Workshop “การเป็น CKO/KF” รุ่นที่ 1


หลังจากทำ AAR ผมและทีมงานรู้สึก (ที่อาจจะเข้าข้างตัวเอง) ว่ามีกำลังใจที่จะทำ Workshop ทำนองนี้ต่อไปอีกอย่างน้อย 2 รุ่น ในช่วงเดือน ม.ค. 49

         สืบเนื่องจาก Passion plan “UKM รุ่นสึนามิ” ผมกำลังล่าฝันที่ได้เคยตั้งใจไว้เมื่อปลายปีที่แล้ว ที่ว่า จะพยายามสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่อง KM ให้กับคนใน มน. ให้มีความสามารถพอที่จะเป็น CKO/KF ในหน่วยงานของตนเองได้ จำนวนอย่างน้อย 80 คน โดยให้กระจายอยู่ในทุกคณะวิชา (20 คณะ) และในทุกหน่วยงานสายสนับสนุน (20 หน่วยงาน) กลุ่มคนเป้าหมายที่จะทำก็คือ
เพื่อนร่วมงานที่เป็น QA Staff และผู้บริหารงานวิจัยที่กระจายอยู่ตามคณะและหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วทั้ง มน.

         เมื่อวันศุกร์ที่ 11 ก.พ. 48 จำได้ว่าได้เรียนเชิญท่านอาจารย์ ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด จาก สคส. มาบรรยายเรื่อง “แนวคิด หลักการ และประสบการณ์ด้าน KM” ให้กับผู้บริหารและผู้สนใจไปรอบหนึ่งแล้ว ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง มีผู้ให้ความสนใจและอยากที่จะมีความรู้และนำเอา KM ไปประยุกต์ใช้จำนวนมาก

         วานนี้ วันจันทร์ที่ 19 ธ.ค. 48 ได้มี Workshop “การเป็น CKO/KF รุ่นที่ 1” ให้กับผู้บริหารระดับคณะวิชา (รองคณบดี) ที่รับผิดชอบด้าน  QA และวิจัยจำนวนประมาณ 40 คน ดังรายละเอียดกำหนดการที่ผมเคยบันทึกไว้ใน Blog ครั้งหนึ่งแล้ว < Link >

         ก่อน Workshop ผมกังวลค่อนข้างมาก เกรงว่าถ้าผลออกมาไม่ดีแล้วจะมีผลกระทบต่อไปยังกิจกรรมอื่น ๆ ที่กำลังจะตามมาอีกมาก เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ผมต้องจัดทำ KM Workshop ด้วยตนเอง ทักษะการเป็นวิทยากรกระบวนการของผมก็ไม่ถนัดอย่างยิ่งพอ ๆ กับการที่ต้องออกไปร้องเพลง จึงทำให้กังวล เกรงว่าผลที่ได้จะออกมาไม่ดี อาศัยที่มีความตั้งใจสูงมากที่อยากจะทำและปลอบใจตัวเองว่าได้เคยดูคนอื่นเขาทำมาแล้วประมาณ 1 ปี จากกิจกรรมต่าง ๆ ของ UKM และของ สคส. และที่สำคัญอีกอย่างคือไม่ได้ทำคนเดียว มีเพื่อน ๆ ที่เคยไปอบรมที่บ้านผู้หว่าน “รุ่นสึนามิ” มาช่วยเป็นแกนนำอยู่ด้วยคือ ท่านอาจารย์มาลินี ท่านอาจารย์เทียมจันทร์ และท่าน
อาจารย์ปรียานันท์

         หลังจากทำ AAR ผมและทีมงานรู้สึก (ที่อาจจะเข้าข้างตัวเอง) ว่ามีกำลังใจที่จะทำ Workshop ทำนองนี้ต่อไปอีกอย่างน้อย 2 รุ่น ในช่วงเดือน ม.ค. 49 ซึ่งเดิมตั้งใจว่าจะจัดให้เสร็จก่อนสิ้นปี 48 ทั้งหมดทั้ง 3 รุ่น แต่ติดขัดเรื่องสถานที่จึงจำเป็นต้องเลื่อนออกไป

         สำหรับรุ่นที่ 2 นั้นผู้เข้าร่วมโครงการจะมาจากสำนักงานเลขานุการคณะ (Office KM) และ QA staff จาก Non – teaching Unit (รวมประมาณ 40 คน)

         รุ่นที่ 3 ผู้เข้าร่วมโครงการจะมาจากเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนที่รับผิดชอบงานด้าน QA และวิจัยจากทุกคณะ (รวมประมาณ 40 คน)

         เราปรึกษากันว่า ถ้าทั้ง 3 รุ่นนี้ออกมาว่าได้ผลดี เราก็จะพยายามขยายผลออกไปอีกในหลาย ๆ กลุ่ม เช่น 

         1.  กลุ่มรองคณบดีที่รับผิดชอบงานด้านอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้มีโอกาสเข้าร่วม Workshop

         2.  กลุ่มคณบดีจากทุกคณะ

         3.  กลุ่มอธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี

         4.  กลุ่มคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย

         ผลคืบหน้าต่อไป จะเป็นอย่างไรนั้นผมจะหาโอกาสนำมาเล่า ลปรร. กันภายหลังครับ ขอบคุณครับ

         วิบูลย์  วัฒนาธร

 

คำสำคัญ (Tags): #workshop#cko#kf
หมายเลขบันทึก: 10183เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2005 11:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท