อุปสรรค,ปัญหาและแนวทางแก้ไขการทำKM


ปัญหาในการทำ KM มีทางแก้ไข

ผมทำงานในมหาลัยมาพอสมควรคิดว่าปํญหา KM คงไม่ต่างจากปัญหาในการทำงานมากนัก เพราะทั้ง สองมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือการบรรลุเป้าหมายขององค์กร

ต่อไปนี้จะเป็นตัวอย่างปัญหา และอุปสรรคที่ผมพบ  รวมถึงแนวทางแก้ไขที่ผมคิดว่าสามารถนำไปปรับใช้ได้ แตไม่รู้จะถูกหรือเปล่าในที่ทำงานของผม
 

ปัญหาและอุปสรรค

                  แนวทางแก้ไข
1.เจ้าหน้าที่มีแต่ทักษะในการทำงาน  ไม่มีความรู้เชิงทฤษฎี
มหาลัยควรสนับสนุนและแนะนำแหล่งข้อมูลต่างๆสำหรับค้นคว้าข้อมูล  อาทิ หนังสือ เอกสาร วารสาร Internet หรือแนะนำผู้เชี่ยวชาญที่เจ้าหน้าที่และบุคลากรสามารถปรึกษาได้
 
2.บุคลากรไม่สามารถเขียนแผนการสอนได้  ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร
หากอาจารย์ไม่มีทักษะในการเขียน  ควรให้คำแนะนำและติดตามอย่างใกล้ชิด  อาจจะให้ร่างโครงสร้างมาให้ดูก่อน  และใส่รายละเอียดด้านเนื้อหาลงไป  หลังจากนั้นค่อยใส่ตัวอย่างจากงานจริง(ถ่ายทอด Tacit knowledge)
 
3.บุคลากรติดงาน  ไม่มีเวลา

ควรเลือกเวลาที่เหมาะสมสำหรับทำโครงการ  เลือกช่วงที่ไม่มีงานเร่งด่วน ซึ่งจะทำให้คิดที่จะร่วมโครงการอย่างเต็มใจอย่างเช่นการทำ KM ในมหาลัย เป็นต้น

 
4.พนักงานไม่อยากทำ KM
ชี้แจงให้ทราบถึงความสำคัญและประโยชน์ที่จะได้รับจากการร่วมโครงการว่าเป็นการพัฒนาศักยภาพของตัวพนักงานเอง  รวมถึงรางวัลที่มหาลัยเตรียมไว้ ไม่ว่าจะเป็นในรูปของตัวเงิน หรือ ไม่ใช่ตัวเงินก็ตาม
 

5.องค์กรอ้างไม่มี Technology ที่ทันสมัย

สามารถใช้ Flip Chart หรือ Whiteboard แทนได้  การแบ่งปันความรู้สามารถกระทำได้  หากองค์กรมีความมุ่งมั่นที่จะทำ ไม่เกี่ยวกับ Technology เลย
 
6.ไม่มีเวทีให้บุคลากรฝึกงาน
ควรบรรจุหลักสูตรไว้ในแผนการฝึกอบรมประจำปี  หากยังน้อยเกินไป  อาจจะพูดคุยกับมหาลัยในเครือเดียวกัน หรือ เป็นพันธมิตรกันในการขอโอกาสให้วิทยากรของเราได้มีโอกาสเข้าไปฝึกอบรม เพื่อเก็บชั่วโมงบิน  แต่วิทยากรคนนั้นจะต้องผ่านการทดสอบก่อน
 
7.เจ้าหน้าที่ไม่ผ่านการทดสอบ

ให้โอกาสในการทดสอบอีก ประมาณ 2 ครั้ง  หากยังไม่ผ่าน  แต่เจ้าหน้าที่ยังมีความมุ่งมั่นอยู่  อาจจะให้ลองเวทีอื่น  เช่น การเป็นพิธีกร  การนำเสนอ การทำกิจกรรม ฯลฯ ให้มากขึ้น เพื่อฝึกทักษะ จนเกิดเป็นความรู้ในตัวเอง

 
8.อาจารย์ไม่สามารถสอนคนเดียวเต็มหลักสูตรได้
ควรสร้างวิทยากรประจำหลักสูตรมากกว่า 1 คน  เพื่อสลับกันสอน  นอกจากนั้น การสร้างวิทยากรเพิ่มยังมีประโยชน์เมื่อวิทยากรคนเดิมเกิดความเบื่อหน่ายในหลักสูตรที่สอน และต้องการเปลี่ยนไปสอนหลักสูตรใหม่  หรือวิทยากรหลักลาออก  มหาลัยจะได้ไม่เกิดปัญหาความรู้หายไปจากองค์กรอีก
 

ทั้งหมดนี้เป็นแค่แนวทาง.....แนวทางหนึ่งเท่านั้น ที่น่าจะทำให้ องค์กรแห่งการเรียนรู้ แห่งนี้ มีการแบ่งปันความรู้และพัฒนา ต่อไปได้อย่างยั่งยืน

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1012เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2005 17:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ปัญหาข้อที่ 1 ; อยาก share เพิ่มเติมในส่วนแนวทางการแก้ไข สำหรับแนวทางที่พี่หมอกล่าวถึงเป็นแนวทางที่ดีแต่อาจได้ผลกับคนกลุ่มหนึ่ง แต่อาจไม่ได้ผลกับคนอีกกลุ่มที่ค่อนข้างไม่ค่อยขวนขวายหาความรู้  โดยมาตรการที่เสนอแนะเพิ่มคือ การฝึกอบรมซึ่งจะเป็นอาจจะเป็นเชิงบังคับให้เข้าร่วมอบรมในส่วนหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับบุคคลนั้นๆ  ซึ่งถ้าจะให้ดีก็อาจจะมีการทดสอบความรู้ ความเข้าใจหลังการอบรมอีกครั้ง  ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้จะทำให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลากรมีความรู้ในเชิงทฤษฏีเพิ่มขึ้นได้ค่ะ

ขอขอบคุณ...น้องมากที่แนะนำครับ แล้วจะนำคำแนะนำของน้องไปลองคิดต่อและปฏิบัติครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท