การสัมมนา DW เดือนมิถุนายน (สายที่ 2 : วันที่ 20 มิถุนายน 2549)


การใช้สารชีวภาพนั้น เป็นการใช้ที่เริ่มจากภายใน (จิตใจ/ความต้องการของเจ้าของสวนเอง)

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการนักส่งเสริมการเกษตร ประจำเดือนมิถุนายน (DW) สายที่ 2 
วันที่ 20 มิถุนายน 2549
ณ สวนส้มก้องเจริญ ตำบลบึงสามัคคี กิ่งอำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร
 

          เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน  2549  ได้มีการสัมมนานักส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ ของสายที่2 ซึ่งประกอบไปด้วย นักส่งเสริมการเกษตรจากสำนักงานเกษตรอำเภอขาณุวรลักษบุรี  คลองขลุง  คลองลาน ทรายทองวัฒนา  ปางศิลาทอง และกิ่งอำเภอบึงสามัคคี (เจ้าภาพ)

ภาคเช้า

          เริ่มกระบวนการโดยเกษตรกิ่งอำเภอบึงสามัคคี นายธวัช  ริยาพันธ์  กล่าวต้อนรับและดำเนินการประชุมสัมมนา  หลังจากนั้นได้เริ่มการศึกษาดูงานโดยการเล่าประสบการณ์การทำสวนส้มของคุณสมบูรณ์  เณรตาก้อง และคุณสุบิน  เณรตาก้อง (ลูกชาย) โดยมีการใช้สารสกัดชีวภาพร่วมกับสารเคมี

 
คุณสมบูรณ์  เณรตาก้อง   และคุณสุบิน  เณรตาก้อง เล่าประสบการณ์

          แปลงปลูกส้มเขียวหวานแปลงนี้ มีพื้นที่ประมาณ 450 ไร่  เดิมปลูกอ้อยโรงงานมาก่อน เปลี่ยนมาปลูกส้มเขียวหวานเมื่อปี  2545 เป็นแปลงที่ผ่านการรับรองจากกรมวิชาการว่าเป็นแปลงที่ผลิตส้มเขียวหวานที่ปลอดภัย (GAP) มีการใช้สารสกัดชีวภาพร่วมกับสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงและปุ๋ยน้ำชีวภาพร่วมกับปุ๋ยเคมี

  •    การฝึกทักษะการจับประเด็นและการสกัดองค์ความรู้

ระหว่างการเล่าประสบการณ์ของคุณสมบูรณ์ และคุณสุบิน  เณรตาก้อง   เพื่อนนักส่งเสริมการเกษตรก็ได้ทำการฝึกจับประเด็นเพื่อสกัดองค์ความรู้ที่ได้จากการเล่าเรื่อง วันนี้ คุณภูมิรพี  ขัดเกลา (เสื้อสีเหลือง) จากสำนักงานเกษตรกิ่งอำเภอบึงสามัคคี และคุณสวัลย์  ขาวทอง (เสื้อสีฟ้า) จากสำนักงานเกษตรอำเภอคลองลาน โดยต่างคนต่างจับประเด็นแล้วบันทึกตามที่ตนเองถนัด ขณะเดียวกันคุณสายัณห์ ก็จับประเด็นอยู่อีกคนหนึ่ง เพื่อป้องกันรายละเอียดตกหล่น

ฝึกการจับประเด็น (ใช้ 2 คน)

  •    การศึกษาดูงานแปลงปลูกส้มเขียวหวาน

หลังจากฟังเรื่องเล่าแล้ว คุณสมบูรณ์ และคุณสุบิน ก็ได้นำนักส่งเสริมที่มาร่วมการสัมมนาได้ศึกษาดูแปลงปลูกส้มเขียวหวาน  เพื่อดูผลของการปฏิบัติ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันระหว่างเกษตรกรกับนักส่งเสริมการเกษตรจากอำเภอต่างๆ

<div class="content" style="text-align: center"> 49062227  </div> <div class="content" style="text-align: center">การศึกษาดูแปลงส้มเขียวหวาน</div>

  •  การสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการถอดประสบการณ์

</span><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">หลังจากการศึกษาดูแปลงปลูกส้มเขียวหวานแล้ว  ได้มีการสรุปประเด็นที่ได้จากการถอดประสบการณ์ของคุณสมบูรณ์ และคุณสุบิน เณรตาก้อง  ซึ่งคนที่ขึ้นมานำกระบวนการก็ไม่ใช่ใครที่ไหน ก็คือคุณสวัลย์ ขาวทอง และคุณภูมิรพี ขัดเกลา เพื่อนักส่งเสริมที่เป็นคนจับประเด็นในการฟังเรื่องเล่าในครั้งนี้นั่นเอง</p>  <div style="text-align: center">   </div> <div style="text-align: center">สรุปบทเรียน</div><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center" class="MsoNormal" align="center">  </p>

             สรุปบทเรียนของการศึกษาดูงานในวันนี้ 

</span><ol>

  • สภาพของแปลงปลูกส้มเขียวหวาน มีความหลากหลายทางชีวภาพดี
  • การมาศึกษาสวนนี้  ข้อสังเกตที่พบก็คือจะไม้ได้กลิ่นยาฆ่าแมลง  (สวนอื่นๆจะมีกลิ่นยาฆ่าแมลง)
  • มีการทำการผลิตที่ลดต้นทุน โดยใช้สารชีวภาพ น่าจะทำให้มีความยั่งยืน
  • เปรียบเทียบกับการปลูกส้มบางพื้นที่ มีการเลิกการปลูกแล้ว (เพราะต้นทุนสูง)
  • มีการทดลองของเกษตรกรเจ้าของสวน
  • เป็นแหล่งเรียนรู้ของเกษตรกรทั่วไปได้
  • มีการใช้สารชีวภาพป้องกันกำจัดแมลง โดยการใช้ทีละชนิด (พืชที่นำมาใช้ไล่แมลง) สลับกัน
  • การใช้สารชีวภาพนั้น เป็นการใช้ที่เริ่มจากภายใน (จิตใจ/ความต้องการของเจ้าของสวนเอง)
  • มีการคิด ค้นคว้า จดบันทึก ไว้เป็นหลักฐาน/ข้อมูล
  • </ol><p><div style="text-align: center">490622213</div></p><p>ภาคบ่าย</p><ul><li> การประชุมชี้แจงข้อราชการในภาคบ่าย</li></ul><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">หลังจากการรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันแล้ว เป็นกิจกรรมการประชุม เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจร่วมกันจากตัวแทนของกลุ่มและฝ่ายต่างๆ จากสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p><div style="text-align: center">49062226</div><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="left">                   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="left">วีรยุทธ  สมป่าสัก</p>

    หมายเลขบันทึก: 36670เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2006 11:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (2)
    เรียนพี่สิงห์ป่าสัก... บันทึกเพื่อการเรียนรู้ของพี่ทำให้ผมเพลิดเพลิน ผมชอบการนำเสนอที่มีภาพ การใช้ภาพทำให้บันทึกน่าอ่าน น่าติดตามมากเลยครับ... ผมสังเกตอย่างหนึ่ง ว่า ทางหน่วยงานของพี่มีกิจกรรมที่พัฒนาศักยภาพคนในองค์กรสม่ำเสมอครับ ถือว่าเป็นโอกาสดีที่บุคคลที่เกี่ยวข้องจะได้รับการพัฒนา ยกระดับความรู้ตนเอง และมีการแลกเปลี่ยนความรู้ในวงกว้าง หากให้หลายๆคนในทีมงานมาเขียนบันทึกเพื่อ แลกเปลี่ยนใน Gotoknow ก็จะเกิดประโยชน์มากเลยครับ...ผมสงสัยว่า GAP นี่คืออะไร และรายละเอียดเป็นอย่างไร ผลิตผลที่ได้เราเรียกว่า "ปลอดัยจากสารพิษ" ใช่มั้ยครับ แต่ไม่ใช่ "ส้มอินทรีย์" ผมเข้าใจถูกมั้ยครับ

    เรียน คุณจตุพร

    • ขอบพระคุณสำหรับการติดตามอ่านและให้กำลังใจเสมอมา
    • ผมก็ชอบการใช้ภาพเป็นตัวเดินเรื่องครับ เพราะมีความชัดเจน/เป็นข้อมูลที่เป็นสถานการณ์การเรียนรู้จริง
    • กำลังค่อยๆ พัฒนาและถ่ายทอดสู่คนในองค์กร เพราะเราไม่คุ้นชินกับการเขียนครับ
    • ที่คุณจตุพรเข้าใจว่าเป็น"ปลอดภัยจากสารพิษ" นั้นถูกต้องแล้วครับ ไม่ได้ห้ามการใช้สารเคมี แต่ต้องใช้อย่างถูกต้อง และเก็บเกี่ยวในระยะที่ปลอดภัยแล้วครับ
    • GAP คือ การผลิตทางการเกษตรอย่างถูกต้องและเหมาะสม
      (Good Agricultural Practice:GAP) รับรองโดยกรมวิชาการเกษตรครับ (รับรองกระบวนการผลิต)
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท