางหลวง


เทคนิคการเขียนหนังสือ

การเขียนเรื่องย่อส่งบรรณาธิการ


         หลายต่อหลายคนอยากเป็นนักเขียน แต่ไม่รู้หลักการเขียน นี้เป็นเทคนิค (ศิลปะ)ในการเขียนเรื่องส่งบรรณาธิการ
          
เอาเห็นว่านักเขียนหลาย ๆ ท่านต้องการส่งเรื่องย่อให้สำนักพิมพ์ แต่!!! จะเขียนยังไงล่ะ? คำตอบง่าย ๆ ก็คือ...



                                                                
ก็เขียนให้น่าสนใจซะเซ่!!!

  

          
บางคนก็อาจถามกลับมาอีก... แล้วทำให้น่าสนใจมันยังไงล่ะ? มันต้องใส่อะไรลงไปบ้าง? บรรยายยังไง รูปแบบล่ะ? ด้วยประการฉะนี้จึงลองเอามาให้อ่านกันดู หากมีเพิ่มเติมก็แสดงความเห็นมาได้เลยนะ ^^


                                                                          ======================


          ....
ต่อไปนี้คือ 16 ขั้นตอนในการเขียนบทสรุปต้นฉบับนวนิยายของคุณ (12 ขั้นตอนแรก คุณต้องทำ แต่อีก 14 ขั้นตอนหลัง เป็นทางเลือกของคุณ)


          1.ฉากและชื่อเรื่อง
          เรื่องราวเกิดขึ้นที่ไหนและเมื่อไร คุณควรเขียนได้ในความยาวเพียงประโยคเดียว เพื่อตอบคำถามนี้



          2.พระเอก นางเอกและตัวละครสำคัญ
          แนะนำตัวละครดังกล่าว ชื่อ อายุ อาชีพ ภูมิหลัง เขียนให้พวกเขาดูมีความสำคัญและมีชีวิต รวมถึงตัวละครรองต่าง ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในโครงเรื่อง ความยาวสัก 2 ย่อหน้าก็พอ



          3.เสริมรายละเอียดเล็กๆน้อยๆของภูมิหลังของครอบครัว ทรัพย์สมบัติ สถานภาพ
          ความยาวประมาณ 1 ย่อหน้าก็พอ



          4.สถานการณ์อันเป็นจุดวิกฤติในตอนเปิดเรื่องของนวนิยายของคุณ
          เขียนสั้น ๆ สัก 1 ประโยค



          5.อารมณ์และน้ำเสียงของเรื่อง
          พยายามสร้างบรรยายกาศของเรื่องด้วยความยาวเพียง 1 ประโยค



          6.ส่วนพิเศษของเรื่อง
          หากเรื่องของคุณมีอะไรที่เป็นจุดเด่นพิเศษอย่างไร ให้เขียนถึงมันอีก 1 ประโยค



          7.ปมขัดแย้งหรือความหักเหในเรื่อง
          เขียนความยาว 1 ย่อหน้า



          คุณคงเห็นแล้วว่า 7 ข้อข้างต้นนั้นล้วนเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของนวนิยายของคุณ และพวกมันทั้งหมดล้วนเป็นสาระที่อยู่ในสองบทแรกของคุณ

          คุณอาจตั้งคำถามว่า แล้วทำไมจึงต้องใส่ข้อมูลเหล่านี้ในบทย่อ หากเมื่อทั้งหมดบรรจุอยู่ในสองบทแรกแล้ว

          คำตอบก็คือ บรรณาธิการจะรับรู้เรื่องราวทั้งหมดจากเรื่องของคุณผ่านบทย่อ ตัวอย่างของบทต่างๆ จะเป็นการแสดงให้เห็นความสามารถของคุณ บรรณาธิการอาจวางเรื่องราวทั้งหมด หากบทย่อไม่ท่าเข้าที



          8.ฉากเด็ดๆ
          เขียนรายการฉากเด็ด ๆ ที่สำคัญ ๆ แต่ไม่จำเป็นต้องเขียนทั้งหมดที่มี เขียนพอเป็นตัวอย่างให้เห็นว่า ฉากเหล่านี้ทำให้ผู้อ่านสนุกสนาน อาจคล้าย ๆ รายการโทรทัศน์ เขียนความยาวสัก 2 ย่อหน้าก็พอ



          9.การเคลื่อนไหวทั้งเดินหน้าและถอยหลังของเรื่องที่เกิดขึ้นจากตัวละคร
          อะไรคือจุดขึ้นจุดลงของเรื่อง ทั้งด้านลบและด้านบวก โดยเฉพาะช่วงเวลาที่เข้มข้นที่สุด และตัวละครสำคัญได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง เขียนความยาว 1 ย่อหน้า



          10.ฉากตัดสินชะตาชีวิต
          ตอนนี้เราเข้าใกล้ตอนจบแล้ว ฉากไหนคือฉากที่เปลี่ยนแปลงทุกอย่าง จุดหักเหต้องเด่นชัดใน 1 ประโยค



          11.ความสำคัญของฉากสุดท้าย
          จุดไคลแม็กซ์ของเรื่อง เขียนถึงการสะเทือนอารมณ์ที่ค่อย ๆ ทวีขึ้นจนถึงขีดสูงด้วยภาษาที่สละสลวยชัดเจนสัก 1 ประโยค



          12.บทสรุปสั้นๆ
          เขียนให้ครอบคลุมด้วยภาษาที่งดงาม



                                                                    ยาวแค่ไหน?


          ทั้ง 12 ขั้นตอนดังกล่าวจะบอกทุกๆสิ่งให้บรรณาธิการรู้เกี่ยวกับเรื่องของคุณ รวมถึงบอกตัวคุณด้วย ดังนั้นคุณจึงต้องตั้งใจเขียนมันให้ดีที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ อย่ากังวลใจหากขั้นตอนที่ 5 และ 9 ยากที่จะสรุปความได้ และหากมันยากนัก ก็ข้ามมันไปเสียเลยก็ได้


          โดยทั่วไปการเขียนบทย่อ หากเขียนได้สั้นเท่าไรก็จะดีเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม จะต้องครอบคลุมขั้นตอนสำคัญต่าง ๆ ให้ครบถ้วน ต้องนึกถึงหัวอกบรรณาธิการที่เขา/เธอต้องทนนั่งอ่านบทสรุปของเราด้วย


          ที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ บรรณาธิการจะไม่แปลกใจไปกับคุณด้วยหรอก หากคุณคิดจะซ่อนปมประหลาดไว้ไม่เขียนให้เขารู้

          คุณจะต้องเล่าให้เขาฟังว่าคุณจะหักมุมอย่างไรในตอนจบ รับรองว่าบรรณาธิการไม่นำไปบอกผู้อ่านของคุณแน่!



                                                                ทางเลือกอีก 4 ขั้นตอน



          13.ประโยคคำพูด 1 ประโยคของนางเอกหรือตัวละครสำคัญ
          การเพิ่มส่วนนี้เข้าไปจะแสดงให้เห็นถึงรายละเอียดของตัวละคร ท่าทีเขา/เธอพูด เขียน ให้มันมีชีวิตชีวา



          14.ตัวอย่างบทสนทนาของพระเอกหรือตัวละครอื่นๆ
          นี่ก็เป็นอีกส่วงนที่ทำให้ตัวละครได้ก้าวออกมานอกกระดาษ ปล่อยให้บรรณาธิการได้ยินเสียงของพวกเขา ด้วยความพึงพอใจกับประโยคสักประโยคที่ตรงกับโครงเรื่อง



          15.ยกตัวอย่างการเขียนที่เร้าอารมณ์และความรู้สึกที่เข้ามากับเรื่องราว
          เป็นการแสดงความสามารถในการใช้ภาษาของคุณ โดยเฉพาะเรื่องแนวโรมานซ์ หรือแนวเรื่องหวาดผวา



          16.ใช้ภาษาสวยๆ แบบกวีที่จะสร้างสีสันให้กับเรื่อง
          เพียงถ้อยคำ 2-3 คำ หรือวลีเพียง 1 วลี ทำให้บทสรุปของคุณดูมีมิติพิเศษ



         ทั้ง 4 ขั้นตอนนี้สามารถใส่ในบทสรุปของคุณตรงจุดไหนก็ได้ ที่ดูแล้วเป็นธรรมชาติมากที่สุด เช่น คุณอาจเสริมบทสนทนาลงไปหลังขั้นตอนที่ 4 (สถานการณ์อันเป็นวิกฤติในตอนเปิดเรื่องของนวนิยายของคุณ) หรือขั้นตอนที่ 7 (ปมขัดแย้งหรือความหักเหในเรื่อง) เป็นต้น

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 10304เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2005 13:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ลูกพี่ร่ายซะยาวเลย
แต่มีประโยชน์มาก  อ่านเป็นคู่มือได้เลยครับ

เท่าที่เห็นนักเขียนใหม่ (ส่วนมาก) มีแต่ความอยาก
แต่ขาดความอดทน  อยากดังไวๆ

อันนี้ผมเดาว่า คงมีกันทุกคน (ไม่ใช่ความผิด)
ผมก็เป็นอย่างนี้

ส่วนตัวแล้วอยากออกความเห็นว่า ใจที่รักงานเขียนต้องมาก่อน
เป็นอันดับหนึ่ง จากนั้นก็หาเขียนให้มาก  และหาความรู้ด้านการ
เขียนอยู่เสมอ ไม่ว่าคุณจะมีพรสวรรค์หรือไม่  คำตอบจะบังเกิดขึ้นกับคุณเอง

เท่าที่ทราบนักเขียนที่ดังๆ อยู่นั้น เขา "เล่นกับมัน" อย่าง
กัดไม่ปล่อย  ระยะหนึ่งที่ต่อเนื่องและแน่นอน.
ในที่สุดก็ได้คำตอบ.

แลกเปลี่ยนด้วยความจริงใจ.


 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท