เรื่องเล่าจากออสเตรเลีย (21.6)


Neighbour’s Consultation Model
Consultation phase
                ในการให้คำปรึกษาผู้ป่วยของแพทย์ มีขั้นตอนที่ต้องพิจารณา 6 ขั้นตอน คือ
  1. Introductory phase มีการแนะนำตัวกับผู้ป่วยอย่างเหมาะสม การจัดที่นั่ง ท่าทางในการดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสม
  2. History-Taking phase ฟังผู้ป่วยอย่างตั้งใจ มีปฏิกิริยาต่อการฟังอย่างเหมาะสม รู้จักใช้อวัจนภาษา ใช้คำถามเหมาะสม หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์ทางการแพทย์ที่เข้าใจยาก ใช้สายตามองผู้ป่วยอย่างเหมาะสม พิจารณาปัจจัยทางจิตสังคม การได้มาของข้อมูลประวัติอย่างถูกต้อง
  3. Examination phase การตรวจร่างกายเหมาะสมกับประวัติของผู้ป่วย
  4. Diagnostic phase มีการกำหนดปัญหาและการตั้งสมมติฐานโรคอย่างเหมาะสม มีเหตุผลที่เพียงพอในการสนับสนุนการวินิจฉัย มีการแยกแยะชี้ประเด็นปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
  5. Management phase มีการกระทำที่เหมาะสมกับปัญหาที่ตั้งไว้ ใช้เวลาและทรัพยากรอย่างเหมาะสม อธิบายแก่ผู้ป่วยอย่างเพียงพอ ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจอย่างเหมาะสม  ให้การป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพด้วย
  6. Closing phase ระยะเวลาในการปิดการให้คำปรึกษาเหมาะสม(ระยะเวลาในการให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยมีผลต่อค่าบริการทางการแพทย์) มีการจัดเตรียมเรื่องการตรวจติดตามอย่างเหมาะสม

หากมองทั่วๆไป(General Comments) แพทย์จะต้องแสดงความเห็นใจ เข้าใจ ผู้ป่วย สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเชื่อมั่นในแพทย์และรู้สึกผ่อนคลาย

Neighbour’s Consultation Model

                ตัวแบบการให้คำปรึกษานี้สร้างขึ้นโดย Roger Neighbour เป็นข้อแนะนำที่แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปควรปฏิบัติตาม Neighbour กล่าวว่ามีจุดตรวจสอบ (Checkpoints)อยู่ 5 จุด ที่ควรปฏิบัติในการให้คำปรึกษาแต่ละครั้ง โดยเขียนอยู่ในรูปมือของคนเราที่มีอยู่ 5 นิ้ว ซึ่งประกอบด้วย

  1. Connecting  สามารถที่จะมองเห็นโลกจากดวงตาของคนไข้ ประเมินความคิดของผู้ป่วยจากคำพูดของเขา สร้างและคงสภาพความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน เป็นเหมือนนิ้วชี้ของคน
  2. Summarising บอกเล่าสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการมากกว่าที่ได้รับจากคำบอกเล่าของผู้ป่วยเพื่อยืนยันว่าข้อมูลที่คุณได้รับถูกต้อง เป็นเหมือนนิ้วกลางของคน
  3. Handing Over  ที่ซึ่งผู้ป่วยรู้สึกดีว่าได้รับจัดหามาให้อย่างเพียงพอทั้งข้อมูลแลความเชื่อมั่นที่จะจากไป เป็นเหมือนนิ้วนางของคนเรา
  4. Safety Netting กับคำถามถ้า... เป็นเวลาที่จะมองย้อนดูว่าเราควรจะทำอย่างไรถ้าปัญหาของผู้ป่วยยังคงอยู่หรือแย่ลง หรือการหาโอกาสในการส่งเสริมสุขภาพ
  5. Housekeeping ช่วงเวลาที่ผู้ป่วยจะได้สะท้อนปฏิกิริยาต่อแพทย์ในการให้คำปรึกษาครั้งนี้เป็นเสมือนหัวนิ้วมือที่คอยเตือนให้ระวังอย่างมากในการค้นหาปัญหาสุขภาพจิตในการดูแลผู้ป่วยและเน้นการดูแลตัวเอง
หมายเลขบันทึก: 10057เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2005 08:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท