แผลจ๋า.....เมื่อไหร่จะลาจาก


เป็นคำถามที่นิยมเสมอและต้องการคำตอบตลอดกาลกับผู้เป็นเบาหวานที่มีแผลที่เท้า " เมื่อไหร่แผลจะปิดและหายเสียที รักษามานานทำไมไม่หาย "

เป็นคำถามที่นิยมเสมอและต้องการคำตอบตลอดกาลกับผู้เป็นเบาหวานที่มีแผลที่เท้า " เมื่อไหร่แผลจะปิดและหายเสียที รักษามานานทำไมไม่หาย "  วันนี้ก็ได้รับอีกเช่นกัน  ญาติพาคุณยายที่มีแผลที่ตาตุ่มซ้าย ลักษณะขอบแผลแข็งเหมือนแผลโดนบาดขนาด 1 ซ.ม. ลึก 1/2 ซ.ม. มีdischargeสีเหลืองซึม    รอบ ๆแผลผิวคล้ำดำเข้มและจางลงเมื่อห่างแผล    เท้าเย็นผิวแห้งเป็นขรุยจนถึงใต้เข่า       พบว่ามีclaw toesร่วมด้วย ญาติบอกว่ายายชอบเดินห้ามไม่ได้เพราะมีdementiaทำแผลตอนเย็นพบเท้าบวมเสมอ กังวลอยู่เหมือนกัน

รายนี้คุณหมอทวีศักดิ์ส่งปรึกษาให้ทำโดนัทรอบแผลเพื่อ off loading   เราใช้adhesive felt ที่มีลักษณะคล้ายสักหลาดที่นุ่มและหนาตัดเป็นรูปโดนัท2วงซ้อนทับกัน      โดยให้วงกลมในห่างจากขอบแผลด้านละ 0.5 ซ.ม.ติดไปที่รอบแผล    ญาติถามว่าจะช่วยได้แค่ไหน เลยตอบว่าช่วยได้แต่ต้องทำแผลให้ถูกต้องและเหมาะสมกับแผ่นโดนัท  โดยต้องวางผ้าgauzeปิดแผลให้ต่ำกว่าขอบโดนัท เพราะถ้าวางเท่าขอบโดนัท  หน้าแผลจะถูกเสียดสีกับผ้าgauze  แต่เราต้องเพิ่มความระมัดระวังมากกว่าคนทั่วไปเพราะมีdementiaร่วมด้วย จึงแนะนำให้พันผ้าgauzeทับแผลที่มีโดนัทวางอยู่รอบ   แบบไม่แน่นจนเลือดไหลเวียนไม่สะดวก   จะทำให้ผู้ป่วยไม่แกะออก

ส่วนเรื่องการที่จะช่วยกระตุ้นให้แผลหายเร็วขึ้นด้วยวิธีอื่นๆอีกก็มี เช่น การไม่เดินหรือยืนนานๆโดยไม่จำเป็นเพราะการยืนหรือเดินมาก    น้ำหนักของร่างกายทุกส่วนจะถูกถ่ายเทมาที่เท้าจะทำให้ กล้ามเนื้อ หลอดเลือด และเอ็นถูกยืดออกตามความแรงของกิจกรรม ทำให้สารอาหารและยาที่อยู่ในเลือดไปเลี้ยงแผลน้อยลง ถ้าใช้เท้าให้น้อยจึงดีและจะยิ่งดีมากขึ้น   ถ้าเพิ่มการดูแลผิวนวดโลชั่นเพิ่มการไหลเวียนให้แก่หลอดเลือดและเป็นการนวดกล้ามเนื้ออีกด้วย

ยุวดี  มหาชัยราชัน

หมายเลขบันทึก: 10127เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2005 12:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท