ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง


ภาวะทั้ง 3 องค์ประกอบ จะหลอมรวมพลังกาย พลังใจ พลังปัญญา ของคนทั่วทั้งองค์กร ขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ การที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับใคร ก็ต้องเก่งพอ และ ดีเพียงพอที่จะเป็นแบบอย่าง
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้นำ คือ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม และสามารถนำกลุ่มปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร            ภาวะผู้นำ คือ  พลังชนิดหนึ่งที่สามารถส่งแรงกระทำอันก่อให้เกิดการขับเคลื่อนกลุ่มคน และนำองค์กรไปสู่การบรรลุเป้าประสงค์             ยกตัวอย่าง บิลล์ เกตส์ ผู้นำซอฟแวร์ของโลก มีภาวะผู้นำดังนี้
  1.  ใฝ่รู้
  2. คิดสร้างสรรค์
  3. คิดนอกกรอบข้ามศาสตร์ 
  4.  ทุนทางปัญญา
  5. กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ

  ในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการผันผวนในทุกๆด้าน  ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  เป็นสิ่งที่จะทำให้สามารถขับเคลื่อนองค์กรฝ่าวิกฤตยืนหยัดไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืนต่อไปได้ ซึ่งภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงว่ามี  3 องค์ประกอบ ได้แก่  

1. ภาวะผู้นำบารมีในการสร้างแรงบันดาลใจ  (Charismatic – Inspirational Leadership)  ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะแสดงออกด้วยการเป็นแม่แบบที่เข้มแข็งให้ผู้ตามได้เห็นตาม  เกิดการรับรู้ในพฤติกรรมของผู้นำ  ทำให้เกิดการลอกเลียนแบบพฤติกรรมผู้นำขึ้น   นอกจากนี้ผู้นำการเปลี่ยนแปลงยังมีพฤติกรรมปฏิบัติที่มีมาตรฐานทางศีลธรรม  และศีลธรรมสูงจนเกิดการยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม  ทำให้ได้รับความศรัทธา ความไว้วางใจ การยอมรับ นับถืออย่างลึกซึ้งจากผู้ตามพร้อมได้รับความไว้วางใจอย่างสูงอีกด้วย  แต่ก็ยังไม่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้  แม้ว่าผู้ตามจะเกิดความชื่นชมและศรัทธาแล้วก็ตาม   เพราะยังไม่เกิดแรงจูงใจที่สูงพอที่จะเปลี่ยนความยึดติดผลประโยชน์ของตนไปเป็นการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมซึ่งค่อนข้างมีลักษณะเป็นนามธรรม ดังนั้น  ผู้นำจะต้องแสดงออกด้วยการสื่อสารให้ผู้ตามทราบถึงความคาดหวังที่ผู้นำมีต่อผู้ตามด้วยการสร้างแรงบันดาลใจ  ให้ยึดมั่นและร่วมสานฝันต่อวิสัยทัศน์ขององค์การ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายแทน  การทำเพื่อประโยชน์เฉพาะตน  ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นผู้ที่ส่งเสริมน้ำใจแห่งการทำงานเป็นทีม  ผู้นำจะพยายามจูงใจผู้ตามให้ทำงานบรรลุเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้  โดยการสร้างจิตสำนึกของผู้ตามให้เห็นความสำคัญว่า  เป้าหมายและผลงานนั้นจำเป็นต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  จึงทำให้องค์กรเจริญก้าวหน้าประสบความสำเร็จได้ 

 2.  ภาวะในการกระตุ้นทางปัญญา  (Intellectual Stimulation)  เป็นพฤติกรรมของผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่แสดงออกด้วยการกระตุ้นให้เกิดการริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ  โดยใช้วิธีการคิดทวนกระแสความเชื่อและค่านิยมเดิมของตนหรือผู้นำหรือองค์การ  ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะสร้างความรู้สึกท้าทายให้เกิดขึ้นแก่ผู้ตาม มองปัญหาเป็นโอกาส และจะให้การสนับสนุนหากต้องการทดลองวิธีการใหม่ ๆ ของตน  หรือการริเริ่มสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ ให้กับองค์การ  ส่งเสริมให้ผู้ตามแสวงหาทางออกและวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ  ด้วยตนเองเปิดโอกาสให้ผู้ตามได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่  กระตุ้นให้ทุกคนได้ทำงานอย่างอิสระในขอบเขตของงานที่ตนมีความรู้ความชำนาญ     

 3. ภาวะในการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล  (Individualized Consideration)  เป็นพฤติกรรมของผู้นำการเปลี่ยนแปลง  ที่ให้ความสำคัญในการใส่ใจถึงความต้องการความสำเร็จและโอกาสก้าวหน้าของผู้ตามเป็นรายบุคคล ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลบางคนอาจต้องดูแลใกล้ชิด  ในขณะที่บางคนมีความรับผิดชอบสูงอยู่แล้ว จะให้อิสระในการทำงาน เป็นต้น  โดยที่ผู้นำจะแสดงบทบาทเป็นครู พี่เลี้ยง และที่ปรึกษาให้คำแนะนำในการช่วยเหลือผู้ตามให้พัฒนาระดับความต้องการของตนสู่ระดับที่สูงขึ้น  สร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี   ส่งเสริมการเรียนรู้และความมั่นใจให้แก่ผู้ตามเพื่อให้ทำงานได้ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ 

 ภาวะทั้ง 3 องค์ประกอบ   จะหลอมรวมพลังกาย พลังใจ พลังปัญญา ของคนทั่วทั้งองค์กร ขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ การที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับใคร ก็ต้องเก่งพอ และ ดีเพียงพอที่จะเป็นแบบอย่าง  ย้ำนะครับ เก่ง และ ดี นะครับ!!!

หมายเลขบันทึก: 100535เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2007 02:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีค่ะ..คุณ  อุดม

  • ระยะนี้คำนี้..การเปลี่ยนแปลง  มาแรงค่ะ
  • เปลี่ยนแปลงทั้งที่..ของเดิมก็ดีอยู่แล้ว..ช้ำใจค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ว่าไปตามสัจธรรม  มีขึ้นมีลง มีเข้ามีออก มีตั้ง มียุบ มีขาว มีดำ  คิดต่อดีกว่า ว่าจะอยู่รอดอย่างไร ในกระแสการเปลี่ยนที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

กระแสพระราชดำรัส สามารถนำมาใช้กับชีวิตที่ดีได้นะครับ  ชีวิตที่ดี เมื่อชีวิตรู้จักพอเพียง

สวัสดีครับ ท่านอุดม  ต้องขอบคุณมากครับที่แบ่งปันความรู้ มีประโยชน์ครับ

ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์

ถ้าเราต้องการจะสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้ครูผู้สอนจะต้องทำอย่างไรหรือมีข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะอย่างไรบ้างค่ะ

จริงๆ แล้ว พฤติกรรมแห่งการนำมีปัจจัยหลายๆ อย่างที่ช่วยในการก่อกำเนิดขึ้น เริ่มตั้งแต่ในเรื่องของพันธุกรรม  สิ่งแวดล้อมและการเลี้ยงดูตั้งแต่เด็ก  บางคนเกิดมา ก็ มีลักษณะแห่งการนำในตัว  บางคนถูกหล่อหลอม ถูกฝึก จนมีลักษณะแห่งการนำ บางคนก็ซึมซับการนำ จากการได้รับรู้ได้เห็น

สิ่งที่ผมจะแนะนำได้เกี่ยวกับตัวครูผู้สอนก็คือ นำบุคคลที่เป็นแบบอย่าง ที่มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  ที่มีบารมี มีคนเคารพและศรัทธา มาสร้างภาวะผู้นำของผู้อื่นให้เกิดขึ้น

 นั้นคือ การสร้างตัวเองให้เป็นแบบอย่าง ให้ผู้ที่เห็นเค้าได้ซึมซับ ได้รู้ ได้เห็น และให้โอกาสผู้ตาม หรือผู้ที่เราจะแนะนำ ได้ฝึกการนำ  เป็นการกระตุ้น สร้างแรงบันดาลใจ สนับสนุน ให้กำลังใจ ทีละเล็กละน้อย จนเค้ารู้สึกในความมั่นใจในการนำของเค้า และสิ่งที่สำคัญก็คือ อย่างลืมเน้นย้ำในเรื่องของ การสร้าง การให้โอกาสผู้อื่นได้นำ  และ คุณธรรมจริยธรรม นะครับ

ในการที่จะเปลี่ยนแปลงผู้อื่น  ก็ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง ผู้ตามจะมีแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลง ก็เพราะแบบอย่างที่เค้าเห็น และ การได้รับโอกาส ได้รับการฝึกให้ได้นำ (โดยอาจจะเริ่มจากโครงการเล็กๆไปก่อนก็ได้นะครับ)

 

 

 

 

 

 

 

 

ถึง   คุณอุดม 

รูปแบบของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง จะมีอีกรูปแบบหนึ่งนะค่ะ เรียกว่าเป็นแบบ  การสร้างแรงบันดาลใจ (inspirational motivation)  ค่ะ 

ครับ จริงๆ ผมได้กล่าวถึงรูปแบบนี้ในหัวข้อที่หนึ่งแล้วครับ

เดิมทีนั้นบาส (Bass 1985, 207-213)  ได้ให้ความสนใจในทฤษฎีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่พัฒนาขึ้นจากแนวคิดของ เบริน์ (Burn 1978)  เขาได้วิเคราะห์องค์ประกอบผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยทำการศึกษาผู้นำในกองทัพประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน 198 แห่ง พบว่า  องค์ประกอบในการแสดงภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมี 3 องค์ประกอบ คือ  1) การสร้างบารมี (Charisma)  2) การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (Individualized Consideration)  3)  การกระตุ้นทางปัญญา (Intellectual stimulation)              ต่อมาในปี ค.ศ. 1994 Bass & Avolio ได้ศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงใหม่และได้สรุปองค์ประกอบของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงว่ามี 4 องค์ประกอบให้ชื่อว่า “4I’S” (Four I’S) องค์ประกอบที่เพิ่มขึ้นคือ การสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration motivation)

ต่อมาใน .. 1999  ของ อโวลิโอ, บาส และจุง (Avolio, Bass & Jung 1999, 441-462)  ได้ทำการศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงซ้ำ  โดยรวมองค์ประกอบของการสร้างบารมีและการสร้างแรงบันดาลใจเป็นองค์ประกอบเดียวกัน เนื่องจากพบว่าทั้ง 2 องค์ประกอบนี้มีความสัมพันธ์กัน  .80 ถึง .90 

ทำให้คงเหลือ 3 องค์ประกอบครับ โดยรวมองค์ประกอบ ที่ 1 และ 4 รวมกันครับผมใช้ทฤษฎีในปี 1999 ที่มีการศึกษาพัฒนาล่าสุดครับ

ดีมากครับ ได้ km เรื่องภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง จำยังไงจะง่าย เอาอย่างนี้ดีไหม 3 ข้อที่ว่าคือ เสริมบารมี ชี้ปัญญา มาค้นคน

อยากทราบว่าผู้นำแบบบารมีของไทยกับของฝรั่งต่างกันอย่างไรคะ

รบกวนช่วยตอบด้วยนะคะ

ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท