ป้องกันอ้วนลงพุง+กลุ่มอาการ metabolic (1)


โรคอ้วนลงพุงและกลุ่มอาการเมทาโบลิค (metabolic syndrome) เป็นโรคไม่ติดต่อที่ "ระบาด" ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ข่าวดีคือ โรคนี้มีแนวโน้มจะป้องกัน หรือทำให้ทุเลาลงได้...

โรคอ้วนลงพุงและกลุ่มอาการเมทาโบลิค (metabolic syndrome) เป็นโรคไม่ติดต่อที่ "ระบาด" ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว

จดหมายข่าวไพรเมดของวิทยาลัยแพทย์ฮาร์วาร์ด สหรัฐฯ กล่าวว่า มีข่าวดีคือ โรคนี้มีแนวโน้มจะป้องกัน หรือทำให้ทุเลาลงได้...

ข่าวร้ายคือ ต้นฉบับยาวมาก ทำให้ต้องแบ่งเป็นตอนย่อยๆ 9 ตอน (มีลิ้งค์ให้คลิกครับ)

กลุ่มอาการเมทาโบลิค (metabolic) เป็นกลุ่มความเสี่ยงโรคระบบหัวใจ-การไหลเวียนเลือด 5 ข้อที่มีส่วนเสริมแรงซึ่งกันและกัน ทำให้ความเสี่ยงรวมเพิ่มขึ้น

ถ้าเปรียบเป็นการคำนวณอาจกล่าวได้ว่า เป็นสมการประเภท ‘1+1’ ได้ผลมากกว่า ‘2’ หรืออะไรทำนองนั้น

กลุ่มอาการเมทาโบลิคพบเมื่อความเสี่ยง 3 ใน 5 ข้อเหล่านี้พบร่วมกัน (หน่วย mg/dL = มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร = มิลลิกรัม % = มิลลิกรัมต่อ 100 มิลลิกรัม)

  1. อ้วนลงพุง > คิดจากเส้นรอบเอว > ผู้ชายมากกว่า 90 เซนติเมตร ผู้หญิงมากกว่า 80 เซนติเมตร
  2. ไขมันในเลือดชนิดไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) หลังอดอาหารเท่ากับ หรือมากกว่า 150 mg/dL
  3. โคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ต่ำกว่า 40 mg/dL
  4. ความดันเลือด 130/85 ขึ้นไป
  5. น้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (fasting blood sugar) 110 mg/dL ขึ้นไป

ถ้าสังเกตดีๆ... กลุ่มอาการเมทาโบลิคจะมีโรคอ้วนลงพุงเป็นแกนกลาง (ข้อ 1) และมีโรค 3 โรคเป็นบริวารได้แก่

  • ไขมันในเลือด(โคเลสเตอรอล)ผิดปกติ(ข้อ 2-3)
  • ภาวะก่อนความดันเลือดสูง หรือความดันเลือดสูง(ถ้า 140/90 ขึ้นไป / ข้อ 4)
  • ภาวะก่อนเบาหวานหรือเบาหวาน(ข้อ 5)

 

การป้องกันโรคอ้วนลงพุงและกลุ่มอาการเมทาโบลิคอาศัยการออกกำลัง และการควบคุมอาหารร่วมกัน

การศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ชาย 612 คน อายุ 42-60 ปี ติดตามไป 4 ปี พบว่าเป็นกลุ่มอาการเมทาโบลิค 107 คน

ผู้ชายที่ออกกำลังเป็นประจำเทียบเท่าการออกกำลังแรงปานกลาง เช่น เดินเร็ว ฯลฯ หรือออกกำลังอย่างหนัก เช่น วิ่งเหยาะ(จอกกิ้ง) ฯลฯ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ขึ้นไป มีความเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุง และกลุ่มอาการเมทาโบลิคลดลงประมาณครึ่งหนึ่ง

การออกกำลังช่วยอย่างไร...

  • โปรดคลิกที่นี่ เพื่ออ่านต่อตอนที่ 2
  • [ Click - Click ]

ขอแนะนำ...                                                                  

    แหล่งที่มา:                                      

  • Thank > Primed Patient Education Center > Health-e-News. February 2007 > The metabolic syndrome: Therapy > [ Click ] > http://patientedu.org/aspx/HealthELibrary/HealthETopic.aspx?cid=N0706a (จดหมายข่าวไพรเมด วิทยาลัยแพทย์ฮาร์วาร์ดบอกรับได้ฟรีทางอินเตอร์เน็ต)
  • บล็อก "บ้านสุขภาพ" มุ่งส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี + อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ IT
  • ขอขอบพระคุณ > ศูนย์มะเร็งลำปาง + อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์. จัดทำ > 1 มิถุนายน 2550.
หมายเลขบันทึก: 100047เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2007 14:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท