แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

โยคะสำหรับหัวเข่า ช่วยให้หัวเข่าของคุณยืดหยุ่นและแข็งแรง


  <table style="margin: 2px; padding: 2px; width: 646px; height: 1px;" border="0"><tbody><tr style="margin: 0px; padding: 0px;"> <td style="margin: 2px; padding: 2px; text-align: left; vertical-align: top;">

</td> <td style="text-align: right; margin: 2px; vertical-align: top; padding: 2px;">
เว็บศูนย์รวม “โยคะสารัตถะ”
</td> </tr></tbody></table><p></p> <h2 style="text-align: center;">โยคะสำหรับหัวเข่า
ช่วยให้หัวเข่าของคุณยืดหยุ่นและแข็งแรง
</h2>

 

ณัฏฐ์วรดี ศิริกุลภัทรศรี ศันสนีย์ นิรามิษ
(เข้าอ่านบทความของนักเขียนที่นี่)

อ้างอิงข้อมูลจาก ; โยคะสารัตถะ ฉบับเดือนมีนาคม ๒๕๒๒

          เพราะหัวเข่าอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางของขาคนเรา จึงมีหน้าที่พยุงตัวและเคลื่อนไหว หัวเข่าประกอบไปด้วยกระดูก, เอ็นยึดระหว่างกระดูกกับกระดูก, เอ็นยึดระหว่างกล้ามเนื้อกับกระดูก และกระดูกอ่อน หัวเข่าเป็นอวัยวะที่รับรู้ความรู้สึกได้ไวและมีความเสี่ยงในการวางตำแหน่ง หากกระดูกและข้อต่อไม่แข็งแรง การบาดเจ็บของหัวเข่าเกิดจากการทำกิจกรรมที่ใช้กำลังอย่างมาก เช่น การเล่นกีฬาต่างๆทำให้เป็นโรคปวดข้อหรือโรคข้อกระดูกอักเสบ ซึ่งเป็นรูปแบบปกติของผู้เป็นโรคข้อต่ออักเสบ อาการบวมอักเสบของข้อต่อ, ตึง, เคล็ดขัดยอก และเอ็นอักเสบเป็นอาการปกติของผู้บาดเจ็บหัวเข่า ซึ่งจะมีอาการบวมและบาดเจ็บของเอ็นกล้ามเนื้อ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บเหล่านี้ ควรจะทำการอบอุ่นร่างกายทั้งก่อนและหลังทำกิจกรรม เพื่อให้กล้ามเนื้อยืดตัวได้ดีระหว่างทำกิจกรรมต่างๆ อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดความเสี่ยงคือการมีน้ำหนักตัวหรืออ้วนมากเกินไป สำหรับนักกีฬาแล้วอาการบาดเจ็บที่หัวเข่าเป็นสาเหตุให้ต้องหยุดเล่น เพราะข้อต่อของการเคลื่อนไหวเป็นส่วนสำคัญในการเล่นกีฬาทุกประเภท มันอาจจะต้องใช้เวลา 3 อาทิตย์ถึง 6 เดือนในการฟื้นฟูก่อนที่หัวเข่าจะกลับมาใช้ได้อีกครั้ง
          การรักษาอาการบาดเจ็บของหัวเข่านั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการบาดเจ็บที่เกิดขึ้น บางครั้งอาจใช้แค่ยาผ่อนคลายความปวด, กายภาพบำบัด หรือโปรแกรมออกกำลังกาย ในขณะที่หากอาการบาดเจ็บรุนแรงมาก อาจจำเป็นต้องใช้การผ่าตัดหัวเข่าในการรักษา โยคะเป็นอีกหนึ่งวิธีในการรักษาการบาดเจ็บของหัวเข่า ซึ่งมีดังต่อไปนี้

  • อาสนะ - ช่วยในการกลับคืนความยืดหยุ่นของข้อต่อ และทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น
  • ท่าฝึกต่างๆ - ถ้าฝึกด้วยความรู้สึกตัวขณะจัดวางตำแหน่งของกระดูกและข้อต่อขาแล้ว จะช่วยให้หัวเข่าแข็งแรงขึ้นและลดอาการบาดเจ็บน้อยลง

          ควรระลึกไว้ว่าการทำกิจกรรมขณะที่บาดเจ็บนั้นไม่ใช่วิธีการบำบัดที่ดี ควรฝึกโยคะระหว่างการฟื้นฟูรักษาเท่านั้น และไม่ควรฝึกขณะที่เพิ่งได้รับบาดเจ็บ การฝึกโยคะเป็นเพียงแนวทางในการฟื้นฟูและพัฒนาความแข็งแรงให้หัวเข่าของคุณ ผู้มีปัญหาควรปรึกษาแพทย์ก่อนฝึกโยคะ
          ท่าอาสนะต่อไปนี้เป็นท่าที่เหมาะกับหัวเข่า ช่วยให้หัวเข่าแข็งแรงมากขึ้น, ยืดหยุ่นขึ้น และลดแนวโน้มการบาดเจ็บ

ท่าศพ (Savasana)



ท่าศพเป็นท่าผ่อนคลายตามรูปแบบดั้งเดิม และสามารถฝึกก่อนหรือระหว่างที่ฝึกท่าได้เช่นเดียวกับการผ่อนคลายในช่วงสุดท้ายหลังฝึก ท่านี้มองดูแล้วเหมือนจะง่าย แต่ในความเป็นจริงแล้วยากในการฝึก

 

 ท่านอนหน้าผากจรดหัวเข่า (Pavanamuktasana)



คำว่า Pavanamuktasana มาจากภาษาสันสกฤต คำว่า ‘Pavana' หมายถึง อากาศหรือลม ส่วน ‘Mukta' แปลว่า อิสระหรือปลดปล่อย ท่านี้มีผลสำคัญกับระบบย่อยอาหาร โดยเฉพาะจะช่วยกำจัดแก๊สในช่องท้องด้วย

 

ท่ายืนเหยียดขาพับตัว (Stand Spread Leg Forward Fold)



การฝึกท่ายืนเหยียดขาพับตัวช่วยเพิ่มกำลังและเหยียดจากกล้ามเนื้อด้านในและด้านหลังของขาและกระดูกสันหลังของคุณ ผู้ที่มีปัญหากับด้านหลังช่วงล่างไม่ควรฝึกแบบเต็มท่า สำหรับผู้เริ่มต้นอาจใช้อุปกรณ์ช่วยเช่นเก้าอี้พับเพื่อรองแขนบริเวณระหว่างข้อศอกกับข้อมือ 

 

ท่าตรีโกณ (Trikonasana)



ในศาสตร์ของฮินดู สามเหลี่ยมคือสัญลักษณ์ที่มีอำนาจสำหรับพระเจ้า และยังพบบ่อยในยันตราและมันดาลา (The Yantras and Mandalas) ใช้สำหรับการทำสมาธิ

 

ท่างู (Bhujangasana)

ท่านี้พัฒนาความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลังและเพิ่มกำลังให้กับกล้ามเนื้อแขนและหลัง ยังช่วยบรรเทาการมีประจำเดือนแบบไม่ปกติและอาการท้องผูกอีกด้วย

 

ท่ายกขาข้างเดียว (Single Leg Raises)

 


ท่านี้เป็นท่าเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนฝึกท่าอื่น เป็นท่าที่มีประโยชน์แก่ขา, กล้ามเนื้อหลังช่วงล่าง และบริเวณหน้าท้อง การฝึกยกขาข้างเดียวทำได้โดยยกขาข้างเดียวขึ้น ขณะที่ขาอีกข้างคงอยู่บนพื้น

 

ท่าตั๊กแตน (Salabhasana)


ถ้าท่างูฝึกด้วยการใช้หลังช่วงบนเป็นหลัก จุดมุ่งหมายของท่าตั๊กแตนจะอยู่ที่หลังช่วงล่าง ท่านี้เพิ่มกำลังที่ช่วงท้อง, แขน และขา อีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ท่านี้แตกต่างจากท่าอื่นคือการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว

 

ท่าผ่อนคลาย

 ขั้นแรกของการฝึกโยคะคือการเรียนรู้การผ่อนคลายของร่างกายและจิตใจ บทความนี้ช่วยให้คุณรู้ว่าทำไมการผ่อนคลายถึงจำเป็นต่อการฝึกโยคะ และเรียนรู้การฝึกท่าศพและท่าอื่นๆสำหรับฝึกร่างกาย จิตใจ ไปพร้อมกับความรู้สึกที่ผ่อนคลาย



มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1  ถนนรามคำแหง  แขวงหัวหมาก  
เขตบางกะปิ  กรุงเทพฯ  10240  
โทรศัพท์  02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744 ; 
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

 .....

หมายเลขบันทึก: 253206เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2009 02:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท