เกลือเสริมไอโอดีน


เกลือไอโอดีน

เกลือเสริมไอโอดีน ราคาประหยัด พัฒนาสมอง ของเด็กไทยโรคขาดสารไอโอดีนหรือโรคเอ๋อเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ต้องดำเนินการป้องกันแก้ไขอย่างต่อเนื่อง เพราะการขาดสารไอโอดีนมีผลทำให้เกิดภาวะปัญญาอ่อน ซึ่งจะส่งผลร้ายชัดเจนในกลุ่มวัยทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยสารไอโอดีนสำคัญมากต่อการพัฒนาสมองโดยเฉพาะช่วง 3 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์จนถึงอายุ 2 ขวบปีแรก ซึ่งจะมีการพัฒนาทางสมองถึงร้อยละ 80 และที่สำคัญช่วงก่อนระยะ 12 สัปดาห์ ทารกที่อยู่ในครรภ์ต้องการสารไอโอดีนจากมารดาในการเพิ่มจำนวนและขนาดเซลล์สมอง จากนั้นทารกยังต้องการสารไอโอดีน เพื่อช่วยในการสร้างโครงข่ายใยประสาทต่อเชื่อมถึงกัน การสร้างปลอกหุ้มเซลล์ใยประสาทซึ่งการสร้างจะเกิดต่อเนื่องไปจนถึงระยะ2ขวบปีแรกของชีวิต มาตรการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนที่มีประสิทธิภาพ คือ การส่งเสริมให้ทุกครัวเรือนมีการใช้เกลือเสริมไอโอดีนในการปรุงอาหารเป็นมาตรการหลัก และ ใช้อาหารเสริมไอโอดีนเป็นมาตรการเสริมอีกทางหนึ่งในการควบคุมและป้องกันซึ่ง  ขณะนี้มีโรงงานที่ผลิตเกลือเสริมไอโอดีนจำนวนทั้งสิ้น 191 แห่งทั่วประเทศ มีกำลังการผลิตรวม 1.8 แสนตันต่อปี โดยข้อมูลปี 2548 พบว่า มีความครอบคลุมเกลือเสริมไอโอดีนในครัวเรือนเพียงร้อยละ 58.8 และมีเกลือเสริมไอโอดีนในครัวเรือนที่ได้คุณภาพมาตรฐานร้อยละ 54 เท่านั้น  ภาคเอกชนในนามของ ชมรมผู้ประกอบการผลิตเกลือเสริมไอโอดีน จะได้ส่งเสริมผนึกกำลังกันสร้างความร่วมมือขึ้นในกลุ่มชมรมผู้ประกอบการผลิตเกลือเสริมไอโอดีน ซึ่งประกอบด้วย คุณสุรงค์ ปุญญธรรม ประธานชมรมผู้ประกอบการผลิตเกลือเสริมไอโอดีนภาคกลาง   คุณสุเมธ เผ่าสิริพัลลภ ประธานชมรมผู้ประกอบการผลิตเกลือเสริมไอโอดีนภาคเหนือ   และคุณนฤมล อะโน ประธานชมรมผู้ประกอบการผลิตเกลือเสริมไอโอดีนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ในฐานะแกนนำหลักที่สำคัญในการดำเนินงานผลิตเกลือเสริมไอโอดีน ผู้ประกอบการฯ ทั้ง 3 ภาค ได้มีเป้าหมายร่วมกันที่ชัดเจนในการส่งเสริมและสนับสนุนให้โรงงานผลิตเกลือในแต่ละภาคเพิ่มอัตราการผลิตเกลือเสริมไอโอดีนคุณภาพมาตรฐานให้ครอบคลุมในทุกจังหวัดอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

เกลือเป็นส่วนสำคัญในการผลิตอาหารหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นผักดอง ทำน้ำปลา ปลาร้า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแม้กระทั่งการทำเนยแข็ง ซึ่งในการนำเนยแข็งนั้นการเติมเกลือทำให้เกิดรส และกลิ่นเฉพาะขึ้น  การทำซีอิ้ว  ทำเต้าหู้ยี้  ผักกระป๋อง เกลือเป็นส่วนสำคัญในอุตสาหกรรมห้องเย็น มีการใช้เกลือในอุตสาหกรรมทำน้ำแข็งมาเป็นเวลานาน เพื่อเป็น secondary heat transfer media เนื่องจากเมื่อเกลือละลายน้ำ สารละลายจะมีจุดแข็งตัวลดลงต่ำกว่า ซ (หรือ 32° ฟ) ความเข้มข้นของน้ำเกลือสูงสุดที่สามารถใช้ได้คือประมาณ 88° Salometer ถ้าเข้มข้นกว่านี้เกลือจะจับกับน้ำบางส่วนและแข็งตัวได้ในอุณหภูมิสูงกว่านี้ ดังนั้นเราจะใช้น้ำเกลือในกรณีที่ต้องการแช่เย็นที่ระดับ 25-50° ถ้าต้องการอุณหภูมิต่ำกว่านี้ ควรใช้เกลือตัวอื่น เช่น เกลือแคลเซียมคลอไรด์ แม้กระทั้งเครื่องสำอางค์ของคุณสุภาพสตรี ยังต้องใช้เกลือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมาตรฐานของเกลือ (Sodium Chloride) ตามพระราชบัญญัติอาหารของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า อย. นั้นแบ่งได้เป็น 2 ประเภทตามวัตถุประสงค์การใช้งาน กล่าวคือหากเป็นเกลือแกงที่ใช้ปรุงหรือแต่งรสอาหารและบรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภค จะจัดเป็นเกลือบริโภคตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 153 (พศ.2537) ซึ่งต้องมีไอโอดีนไม่น้อยกว่า 30 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม และต้องแสดงฉลากให้ถูกต้องตามกำหนดในประกาศกระทรวงฯ โดยไม่ต้องส่งมอบฉลากใช้ อย. พิจารณาอนุมัติ  แต่ถ้าผลิตภัณฑ์ดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปใช้ในทางอุตสาหกรรมอาหารจะจัดเป็นอาหารควบคุมเฉพาะประเภทวัตถุเจือปนอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 84 (พศ.2527) ซึ่งมีเนื้อหา คือมี สูตรโมเลกุล NaCl   น้ำหนักโมเลกุล 58.44  คุณลักษณะ เป็นผลึกสีขาวใสหรือขุ่นเล็กน้อย มีขนาดต่าง ๆ กัน เกลือสินเธาว์จะมีสีขาวหรือเกือบขาว เมื่อตั้งทิ้งไว้ในที่มีความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่าร้อยละ 78 จะชื้นและเยิ้ม ละลายได้ดีในน้ำและกลีเซอรีนจังหวัดเพชรบุรีเป็นฐานการผลิตเกลือทะเลที่สำคัญของประเทศไทย  พร้อมส่งกระจายไปทั่วประเทศ เพื่อป้อนให้กับผู้บริโภคและโรงงานอุตสากรรม ดังนั้นจึงขอสนับสนุนการที่ คุณสุรงค์ ปุญญธรรม ประธานชมรมผู้ประกอบการผลิตเกลือเสริมไอโอดีนภาคกลาง มีการเพิ่มอัตราการผลิตเกลือเสริมไอโอดีนคุณภาพมาตรฐานให้มากยิ่งขึ้น อย่างน้อยก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยกันพัฒนาเด็กไทย ไม่ให้เป็นโรคเอ๋อ เป็นการสร้างบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ อีกทางหนึ่งด้วย นะครับ

คำสำคัญ (Tags): #เกลือไอโอดีน
หมายเลขบันทึก: 100967เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2007 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 15:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สามารถดูบทความด้านวิชาการเกี่ยวกับ เกลือ เกลือเสริมไอโอดีน

ได้ที่นี้ครับ www.banphusalt.com

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท