การร่วมมือทางวิชาการกับสถาบัน EMTC (Educational Management Training Center) กรุงฮานอย ประเทศเวียตนาม


การร่วมมือทางวิชาการ

เมื่อวันที่ 7-9 มิถุนายน ผมเดินทางไปเจรจาเพื่อทำความตกลงในการร่วมมือทางวิชาการกับสถาบัน EMTC ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียตนาม โดยได้เพิ่มกิจกรรมด้านความร่วมมือมากขึ้น เช่น เขาขอให้เราอบรมเรื่อง Change Mangement ให้กับผู้บริหารระดับสูง จำนวน 6 คน ที่สถาบันฯ ของเราและขอให้เราไปทำ O.D. (Organization Development) ที่สถาบันฯ ของเขาโดยใช้เวลา 3 วัน รวมทั้งให้มีการวิจัยร่วมกัน เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างไทยกับเวียตนาม โดยศึกษาข้อดีและข้อด้อยของแต่ละประเทศ นอกจากนั้นเขายังสนใจการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างของสถาบันฯ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ e-Learning ซึ่งเขาขอที่จะส่งคนมาศึกษากับเราโดยเขายินดีจะออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด  และเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ที่ผ่านมาเรามี Mr.Gregs จาก Tasmania University ได้เดินทางมาที่สถาบันฯ เพื่อแสวงหาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ เช่นกัน โดยเขารับที่จะอบรมบุคลากรของเราในเรื่อง Early Child Learning ที่  Tasmania และเขาจะขอส่งนิสิตปริญญาตรี, โท ปีสุดท้ายมาจัด Workshop ที่สถาบันฯ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาของไทย

                  เป็นที่น่ายินดีว่า สถาบันฯ ของเรามีมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศได้มาเป็นเครือข่ายหลายแห่ง เป็นต้นว่าคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัย Tasmania ประเทศออสเตรเลีย  และยังมีหน่วยงานพัฒนานอกกระทรวงศึกษาธิการ อีกหลายหน่วยงานที่ตกลงเป็นเครือข่ายกับเรา เช่น สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพสถานพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข, สถาบันนักฝึกอบรมแห่งประเทศไทย, สำนักส่งเสริมสุขภาพ  กรมอนามัย  กระทรวงสาธารณสุข, สถาบันการประชาสัมพันธ์  กรมประชาสัมพันธ์,  สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, มหาวิทยาลัยยูนนาน นอร์มอล ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน  เป็นต้น

                 ท่านปลัดได้ส่งการให้สถาบันฯ หาแนวทางในการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาเอกขึ้นในกระทรวงศึกษาธิการ ผมได้ตั้งคณะทำงานศึกษาในเรื่องนี้ และมีความเป็นไปได้มากที่สุดที่จะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  โดยผมได้เจรจาเป็นการภายในกับ ดร.สุทธิวรรณ  จันทรภุมรินทร์  ซึ่งในหลักการเบื้องต้นก็ยินดี  แต่ควรจะต้องปรึกษาหารือกันในรายละเอียดต่าง ๆ

                 สุดท้ายผมขอสรุปหนังสือที่ท่านนายกฯ ทักษิณแนะนำให้อ่านชื่อ Innovation or Die เขียนโดย ดร.ปีเตอร์  ดรักเกอร์  ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับธนาคาร  เขาพูดถึงธนาคารในอเมริกา ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ส่วนธนาคารเก่าเริ่มไม่มีมาร์จิ้น พอไม่มีมาร์จิ้นความเสียงก็สูง  ซึ่งทำให้ธนาคารล้มได้  เพราะฉะนั้น ธนาคารทั้งหลายจึงต้องสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อสร้างกำไร ไม่เช่นนั้นธนาคารจะอยู่ไม่ได้ ซึ่งก็เหมือนกับสถาบันฯ ของเรา ถ้าเราไม่สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ไม่สามารถ "Go beyond" เราก็จะอยู่ไม่ได้เช่นเดียวกัน สวัสดีครับ

   

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1020เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2005 10:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท