เรื่องเล่าจากออสเตรเลีย (21.5)


Consultation in Primary Care
Consultation in Primary Care

                ในออสเตรเลีย การที่แพทย์ตรวจวินิจฉัยโรค เขียนใบสั่งยาพร้อมทั้งการให้คำแนะนำปรึกษาผู้ป่วยนั้นเรียกว่า การให้คำปรึกษาหรือConsultation ในการคิดค่าบริการจึงคิดเป็นค่าConsultationหรือDoctor fee ไม่ใช่ Doctor Free แบบบ้านเรา (ในเมืองไทย แพทย์ที่คลินิกส่วนใหญ่จะคิดค่ายาและเวชภัณฑ์จากผู้ป่วยโดยไม่ได้คิดค่าบริการตรวจให้คำปรึกษา โดยถือว่ารวมอยู่ในส่วนของกำไรค่ายาอยู่แล้ว ส่วนในออสเตรเลีย แพทย์ไม่สามารถจ่ายยาได้เอง จึงไม่สามารถคิดรวมอยู่ในค่ายาได้ ต้องกำหนดค่าให้บริการตรวจปรึกษาไว้เลย ตามที่ผมได้เขียนไว้ในตอนที่ 16-17)

                นอกจากนี้ Primary care หรือบริการปฐมภูมิของออสเตรเลียนั้นจะเน้นที่ผู้ป่วยนอกโดยการตรวจจากแพทย์ที่คลินิกหรือSurgery รวมทั้งการให้บริการเยี่ยมและดูแลที่บ้าน การให้ภูมิคุ้มกันโรค ส่วนการทำเรื่องสาธารณสุข(Public Health) จะมีหน่วยที่ดำเนินการต่างหาก ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการทำPrimary care ในออสเตรเลียคือแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปหรือGeneral practitioner โดยกำหนดให้ผู้ป่วยต้องไปพบแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปก่อน จะข้ามไปตรวจที่โรงพยาบาลเลยไม่ได้ ยกเว้นกรณีฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์ทางการแพทย์ ไม่ใช่ตามความรู้สึกของผู้ป่วยแบบโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคของบ้านเรา ที่ไม่ค่อยส่งเสริมความมีวินัยของผู้ป่วย ทำให้โรงพยาบาลก็หนาแน่น พลุกพล่านไปด้วยผู้ป่วย คลินิกเอกชนก็เต็มไปด้วยผู้ป่วยและสถานีอนามัยก็ต้องให้การรักษาผู้ป่วยไปด้วยจนกลายเป็นภาระงานหลักแทนที่จะได้ไปทำในเรื่องสาธารณสุขหรือPublic Health อย่างเต็มที่  ปรากฏว่า 1 ใน 3 ของผู้ป่วยจึงมีการได้รับการรักษาทั้งในสถานีอนามัย คลินิกเอกชนและโรงพยาบาลด้วยโรคเดียวกัน ในการป่วยครั้งเดียวกันแต่ต่างวันกันเท่านั้นพร้อมกับยาที่จัดให้ผู้ป่วยก็มีถึง 3 ชุดในการป่วยครั้งเดียวกัน ทำให้เกิดความสิ้นเปลืองอย่างสูงแก่ประเทศชาติ

            จากความสำคัญของแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ที่ต้องเป็นผู้ให้คำปรึกษาตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยเป็นคนแรก จึงต้องมีการเรียนการสอนที่สร้างความมั่นใจให้แก่ระบบและผู้ป่วย การเรียนการสอนจึงเน้นที่การให้Consultation อย่างมากและเกี่ยวข้องกับหมวดที่ 1 หรือDomain ของ Curriculum of GP ดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว

Comprehensive Primary Care Consultation

            ในการให้ Primary care consultation ของแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปนั้น การใช้หลักการ 4 points Framework จะมีประโยชน์อย่างมากในการให้การดูแลปฐมภูมิแบบผสมผสาน โดยต้องพิจารณา 4 จุด คือ

            A : Management of presenting problems แก้ไขปัญหาที่ผู้ป่วยมาหาแพทย์
            B :  Modification of help-seeking behavior ปรับพฤติกรรมที่ทำให้เกิดความเจ็บป่วย
            C :  Management of continuing problems จัดการกับปัญหาที่เกิดต่อเนื่อง
            D :  Opportunistic health promotion ใช้โอกาสในการส่งเสริมสุขภาพ
หมายเลขบันทึก: 10056เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2005 08:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 12:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท