อันตรายจากสารพิษในขวดพลาสติกบรรจุน้ำดื่ม ... (อีกครั้ง)


เด็กหญิงอายุ 12 ปี เสียชีวิตหลังจากการใช้ขวดน้ำแร่ใส่น้ำไปโรงเรียนเป็นระยะเวลานานถึง 16 เดือน

       สืบเนื่องจาก บันทีกนี้ ที่ได้จาก e-mail ที่เพื่อนส่งมา  รอดูว่าจะมีใครมาให้รายละเอียด ข้อเท็จจริงเพิ่มเติม  แต่ยังไม่มี  ผมเลยลองค้นๆดูจากไฟล์เก่าๆที่เก็บไว้ ได้รายละเอียดเพิ่มมาดังนี้ครับ (เสียดายว่า แหล่งที่มาไม่ชัดเจน ... ระบุไว้ว่า จากพนักงานบริษัทเอกชน)

      หลาย ๆ คนไม่ทราบถึงอันตรายจากสารพิษที่มีสาเหตุมาจากการนำขวดพลาสติกกลับมาใช้ซ้ำคุณหลายๆ คนอาจยังมีพฤติกรรมการใช้ และการนำกลับมาใช้ใหม่ ของขวดน้ำแร่ (เช่น Nestle, Bisleri, Aquafina, Kinley, Evian, และอื่นๆ) โดยการเก็บขวดเหล่านั้นไว้ในรถ หรือที่ทำงาน ซึ่งนั่นไม่ใช่ความคิดที่ดีเลย
     มีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นใน ดูไบ ที่เด็กหญิงอายุ 12 ปี เสียชีวิตหลังจากการใช้ขวดน้ำแร่ใส่น้ำไปโรงเรียนเป็นระยะเวลานานถึง 16 เดือน
ซึ่งพลาสติกที่เรียกว่า Polyethyleneterephthalate หรือ PET บรรจุสารที่เป็นตัวการสำคัญที่เรียกว่า Diethyl hydroxylamine or DEHA
ขวดเหล่านี้จะมีความปลอดภัยในการใช้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น หากคุณต้องการเก็บไว้ให้นานขึ้น ก็ต้องไม่นานกว่า 2-3 วัน หรือ 1 สัปดาห์ ถือว่านานที่สุด และต้องเก็บไว้ให้ห่างจากความร้อนด้วยเช่นกัน
       การล้างขวดน้ำซ้ำๆและล้างโดยการเขย่าขวดนั้น เป็นสาเหตุของการเสื่อมตัวของพลาสติกและเกิดสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งที่จะเข้าไปรวมตัวกับน้ำที่คุณใส่ไว้ในขวดสำหรับดื่ม ทางที่ดีคุณควรจัดหาขวดสำหรับใส่น้ำที่สามารถใช้บรรจุน้ำได้หลายๆ ครั้ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ สิ่งที่ต้องใช้อย่างประหยัด แต่อยากให้นึกถึงครอบครัวและตัวของคุณเอง

หมายเลขบันทึก: 102203เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2007 06:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

โอ อาจารย์ ที่บ้านก็ใช้ เพื่อนๆ พี่น้องก็ เห็นใช้

ที่ทำงานก็ เห็นตึก พยาบาลหลายตึกใช้

 ส่วนตัว เดินทางก็ใช้ ต้มน้ำใส่ขวดจากบ้าน พกไปทำงานทุกวัน

ต้องเปลี่ยนซื้อ กะป๋องบรรจุน้ำ แทนรึเปล่าเนี่ย

อยากได้ หลักฐานชัดเจนกว่านี้ ก่อนจะแนะนำคนอื่นๆ เชิงห้ามไม่ให้ใช้ ต่อไป

อีกคำถามคือ

ยังเห็นน้ำในขวดใส พนักงานวางไว้ตากแดด ที่หน้าซุปเปอร์ ที่ปัมท์น้ำมัน และร้านเบ็ดเตล็ด ทั้งหลาย น่าจะมีสารอันตรายเกิดเช่นกัน

หรือเปล่าคะ

ขอบคุณครับ คุณหมอ พญ รวิวรรณ หาญสุทธิเวชกุล ที่ติดตาม
    ผมเองก็ไม่แน่ใจว่าพิษภัยจะมีมากน้อยแค่ไหนครับ  และนำเสนอในลักษณะที่ต้องการการเฉลยจากผู้รู้อยู่เหมือนกัน เพราะที่มาของข้อมูลยังไม่ชัดเจน  ก็รอๆว่าจะมีนักเคมีหรือผู้รู้จริงท่านใดจะผ่านมาชี้แนะเพิ่มเติมครับ

ขอบคุณนะครับ

         ข้อมูลจากนักเคมีน่าจะสมบูรณ์ขึ้นนะครับ แต่ตอนนี้ผมเชื่อไว้ก่อนดีกว่า อย่างไรเสียพวกที่สังเคราะห์ขึ้นผมว่ามันไม่มีสิ่งไหนที่ดี

         เห็นจะต้องเลิกใช้ล่ะครับ

  • ขอบคุณข้อมูลดีๆ ค่ะ
  • ขอบอกว่า น้ำถังละ 10 บาท ที่ขายกันอยู่นั่น ก็ไม่ปลอดภัยนะคะ มีสารปนเปื้อนอยู่มากมายค่ะ ควรใช้เครื่องกรองน้ำ จะดีกว่าค่ะ (แต่มันก็แพงอยู่นะ เริ่มต้นที่ 30000+  แต่เราไม่ต้องซื้อน้ำกินในระยะยาว คิดก็คุ้มนะคะ )
   ขอบคุณครับ ทั้งตุณ mr. สุมิตรชัย คำเขาแดง และคุณ  Bright Lily
    เห็นด้วยครับว่าอันตรายจากสิ่งปนเปื้อน มีมากขึ้น  มากตามความก้าวหน้าทางวัตถุที่มนุษย์ปรุงแต่งขึ้น  และห่างไกลจากธรรมชาติมากขึ้นทุกที

สวัสดีค่ะ อาจารย์ Handy

ขอบพระคุณมากนะคะสำหรับข้อมูลขวด Pet

ที่บ้านดิฉันก็ใช้ค่ะ  นึกแล้วกลุ้มใจเหมือนกัน  สมัยเด็กๆเคยใช้ขวดแก้ว  เวลาล้างที  ต้องใช้ทรายเขย่าๆขวดกันจนปวดไหล่   แต่เดี๋ยวนี้แสนสบาย   เพราะใช้ขวด Pet

อ่านที่อาจารย์เล่าให้ฟังแล้วไม่ได้กลุ้มเพราะขวดดอกค่ะ  แต่กลุ้มเพราะไม่รู้จะบอกให้ที่บ้านเลิกใช้ได้อย่างไร  ....เปลี่ยนความเชื่อนี่เปลี่ยนยากที่สุดอะค่ะ...... : )

เรียน อาจารย์ Handyman...

  • พลาสติกที่ใช้บรรจุน้ำดื่ม น่าจะใช้ซ้ำได้ และปลอดภัยครับ
  • ถ้าต้องการให้ปลอดภัยสูงขึ้น เรียนเสนอให้ใช้พลาสติกจากขวดนม หรือนำขวดนมมาล้างแล้วใช้เติมน้ำดื่มได้ เนื่องจากเกรดของขวดนมจะสูงกว่าพลาสติกทั่วไป (นมมีทั้งน้ำ และน้ำมันปนกัน จึงต้องใช้พลาสติกที่มีความบริสุทธิ์สูง)

ที่มา

สวัสดีครับ 

http://www.plasticsinfo.org/s_plasticsinfo/sec_level2_faq.asp?CID=705&DID=2839#4
^^^ plasticinfo.org ถือว่ามีส่วนได้ส่วนเสีย, ทำให้ข้อมูลไม่น่าเชื่อถือรับฟัง รึเปล่าครับ?

ขอบคุณครับ คุณอานนท์
    แม้จะมีการยืนยันพิสูจน์ โดยผู้มีส่วนรับผลประโยชน์จากการขาย Plastic ที่น่าเชื่อถือเพียงใดก็ตาม .. เชื่อก็เชื่อ  แต่ผมว่า .. วัสดุธรรมชาติ ที่ไม่ใช่การสังเคราะห์ทางเคมี .. น่าสนใจกว่าเสมอครับ

ขอบคุณครับอาจารย์ที่นำข้อมูลนี้มาแลกเปลี่ยน ก่อนหน้านี้ผมเคยทราบจากน้องที่รู้จักเหมือนกัน เขาบอกว่าการดื่มน้ำที่บรรจุขวด PET ซึ่งเก็บไว้ในรถยนต์นานๆ ไม่ปลอดภัย มีสารก่อมะเร็ง ผมก็ฟังหูไว้หูอยู่พักนึง แต่เมื่อไม่นานมานี้ มีการพูดถึงประเด็นนี้โดยแพทย์ ข้อสรุปที่จำได้คือ ขวด PET ที่ใส่น้ำดื่ม เขาผลิตมาเพื่อใช้แล้วทิ้ง ไม่ควรนำมาใช้ซ้ำอีก

ขอบคุณครับทุกท่านที่เป็นห่วงในสุขภาพของทุกๆคนแต่ไม่เห็นมีท่านใดเสนอแนวทางแก้ไขเลยครับสำหรับวัสดุธรรมชาติ ที่ไม่ใช่การสังเคราะห์ทางเคมี .. น่าสนใจครับ แต่วัสดุนั้นคืออะไรครับ สงสัยต้องไปตัดกระบอกไม้ไผ่ หรือ พกโอ่งดินไว้ในรถ ก็ไม่รู้ว่าจะพบสารอะไรอีกหรือเปล่า ปลอดภัยหรือไม่ บางคนคิดมากเรื่องสารก่อมะเร็ง แต่ สูบบุหรี่ทั้งวัน แถมดื่มเหล้าอีกต่างหาก ผมว่าเหล้าแก้วหนึ่งน่าจะอันตรายกว่า ที่กลัวๆสารก่อมะเร็งกัน  ผมคิดว่าในเมื่อไม่มีวัสดุทดแทน ก็ทำได้แค่ลดการใช้และออกกำลังกายงดเหล้าบุหรี่ ดูแลสุขภาพ ที่สุดแล้วสำหรับผมชีวิตอยู่ยาวนานนั้นไม่สำคัญ  สำคัญที่อยู่อย่างไรให้มีประโยชน์ในสังคม

กำลังมองหาขวด  พลาสติกมาใช้เปิดมาเจอพอดี

แล้วจะใช้อะไรทดแทนได้ครับ  ผมใช้ใส่น้ำมะนาว

ซึ่งมันมีกรดสูง  จะมีอันตรายกับผู้บริโภคมั้ยครับ

ผมอยากรู้ว่าขวดพลาสติกเกี่ยวอะไรกับเศรษฐกิจพอเพียงครับช่วยตอบที่ครับ 

ด่วน  ให้เวลา  สองวันนะครับผมจะทำโครงงานครับ

ขออนุญาตสรุปข้อมูลต่างๆ เท่าที่ข้าพเจ้าทราบอยู่ในขณะนี้ครับ.

== forward mail เรื่องเด็กชาวดูไบตายจากการดื่มน้ำจากขวดพลาสติก ==

=== English version ===
forward mail ฉบับภาษาอังกฤษที่เวียนอยู่ใน internet
* http://www.mail-archive.com/[email protected]/msg00101.html
* http://www.dawn.com/2004/03/14/letted.htm

จดหมายข่าวในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ที่มีเนื้อหาเหมือนกับใน forward mail ชนิดคำต่อคำ
* http://www.britishschool.edu.om/newsletters/newsletterjune06.pdf (หน้า 4 หัวข้อเรื่อง Health & Safety)

จดหมายข่าวจาก CUTS safety watch (CUTS = Consumer Unity & Trust Society), เนื้อหาโดยสรุปจะเหมือนกับใน forward mail, แต่ไม่ได้เหมือนกันแบบคำต่อคำ
* http://www.cuts-international.org/pdf/beware3-04.pdf (หน้า 3 หัวข้อแรก)

=== Thai version ===
มีการแปลเป็นภาษาไทย แพร่หลายอยู่ในเว็บต่างๆ
* http://astarlink.exteen.com/20050921/pet
* http://variety.teenee.com/foodforbrain/457.html
* http://gotoknow.org/blog/handyman/102203

=== Thai version 2 ===
หนังสือพิมพ์สยามรัฐลงข่าวเรื่องเด็กชาวดูไบตายจากการดื่มน้ำจากขวดพลาสติก
* สคบ. (สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค) นำข่าวจากสยามรัฐ ไปลงในวารสาร สคบ.
* โบรชัวร์โฆษณา ขายของ ของ ทัปเปอร์แวร์ ได้ตัดข่าว สคบ. นี้มาลงในโบรชัวร์, และ แนะนำให้หันมาใช้ ทัปเปอร์แวร์ แทน.

เทศบาลตำบลโกรกพระ และ สำนักงานพาณิชย์ยะลา คัดลอกข่าวจากวารสาร สคบ. ไปลงอีกต่อหนึ่ง
* http://www.krokphra.go.th/news/sorkorbor/sorcorbor.htm
* http://pcoc.moc.go.th/pcocsys/view_news.aspx?data_id=349&control_id=8&pv=95&view=1


=== ข้อมูลอีกด้านหนึ่ง ===
ข้อมูลที่พยามยามหักล้างความน่าเชื่อถือ ของ forward mail, โดยอ้างวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาผู้หนึ่ง
* http://learners.in.th/blog/living-green/45281#91425

อีกข้อมูลที่มีการหักล้างในประเด็นของสาร DEHA
* http://update.se-ed.com/218/letter.htm
* http://pantip.com/cafe/wahkor/topic/X6261246/X6261246.html#4
* http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2007/10/X5940947/X5940947.html#3
** ข้อมูลจาก url อันที่ 3 นี้จะต่างจาก 2 อันแรกตรงที่url นี้บอกว่า Diethylhexyl adipate ใช้ในการผลิต PET ในขณะที่ 2 อันแรก บอกว่า Diethylhexyl adipate ไม่ได้ใช้ใน PET แต่ใช้ในฟิล์มพลาสติกใสที่ใช้ห่ออาหาร

ในอีกกระทู้หนึ่ง
* http://topicstock.pantip.com/lumpini/topicstock/2007/08/L5687973/L5687973.html


== อันตรายจากสาร Bisphenol A ที่ใช้ในการผลิตขวด PET ==

ในกรณีของเด็กชาวดูไบตายที่กล่าวถึงใน forward mail ที่แพร่หลายนั้น, กล่าวถึงแต่เพียงสาร DEHA เท่านั้น.  ทั้งนี้มีบทความหนึ่งได้กล่าวถึงสารพิษที่ต่างออกไปคือ Bisphenol A
* http://learners.in.th/blog/living-green/45281
* http://learners.in.th/blog/living-green/83016

ข้อมูลเรื่องสาร Bisphenol A ในขวดพลาสติก จาก wikipedia
* http://en.wikipedia.org/wiki/Bisphenol_A#Identification_in_Plastics

ยังไม่มีข้อมูลที่ออกมาแย้งเรื่องสาร Bisphenol A ได้อย่างชัดแจ้งเท่ากรณีของสาร DEHA มากนัก.
ส่วนใหญ่จะเป็นการแย้งในประเด็นเรื่องความเข้มข้นของสารที่ปนเปื้อนออกมาอาจต่ำกว่าขีดอันตรายมาก, หรืออยู่ในระดับที่ยอมรับได้.

ขอถามท่านผู้รู้ว่าเราจะสามารถใช้อะไรแทนขวดพลาสติกสำหรับใส่ผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเหลวได้คะ ของเหลวที่ว่านี้คล้าย ๆ น้ำกระเทียมดองค่ะเป็นของดอง จะบรรจุตอนที่เย็นแล้ว และคิดว่าจะเอามารีไซเคิ้ลบรรจุใหม่ได้ ตอนนี้กำลังมองหาบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะกับผลิตภัณฑ์อยู่ค่ะ

รบกวนช่วยตอบด่วนด้วยนะคะ เพราะตอนนี้รอแค่บรรจุภัณฑ์เท่านั้นก็จะเปิดกิจการได้ค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

นางสาวหทัยรัตน์ โคตรพรหม (104)

เมื่อรู้อย่างนี้แล้วอันตรายมากเลยนะค่ะอาจารย์ ดิฉันจะจำไว้เป็นอุทาหรณ์ค่ะ

ทางที่ดีนะคะ ทำตัวให้มีภูมิต้านทานมากๆไงล่ะคะ ก็จะสามารถสู้ได้กับทุกโรค อิอิ จริงมะ

http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=lenhua&date=06-04-2009&group=5&gblog=2

ข้อกังวลทั่วไปที่ถูกนำไปเผยแพร่เกี่ยวกับ PET เห็นจะเป็นเรื่องเม็ดพลาสติกในขวดซึ่งมีส่วนผสมของสารก่อมะเร็ง

(DiEthylHydroxylAmine or DEHA) ข้อกล่าวหานี้มีข้อสรุปว่าการล้างและตากแห้งหลายครั้งจะส่งผลให้พลาสติกแตก ตัวและสาร

ก่อมะเร็งจะละลายลงไปในน้ำที่บรรจุในขวด

ความเป็นจริงคือ DEHA ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐว่าปลอดภัยต่อการสัมผัสอาหาร และไม่ก่อให้เกิด

อันตรายต่อสุขภาพ ขวด PET สามารถนำมาใช้ใหม่อีกกี่ครั้งก็ได้เท่าที่ต้องการโดยไม่มีอันตรายใดๆ สิ่งที่ควรระวังคือต้องรักษา

ความสะอาดและหลีกเลี่ยงการเติบโตของแบคทีเรีย (เหมือนเช่นบรรจุภัณฑ์อื่นๆ ที่ผลิตจากวัสดุอื่นๆ)

ร่างกายเราต้องการน้ำเป็นปัจจัยสำคัญ ฉะนั้นบรรจุภัณฑ์ที่ใส่น้ำสำคัญเหมือนกัน แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ เราต้องใช้เครื่องกรองน้ำที่มีคุณภาพและประหยัดค่าใช้จ่ายเราได้จริงๆ

อยากได้วิธีตรวจสอบอ่ะค่ะ ใช้สารอะไรคะ?

 Fwd. มั่วครับ

DEHA หรือ diethylhydroxylamine เป็นสารที่ใช้ในกระบวนการผลิตพลาสติกครับ และไม่ใช่สารก่อมะเร็ง

ข้อมูลจาก สมาคมมะเร็งประเทศแคนนาดา ครับ

http://www.cancer.ca/ontario/about%20cancer/cancer%20myths/reusing%20disposable%20water%20bottles.aspx

ไม่ม่าจะเป็นความจริง ปัญหาของขวด pet คือเมื่อเราส่องดูพื้นผิวของขวดโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ จะพบว่ามันมีหลุมเล็กๆเต็มไปหมด หลุ่มพวกนี้เป็นที่สะสมเชื้อโรค ทำความสะอาดยาก ใช้น้ำร้อนก็ไม่ได้เพราะทนความร้อนต่ำ ไม่เกี่ยวกับมะเร็งอะไรทั้งสิ้น โอเคนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท