สภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ แบบอย่างองค์กรแห่งการเรียนรู้ของชาววลัยลักษณ์


ทุกท่านศึกษาดูงานอย่างจริงจัง ไม่ใช่แค่เพียงเยี่ยมชม
เมื่อวันเสารที่ 17 ธันวาคม 2548 ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 6/2548 ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งผมเองก็ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุม ในฐานะผู้ช่วยเลขานุการของสภามหาวิทยาลัย ความสำคัญที่ผมอยากจะนำมาเล่านี้ ก็คงจะเป็นความรู้สึกประทับใจ และความโชคดีของผมเองที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมสภามหาวิทยาลัยของวลัยลักษณ์อยู่หลายครั้งพอสมควร ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา ทั้งในฐานะกรรมการสภา,คณบดี และรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสเรียนรู้แนวคิด ประสบการณ์ของผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นเวทีเรียนรู้ที่มีคุณค่ามากสำหรับผม นอกจากนี้สิ่งที่ผมได้พบเห็นมาโดยตลอดก็คือ ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพราะเท่าที่ผมจำได้ ทุกครั้งที่มีการประชุมสภามหาวิทยาลัย และโดยปกติก็จะมีการประชุมในวันเสาร์ช่วงเวลา 9.00-12.00 น. และเกือบทุกครั้งที่ในช่วงบ่ายเวลาประมาณ 13.00-17.00 น. ก็เป็นช่วงเวลาที่กรรมการสภามหาวิทยาลัยทุกท่านที่เข้าร่วมประชุมก็จะมีการเดินทางไปศึกษาดูงานการดำเนินงานของชุมชน องค์กร ตลอดจนบริษัทต่าง ๆ ที่ประสบความสำเร็จและมีบทบาทที่ดีต่อสังคมที่ดำเนินงานอยู่ในเขตชุมชนของมหาวิทยาลัย เช่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นต้น ผมอยากจะขอย้ำว่าการศึกษาดูงานของท่านกรรมการสภามหาวิทยาลัยเป็นการศึกษาจริง ๆ ไม่ได้แค่เป็นเพียงเยี่ยมชม เนื่องจากทุกครั้งที่มีการศึกษาดูงาน ท่านกรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิเกือบทุกท่าน ก็จะมีการซักถาม ให้ข้อชี้แนะและความคิดเห็น ในลักษณะของการเรียนรู้อย่างแท้จริง อย่างเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมานี้ คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ หลังจากที่ได้ประชุมเสร็จในช่วงเช้าแล้ว ในช่วงบ่ายคณะกรรมการสภาฯก็ได้มีการเดินทางไปศึกษาดูงานที่บริษัท SIAMRISO จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้นำเศษไม้ยางพารามาทำการผลิตแผ่นปาร์ติเกิ้ล เพื่อใช้เป็นชิ้นส่วนสำคัญในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ในยุคนี้ ซึ่งก็นำโดยท่านนายกสภาฯ ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา ,ดร.สุพัทธ์ พู่ผกา อธิการบดี และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ศ.นพ.วิจารณ พานิช, คุณเอนก สิทธิประศาสน์,คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์,คุณไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม,คุณวัชรา หงส์ประภัศร และผู้บริหารของมหาวิทยาลัย  ตลอดเวลาเกือบ 3 ชั่วโมง ซึ่งไม่นับเวลาเดินทางอีกประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง  ท่านกรรมการสภาฯทุกท่านไม่มีทีท่าที่จะเบื่อหรือไม่ให้ความสนใจที่จะเรียนรู้เลย แม้แต่นิดเดียว ทุกท่านมีการซักถาม ตั้งข้อสังเกตและแลกเปลี่ยนความรู้กับคุณเพชร ศรีหล่มสัก ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการ และคุณสุธรรม ซึ่งเป็นผู้จัดการโรงงาน อยู่ตลอดเวลา นี่แหละครับคือ สิ่งที่ผมประทับใจ ที่วลัยลักษณ์ มีสภามหาวิทยาลัยที่แบบอย่างของความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ให้แก่ชาววลัยลักษณ์ ได้ยึดถือปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นองค์กรแห่งการเรียนเรียนรู้อย่างแท้จริง สมกับความเป็น "มหาวิทยาลัย"
หมายเลขบันทึก: 10034เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2005 19:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท