แล้ว "ประชาธิปไตย" คืออะไร


เวลาเราพูดถึงสิ่งที่เป็นนามธรรม (นามธรรมเป็นสิ่งได้หรือ?) ก็มักจะเกิดสมมุติฐานว่าพูดถึงเรื่องเดียวกัน แต่ที่จริงแล้วอาจมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน บางทีต่างกันจนเป็นคนละเรื่องด้วยซ้ำไป

คำว่าประชาธิปไตยก็เช่นกันครับ

  • ท่านปรีดี พนมยงค์ กล่าวไว้ว่า

                คำว่า  “ประชาธิปไตย”  ประกอบด้วยคำว่า  “ประชา”  หมายถึงหมู่คนคือปวงชน  กับคำว่า  ”อธิปไตย”  หมายถึงความเป็นใหญ่

                คำว่า  “ประชาธิปไตย”  จึงหมายถึง  “ความเป็นใหญ่ของปวงชน”

                ราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของคำว่า  “ประชาธิปไตย”  ไว้ในหนังสือพจนานุกรมของทางราชการว่า  “แบบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่”

                ทั้งนี้พึงเข้าใจว่าการที่ปวงชนจะมีความเป็นใหญ่ในการแสดงมิติได้ก็จำเป็น ที่ชนทุกคนรวมกันเป็นปวงชนนั้นต้องมี    “สิทธิและหน้าที่ของมนุษยชน”  อันเป็นสิทธิและหน้าที่ตามธรรมชาติของทุกคนที่เกิดมาเป็นมนุษย์  คือ  สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคซึ่งมนุษย์จะต้องใช้พร้อมกันกับหน้าที่  มิให้เกิดความเสียหายแก่เพื่อมนุษย์อื่นและหมู่คนอื่นหรือปวงชนเป็นส่วนรวม  ถ้าชนส่วนมากซึ่งเป็น  “สามัญชน”  ถูกตัดสิทธิมนุษยชนโดยให้มีหน้าที่แต่อย่างเดียว  สามัญชนก็มีลักษณะเป็นทาส  หรือข้าไพร่ของชนส่วนน้อยซึ่งมีสิทธิใหญ่ยิ่งหรือ  “อภิสิทธิ์ชน” แบบการปกครองจึงไม่ใช่ประชาธิปไตย  ถ้าสามัญชนมีสิทธิมนุษยชนอย่างเดียว  โดยไม่มีหน้าที่  มนุษยชนแบบการปกครองก็เกินขอบเขตของประชาธิปไตย

  • วิกิพีเดีย ให้ความหมายว่า

    ประชาธิปไตย (democracy) คือแนวคิดที่เชื่อว่าประชาชนมีสิทธิที่จะปกครองตนเอง ซึ่งแตกต่างจากแนวคิดก่อนหน้า ที่เชื่อว่าประชาชนมีชีวิตอยู่เพื่อเสริมสร้างบารมีหรือความมั่งคั่งให้กับกษัตริย์ หรือมีชีวิตตามความต้องการของพระเจ้า การเปลี่ยนกระบวนทัศน์นี้เป็นผลจากยุคแสงสว่าง

  • wikipedia บรรยายไว้ในเบื้องต้นว่า

    Democracy describes a series of related forms of government. With origins in ancient Greece, Rome and south Asia, democracy has generally grown and expanded throughout history. Today, democracy is the predominant form of government in the world. The term democracy is typically used in the context of a political state, the principles are also applicable to other groups and organizations.

    และให้รูปแบบของ democracy ไว้ 7 รูปแบบคือ

    • Representative
    • Direct Democracy
    • Socialist Democracy
    • Anarchist Democracy
    • Sortition
    • Tribal Democracy
    • Concensus Democracy

  • ส่วน Britannica Concise Encyclopedia ก็ว่า

    literally, rule by the people. The term is derived from the Greek demokratia, which was coined from demos (“people”) and kratos (“rule”) in the middle of the 5th century BC to denote the political systems then existing in some Greek city-states, notably Athens.

  • US History Encyclopedia ก็มีนิยามในบริบทของอเมริกันชน

    In the simplest sense, democracy is rule by the ruled. In a democratic political system, government power is legitimized by the consent of the governed. Consent is expressed in a variety of forms, including annual election of government leaders and citizen participation in governing processes. The roots of American democratic culture can be traced to the direct election of many colonial legislatures, as well as the practice of democratic governance in many localities. The American Revolution was animated by the idea that the colonists were defending the principle of democratic self-rule and that the American struggle was analogous to the English Parliament's struggle against the monarchy.

    The formal mechanisms of democracy can vary, however, with direct democracy at one pole and representative democracy at the other. Direct democracy allows for unmediated citizen deliberation and decision making on public matters; representative democracy permits citizens to elect representatives who act on their behalf. American democracy is representative in design and function, yet it is clearly influenced by the ideology of direct democracy.

    In The Federalist Papers, James Madison argued for representative democracy, because of its power to "refine and enlarge" public opinion and to control the intemperate passions of the people, who—if permitted to make government policy directly—would threaten individual rights. A balance between majority rule and individual liberty could be struck if the people's representatives, at a physical and psychological remove from citizens, ruled on their behalf. Representative democracy was best suited for an "extended Republic"—a large nation with a multiplicity of crosscutting interests. If sufficiently removed from the fray of constituent pressure, legislators would be able to discern a good for the nation that transcended the sum total of voter demands.

    While Madison's vision of democracy was ultimately enshrined in the U.S. Constitution, Madison's opponents—the anti-federalists—charged that representative democracy was at too far a remove from citizens. On matters of importance power needed to reside closer to the people, if not exercised by their direct consent. While arguments for representative democracy carried the day, the tension between the two models of democracy is a theme that resonates throughout American political history.

  • สุดท้ายที่ค้นมาคือ Columbia Encyclopedia บอกว่า

    democracy [Gr.,=rule of the people], term originating in ancient Greece to designate a government where the people share in directing the activities of the state, as distinct from governments controlled by a single class, select group, or autocrat. The definition of democracy has been expanded, however, to describe a philosophy that insists on the right and the capacity of a people, acting either directly or through representatives, to control their institutions for their own purposes. Such a philosophy places a high value on the equality of individuals and would free people as far as possible from restraints not self-imposed. It insists that necessary restraints be imposed only by the consent of the majority and that they conform to the principle of equality.

ขนาดกวาดตาผ่านๆ โดยไม่ต้องคิดอะไรมาก ก็ชัดอยู่แล้วครับ ว่าแต่ละแหล่งให้ความหมายที่ไม่เหมือนกัน

แต่ประเด็นคืออย่างนี้ครับ เรื่องแรก ในความแตกต่างเล็กน้อยนี้ หากไม่พูดจากันจนเข้าใจ ในที่สุดก็จะทำให้การรวมกลุ่มรวมพลัง ไม่ยั่งยืนเพราะว่าไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกัน รวมกันด้วยผลประโยชน์ชั่วคราว อยู่กันได้ประเดี๋ยวประเดียว พอผลประโยชน์เปลี่ยน ก็เปลี่ยนขั้ว ย้ายบ้านผสมพันธุ์กันยุ่งไปหมด; การแบ่งกันเป็นขั้ว ทำอะไรก็ขาดความต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นคนละขั้วก็เลยต้องแตกต่างกัน

ประเด็นที่สองซึ่งสำคัญกว่าคือ นิยามของประชาธิปไตย ไม่ควรจะยาวขนาดงานวิจัย แต่ก็ไม่ควรสั้นเหมือนที่บัญญัติไว้ในพจนานุกรม แล้วควรจะอธิบายคำว่าประชาธิปไตยอย่างไร ที่(เด็ก)ฟังแล้วรู้เรื่อง ปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง เป็นหลักให้ตรึกตรองและวินิจฉัยได้ว่าอะไรเป็นรูปแบบ อะไรเป็นเนื่อหา

ช่วยคิดหน่อยซิครับ 

หมายเลขบันทึก: 101341เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2007 03:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 11:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (41)

เรียน คุณ Conductor ที่นับถือ ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นครับ ในมุมมองส่วนตัวของผม  คำว่าประชาธิปไตย  เวลาผมนำไปพูดคุยกับเด็กๆ ผมจะบอกเขาว่า ประชาธิปไตย คือ ความสามารถในการเป็นตัวของตัวเอง  ด้วยการตัดสินใจด้วยตัวเอง และคิดด้วยตัวเอง ภายใต้คุณธรรมจริยธรรมของสังคมที่เราอยู่ครับ

อ้อ แนว Anarchist Democracy นะครับ

ผมคิดว่าประชาธิปไตยน่าจะหมายถึง อิสระ ภายใต้หน้าที่ต่อประโยชน์สุขของส่วนรวมครับ

ในขณะที่ประชากรมีมากขึ้น Direct Democracy แบบกรีกเป็นไปไม่ได้ แล้วเราก็ไปสร้าง Representative Democracy ขึ้นมาแทน ใช้เสียงส่วนใหญ่เป็นตัวตัดสิน; แต่เราก็เห็นมาแล้วว่าบางทีเสียงส่วนใหญ่ ก็ไม่ได้ยืนอยู่บนประโยชน์สุขของส่วนรวมเหมือนกัน (เรื่องไม่ง่ายกับการประชุม)

Representative Democracy สร้าง ชนชั้น Elite ซึ่งในที่สุด ซึ่งเมื่อมีอำนาจมากเข้า ก็ทำเพื่อตัวเองโดยลืมไปว่าถูกเลือกเข้ามาทำหน้าที่อะไร

คำว่าธรรมาธิปไตยในบันทึกนี้ คงจะพอเข้ากันได้กับคำว่าประโยชน์สุขส่วนรวม ประโยชน์สุขจะเกิดได้ด้วยการปฏิบัติเท่านั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัว ทำแทนกันไม่ได้ -- ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ 

ผมเชื่อในอิสระที่จะคิดและทำอย่างแตกต่างออกไปครับ ตราบใดที่อยู่ใต้กติกาที่ตกลงร่วมกัน และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ปัจเจกชนก็น่าที่จะทำได้ และเป็นหน้าที่ที่จะทำด้วยครับ ไม่ใช่โบ้ยไปให้ตัวแทนที่เลือกไปกระทำการแทนทั้งหมดโดยไม่มีการตรวจสอบ

พูดแรงๆ ก็คือเราเลือกคนรับใช้ครับ ไม่ใช่เลือกนาย

เรียน คุณ Conductor ที่นับถือ ขออนุญาตเพิ่มเติมครับ คือ ผมมองประชาธิปไตย 2 ระดับ ครับ ในระดับการเมืองการปกครอง และ ในระดับวิถีชีวิต ที่ผมจะเน้นมากคือระดับวิถีชีวิตครับ ที่ผมนิยามไว้ข้างบนคือระดับวิถีชีวิต และผมคิดว่าผมไม่น่าจะใช่ Anarchist นะครับ เพราะผมมีกรอบของคุณธรรมจริยธรรมในสังคมกำกับไว้  ผมว่าถ้าในระดับวิถีชีวิตเราสามารถพัฒนาจนมีความเป็นตัวของตัวเองอยู่ในกรอบของคุณธรรม ผมว่าระดับการเมืองการปกครองก็ไม่น่าเป็นห่วงครับ เพราะระดับการเมืองการปกครอง ผมตีความว่าประชาธิปไตย คือ การปกครองโดยใช้เสียงข้างมากของประชาชน ที่นี่เสียงข้างมากของประชาชนเขาไม่ได้มีอะไรมากำกับไว้นะครับว่าเป็นเสียงอย่างไร คือ ไม่ว่าจะเป็นเสียงที่ถูกหรือผิด เสียงเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือประโยชน์ส่วนรวม ถ้าเป็นเสียงข้างมากแล้ว ก็ต้องถือว่าเป็นประชาธิปไตยหมดครับ ที่นี้ในเรื่องของธรรมธิปไตย ก็คือ หลักในการตัดสินใจครับ ถ้าเสียงส่วนใหญ่เป็นเสียงของธรรมาธิปไตย ก็โอเคครับ  แต่ถ้าเสียงส่วนใหญ่เป็นเสียงของอัตตา หรือเป็นเสียงของโลกาธิปไตย เราก็ต้องยอมรับในเสียงส่วนใหญ่ ทั้งๆที่ใจไม่ยอมรับ แล้วใครจะบอกละครับว่าเป็นเสียงที่ไม่ถูก เพราะประชาธิปไตยเขาวัดกันที่จำนวนครับ วัดกันที่บัตรเลือกตั้ง วัดกันที่การยกมือ ไม่ได้วัดกันที่เหตุผลหรือคุณธรรมครับ  และที่คุณ conductor นิยามว่าประชาธิปไตย หมายถึง อิสระ ภายใต้หน้าที่ต่อประโยชน์สุขของส่วนรวม  ผมคิดว่า(ผมอาจจะผิด) ตามความหมายของประชาธิปไตยในรูปแบบ จะไม่มีการกล่าวถึงประโยชน์สุขของส่วนรวมครับ จะเน้นเพียงเสียงส่วนใหญ่เท่านั้นเอง ซึ่งจะเป็นเสียงเพื่ออะไรก็ได้ ขอให้เป็นเสียงส่วนใหญ่เท่านั้นเป็นพอ  ส่วนนิยามเพื่อประโยชน์สุขส่วนรวม น่าจะเป็นนิยามในระดับวิถีชีวิต หรือ ระดับเนื้อหาครับ..ขอบคุณครับ

มีทั้งเรื่องที่ผมเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยนะครับ

ผมเห็นด้วยว่าไม่น่าจะใช่ anarchist (ซึ่งผมเองเป็นคนบอกว่าใช่) พอเขียนไปแล้วก็รู้สึกขัดๆ เหมือนกันครับ

เรื่องเสียงข้างมาก ผมว่าเรามีปัญหาวุ่นวายก็เพราะความคิดง่ายๆ อย่างนี้ล่ะครับ เราไปติดกับรูปแบบที่ไม่ใช่แก่น

ถ้าเป็น direct democracy ผมรับได้ครับ แต่ถ้าเป็น representative democracy เช่นในสภา ในสมาคม ในการประชุมที่ไม่ใช่ town hall meeting บรรดาตัวแทนก็เป็นปัจเจกบุคคล แม้จะเป็นตัวแทน แต่ก็ไม่แน่ว่าจะ represent การตัดสินใจของคนที่ตนเป็นตัวแทนอยู่ ถ้าการตัดสินใจไม่ได้ตอบสนองต่อความต้องการหรือประโยชน์ของคน แค่เอาเสียงส่วนใหญ่ ไม่ง่ายไปหน่อยหรือครับ

ประเทศคอมมิวนิสต์ สภาประชาชนโหวตทีไรก็เป็นเสียงเอกฉันท์ แบบนั้นประชาธิปไตยหรือครับ

เป็นความหมายทั้งในทางหลักการที่เริ่มมาแต่กรีกโบราณและเชื่อในสำนักกฎหมายธรรมชาติ

         เป็นความหมายในทางการเมืองการปกครองที่ต้องมีรัฐฐาธิปัตต์ (อำนาจของรัฐ) ที่เป็นทางของปฏิฐานนิยม

         คล้าย ๆ กับคุณ small man อยู่บ้างครับ

         สังคมเรามันใหญ่ ผู้คนมากขึ้นก็เลยต้องออกแบบให้เป็น แบบตัวแทน  แต่ว่าก็เกิดช่องว่างมากมายและกลายเป็นรูปแบบตายตัวที่ไร้ทางแก้ไขในเวลาบางขณะ

         ประชาธิปไตยของผม เห็นด้วยกับแนวทางการใช้อำนาจที่สมดุลระหว่างอำนาจรัฐที่ได้ไปจากประชาชนและอำนาจการตรวจสอบที่ประชาชนยังมีอยู่ตลอดเวลา

          พวกนักเลือกตั้งยึดมั่นกับการใช้อำนาจแบบตัวแทน  โดยลืมว่าอำนาจก็ยังคงอยู่กับประชาชนไม่ได้มอบหมายให้ไปแล้วก็จบเลย

           ผลกระทบจากการใช้อำนาจที่ตัวเองให้ไปแล้วแต่มาเดือดร้อนกับตนเองภายหลังจึงเป็นสิทธิชอบธรรมที่จะพิจารณาการให้อำนาจนั้นใหม่ หรือมีกลไกประคับประคองให้การใช้อำนาจที่ประชาชนได้ให้ไปนั้นอยู่ในร่องรอยของ สิทธิและหน้าที่

          ผมเห็นด้วยกับสภาองค์กรภาคประชาชนครับ คู่ไปกับอำนาจการบริหารของรัฐ โดยดูแลกันและกันไม่ใช่ขัดขากันและกัน   โดยหลักสิทธิและหน้าที่แล้วเชื่อว่า  การสมดุลของอำนาจเป็นไปได้ครับ

เรียน คุณ Conductor  ผมมองอย่างนี้นะครับว่า ประชาธิปไตยมีสองลักษณะ คือ ประชาธิปไตยในรูปแบบ และ ประชาธิปไตยในเนื้อหา  ขอพูดถึงประชาธิปไตยในรูปแบบก่อนครับ  ประชาธิปไตยแบบนี้จะยึดรูปแบบของเสียงข้างมากเป็นหลักครับ จะพบได้ในการเมืองการปกครองและ องค์กรที่มีการประชุมตัดสินใจโดยยึดอำนาจและผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้อง พวกนี้จะอ้างประชาธิปไตยเสียงข้างมากทั้งนั้นครับ และชอบอ้างมติกรรมการ เพราะเขารู้อยู่แล้วว่าเสียงข้างมาก คือ คนของเขาทั้งนั้น ที่คุณ conductor ถามว่าไม่ง่ายไปหน่อยหรือ  ผมว่าเป็นเรื่องง่ายสำหรับคนมีพวกมากครับ และมักจะอ้างประชาธิปไตยอยู่เสมอ ส่วนประชาธิปไตยในมุมมองของคุณ Conductor น่าจะเป็นประชาธิปไตยในเชิงเนื้อหานะครับ นั่นคือเป็นการตัดสินใจด้วยเหตุด้วยผล ด้วยผลประโยชน์ของส่วนรวม ซึ่งในลักษณะนี้ผมว่าน่าจะเป็นประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือนะครับ(Deliberative Democracy)

ขอต้อนรับคุณสุมิตรชัยครับ

ประชาธิปไตยคงไม่ใช่เรื่องในระดับรัฐเท่านั้นไม่ใช่หรือครับ แล้วควรจะอธิบายกับเด็กอย่างไรว่าประชาธิปไตยคืออะไร 

โทษทีครับ ไม่ทราบว่ามีบันทึกของคุณสุมิตรชัย เข้ามาก่อน ผมเลยแสดงความคิดเห็นโดยไม่ได้นำความคิดของคุณสุมิตรชัยมาบันทึกไว้เลย

คุณ small man: เราเลิกทำอะไรกันแบบผิวเผิน - form over function - เสียทีไม่ดีหรือครับ

เรียน คุณ Conductor สำหรับประชาธิปไตยในการคิดและการปฏิบัติในส่วนตัวของผม ผมว่าเป็นเรื่องยากครับ  เพราะสังคมไทยเป็นสังคมแนวดิ่งครับ เป็นสังคมที่มีความเคารพเชื่อถือในอำนาจและความมีอาวุโส ความเชื่อทั้งสองอย่างเป็นความเชื่อในระดับวัฒรธรรมแล้วครับ ดังนั้นที่ผ่านมาผมก็เห็นแต่ประชาธิปไตยในรูปแบบ(เสียงข้างมาก)ทั้งนั้นแหละครับ ผมเองเมื่อมีโอกาสก็จะพยายามปรับวัฒนธรรมการทำงานให้เป็นประชาธิปไตยในเนื้อหาครับ(ยึดเหตุผล) แต่อุปสรรค คือ ผู้บริหารบางคน(ส่วนใหญ่เสียด้วยซิครับ) กลัวเสียอำนาจ ไม่กล้าให้เป็นประชาธิปไตยครับ ในขณะเดียวกัน ลูกน้องส่วนใหญ่ก็ไม่ชอบประชาธิปไตย ชอบการใช้อำนาจ ชอบให้สั่งการ การเป็นประชาธิปไตยจะไปละเมิดอำนาจเจ้านาย และละเมิดความอาวุโสผู้ใหญ่ จึงขอให้สั่งมาเถิด จะให้ทำอะไร และผมว่าจะนำประชาธิปไตยไปสอนให้เด็กเข้าใจคงยากครับ เพราะผู้ใหญ่เองก็ไม่เข้าใจและไม่มีต้นแบบให้ดู (แบนดูรา)  สำหรับวิถีประชาธิปไตยสำหรับตัวผมเอง มันคงไม่ใช่ประเภท Nato (no action talk only) นะครับ แต่บางครั้งต้องค่อยเป็นค่อยไป ดูบริบท ดูโอกาส ดูความเหมาะสมครับ..ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ 

ระบอบประชาธิปไตยนั้น จุดหมายจริงแท้อยู่ที่ประโยชน์สุขของประชาชน แต่คนที่ได้รับเลือกเข้าไปบางคน ไม่แน่ใจว่า ได้ทำเพื่อประชาชนเต็มที่หรือไม่คะ

  อยากให้ประชาชน   เอาธุระในเรื่องของบ้านเมืองอย่างต่อเนื่องแท้จริงค่ะ

  

คุณ small man: ผมไม่เห็นว่าการบริหารจะต้องเป็นประชาธิปไตยเลยครับ

แต่เรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวกับคำถามว่า "ควรจะอธิบายคำว่าประชาธิปไตยอย่างไร ที่ฟังแล้วรู้เรื่อง ปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง เป็นหลักให้ตรึกตรองและวินิจฉัยได้ว่าอะไรเป็นรูปแบบ อะไรเป็นเนื้อหา" ไม่ใช่หรือครับ

ผู้ใหญ่ (ไม่ว่าจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจประชาธิปไตย) ก็จะค่อยๆ หมดไป; ส่วนเด็กก็จะโตขึ้นมา รับผิดชอบบ้านเมืองต่อไป แล้วถ้าไม่อธิบายเขาตั้งแต่วันนี้ จะรอจนถึงเมื่อไหร่ครับ; เราคงไม่ไปอธิบายคำว่าประชาธิปไตยด้วยการยกความทุกข์ยากของการที่มีนายที่ไม่ดี ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับประชาธิปไตยไม่ใช่หรือครับ

คุณศศินันท์: สำหรับการเลือกตั้ง บางทีผมไม่อยากโทษผู้ถูกเลือกหรอกครับ เพราะว่าผู้เลือกก็ชุ่ยเอง ตอนเลือกก็ไม่พิจารณาให้ดี (No Vote ก็ยังมี) ตรวจสอบก็ยังได้ -- เลือกไปแล้วเหมือนเซ็นต์หนังสือมอบอำนาจให้ไปเป็นเจ้าชีวิตเลย

ผมเชื่อในระบบของการมีส่วนร่วมครับ เลือกตัวแทนไปแล้ว ไม่ใช่ปล่อยเขาไปทำอะไรก็ได้ โหวตอย่างไรก็ได้ ให้เสียงของประชาเป็นอธิปไตยจริงๆ; ถ้าต้องเลือกนิยามในบันทึกข้างบน ผมเลือกของท่านปรีดีครับ มีทั้งสิทธิและหน้าที่

เรียน คุณ conductor ขออนุญาตแตกต่าง 2 ประเด็นครับ เรื่องแรกเรื่องการบริหาร ในมุมมองของผม ผมว่าจำเป็นเป็นอย่างยิ่งครับที่จะต้องบริหารแบบประชาธิปไตย เรื่องนี้บริบทต่างกัน อาจมองไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นผมอาจจะผิดก็ได้ เรื่องที่สอง เรื่องการอธิบายประชาธิปไตยให้เด็กฟังรู้เรื่อง ประเด็นนี้ผมมองว่าประชาธิปไตยเป็นเรื่องที่อธิบายให้เด็กฟังแล้วรู้เรื่องยากครับถ้าไม่เห็นของจริง และเด็กไม่มีพฤติกรรมประชาธิปไตย และต้องเห็นของจริงในระดับวัฒนธรรมเลยครับ ไม่ใช่ของจริงจัดฉาก  เห็นของจริงแล้วจึงนำของจริงมาอธิบาย ผมว่าถ้าจะอธิบายก็คงต้องอธิบายในระดับวัฒนธรรมหรือระดับวิถีชีวิตครับ มีอยู่วลีหนึ่งครับที่จะสอนประชาธิปไตย ตือ แบบดีกว่าบอก ครับ (เอ้า ใครเห็นด้วยกับ Small man ยกมือ....ใครเห็นด้วยกับ คุณ Conductor ยกมือ.... สรุป Small man ชนะด้วยคะแนน 25  ต่อ 5  ปิดประชุม)

ผมก็ไม่เห็นด้วยกับคุณ small man ที่เขียนมาล่าสุดในทุกประเด็นเลยครับ

การบริหารไม่เห็นจำเป็นต้องเป็นประชาธิปไตยเลย ส่วนจะทำหรือไม่ทำก็อีกเรื่องหนึ่ง; การบริหารโดยโครงสร้างเป็นการปกครองตามลำดับชั้น ยิ่งถ้าเป็นสิ่งที่คุณ small man พยายามอธิบายมา คือใช้เสียงส่วนใหญ่ เกรงว่าจะยิ่งเละครับ

ความพยายามที่จะไม่อธิบายให้กับเด็ก ก็เป็นความคิดที่แปลกนะครับ ผมเห็นแต่ความเห็น/ข้ออ้าง ไม่เห็นเหตุผลเลยครับ

ในข้อคิดเห็นอันก่อน ถ้าเป็นเรื่อง "ผู้ใหญ่เองก็ไม่เข้าใจและไม่มีต้นแบบให้ดู (แบนดูรา)" อันนี้พอยอมรับได้ครับ ว่าไม่ควรเอาคนที่ไม่เข้าใจไปอธิบาย -- แต่กลับเป็นปัญหาร้ายแรงอีกอันหนึ่ง ว่าเราส่งลูกหลานไปให้ใคร

ส่วนที่ประชุมของคุณ small man ถ้าผมรู้จักมาก่อนว่ามีลักษณะพวกมากลากไป ไม่ต้องฟังอะไรอย่างนี้ ผมคงไม่ประชุมด้วยหรอกครับ แล้วผมก็เลือกได้ด้วยซิ แค่มีผู้ร่วมประชุม 30 คน ก็แสดงให้เห็นว่ามันไม่น่าจะเป็นการประชุมแล้วครับ

เรียน คุณ Conductorที่นับถือ ในเรื่องประชาธิปไตยกับการบริหารผมหมายถึงแค่การยอมรับฟังเหตุผลกันบ้างและการไม่ผูกขาดความคิดของผู้บริหารครับ ส่วนที่ประชุม 30 คน แล้วให้ยกมือพวกมากลากไปเป็นสิ่งที่ผมกำลังต้องการจะบอกว่ามันไม่ใช่ประชาธิปไตยครับ และเป็นสิ่งที่ผมไม่ชอบมาก ส่วนเรื่องการไม่อธิบายให้เด็ก ผมไม่ได้บอกว่าผมไม่อธิบายนะครับ เพียงแต่ว่าเราต้องทำคู่กันไประหว่างทฤษฎีและปฏิบัติครับ ผมไม่เห็นด้วยกับที่ผ่านมาบางครั้งเราอธิบายให้เด็กทำข้อสอบได้แต่ไม่สอนให้ปฏิบัติ คือ มีแต่ปริยัติ แต่ไม่ปฏิบัติ ปฏิเวธก็ไม่เกิดครับ
เอ อ่านดูใหม่แล้วก็ยังไม่เข้าใจอย่างนั้นนะครับ แต่ไม่เป็นไร ในเมื่อคุณ small man ชี้แจงมาแล้ว ก็ถือว่าผมเข้าใจผิดก็แล้วกันครับ ขอบคุณสำหรับความเห็นครับ
ท่านครับ รบกวนครับ ตัดเอาบทความบางตอนไปครับผม  http://gotoknow.org/blog/mrschuai/99502

ผมขออนุญาตนะครับ....เรื่องประชาธิปไตย....ไม่ว่าจะอธิบายเรื่องรูปแบบหรือเนื้อหาก็ตาม.....ให้เด็กฟัง สิ่งสำคัญก่อนที่จะใส่สิ่งทั้งสองนี้ลงไป...ผมเองมองว่าเราควรใส่เรื่องศีลธรรม จริยธรรม ให้เด็กเป็นพื้นฐานก่อนและต้องไม่ใช่พื้นฐานแค่เอาเท้าวางก็พังลง....แต่ต้องเป็นพื้นฐานที่คนนับล้านคนขึ้นมากระทืบก็ยังจะคงอยู่......( ขอโทษนะครับที่ต้องเปรียบเทียบกับเท้า ) .......

.......เมื่อมาตราฐานเด็กเหมือนกันแล้ว สิ่งที่จะใส่ให้เขาต่อไป ก็คือ ความซื่อสัตย์ สอนให้รู้จักการเสียสละ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนร่วมในทางที่ถูกต้อง ไม่ใช่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนร่วมในทางที่ผิด.......เมื่อเขาเองมีสิ่งเหล่านี้อยู่ในตัวมากขึ้นแล้ว....ประชาธิปไตยจะเป็นเรื่องง่ายมาก ที่เขาจะทำความเข้าใจ ......

....ผมเองส่วนตัวพยายามหาคำตอบอยู่เรื่อยๆว่า ประเทศเราเองไปเอาประชาธิปไตย...มาจากไหน...เอามาจากใคร....เอามาจากประเทศอะไร....

แล้วเราเองทำไมต้องไปเอามาจากเขา.....ประชาธิปไตยบ้านเมืองเขา ก็ต้องเป็นของเขาซิ เราจะเอามาใช้ได้อย่างไร....แล้วคิดได้อย่างไรว่าแบบเขาจะดีถ้าเราเอามาใช้...จริงไหมครับ....ประชาธิปไตยของอังกฤษก็เป็นของคนอังกฤษ อเมริกาก็เป็นของอเมริกา ฝรั่งเศสก็เป็นของฝรั่งเศส....จะไปสนใจทำไม... คนละประเทศกัน ... เด็กรุ่นใหม่ของไทยควรรู้แค่ว่า...ประชาธิปไตยไทยเป็นของไทย...พวกเราทุกคนมีสิทธิใช้มัน...ในแบบที่คนไทยเข้าใจ ช่างหัวประเทศอื่นมัน.....

ประเทศที่ประชาธิปไตยพัฒนาสูง...เขาเองไม่ได้พัฒนาที่ตัวประชาธิปไตยแต่เขากลับพัฒนาที่ตัวบุคคล.........

((( ถ้าเด็กถามว่าประชาธิปไตยคืออะไร ผมเองก็จะตอบเขาไปว่าคำอธิบายมีอยู่ในหนังสือแล้วลูก......แต่สิ่งที่ลูกต้องทำในระบอบประชาธิปไตยคือการใช้อำนาจที่ลูกมีอยู่บนพื้นฐานที่ลูกมีนั้นก็คือ สิ่งที่ผมกล่าวไปแล้วข้างต้น....)))

........อีกสิ่ง ที่น่าจะบอกเขาไปด้วยก็คือ ลูกเอ๋ย.....ไม้อ่อนดัดง่ายลูก...แต่ไม้แก่ซิดัดยาก....มีแต่รอวันที่จะผุแล้วก่อนพัง..........

ปล.จะเกิดอคติไหมล่ะครับท่าน...ว่าสิ่งที่ผมเองคิด...เป็นความคิดของผู้ชายอายุ 25.....แล้วคนที่อายุมากกว่านี้จะรับได้รึเปล่า....ถ้าแค่นี้รับไม่ได้ผมเองคิดว่าคงต้องเลิกคิดไปเสียเลยว่า...จะอธิบายประชาธิปไตยให้เด็กที่ไหนฟัง...เพราะเขาคงไม่อยากฟังท่านหรอก!!!!!

ประชาธิปไตย หมายถึง ประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่

แต่วันนี้ที่เมืองไทย

ประชาธิปไตย หมายถึง ประโยชน์ของนักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งมาเป็นใหญ่

รู้สึกว่า ความเห็น จะมีเนื้อหา หนักกว่าบันทึกอีกนะครับ

ผมว่า คุณ conductor และคุณ small man มุมมองคล้ายกันนะครับ แต่อาจแตกต่างในแง่ แนวคิดปฏิบัติ

  • แน่นอนว่า ประชาธิปไตย นั้นต้อง โดยประชาชนเพิ่อประชาชน
  • การเลือกตั้งเป็นแค่กระผลีกเล็กๆของประชาธิปไตย การใช้ระบบตัวแทนเพราะ ไม่สามารถใช้การเมืองทางตรงได้ เพราะจบไม่ลง การที่นักการเมืองปัจจุบัน ซ้ำซากว่าตนมาจากการเลือกตั้ง นั้นถูก แต่ต้องยอมรับการตรวจสอบจากภาคประชาชน และไม่ใช่เครื่องหมายรับยประกันให้ทำเลวได้ แบบพวกมากลากไป
  • แต่ประชาธิปไตยต้องมีที่ยืนให้ประชาชน เพื่อ ปชช ยังใช้สิทธิ์ ตรวจสอบ แสดงความเห็น และคัดค้าน ตัวแทนได้ อย่างเข้มข้น
  • ประชาธิปไตย จากกลุ่มก๊วนการเมือง กลุ่มนายทุน เป็นแค่คนกลุ่มเล็กๆในสังคม ครอบคลุมการเมือง ทำให้ ประชาธิปไตยเลวร้าย ไม่สมบูรณ์ ตัวแทนต้องพยายามทำให้ เป็นตัวแทนของทุกกลุ่มของสังคม แต่ต้องผ่านการเลือกตั้งจากประชาชน
  • หากไม่ได้ผ่านการเลือกตั้ง ย่อมไม่เป็นตัวแทนประชาชนที่แท้จริง เป็นการอุปโลกน์ขึ้นมาเอง แต่การเลบือกตั้งไม่จำเป็นว่าต้องหย่อนบัตรพร้อมๆกัน อาจมีหลากหลายวิธี
  • ประชาธิปไตยต้องลงรากลึก ถึงทั่วทุกตัวคน หากอยากทำให้ประชขาธิปไตยดีขึ้นใน 10-15 ปีข้างหน้า ต้องมาพัฒนาความรูความเข้าใจที่เยาวชนตอนนี้ และเห็นด้วยที่มันต้องวเป็นวงิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
  • แต่การบริหารงาน ภาครัฐ เอกชน คนละเรื่องกับประชาธิปไตย เพราะมันไม่ได้เป็นอิสระ แ ละมีผลตอบแทนคือเงินเดือน ทำให้ ระบยบการบริหารงานในภาครัฐ เอกชน เป็น แบบ เผด็จการ ที่ยอมรับกันครับ แต่ไม่สามารถเข้ามาก้าวก่ายความคิด ทางการเมือง ประชาธิปไตยได้ เพราะเป็นสิทธิเสรีภาพของทุกคน
  • สุดท้ายเมืองไทย หากอยากสร้างการเมืองใหม่ มุมมองอาจต่างกับ พันธมิตรที่เสนอ ผมมองว่าต้องทำกับเด็กเยาวชน ที่กำลังจะเติบโตมาในอนาคต 10-15 ปีข้างหน้า ด้วยการพัฒนาการศึกษา ความรู้และวิถีชีวิตที่เป็นประชาธิปไตย
  • นักการเมืองยุคนี้ เป็นไม่แก่ตายซาก แก้ไขอะไรไม่ได้ รอให้ร่วงโรยไป หากไล่ออกไปไม่ได้ แต่ประชาชนต้องเข้มแข็งขึ้น เพื่อทำให้ นักการเมืองเหล่านี้ ทำชั่วได้ไม่สะดวกนัก

 

  1. พอดีวันนี้สอนเด็กป.1เรื่องประชาธปไตย
  2. โดยให้ความหมายว่า "เป็นวิธีการที่ดีที่สุด"
  3. ครูยกตัวอย่างครอบครัวหนึ่งมีอยู่สามคนจะไปเที่ยวกัน พ่อบอกจะไปทะเล  แม่บอกจะไปภูเขา  ลูกบอกจะไปสวนสนุก
  4. พ่อจึงพูดว่าเราจะต้องตัดสินด้วยวิธีที่ดีที่สุดคือระบอบประชาธิปไตยคือการยกมือลงคะแนนว่าจะตกลงไปไหนกันดี
  5. จากตัวอย่างถ้าไม่มีใครยอมใครก็ยังตกลงกันไม่ได้อยู่ดีเพราะทุกคนจะได้เพียงหนึ่งเสียง
  6. จากตัวอย่างนี้ต้องมีคนใดคนหนึ่งยอมให้อีกฝ่ายเป็นผู้ชนะการท่องเทียวก็จะเกิดขึ้น
  7. ถ้าไม่มีใครยอมใครก็ไม่เกิดการท่องเที่ยวสิ่งที่จะเกิดก็คือการทุ่มเถียงกัน
  8. ปัญหาที่ต้องช่วยกันขบคิดคือวิธีการยอมแพ้เพื่อชนะ(ต้องมีสติ+ปัญญา)
  9. ปัญหาต่อไปก็คือใครล่ะที่จะต้องเป็นฝ่ายใช้สติ+ปัญญา
  10. พ่อก็ได้หรือไม่ก็แม่ก็ได้
  11. นี่คือการสอนเด็กป.1(ความจริงคือผมสอนแค่ข้อ1-5)
  12. ข้อต่อ ๆมาก็น่าจะเขวไปทางการเมืองซะแล้ว/ขอจบครับ

บาวงครั้งการโหวต มันก็อาจลืม เรื่องการใช้สติปัญญาไปครับ

ทางที่ดีที่สุด คือ การให้ทุกคนแสดงเหตุและผล มีการใช้สติปัญญาก่อน แล้วจึงโหวตครับ

แต่ต้องโหวต ตามสติปัญญา แความเป็นอิสระของตัวเองนะครับ ไม่ใช่มีใครไปบังคับอยู่ข้างหลัง เหมือนระบบพรรคการเมืองของเราไงครับ โหวตเพราะผลประโยชน์ โหวตเพราะถูกบังคับ

  1. เขียนมา 12 ข้ออ่านของคุณคนโรงงานแล้วก็อยากเขียนข้อต่อไปครับคือข้อ

   13.การที่จะพัฒนาประชาธิปไตยก็ต้องพัฒนาคนนั่นเอง

    14. การจะพัฒนาคนก็ต้องพัฒนาการศึกษา(แนวทางของพระพุทธเจ้านะคือเรียนรู้แล้วต้องปฏิบัติ)เช่นรู้จักศีลมี 5 ข้อท่องได้และต้องทำได้ด้วยไม่ใช่ท่องเอาคะแนนอย่างเดียว

    15. พัฒนาการศึกษาให้เท่าเทียมกันให้คนส่วนใหญ่มีสติ+ปัญญาใกล้เคียงกัน

    16.  ความสามัคคีจะทำอะไรทุกสิ่งทุกอย่างต้องร่วมมือร่วมใจกัน(คิดแตกต่างได้แต่ต้องมีข้อสรุป นั่นคือต้องยอมรับหรือยอมแพ้บ้าง)

คือในปัญหาใดปัญหาหนึ่งช่วยกันคิดให้ได้ข้อสรุป  สรุปทำไมก็เพื่อให้เกิดกิจกรรมต่อเนื่อง

ผมขอเสนอความหมายของคำว่าประชาธิปไตย แต่ต้องเข้าใจก่อนว่า ประชาธิปไตย เป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นหลังจากมวลมนุษย์มีการศึกษาสูงขึ้น และตระหนักในความสำคัญ และคุณค่าของตนเอง เห็นว่าประชาคมที่จะมารวมตัวกันเป็นประเทศควรมีศักดิ์ศรี และความเท่าเทียมกัน แต่การที่คนจะมาอยู่รวมกันจำนวนมาก ซึ่งมีทั้งคนที่แตกต่างกันทั้งความคิด ที่มา แหล่งกำเนิด เผ่าพันธุ์ เป็นต้น การจะให้อยู่ร่วมกันอย่างราบรื่นจะต้องมีกฏกติกา ถ้าเลือกการอยู่รวมกันอย่างมีความเสมอภาค แต่จะกำกับดูแลกันอย่างไร คนส่วนใหญ่ที่เป็นต้นคิดและเห็นคุณค่าของมนุษย์ด้วยกันไม่ว่าจะเป็นคนดีหรือคนเลวจะต้องอยู่ร่วมกันให้ได้ เพราะสังคมประชาธิปไตยจะไม่แบ่งแยก แต่คิดเพียงว่าจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร เพราะในสังคมเราจะเลือกหาแต่คนดีตามที่เราตั้งเกณฑ์ขึ้นคงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นสังคมที่จะเกิดนี้จะต้องมีระบบของการอยู่ร่วมกัน มีการแบ่งงานกันทำ มีการลงขันกันทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เรียกว่าภาษี การแบ่งงานกันเนื่องจากว่าในสังคมเราไม่ได้มีกลุ่มเดียวในโลก ถ้าเราต้องป้องกันการรุกรานจากกลุ่มอื่นนอกชุมชนเราต้องมีหน้าที่ป้องกันประเทศ แต่เนื่องจากเราอยูร่วมกันมีทั้งคนดี คนเรา คนจน คนรวย คนขาดแคลน นักเลง คนเอาแต่ใจ นักเลงโต เราจำเป็นต้องป้องกัน เฝ้ายาม และติดตามคนทำความผิดมาลงโทษก็ต้องมีหน้าที่เฝ้ายาม ติดตามคนทำผิด การรวบรวมหลักฐานประกอบเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ถูกกล่าวหา แต่อย่างไรก็ตามคนที่เฝ้ายาม ตามตัวคนทำผิดมาลงโทษคงตัดสินโทษไมได้ ต้องหาคนอื่นมาทำหน้าที่เพราะการตามจับย่อมมีการกระทบกระทั้ง ซึ่งคนที่จับต้องมีอารมณ์จึงตัดสินเองไม่ได้ นั้นก็คือสังคมมีหน้าที่ให้ความเป็นธรรมกับผู้ถูกกล่าวหา เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามทุกคนในสังคมจะออกไปทำพร้อมกันคงไม่ได้ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องคัดเลือกเอาคนที่เสนอตัวเป็นตัวแทนเพื่อทำหน้าที่นี้ แต่เนื่องการต้อสู้ป้องกันต้องมีความชานาญเฉพาะตัวจึงต้องมีการฝึกอบรมดังนั้นคาบเวลาของการเป็นตัวแทนจึงยาวนานตามความจำเป็น แต่การจัดการจึงจำเป็นต้องมีข้อตกลงเพราะจะให้ใครทำอะไรตามใจตนเองไม่ได้เพราะอาจไปกระทบสิทธิของคนอื่น ข้อตกลงนั้นคือสัญญาประชาคม ซึ่งเป็นข้อตกลงกว้างๆ ซึ่งในชาติเราก็เรียกว่ารัฐธรรมนูนนั้นเอง แต่การปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละฝ่ายแต่ละหน่วยมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากจึงมีการพัฒนาแนวปฏิบัติขึ้นมาถ้าเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ เรียกว่ากฎหมาย แต่ถ้าเป็นเฉพาะหน่วยงานเราเรียกว่าระเบียบ แต่ใครละจะเป็นผู้ดูแลให้หน่วยต่างๆทุกหน่วยปฏิบัติหน้าที่อย่างสอดสัมพันธ์กันไม่ขัดแย้งกันเราก็เลือกกลุ่มบุคคลที่เรียกว่าคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีมีอำนาจสูงสุดถ้าไม่เช่นนั้นคงเกิดกรียุคดังปรากฎในปัจจุบันแต่เนื่องจากลุ่มบุคคลเหล่านี้ก็มีหลายแบบไว้ใจไม่ได้เหมือนกันก็ตกลงให้มีเวลารับหน้าที่ช่วงสั้น ถ้าไม่ดีเมื่อครบกำหนดแล้วก็เลือกใหม่ หรือปรับกติกาใหม่ให้เหมาสมรัดกุม ส่วนคณะที่จะนำแนวคิดของกลุ่มชนมาเสนอให้รัฐบาลทราบก็คือผู้แทนราษฎรซึ่งให้มีส่วนในการกำหนดกติกาหรือออกกฎหมายด้วยที่เรียกว่าสภานิติบัญญัติ นั้นเอง แต่ปัจจุบันเราให้ความเข้าใจผิดกับประชาชน ว่าประชาธิปไตยคือแนวการปกครองที่ใครจะตระโกนด่าใครผ่านสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมก็ทำได้โดยง่าย โทษนักการเมืองว่าเลวทั้งที่เขาเหล่านั้นมาตามกติกา เราต้องแก้ที่กติกา และแก้โดยกลุ่มคนที่ถูกเลือกขึ้นมาจากประชาชนไช่คณะรัฐบาล ถ้าแก้เรื่องสมาชิกสภานิติบัญญัตหรือผู้แทนราษฎร ก็ต้องแก้ด้วยบุคคนอื่น ผมจึงอยากให้คนที่เรียกตัวเองว่าปัญญาชนทั้งหลายจะต้องร่วมกันคิดในเรื่องนี้และให้ความรู้ที่ถูกต้องกับประชาชนอย่าเอาเรื่องของปัจเจกบุคคลมาทำลายระบบ ตอนนี้ผมเองเศร้าใจที่เห็นข้อความที่ขึ้นบนจอทีวีว่าเบื่อการเมืองนักการเมืองเลว นักวิชาการทั้งหลายคำด่านั้นผมว่าพวกท่านนั้นแหละต้องรับผิดชอบเพราะจะไปโทษคนทำตามกติกา คนชุมนุมประท้วงก็คงไม่ได้แล้วเพราะเขาทำตามกติกา รัฐวิสาหกิจหยุดงานประท้วงเพราะกติกา ทหารและข้าราชการไม่เชื่อฟังรัฐบาล เพราะกติกา คุณทำอะไรของคุณนักวิชาการคุณเองทั้งหลายกับส่งเสริมให้มีการกล่าวหาด่าทอนักการเมือง ทำให้ฝุงชนฆ่ากันเพราะเรื่องเล็ก แทนที่จะช่วยกันออกมาปกป้องและแก้ไขกลับออกมาปกป้องกติกาที่ผิดพลาด แต่ไปโทษผู้ปฏิบัติตามกติกา ผมขอร้องนะศึกษาปัญหาการเมืองการปกครองในอดีตกันบ้างไม่ใช่ใช้อารมณ์มากำหนดกติกา ขายศักดิ์ศรีนักวิชาการ ขอโทษนะถ้าแรงไป ขอให้ช่วยคิดต่อให้ต้วย มาเถอะครับมาระดมความคิดช่วยกันสร้างสังคมให้น่าอยู่ไม่ใช่สร้างสังคมของความขัดแย้ง อย่าโทษกันเลยว่าซื้อสิทธิขายเสียงถ้าชุมชนเขาไม่ศรัทธา ขายเท่าไรก็ซื้อไม่ได้หรอกครับ เรามาร่วมกันสร้างกติกาประขาธิปไตยที่เราเห็นว่าจะแก้ไขความขัดแย้งกันเถอะครับอย่ารออีกเลยถ้ากติกาดีความขัดแย้งจะไม่รุนแรงอย่างทุกวันนี้แน่นอน ผมไม่เข้าใจนักวิชาการปกครองของบ้านเราเขาใช้วิธีการศึกษาการปกครองแบบใด ใช้หลักการวิทยาศาสตร์ในการศึกษาหรือไม่ นักวิชาการไม่ควรออกมาเพ้อเจ้อ ควรออกมาเสนอในรูปแบบเสนองานวิชาการที่ไม่ใส่ความคิดตัวเองเข้าไป คุณลองตรองดูซิว่าเพราคำว่าอารยะขัดขืนตัวเดียวทำให้ชาติแทบแตกนักวิชาการคงดีใจซิ ช่วยกันเถอะนะครับอย่านิ่งเฉย เราต้องแก้กติกาให้ลงความขัดแย้งก่อน ให้ทุกคนกลับบ้านของตนเองแล้วเริ่มต้นกันใหม่ ให้รัฐบาลเขาได้ทำงานอย่างสบายใจเถอะนะเพราะเขามาตามกติกา ทุกฝ่ายก็ควรฟังคำสั่งรัฐบาลเพราะเขาเป็นตัวแทนของคนส่วนใหญ่และยังได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ปฏิบัติหน้าที่ดูแลราชการที่พวกคุณทั้งหลายเรียกว่าศักดิ์ศรี ถ้ารักศักดิ์ศรีต้องปฏิบัติหน้าที่ให้สมกับที่ได้รับมอบหมาย ผมอยากเห็นบ้านเมืองสงบสุข ไม่อยากเห็นประเทศไทยเป็นตลกระดับโลก

ท่านจำลองครับ บ้านเมืองนี้เป็นของพวกเราทุกคน พุทธองค์ไม่เคยสอนให้ใครหลอกลวงคนอื่นกระทำการเบียดเบียฬสังคม หลอกให้คนไปเข่นฆ่ากันเองเพราะเราคนไทยเหมือนกัน พระพุทธองค์ไม่เคยบอกว่าสังคมจะมีแต่คนดี แต่สังคมมีคนหลากหลายแบบ แต่ทำอย่างไรจึงจะทำให้สังคมมีความสงบสุข ตลกนะครับที่พากันไปประท้วงที่สถานทูตเท่ากับพวกท่านไปกล่าวหาประเทศอังกฤษว่าเขาไม่รู้เรื่องประชาธิปไตย ปลอยให้ถุก

อย่างเป็นไปตามกติกาดีใหมครับกลับบ้านไปปฏิบัติธรรมของท่านเลิกเป็นผู้นำการประท้วงเสียทีนะครับ ลูกหลานของผมจะตกงานกันหมดแล้ว พุทธศาสนาของเรายังต้องการผู้นำการเผยแผ่ ขอร้องนะครับ

  • สวัสดีค่ะ
  • อยากทราบความหมายของคำว่า ประชาธิปไตย
  • ของพันธมิตร และ นปช เหมือนหรือต่างกัน
  • ขอบคุณค่ะ

ขออนุญาตแสดงความเห็นด้วยกับ

 P

3. Conductor
เมื่อ ศ. 08 มิ.ย. 2550 @ 02:45
285656 [ลบ]

ผมคิดว่าประชาธิปไตยน่าจะหมายถึง อิสระ ภายใต้หน้าที่ต่อประโยชน์สุขของส่วนรวมครับ

ผมเชื่อในอิสระที่จะคิดและทำอย่างแตกต่างออกไปครับ ตราบใดที่อยู่ใต้กติกาที่ตกลงร่วมกัน และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ปัจเจกชนก็น่าที่จะทำได้ และเป็นหน้าที่ที่จะทำด้วยครับ ไม่ใช่โบ้ยไปให้ตัวแทนที่เลือกไปกระทำการแทนทั้งหมดโดยไม่มีการตรวจสอบ

พูดแรงๆ ก็คือเราเลือกคนรับใช้ครับ ไม่ใช่เลือกนาย

 

เรื่องเสียงข้างมาก ผมว่าเรามีปัญหาวุ่นวายก็เพราะความคิดง่ายๆ อย่างนี้ล่ะครับ เราไปติดกับรูปแบบที่ไม่ใช่แก่น

การตัดสินใจของคนที่ตนเป็นตัวแทนอยู่ ถ้าการตัดสินใจไม่ได้ตอบสนองต่อความต้องการหรือประโยชน์ของคน แค่เอาเสียงส่วนใหญ่ ไม่ง่ายไปหน่อยหรือครับ

ประเทศคอมมิวนิสต์ สภาประชาชนโหวตทีไรก็เป็นเสียงเอกฉันท์ แบบนั้นประชาธิปไตยหรือครับ

 

ขออนุญาตแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างมากกับ

ไม่มีรูป
4. small man
เมื่อ ศ. 08 มิ.ย. 2550 @ 09:54
285848 [ลบ]

 ผมตีความว่าประชาธิปไตย คือ การปกครองโดยใช้เสียงข้างมากของประชาชน ที่นี่เสียงข้างมากของประชาชนเขาไม่ได้มีอะไรมากำกับไว้นะครับว่าเป็นเสียงอย่างไร คือ ไม่ว่าจะเป็นเสียงที่ถูกหรือผิด เสียงเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือประโยชน์ส่วนรวม ถ้าเป็นเสียงข้างมากแล้ว ก็ต้องถือว่าเป็นประชาธิปไตยหมดครับ

ที่นี้ในเรื่องของธรรมธิปไตย ก็คือ หลักในการตัดสินใจครับ ถ้าเสียงส่วนใหญ่เป็นเสียงของธรรมาธิปไตย ก็โอเคครับ  แต่ถ้าเสียงส่วนใหญ่เป็นเสียงของอัตตา หรือเป็นเสียงของโลกาธิปไตย เราก็ต้องยอมรับในเสียงส่วนใหญ่ ทั้งๆที่ใจไม่ยอมรับ แล้วใครจะบอกละครับว่าเป็นเสียงที่ไม่ถูก

เพราะประชาธิปไตยเขาวัดกันที่จำนวนครับ วัดกันที่บัตรเลือกตั้ง วัดกันที่การยกมือ ไม่ได้วัดกันที่เหตุผลหรือคุณธรรมครับ  

ผมคิดว่า(ผมอาจจะผิด) ตามความหมายของประชาธิปไตยในรูปแบบ จะไม่มีการกล่าวถึงประโยชน์สุขของส่วนรวมครับ จะเน้นเพียงเสียงส่วนใหญ่เท่านั้นเอง ซึ่งจะเป็นเสียงเพื่ออะไรก็ได้ ขอให้เป็นเสียงส่วนใหญ่เท่านั้นเป็นพอ  ส่วนนิยามเพื่อประโยชน์สุขส่วนรวม น่าจะเป็นนิยามในระดับวิถีชีวิต หรือ ระดับเนื้อหาครับ..ขอบคุณครับ

ผมมองว่าประชาธิปไตยเป็นเรื่องที่อธิบายให้เด็กฟังแล้วรู้เรื่องยากครับถ้าไม่เห็นของจริง และเด็กไม่มีพฤติกรรมประชาธิปไตย

 

และขออนุญาตเพิ่มเติม ความเห็นที่ 23.สักนิดนะคะ

กรณีการยกตัวอย่างเพื่อประกอบการสอนของคุณครูเรื่องที่คุณพ่ออยากไปทะเล  คุณแม่อยากไปภูเขา  คุณลูกอยากไปสวนสนุก แล้วคุณครูสอนเค้าว่า

* จากตัวอย่างถ้าไม่มีใครยอมใครก็ยังตกลงกันไม่ได้อยู่ดีเพราะทุกคนจะได้เพียงหนึ่งเสียง

* จากตัวอย่างนี้ต้องมีคนใดคนหนึ่งยอมให้อีกฝ่ายเป็นผู้ชนะการท่องเทียวก็จะเกิดขึ้น

* ถ้าไม่มีใครยอมใครก็ไม่เกิดการท่องเที่ยวสิ่งที่จะเกิดก็คือการทุ่มเถียงกัน

* ปัญหาที่ต้องช่วยกันขบคิดคือวิธีการยอมแพ้เพื่อชนะ(ต้องมีสติ+ปัญญา)

* ปัญหาต่อไปก็คือใครล่ะที่จะต้องเป็นฝ่ายใช้สติ+ปัญญา

* พ่อก็ได้หรือไม่ก็แม่ก็ได้

คุณครูอาจจะยังเล่าให้พวกเราฟังยังไม่จบก็ได้ค่ะ แต่ครูปูอยากฟังต่อว่า คุณครูนำเค้าไปสู่ขั้นตอนการใช้สติ ปัญญาอย่างที่ว่าต่อค่ะ

เปิดวงสนทนา คนหนึ่งเป็นพ่อ คนหนึ่งเป็นแม่ คนหนึ่งเป็นลูก แต่ละคนยกเหตุผลและวิธีคิดของตนเองออกมา

ถกข้อดีข้อเสียที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวม (ครอบครัวของเขา)

ซึ่งประเด็นข้อดีข้อเสียที่ต้องถกมีอะไรบ้าง ให้เด็ก ๆ ช่วยกันระดมความคิดเห็น (ระยะทาง   สภาพอากาศ    ความปลอดภัย    ค่าใช้จ่าย    ความหลากหลายของกิจกรรมที่สามารถทำได้    ความสะดวกสบาย   โอกาสที่จะได้ทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อกระชับความสัมพันธ์ และความสนุกสนานที่จะได้รับจากการทำกิจกรรมนั้น ๆ  ฯลฯ)

แล้วร่วมกันสรุปโดยยึดหลักประโยชน์ของส่วนรวมต่าง ๆ พวกนี้เป็นสำคัญ

อย่างนี้พอจะได้ไหมคะ 

ผมขอเสนอว่า วิสัยทัศน์ของการปกครองระบอบประชาธิปไตย การทำให้ประชาคมอยู่รวมกันอย่างมีศักดิ์ศรีในสังคมโลก และทุกคนในประเทศมีสิทธิและเสรีภาพอย่างเท่าเทียม

การที่จะทำให้ปณิธานนี้ลุล่วงจำเป็นต้องอาศัยการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ อย่าลืมนะครับเราก็เป็นคนหนึ่งที่เป็นตัวแทนของคนอื่นเพราะทุกต่างมีหน้าที่เฉพาะของตัวเองเพื่อรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม ถึงแม้บางคนจะมีหน้าที่ที่เกิดจากการคัดสรรและฝึกอบรมเช่นทหารก็มีหน้าที่ตามกติกาที่กำหนดไว้ พ่อค้าก็มีหน้าที่หาเงินสร้างงานรองรับเพื่อนที่ด้อยโอกาส ถ้าไม่มีพ่อค้าที่เข็มแข็งบ้านเมืองก็อยู่ไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตามถ้าเราต่างคนต่างทำหน้าที่ของตนเองโดยโดยขาดกติกาก็คงไม่ได้ เราจำเป็นต้องหาคนมาบริหารจัดการซึ่งเราจะใช้คนที่มาบริหาร เราจะต้องรู้ว่าเรามีวิสัยทัศน์อย่างไรในการที่จะเข้าไปเป็นผู้บริหารกิจการของรัฐ นั้นก็คือการหาเสียงนั้นเอง คงไม่มีใครอยากเสี่ยงเลือกคนที่มองเห็นเพียงว่าเป็นคนดี เพราะเราไม่ได้เลือกตัวแทนเพื่อเผยแผ่ศาสนา นี้แหละครับเราจำเป็นต้องเลือกกลุ่มผู้บริหาร เราไม่ได้เลือกเจ้านายหรอกครับแต่ด้วยนิสัยความอ่อนน้อมถ่อมตนของเราทำให้เรามักยกคนอื่นให้สูงกว่าตนนั้นเป็นเพียงมารยาทของสังคมไทยเท่านั้นแหละครับ เรามาช่วยกันเผยแพร่ความคิดเรื่องประชาธิปไตยเราต้องมีตัวแทน ส่วนว่าเราจะเลือกกันอย่างไรนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นพน้าที่ของเราทุกคน ความคิดที่แตกต่างๆแต่ต้องมีข้อสรุปไม่ใช่ต่างคนเอาความคิดตัวเองเป็นใหญนั้นมันขัดกับปณิธานประชาธิปไตยครับ นั้นเขาเรียกว่าลัทธิตามสบายตัวใครตัวมัน เราอยากอยู่ในสังคมแบบนี้หรือ ผมไม่ทราบว่าใครพากันนิยามความคิดที่แตกต่างแต่คงไม่สมบูรณ์ถ้าขดข้อสรุปและกติกาในการตัดสิน ประชาธิปไตย เป็นการปกครองที่ยึดมั่นในกติกา หรือที่เรียกว่ากฎหมาย ถ้าคนแสดงความคิดเห็นแตกแยกโดยไม่เคารพกฎหมายไม่เรียกประชาธิปไตยครับ จะเรียกว่าอะรผมไม่รู้ ผมได้ยินประจำว่ามีความคิดแตกต่างได้ แต่ไม่แตกแยก นักวิชาการควรจะบอกด้วยว่าจะบริหารจัดหารความคิดที่แตกต่างอย่างไร หรือต้องออกมาใส่เสื้อสีแตกต่างกันแล้วออกมาเย้วๆแสดงพลัง สอนนักศึกษาผิดหรือเปล่าครับ ผมก็เรียนมาบ้างจากหนัง หน้าที่พลเมืองสมัยก่อนผมชอบครับแต่ไม่รู้ใครไปเปลี่ยนเสียเลอะเทอะเลย สวัสดีครับ

ผู้แทน กับนักการเมืองไม่น่าจะเป็นคนเดียวกัน หรือว่าไงอาจารย์คณะที่สอนการเมืองการปกครอง ผมว่านักการเมืองตามความหมายน่าจะหมายถึงพวกคุณนะ เพราะว่าผู้แทนนี้เขามาจากหลายสาขาอาชีพ เขารู้เพียงว่าคุณเลือกเขามาทำหน้าที่อะไร มาพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของชาติ หรือเขามาทำหน้าที่บริหารจัดการ เรามักจะโจมตีการเลือกตั้ง โจมตีเพื่อนร่วมชาติ ขายเสียงบ้าง ขายชาติบ้าง มันขายได้จริงหรือ

ผมว่าเอาอย่างนี้ดีไหมครับว่านักวิชาการเมืองทั้งหลายลองออกมานำเสนอผลงานของตนเองที่ได้เสนอมาเอามเผยแพร่ต่อสาธารณะชนโดยไม่เอาความคิดความเห็นของตนเองมาชี้นำ ให้ความรู้พื้นฐานกับประชาชนเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง นักวิชาการที่ดีจะต้องไม่ชี้นำอย่าเอาตำแหน่งของตนเองมาทำลายหลักการของวิชาการ เราอย่าปล่อยให้มีการโจมตีการเลือกตั้ง และด่าผู้แทนว่าเลว เลย ซึ่งมันเท่ากับด่าตนเอง ถ้าเราเห็นว่าวิธีการนี้บกพร่องก็มาแก้ไขกัน เช่น

1. ผู้แทนที่จะมาทำหน้าที่พิจารณากฎหมายควรเป็นกลุ่มเดียวกับผู้มาทำหน้าที่บริหารหรือไม่ ใครจะเป็นผู้กำหนดกติกานี้ และจะกำหนดอย่างไร ทำอย่างไรจึงไม่ให้เกิดการขัดแย้งกันระหว่างผู้บริหารกับผู้พิจารณากฎหมาย

2. เราจะมีสัญญาประชาคม (รัฐธรรมนูน)ว่าอย่างไรจึงจะลดข้อขัดแย้งทำใหเกิดการสูญเสียโอกาสของคนส่วนใหญ่ อย่าลืมว่าการประท้วงแต่ละครั้งเราถอยหลังไปเท่าไร คุ้มกันไหม นักวิชาการเมืองควรศึกษาประวัติศาสตร์ของการพัฒนประชาธิปไตยว่ามี กบฎ อะไรบ้างที่เกิดขึ้นเพราะกติกา เราจะป้องกันได้อย่างไร รัฐวิสาหกิจหยุดงาน หมอเลือกรักษาคนไข้ นักบินเลือกผู้โดยสาร นักวิชาการออกมาเดินประท้วงมันเป็นภาพที่น่าอดสูจริงๆ ประท้วงแบบอหิงสาแต่มีการจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธ นายทหารชั้นผู้ใหญ่ออกมาร่วมประท้วงรัฐบาลมันอะไรกันใครผิด นักวิชาการเมืองทั่งหลายท่านได้รับมอบหมายหน้าที่นี้แต่แรกแล้วพวกท่านทำอะไรอยู่ อย่ามัวแต่มาร่วมประท้วงอยู่เลย รีบไปศึกษาหน้าที่ตัวเองแล้วกำหนดวิสัยทัศน์การทำงานของตนเองให้ชัดเจนตามกรอบของหน้าที่ในฐานะผู้รู้เรื่องการเมืองดีที่สุดอย่านิ่งเฉย อย่าปล่อยให้ผู้แทนเขากำหนดกติกาเองเลย เพราะเขาก็กำหนดเข้าข้างตัวเองวันยังคำ ระดมเถอะครับคนทุกหมู่เหล่ามาสร้างกติกาการเมืองการปกครองเสียใหม่ แต่ไม่ใช่ไปไล่คนที่เขามตามกติกาเดิม ช่วยกันประคับประคองให้รัฐกิจเดินต่อไปเถอะนะครับอย่าช่วงความเจริญอยู่เลย ถ้ากำหนดกติกาเสร็จเมื่อไรค่อยเปลี่ยนก็ยังไม่สาย

3. มาช่วยกัสร้างสังคมที่สมานสามัคคีกันเถอะครับ อย่ามีฝ่ายค้านทุกเรื่องกับฝ่ายรัฐบาลอยู่เลย และอย่ามีฝ่ายส่งเสริมให้มีการทำผิดกฎหมายซึ่งหน้าแต่ไม่มีเจ้าหน้าที่ทำอไรได้ ถ้าปล่อยเช่นนี้บ้านเมืองจะสงบสุขเป็นไปได้ยาก

4. สร้างกรอบของคำว่าประชาธิปไตย เสรีภาพ และภราดรภาพ ให้เห็นชัดว่าสังคมจะสงบสุขได้ต้องเป็นเช่นได

5. เราไม่ได้อยู่เป็นมนุษย์กลุ่มเดียวในโลกนี้ การพึ่งพาช่วยเหลือ พัฒนาให้คนอื่นเจริญเท่ากับเราลดศัตรู เราทำให้คนอื่นช่วยตนเองได้ เท่ากับเราลดผู้เบียดเบียฬเรา เราช่วยให้คนอื่นมีเงินมีทองมากขึ้นเท่ากับเราเพิ่มตลาดการค้าของเรา ฯลฯ

ขอให้ถุกคนมีความสุข มีสุขภาพแข็แรง มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ รู้จักให้อภัย อย่าทำเรื่องเล็กเป็นเรื่องใหญ่ จงทำเรื่องใหญ่ให้เป็นเรื่องเล็กเถิด

สวัสดีครับ

  • ถ้าประชาธิปไตย คือ สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับประเทศนั้น ๆ แล้ว การได้ความหมายที่เป็นที่สุด เป็นความจริงระดับปรมัตแล้ว คงดีที่สุดแล้วครับ

 

สวัสดีครับ

  • ตามมาอ่านตามคำแนะนำของ ครูปู ครับ
  • ได้ประโยชน์ดีครับ ทั้งจากตัวบันทึก และ Comment ที่หลากหลาย
  • อ่านมากแล้วมึนๆ คิดอะไรไม่ค่อยออก  แต่สิ่งที่อยากบอกก็คือ ประชาธิปไตย จะมั่นคง ยั่งยืนไม่ได้ หากผู้คนไม่มีหัวใจ รักความเป็นธรรม
  • คนจะรักความเป็นธรรมได้ ไม่ใช่มาจากการอบรมสั่งสอนแบบเดิมๆ  ต้องจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เขาได้สัมผัสรสชาติของการเป็นประชาธิปไตยโดยเนื้อหา ผ่านกิจกรรมที่มีความหมาย มีชีวิตชีวา และหลากหลาย โดยไม่ทิ้งมิติด้านวัฒนธรรมของไทย
  • ในที่สุดก็จะเกิด ประชาธิปไตยแบบไทย ขึ้นมาได้ และไม่เห็นต้องไปเหมือนของใครทุกกระเบียดนิ้ว .. เพราะเราไม่ใช่ทาสนี่ครับ

ผมคิดว่าประชาธิปไตย น่าจะมาจากคำว่า ประชาชน + อธิปไตย และต้องมีกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง ถ้าอยู่คนเดียวไม่ต้องคิดอะไร แต่อยู่กันหลายคน อธิปไตยของแต่ละคนเริ่มมีปัญหา ยิ่งมากเท่าไดก็มีปัญหามากเท่านั้น ดังนั้นอำนาจ สิทธิ หน้าที่จึงถูกแจกจ่ายอย่างเท่าเทียม ทำอย่างไรเราจึงจะใช้สิทธิของเราโดยไม่ไปก้าวก่ายหรือทำลายสิทธิของคนอื่น และทำหน้าที่ตนเองตามที่สังคมมอบหมายมาอย่างมีความสุข ใช้เสรีภาพอยู่ในกรอบกติกาที่ตกลงกันไว้ ในปัจจุบันการปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละคนจะมีผู้ตรวจสอบอยู่แล้วส่วนเรานั้นน่าจะรู้หน้าที่ตนเองดีกว่าคนอื่น อย่าสนใจหน้าที่คนอื่นโดยไม่ใช่หน้าที่มากกว่าหน้าที่ตนเอง สังคมวุ่นวายขาดความสงบสุข เพราะเราไปมองการกระทำของคนอื่น โดยไม่มองที่ศักดิ์ศรีของคนไทยในสังคมโลก ทุกคนหวังอยากเห็นสังคมพระศรีอาริยเมตตรัย ถ้าอยากเห็นต้องละกิเลส ลดความหลงผิด อย่าคิดว่าคนอื่นผิดตัวเองถูก ยังมีปัญหาสังคมซับซ้อนมากกว่าที่เราคิด อย่ามองแนวคิดการกระทำคนอื่นอย่างผิวเผิน สิ่งที่เราไม่รู้ยังมีอีกมากเพราะฉนั้นอย่าสนใจเรื่องคนอื่นมากนักเลย ปล่อยทุกสิ่งทุกอย่างให้เป็นไปตามกฎกติกาที่ตกลงกันไว้แล้ว ส่วนที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขก็ให้สังคมหรือคนส่วนใหญ่ดูแลเถอะนะ ถ้าคนส่วนใหญ่เขาว่าดีเราจะบอกว่าเลวมันก็เป็นการกล่าวหาว่าคนส่วนใหญ่เลวนั้นเอง เพราะยังมีเรื่องที่เรายังไม่รู้อีกมาก อย่าหยุดความเจริญทางจิตใจของตนเอง การมิสมาธิและการให้อภัยเป็นการให้ทานอันยิ่งใหญ่ การทำลายโอกาสของคนในชาติเป็นบาปติดตัวตลอดไป การทำให้คนด้อยโอกาสกว่าตนตกงานเป็นบาปที่ตกนรกอย่างแน่นอน พวกที่ภูมิใจว่าตนเองเป็นชนชั้นกลางเหมือนที่นักข่าวตั้งให้นั้นสักวันหนึ่งจะเสียใจ คนที่อยู่เบื้องหลังการทำร้ายสังคมของคนส่วนใหญ่ก็ไม่ต่างจากหัวหน้าแก็งค์โจรเท่าไรเพราะฉนั้นบาบหนักหนาสาหัสมากถ้าคุณไม่คิดอะไรก็แล้วไปคุณก็จะได้ชดใช้ในภพหน้าแน่นอน ถ้าภพนี้ยังไม่มีผลร้ายเพราะชาติที่แล้วคุณมีทุนอยู่เมื่อคุณไม่เพิ่มทุนแต่ทำลายทุนของตนเองก็จงรับเอาเองก็แล้วกันคุณจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม ผมเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมมีจริง เราสังเกตดูว่าการไล่ล่าของคุณ เขาลอดพ้นได้ มีคนช่วยเหลือแสดงว่าคุณเข้าใจเขาผิด จงหยุดการกระทำเสียอย่างสร้างบาปกันอีกเลยแต่ถ้าไม่เชื่อก็ตามใจนะ สิ่งที่ปรากฏในภาพที่เราเห็นเป็นสิ่งสมมติทั้งสิ้น ถ้าอยากไปอยูในภพที่ดีกว่าเดิม สงบสุขกว่าเดิมจงเชื่อเรื่งกรรม ขอให้โชคดี

วันนี้ผมอยากคุยเรื่องคำว่ากฎหมาย เพราะเราจะได้ยินเสมอว่า กฏหมายไม่เป็นธรรม การใช้กฎหมายมีหลายมาตรฐาน ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนนะว่ากฏหมายคือกติกาที่ผู้ปฏิบัติงานในหน้าที่ต่างๆ เช่น หมอ เขาจะรักษาคนไข้ มีความเสี่ยงเพราะหมอรักษาคนไข้จากข้อมูลที่มีเครื่องมือที่มีข้อจำกัด ความรู้เรื่องโรคเท่าที่มีการบันทึกไว้เท่านั้น ถ้าเกิดความผิดพลาดขึนมาทั้งๆที่เขาทำตามหลักวิชาการของเขาอย่างสมบูรณ์แล้วถ้าไม่มีข้อตกลงไว้ก่อนเขาย่อมไม่กล้ารักษา หรือทำการรักษาที่แบบว่าเลี้ยงไข้ ถ้าเกิดปัญหาว่าคนไข้ต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างรีบด่วน เราจำเป็นต้องมีข้อตกลงไม่งั้นหมอคงไม่กล้าเสี่ยง ดังนั้นหมอเขาจึงเสนอข้อตกลงหรือกฏหมายเพื่อให้เขากล้าเสี่ยงรักษาได้มากขึ้นถึงแม้ไม่มีความมั่นใจแต่เชื่อว่าถ้าลงมือรักษาน่าจะหาย สักห้าสิบ ถึงหกสิบเปอรน์เซนต์เขาจึงเสนอขึ้นไปยังฝ่ายบริหาร ซึ่งก็คือรัฐบาล รัฐบาลพิจารณาแล้วเห็นว่าดีจึงเสนอเข้าให้ฝ่ายนิติบัญญัติพิจารณาหาข้อดีข้อเสีย และหาข้อยุติโดยใช้เสียงข้างมากในสภาที่ประชาชนเลือกไป ไม่เช่นนั้นก็ออกมาเป็นกฏหมายไม่ได้ หมอก็เสี่ยงรักษาไม่ได้ นีแสดงว่ากฏหมายเขาสร้างขึ้นมาเพื่ออะไร แต่อย่างไรก็ตามเมื่อตราออกมาเป็นกฏหมายแล้วก็ต้องมีฝ่ายบังคับให้การปฏิบัติของทุกฝ่ายเป็นไปตามกฏหมาย กฏหมายเป็นตัวหนังสือที่อาจสื่อไห้เข้าใจไม่ตรงกันได้ จึงจำเป็นต้องมีทนาย มีอัยการ มีคณะผู้พิพากษาจะเห็นว่าการตัดสินครั้งสุดท้ายยังต้องใช้เสียงส่วนใหญ่ แสดงให้เห็นว่าเสียงส่วนใหญ่เป็นตัวตัดสินถึงความยุติ และเป็นธรรม ถึงอย่างไรก็ตามก็ยังมีหลายศาลเพื่อให้เกิดความรอบคอบในการตัดสินชตาของบุคคล การตัดสินคดีต่างๆขึ้นอยู่กับข้อมูลทางผิดหรือถูกมากกว่ากัน กฎหมายทุกฉบับจะต้องอยู่ภายในกรอบของสัญญาประชาคม หรือรัฐธรรมนูน เพราะฉะนั้นการตัดสินคดีความจึงไม่น่าจะขึ้นอยู่กับ ตัวหนังสือ หลักฐาน แต่ยังรวมถึงผลกระทบต่อส่วนรวมหรือคนส่วนใหญ่มากน้อยแค่ใหน ดังนั้นทำให้มองดูว่าการใช้กฏหมายมีหลายมาตรฐาน ที่จริงไม่ใช่หรอกเพราะกฏหมายเป็นข้อกติกาเท่านั้นเอง ท่านนักวิชาการกฏหมายทั้งหลาย ช่วยออกมาบรรยายให้ประชาชนเข้าใจคำว่ากฏหมายเสียใหม่ อย่าลืมว่าในปัจจุบันนี้เราใช้กฏหมายเป็นกฏตายตัวที่จริงไม่น่าจะใช่นะมันน่าจะเป็นเพียงกติกาเพื่อให้ทุกหน้าที่ได้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า อันไม่จำเป็นก็ยกเลิกได้ สร้างใหม่ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ แต่อย่างไรก็ตามกฏหมายจะมีประโยชน์ต่อส่วนรวมก็ผู้มีหน้าที่ควบคุม บังคับการใช้กฏหมายปฏิบัติไม่ได้ กฏหมายก็ไม่มีประโยชน์อะไร ถ้ามีกลุ่มบุคคลที่ทำให้คนส่วนใหญ่เดือดร้อน แต่เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ คนส่วนใหญ่ที่เดือดร้อนและทนไม่ได้เขาต้องออกมาปกป้องสิทธิของเขา เขาเลือกรัฐบาลแต่มีกลุ่มบุคลไปยึดที่ทำงานของรัฐบาล คนส่นใหญ่ที่เลือกรัฐบาลเขาก็จำเป็นต้องออกมาปกป้องสิทธิของเขา เพราะมีคนละเมิดสิทธิของเขา เหตุการณ์ที่เกิดในเมืองไทยขณะนี้เป็นความผิดพลาดของสัญาประชาคมที่เกิดจากการใส่อารมณ์ในการจัดทำ ยอมรับเถอะ แก้ได้ครับ เรื่องเสรีภาพต้องมีกรอบนะครับ ผมอยากเห็นประเทศสงบสุข มีศักดิ์ศรีในสังคมโลก อย่าเล่นตลกระดับโลกกันอยู่เลยอายเขา

ผมคนไทยหนึ่งเสียง ขอให้มีการปรับเปลี่ยนกลไกรรัฐที่อ่อนแอหรือต่อต้านรัฐบาล รัฐบาลไม่ใช่จอกกี้ แต่รัฐบาลคือผู้ที่คนไทยส่วนใหญ่มอบหมายอำนาจอันมีเกียรติให้มีศักดิ์ศรีมีอำนาจทำการป้องกันอันความเสียหายกับ ศักดิ์ศรีของชาติ และ ในเวลาเดียวกันพวกที่เป็นผู้นำสถานศึกษาที่ชอบพูดถึงอารยะขัดขืนเป็นพวกวัวลืมตีนไม่รู้หน้าที่ตนเองผมขอประณามความคิดของคนพวกนี้และให้คนที่มีวิสัยทัศน์ที่ดีกว่านี้มาทำงานดูแลมันสมองของชาติใหม่ ผมไม่แปลกใจเลยที่ตอนนี้มันสมองของชาติมันเพี้ยนๆ ไม่รู้จักหน้าที่ตนเอง แต่ไปเท่ยวกล่าวหาตัวแทนของคนส่วนใหญ่ของชาติ กลับความคิดเห็นแก่ตัวเสียกลับมาร่วมกันสร้างประชาธิปไตยที่ถูกต้องเสียใหม่ ขอเถอะใช้สมอิงกันบ้าง บ้านเมืองจะล่มสลายแล้วจัดการเถอะกับพวกทำลายบรรยากาศการเมืองขณะนี้ มันทำไมชอบเผด็จการกันนักใอ้ลูกทาส

พระมหากษัตริย์กับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

.......พ.อ.ดิเรก พรมบาง

“ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะเสียสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้ราษฎร์โดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร์”

พระราชหัตเลขาพระบาทสมเด็จ

พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 2 มี.ค.2477

กล่าวนำ

“ประเทศไทยถือเอาวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันรัฐธรรมนูญ” ในทุกๆ ปีที่ผ่านมาเมื่อถึงวันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมราชินีนาถ หรือไม่ก็จะทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ เป็นผู้แทนพระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางพวงมาลาถวายสักการะ พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประดิษฐ์สถานอยู่หน้าอาคารรัฐสภา ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพมหานาคร วันที่ 10 ธันวาคม 2475 จึงถือเป็นวันประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ด้วยเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญ ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักการปกครองให้แก่ประชาชนชาวไทย ภายหลังเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ อันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

ความเป็นมา

ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ราชวงศ์จักรี ประเทศมหาอำนาจตะวันตก แพร่ขยายลัทธิล่าอาณานิคมเข้ามาในประเทศแถบเอเชียตะวันออก ประเทศสยามในสมัยนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของการล่าเมืองขึ้น แต่ด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงได้ศึกษาอารยธรรมตะวันตก จนเกิดความเข้าใจ ทรงใช้ในการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ และได้รับความนับถือจากนานาชาติ ล่วงขึ้นมาสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงป้องกันเอกราชอธิปไตยของประเทศจนสุดพระกำลัง ต่อการล่าอาณานิคมของชาวตะวันตก ทรงนำความรอดพ้น และคงตามเป็นเอกราชอยู่ได้เพียงประเทศเดียวในแหลมทอง ทรงพัฒนาประเทศด้วยคุณูประการ เพื่อประโยชน์สุขของอาณาประชาราษฎร ทรงมองเห็นภัย จากต่างประเทศ จึงได้วางรากฐานให้บ้านเมืองพัฒนาไปในทางรุ่งเรือง โดยเฉพาะความเจริญในระบอบประชาธิปไตย

สืบต่อมาในรัชสมัยของรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 ทั้งสองพระองค์ ทรงเจริญรอยตามพระราชบิดา ทรงพัฒนาการศึกษาและให้นำความรู้ทางประเทศตะวันตกมาใช้ เป็นผลให้สามารถลดปัญหา และแก้ไขความเสียเปรียบกับต่างประเทศ ส่วนในด้านการปกครอง ก็เริ่มพิจารณา เตรียมการและเริ่มต้นการปกครองแผนใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัชกาลที่ 7 เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน เมื่อ 24 มิ.ย.2475 ทรงยินยอมที่จะเป็น

- 2 -

พระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญการปกครองระบอบประชาธิปไตย ทั้งๆ ที่พระองค์ก็ยังมีกองทัพที่จงรักภักดีต่อพระองค์ ดังความในพระราชหัตถเลขา ลง 24 มิ.ย. 2475 มีความตอนหนึ่งดังนี้ “ ข้าพเจ้าเห็นแก่ความเรียบร้อยของอาณาประชาราษฎร ไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อ กับทั้งเพื่อจัดการโดยละม่อมละไมไม่ให้ขึ้นชื่อว่าได้ จลาจล เสียหายแก่บ้านเมือง และความจริงข้าพเจ้าได้คิดอยู่แล้ว ที่จะเปลี่ยนแปลงทำนองนี้ คือ มีพระเจ้าแผ่นดินปกครองตามรัฐธรรมนูญ จึงยอมรับที่จะช่วยเป็นตัวเชิด เพื่อคุมให้โครงการตั้งรัฐบาลให้เป็นรูปวิธีเปลี่ยนแปลงพระธรรมนูญโดยสะดวก ”

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร (แทนธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามฉบับชั่วคราวที่คณะราษฎรประกาศใช้) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 แต่เมื่อวิธีการปกครองไม่ตรงกับหลักการที่จะให้ประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตย อย่างแท้จริง จึงทรงกล้าหาญสละราชสมบัติ และพระองค์ทรงพระอักษรเป็นพระราชหัตถเลขา ลง 2 มี.ค. 2477 ซึ่งนับว่าเป็นเอกสารสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งของประเทศชาติ ดังข้อความบางตอนว่า “ข้าพเจ้าเห็นว่าคณะรัฐบาลและพวกพ้อง ใช้วิธีการปกครองซึ่งไม่ถูกต้อง ตามหลักการของเสรีภาพในตัวบุคคล และหลักความยุติธรรมตามความเข้าใจ และยึดถือของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้ผู้ใดคณะใด ใช้วิธีการปกครองอย่างนั้นในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้”

“ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใดคณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิ์ขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร”

“บัดนี้ข้าพเจ้าเห็นว่า ความประสงค์ของข้าพเจ้าที่จะให้ราษฎรมีสิทธิออกเสียงในนโยบายของประเทศแท้จริงไม่เป็นผลสำเร็จ และเมื่อข้าพเจ้ารู้สึกว่า บัดนี้หมดหนทางที่ข้าพเจ้าจะช่วยเหลือ หรือให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนได้ต่อไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงขอสละราชสมบัติและออกจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์ แต่บัดนี้เป็นต้นไป...”

ด้วยรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2475 มีหลักสำคัญหลายประการ อาทิ เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นแบบรัฐสภา ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง เป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี บริหารราชการแผ่นดินและรับผิดชอบการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทนฯ รัฐสภา ซึ่งเป็นฝ่ายเนติบัญญัติ มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารราชการแผ่นดิน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้น ได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้

รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม นั้นจึงเป็นความสำคัญที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ดังนั้นเพื่อเป็นการระลึกถึง รัฐธรรมนูญฉบับแรกอันเป็นฉบับถาวรและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็น “วันรัฐธรรมนูญ”

- 3 -

การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ตามความเข้าใจโดยทั่วไปคำว่า “ประชาธิปไตย” หมายถึง ประชาชนเป็นผู้มีอำนาจหรืออำนาจของประชาชน ประเด็นหลักของประชาธิปไตย อยู่ที่ประชาชนเป็นสำคัญ จะปกครองอย่างไรให้ประชาชนมีความสุข เสมอภาคเท่าเทียม และมีเสรีภาพ ซึ่งพอจะสรุปได้เป็น 3 ลักษณะ คือ ประชาธิปไตยในฐานะเป็นอุดมการณ์โดยยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตย คือ ความเสมอภาคในทางการเมือง เศรษฐกิจ มีความเท่าเทียมกัน มีเสรีภาพ และได้รับความเป็นธรรม ตามขอบเขตของกฎหมายโดยไม่เลือกการปฏิบัติ ยอมรับเสียงส่วนใหญ่และเคารพเสียงส่วนน้อย โดยอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนทุกภาคส่วน สามารถแสดงออกตามสิทธิ์ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ขั้นพื้นฐาน สามารถใช้เป็นรูปแบบการปกครอง และแบบแผนในการดำเนินชีวิตกลายเป็นวัฒนธรรมสืบเนื่องเป็นบรรทัดฐานและวิถีชีวิตของประชาชนโดยส่วนรวม

ในบรรดาประเทศต่างๆ ในโลกที่มีการปกครองแบบมีพระมหากษัตริย์ทั้งหมดประมาณ 29 ประเทศทั่วโลก ซึ่งมีคำใช้เรียกแทนองค์พระมหากษัตริย์แตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะ วัฒนธรรม ประเพณีของชาตินั้นๆ แต่คำแทนองค์พระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งบ่งบอกถึงลักษณะหน้าที่แบบต่างๆ ของพระมหากษัตริย์ ซึ่ง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้สรุปจำแนกได้ 5 ลักษณะ คือ

1. พระเจ้าอยู่หัว ซึ่งมาจากคำว่า พระเจ้า (เทพเจ้า) กับคำว่า อยู่หัว (ผู้นำ...หัวหน้า) หมายความว่า พระเจ้าอยู่หัว ทรงมีภาระหน้าที่ของการเป็นผู้นำหรือประมุขของประเทศชาติและประชาชน

2. พระเจ้าแผ่นดิน หมายความว่า พระเจ้าแผ่นดินเป็นเจ้าของแผ่นดินทั้งประเทศ แล้วพระราชทานสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์จากที่ดินนั้นให้แก่ประชาชน และถือว่าเป็นหน้าที่ของพระเจ้าแผ่นดินที่จะต้องรักษาความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดินด้วย จะเห็นว่า พระเจ้าแผ่นดินทรงต้องมีพระราชภาระหน้าที่ จะต้องทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ประเทศชาติและประชาชน

3. เจ้าชีวิต หมายความว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าชีวิตของประชาชน กล่าวคือ ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะประหารชีวิต และพระราชทานอภัยโทษจากการประหารชีวิตแก่ประชาชนได้ อันหมายความว่าพระมหากษัตริย์ทรงมีหน้าที่ ที่จะต้องคุ้มครองชีวิตของประชาชน และจะต้องรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศไว้

4. ธรรมราชา หมายความว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้รักษาธรรม และปฏิบัติธรรม และด้วยหลักธรรมนี้ ทำให้เกิดความยุติธรรมขึ้นในประเทศ กล่าวคือ พระมหากษัตริย์จะต้องทรงใช้หลักธรรมเป็นแบบแผนในการปกครองประเทศชาติและประชาชน หรืออีกนัยหนึ่ง คือ พระราชดำริและพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ จะต้องอยู่ในกรอบของหลักธรรมเท่านั้น

- 4 -

5. พระมหากษัตริย์ หมายความว่า การเป็นนักรบ หรือจอมทัพที่ยิ่งใหญ่ในยามสงครามที่จะต้องมีป้องกันประเทศ พระมหากษัตริย์จะต้องเป็นผู้นำทางการทหารออกรบ เพื่อปกป้องคุ้มครองเอกราชของประเทศและประชาชน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ พระมหากษัตริย์ทรงมีหน้าที่ที่จะต้องให้ความคุ้มครองปลอดภัยแก่ประเทศชาติ และประชาชน

สิทธิและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทย ตามตำราการเมืองและการปกครองไทยที่ใช้สอนกันมาในสถาบันการศึกษาต่างๆ และในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 พอสรุปเป็นสังเขปว่า

สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันเก่าแก่ที่อยู่คู่กับชาติไทยตลอดมานับตั้งแต่ไทยเริ่มสร้างตนเป็นชาติขึ้นมา เป็นสถาบันที่เลื่อมใสศรัทธาและฝังแน่นอยู่ในความรู้สึกของประชาชนคนไทย แทบทุกคนมาเป็นเวลาหลายร้อยปี บทบาทของพระมหากษัตริย์เปลี่ยนไปตามยุคสมัย รัฐธรรมนูญทุกฉบับบัญญัติ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข องค์พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในสถานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นของปวงชน ผ่านทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย ทรงเป็นพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก ทรงเป็นศูนย์รวมที่ก่อให้เกิดความสามัคคีของชนในชาติไม่ว่าจะเชื้อชาติใดและศาสนาใด พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมือง ไม่ต้องรับผิดชอบในกิจกรรมการเมืองต่างๆ แม้ว่าจะกระทำในพระปรมาภิไธย ทรงวางพระองค์เป็นกลางทางการเมืองเสมอมา ทรงมีสิทธิที่จะให้คำเตือนในบางเรื่องบางกรณี แก่รัฐบาล รัฐสภาและศาล หรือองค์กรอื่นๆ ที่ทรงเห็นว่าถ้ากระทำไปแล้วจะเกิดผลเสียหาย ในฐานะที่ทรงดำรงตำแหน่งประมุขของประเทศจึงถือว่าเป็นสิทธิของพระมหากษัตริย์ที่จะได้รับรายงานให้ทราบถึงสถานการณ์หรือเรื่องราวบางเรื่องที่มีความสำคัญกับบ้านเมือง สิทธิ์ที่จะพระราชทานคำปรึกษาหารือ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีปัญหาเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน นำปัญหาขึ้นทูลเกล้าฯ สิทธิ์ที่จะสนับสนุนการกระทำหรือกิจการใดๆ ของรัฐหรือเอกชนได้ หากพระองค์ทรงเห็นว่ากิจการนั้นๆ เป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง เช่น โครงการตามพระราชดำริต่างๆ นอกจากนั้นยังทรงมีพระราชอำนาจที่จะสถาปนาฐานันดรศักดิ์ และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และลงพระปรมาภิไธย ในร่างกฎหมายประเภทต่างๆ เป็นต้น

พระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ แม้ว่ามิได้ทรงมีพระราชอำนาจโดยตรงอย่างแท้จริงในกิจกรรมการเมืองการปกครอง แต่ความสำคัญและประโยชน์ที่ได้รับจากพระมหากษัตริย์ มีนับเป็นอเนกประการ เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของประเทศ แผ่พระบารมีให้มีความร่มเย็นแก่อาณาประชาราษฎร์และชนต่างชาติที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ทรงเป็นศูนย์กลางแห่งเกียรติยศ และพระมหากรุณาธิคุณ ยากที่จะหาผู้ใดเสมอเหมือน

- 5 -

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการเมืองไทย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ มีพระราชอัธยาศัย พระราชจริยวัตรอันงดงาม มั่นคงในทศพิธราชธรรม อันประกอบด้วย ทาน คือการได้ที่เป็นประโยชน์ทั้งวัตถุทานและธรรมทาน ศิล คือความประพฤติดีงามทั้งกาย วาจา ใจ เป็นการประพฤติชั่วทั้งปวง

บริจาคะ คือการเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์สุขคนหมู่มาก อาชวะ คือความซื่อตรง มัทวะ คือความอ่อนโยนทั้งกายและใจ มีสัมมาคารวะ ตบะ คือการตั้งใจทำหน้าที่ด้วยความเพียร อโกรธะ คือความไม่มุ่งร้ายต่อผู้อื่น ทำตามเหตุผลด้วยความเที่ยงธรรม อวิหิงสา คือ ความไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น มีพรหมวิหาร 4 ขันติ คือ ความอดทน อดกลั้นต่ออารมณ์ทั้งปวง อวิโรธนะ คือความไม่ประพฤติผิดธรรม การดูแลทุกข์พสกนิกรของพระองค์ ทรงเริ่มแสดงออกให้เห็นได้ตั้งแต่ พระปฐมบรมราชโองการ ความว่า “เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” และอีกมากมายในพระบรมราโชวาทที่ได้พระราชทานไว้ในพระราชวโรกาสต่าง ๆ นั่นหมายถึงความตั้งพระราชหฤทัยของพระองค์ที่ถือเป็นพระราชกรณียกิจที่ต้องทรงปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขทั่วแผ่นดิน ทรงตระหนักถึงความทุกข์ยาก และทรงเล็งเห็นปัญหาคือ ประชาชนส่วนใหญ่ยังยากจน จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาไปในทุก ๆ ด้าน โดยทรงคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของคนไทยเป็นสำคัญที่สุด การต่อสู้กับศัตรูของประเทศ คือ ความยากจนของราษฎร์ ทรงถือเป็นพระราชภาระที่จะต้องคิดค้นหาวิธี ทรงตรากตรำพระวรกายเสด็จ ฯ เยี่ยมเยือนประชาชนในทุกหนทุกแห่งทั่วประเทศ ด้วยพระราชพระหฤทัยอันเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา พระราชทานพระราชดำริเพื่อประโยชน์สุขของประชาราษฎร์ นำมาซึ่งความผาสุกแก่ประชาชนอย่างแท้จริง ทรงมีหลักการทรงงานหรือเรียกว่า ทรงปกครองประชาชนของพระองค์ตามทศพิศราชธรรม ทรงศึกษาจนเป็นผู้รู้จริง ทรงทำให้ดูเป็นตัว อย่างก่อนพระราชทาน ฯ มุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาคน ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งว่า “ต้องระเบิดจากข้างใน หมายความว่า ต้องสร้างความเข้มแข็งให้คนในชุมชน ให้มีความพร้อมที่จะรับการพัฒนาเสียก่อน..........” ทรงอดทน มุ่งมั่น ต่อการแก้ปัญหาอย่างมีสติ ทรงอ่อนน้อม ถ่อมตน เรียบง่าย และประหยัด ทรงโน้มพระวรกายคุกเข่า และประทับพับเพียบเข้าหาประชาชน ทรงรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ทั้งผู้ที่ตามเสด็จถวายงาน และประชาชนในพื้นที่ และเคารพความคิดที่แตกต่าง ทรงมีความตั้งใจจริง และความเพียรที่จะแก้ปัญหาให้ลุล่วง โดยคำนึกถึงประโยชน์ส่วนร่วม เข้าใจความต้องการของประชาชน จะทรงเน้นหน่วยกับราชการต่าง ๆ ไม่ให้ยัดเยียดในสิ่งที่ประชาชนไม่ปรารถนา ทรงสอนให้คนไทยพึ่งตนเอง ต้องมีจิตใจที่เข้มแข็ง มีจิตสำนึกที่ดี สร้างสรรค์ให้ตนเองและชาติโดยรวม ต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายชุมชน ทรงให้การสนับสนุนคนดี และคนเก่ง ดังพระราชดำรัสที่ว่า

“ ในบ้านเมืองนั้นมีทั้งคนดีและคนไม่ดี การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี ไม่มีใครกระทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด หากอยู่แต่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือนร้อนวุ่นวายได้ ” ทรงสั่งสอนให้คนไทยรู้รักสามัคคี โดยคำว่า รู้ ต้นเหตุ รู้ปลายเหตุ แล้วถึงเริ่มทำงานจะได้มีประสิทธิภาพ ต้องรู้ถึงปัจจัยทั้งหมด ทั้งรู้ถึงปัญหา

- 6 -

และรู้ถึงวิธีการแก้ไขปัญหา รัก คือ ความรักความเมตตา จะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการกระทำ และไปลงมือปฏิบัติ

แก้ไขปัญหานั้น ๆ อีกทั้งความรักที่มีความเมตตากรุณาเป็นพื้นฐาน ก็สามารถนำไปสู่ความปรารถนาที่จะช่วยเหลือ เกื้อกูลให้บุคคลอื่นบรรลุประโยชน์ หรือเข้าถึงจุดหมายชีวิตของเขาในระดับต่าง ๆ ได้ สามัคคี คือ การที่จะลงมือปฏิบัตินั้นควรคำนึงเสมอว่า เราจะทำงานคนเดียวไม่ได้ ต้องทำงานร่วมมือร่วมใจเป็นองค์กร เป็นหมู่คณะ จึงจะมีพลังเข้าไปแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปด้วยดี นอกจากนั้นยังมีอีกมากมายที่พระองค์ท่านได้ทรงปฏิบัติแล้วพระราชทานพระราชดำริ แต่ที่ผู้เขียนอัญเชิญมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น

นั่นเป็นพระราชภาระทางการเมืองในความหมายที่เป็นส่วน เกี่ยวข้องทุกสิ่งทุกอย่าง ที่รวมเป็นประเทศชาติ แต่ในส่วนที่ การเมืองหมายถึง กิจกรรมการเมืองโดยตรงนั้น ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของไทย ที่ทรงปฏิบัติหน้าที่พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญตลอดต่อเนื่องมา 60 กว่าปี ทรงดำรงพระองค์อยู่ในพระคุณธรรมอันประเสริฐเป็นที่เคารพสักการะ และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจสูงสุดของประชาชน ทั้งยังเป็นที่ยอมรับกันว่าทรงเป็นอิสระจากความลำเอียงทางการเมืองในรัชสมัยของพระองค์ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ทั้งเกิดการปฏิวัติ รัฐประหาร ไม่น้อยกว่า 15 ครั้ง ปัจจัยดังกล่าว ทำให้ชาวไทยนับตั้งแต่ประชาชนทั่วไปกระทั่งถึงผู้นำทางการเมืองของประเทศในแต่ละยุคสมัยต่างยอมรับกันว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นหลักสูงสุดในทางการเมืองการปกครองของประเทศ ทรงมีพระราชอำนาจทางการเมืองเฉพาะพระองค์ ยิ่งไปกว่าที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ทรงใช้เฉพาะเมื่อมีเหตุคับขันหรือเกิดเหตุความขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองเกินกว่าผู้ใดจะแก้ไขได้ ทรงใช้อำนาจดังกล่าวช่วยนำชาติบ้านเมืองให้ผ่านพ้นภาวะวิกฤตได้ทุกครั้งอย่างเป็นที่น่าอัศจรรย์

ในระยะแรกของรัชสมัย ทรงแสดงบทบาทอยู่ในธรรมเนียมพิธีการและบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ แต่ด้วยพระราชสถานะอันเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงสุดตามประเพณีไทยที่มีมาแต่เดิม ก็ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นเสมือนขวัญและกำลังใจของประชาชนในประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ทรงให้ครองสิริราชสมบัติ ทั้งวิกฤตทางเศรษฐกิจและสังคม ประกอบกับความไม่มั่นใจในเสถียรภาพของประเทศ อันเนื่องมาจากความผันผวนทางการเมือง และการช่วงชิงอำนาจในหมู่ชนชั้นนำ ทรงตระหนักดีว่าพระองค์มีพระราชภาระอันหนักในการทรงเป็นมิ่งขวัญหรือศูนย์กลางทางจิตวิญญาณของประชาชน เพื่อนำชาติไทยให้ก้าวเดินไปสู่อนาคตได้อย่างมั่นคงและมีความหวัง

ความเคลื่อนไหวทางการเมืองของประเทศ ช่วงเวลาของความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2475 เริ่มชัดเจนตั้งแต่ 2500 เป็นต้นมา สถานการณ์ การเมืองในช่วงต้นรัชสมัยเต็มไปด้วยความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้นำที่มีความคิดเสรีกับกลุ่มอำนาจนิยม ในวงวิชาการประวัติศาสตร์การเมืองไทยยอมรับกันว่าเป็นช่วงเวลาที่ผู้นำรัฐบาลได้พยายามจำกัดบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ลงอย่างมาก พร้อมกับเชิดชูบทบาทของผู้นำรัฐบาลเอง แต่ก็ยังทรงอยู่ในฐานะสัญลักษณ์ของระบอบประชาธิปไตย และป็น

7

ศูนย์กลางของชาติ จนในที่สุด จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบกได้ยึดอำนาจจากรัฐบาล ในวันที่ 16 กันยายน 2500 พร้อมสรรหาบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยแสดงเจตน์จำนงว่า นายกรัฐมนตรีคนใหม่ต้องเป็นบุคคลที่ฝ่ายทหารยอมรับ เป็นที่พอใจของประชาชน และชาวต่างประเทศและเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประกาศคณะปฏิวัติเมื่อวัน 20 ต.ค.2501 โดยจอมพลสฤษดิ์ว่า “คณะปฏิวัติยึดมั่นอยู่เสมอว่า พระมหากษัตริย์กับชาติไทยจะแยกกันมิได้ ประวัติศาสตร์ของชาติไทยตั้งแต่ต้นมาจนบัดนี้ ตั้งอยู่บนรากฐานสถาบันที่ว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นสัญลักษณ์ของชาติ ทั้งเป็นมิ่งขวัญของประชาชน............... องค์พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะเป็นที่เคารพสักการะ จะมิให้มีการละเมิดอย่างหนึ่งอย่างใด ต่อพระองค์

ต่อพระบรมวงศานุวงศ์ และต่อราชประเพณีที่ชาติไทยได้เชิดชูยกย่องมาตลอดกาล...........” ประกอบกับพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ทรงบำเพ็ญเพื่อประโยชน์ สุขของประชาชนอย่างต่อเนื่องดั่งที่กล่าวมาแล้วทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพเทิดทูลจากพสกนิกรมากยิ่งขึ้นทุกขณะ และเมื่อเหตุการณ์เดือนตุลาคม 2516 เกิดการเรียกร้องรัฐธรรมนูญของนิสิตนักศึกษาจากรัฐบาลจอมพลถนอม ฯ เหตุการณ์ลุกลามจนเกิดการจลาจลในกรุงเทพมหานคร (14 ต.ค.2516) จนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต

ผู้ประท้วงบุกเผาสถานีตำรวจ อาคารที่ทำการของรัฐ เกิดภาวะสุญญากาศทางการเมือง ผู้นำทางการเมืองหมดความเชื่อถือจากประชาชนและเกิดความแตกแยกกันเอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นบุคคลเดียวที่ทุกฝ่ายให้การยอมรับและเชื่อถืออย่างปราศจากข้อสงสัย ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งทางวิทยุโทรทัศน์ถึงประชาชนเพื่อเตือนสติให้ทุกฝ่ายใช้สติร่วมมือกันแก้ปัญหา (จอมพลถนอม ฯ นายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ลาออกจากตำแหน่งและเดินทางออกนอกประเทศ)

ความเคารพเทิดทูนและเชื่อมั่นศรัทธาที่ประชาชนทุกฝ่ายทุกระดับมีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ทรงเป็นอิสระจากความลำเอียงทางการเมืองดังเช่น การใช้พระราชอำนาจจึงมีเป้าหมายอยู่ที่การรักษาประโยชน์สุขของประชาชนโดยแท้ ทรงแสดงบทบาททางการเมืองเพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์ลุล่วงไปได้อย่างรวดเร็ว ทรงยุติความรุนแรงอันเป็นเหตุปัญหาเฉพาะหน้า เมื่อสถานการณ์ดำเนินต่อไปได้ตามวิถีทางที่ควรจะเป็นแล้ว ก็มิได้ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทรงแสดงบทบาททางการเมืองต่อไป

ม.ร.ว.ทองน้อย ทองใหญ่ ข้าราชบริพาร ผู้หนึ่งได้เคยเล่าถึงพระราชจริยวัตรในเรื่องนี้ไว้ว่า “ ......ทรงมีรับสั่งว่า จำไว้ว่าสถาบันจะลงไปเล่นการเมืองอย่างเต็มตัวได้ก็ต่อเมื่อเกิดสุญญากาศทางการเมือง จริง ๆ อย่าง 14 ตุลาคม แต่เมื่อได้ก้าวลงไปจัดการช่องว่างดังกล่าวหมดไปแล้วสถาบันพระมหากษัตริย์จะต้องรีบก้าวกลับไปอยู่เหนือการเมืองอย่างเดิมโดยเร็วที่สุด..............”

นั้นเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นได้ชัดว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์จะทรงจำกัดบทบาททางการเมืองของพระองค์เองเพื่อดำรงสถานะของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด ทรงยึดถือหลักการที่ว่าพระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมือง

8

ท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองช่วงตลอดระยะเวลา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้เดียวที่มีโอกาสเฝ้าดูการบริหารราชการแผ่นดินอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาช้านาน จนไม่มีผู้อื่นผู้ใดในประเทศจะรอบรู้หรือล่วงรู้ได้ทัดเทียมพระองค์ ซึ่งก็ทรงเปิดโอกาสให้ผู้นำทางการเมืองเข้าเฝ้า ฯ เพื่อกราบบังคมทูลรายงานและขอรับพระราชทานคำปรึกษาหารืออย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการอยู่เสมอ ทั้งยังทรงใช้พระราชอำนาจ โดยโบราณราชประเพณีทั้ง 3 ประการคือพระราชอำนาจที่จะทรงให้คำปรึกษา ทรงสนับสนุนให้กำลังใจ และทรงตักเตือน อย่างพอเหมาะพอควรตลอดมา ตัวอย่างประกอบอีกได้แก่ เหตุการณ์เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2535 มีกลุ่มประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับการเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพล.อ.สุจินดา คราประยูร เกิดการประท้วงและลุกลามจนกลายเป็นเหตุจลาจลเกิดความเสียหายทั่วไปในกรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ พล.อ.สุจินดา ฯ นายกรัฐมนตรีและพล.ต.จำลอง ศรีเมือง ผู้นำการประท้วงเข้าเฝ้าละอองธุลีพระบาทรับพระราชทานพระราชกระแสเตือนสติ มีใจความสำคัญคือให้คำนึงถึงความปลอดภัย และขวัญของประชาชนโดยขอให้ “ .......หันหน้าเข้าหากัน.....ไม่ใช่เผชิญหน้ากันเพราะว่าเป็นประเทศของเรา ไม่ใช่ประเทศของหนึ่งคนสองคน เป็นประเทศของทุกคน...... “ทรงชี้ให้เห็นว่า การมุ่งจะเอาชนะจะทำให้ไม่มีผู้ชนะและสิ่งที่จะเสียหายที่สุด คือประเทศชาติ......แล้วจะมีประโยชน์อะไรที่จะทะนงตัวว่าชนะ เวลาอยู่บนกองสิ่งปรักหักพัง.....” เหตุการณ์เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับพระราชกระแสนั้น ได้รับการแพร่ภาพและกระจายเสียงทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ทั่วประเทศ ส่งผลให้การต่อสู้และความรุนแรงที่ดำเนินมาหลายวันยุติได้อย่างรวดเร็ว

สรุป

ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นข้อความที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นการย้ำเจตนารมย์ของชนชาวไทยว่าต้องการให้สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่คู่กับประเทศไทย และระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย แม้ว่าพระมหากษัตริย์จะมิได้ทรงมีพระราชอำนาจโดยตรงอย่างแท้จริงในกิจกรรมการเมืองการปกครอง แต่ด้วยความเลื่อมใส ศรัทธา ของประชาชนคนไทยต่อสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นเวลาช้านาน ที่แต่ละพระองค์ที่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์มาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบันหลายร้อยพระองค์ ทรงประกอบแต่ความดีและก่อประโยชน์อย่างมากมายให้แก่ประเทศชาติและประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงแห่งปัจจุบันที่ได้เห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชกรณียกิจ ด้วยพระอัจฉริยะในด้านต่าง ๆ ทรงเป็นจิตรกร ทรงเป็นศิลปิน ทรงเป็นนักกีฬาผู้สามารถ ทรงเป็นนักการทูตชั้นเยี่ยม พระองค์ได้เสด็จประพาสประเทศต่าง ๆ เพื่อกระชับสัมพันธ์ไมตรี อันเป็นผลดียิ่งแก่ประเทศชาติ

พระองค์ได้ทรงอุทิศพระองค์ด้วยพระอุตสาหะวิริยะภาพ พระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงแก่ชาติบ้านเมือง แม้ยามใดที่ประเทศชาติประสบความยุ่งยากอันตราย ด้วยพระบารมี ของพระองค์ สามารถทำให้ประเทศชาติหลุดพ้นภยันตรายด้วยทั้งปวงได้โดยดุษฎีเสมอ ดังเช่น ทรงระงับเหตุการณ์จลาจล วันที่ 14 ตุลาคม

9

2516 เหตุการณ์จลาจลพฤษภาทมิฬ 2535 มิให้เกิดการต่อสู้ปะทะกันระหว่างชนในชาติด้วยกันเอง แม้กระทั้งเมื่อยามปัญหาเศรษฐกิจทับโถมรุมเร้าพสกนิกรของพระองค์ ก็ยังทรงห่วงใยพระราชทานกำลังใจ ทรงแนะนำความคิด

ในการดำรงชีวิตและการแก้ไขปัญหา ในปัจจุบันเป็นที่ประจักษ์แก่พสกนิกรชาวไทยทั่วไป เช่น ทฤษฏีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียง โครงการเกษตรผสมผสาน ฯลฯ ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่เป็นประโยชน์สุข แก่พสกนิกรไทยทั่วทุกภูมิภาค อาจกล่าวได้ว่า คนไทยทั้งประเทศอยู่ดีมีสุขถ้วนหน้า เนื่องจากพระอัจฉริยะภาพ พระอุตสาหะ พระปรีชาสามารถ พระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้ทำเพื่อประชาชนของพระองค์ตลอดระยะเวลากว่า 60 ปี ที่ทรงครองราชย์ และเมื่อพิจารณาถึงลักษณะของภาระหน้าที่ สิทธิ และอำนาจของพระมหากษัตริย์ดังกล่าวข้างต้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคุณลักษณะที่แท้จริงได้อย่างงดงามครบถ้วน นับเป็นความโชคดีของคนไทยทุกคนที่เรามีพระราชจักรีวงศ์อันทรงคุณประเสริฐ สืบทอดมากว่า 200 ปี ฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่จะต้องช่วยกันสนับสนุนให้พระมหากษัตริย์ของเราได้ประสบความสำเร็จในพระราชประสงค์ที่จะทรงประกอบกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย และประชาชนของพระองค์อย่างจริงจัง และต้องละเว้นการอ้างเอาพระราชประสงค์ของพระองค์หรืออ้างเอาความจงรักภักดี ต่อพระองค์มาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนหรือพวกพ้องของตน และกล่าวหาอีกฝ่ายหนึ่งว่าไม่จงรักภักดีและพยายามทำลายสถาบัน ทุกคนต้องตระหนักถึงพระมหากรุณาธิคุณทรงมีต่อประเทศชาติ ด้วยพระบารมีและพระบรมเดชานุภาพทางการเมืองการปกครองของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่นำพาประเทศชาติให้ล่วงพ้นวิกฤต และเจริญรุดหน้าสู่ปัจจุบันมาได้อย่างต่อเนื่องมั่นคง มีศักดิ์ศรี และสง่างาม นับเป็นโชคอันประเสริฐที่ทรงพระบุญญาบารมีปกเกล้าปกกระหม่อมชนชาวไทยทั้งประเทศอย่างหาที่สุดมิได้ ทรงเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของชาวไทยทั้งชาติและเราคนไทยทุกคนมาช่วยกันทำดีสร้างสรรค์ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ถวายเป็นของขวัญแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสปีใหม่ปี 2552 ที่จะมาถึงนี้ ผู้เขียนขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ด้วยอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย และพระบารมีดวงพระวิญญาณพระมหาบุพการีกษัตริยาธิราชเจ้าในอดีตทุกพระองค์ จงโปรดช่วยดลบันดาล พระราชทานพรให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองศ์ ทรงมีพระเกษมสำราญ ทรงเป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยตลอดไป

งงมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ประเทศชาติให้ล่วงพ้นวิกฤต และเจริญรุดหน้าสู่ปัจจุบันมาได้อย่างต่อเนื่องมั่นคง มีศักดิ์ศรี และสง่างาม นับเป็นโชคอันประเสริฐที่ทรงพระบุญญาบารมีปกเกล้าปกกระหม่อมชนชาวไทยทั้งประเทศอย่างหาที่สุดมิได้ ทรงเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของชาวไทยทั้งชาติและเราคนไทยทุกคนมาช่วยกันทำดีสร้างสรรค์ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ถวายเป็นของขวัญแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสปีใหม่ปี 2552 ที่จะมาถึงนี้ ผู้เขียนขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ด้วยอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย และพระบารมีดวงพระวิญญาณพระมหาบุพการีกษัตริยาธิราช

อย่าไปยึด กับคำว่าประชาปไตย หรือ คอมมิวนิส จะการปกครองด้วยระบอบใดก็ตาม ขอเพียงค่ให้ ประชาชนอยู่อย่างสงบสุข เสมอภาค และเป็นธรรม ทุกอย่างก็จบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท