เมื่อ...หัวข้อวิจัย"อิ่มตัวแล้ว"


อ่านหัวข้อวิจัยเกี่ยวกับเบาหวาน อิ่มตัวแล้ว!! ของท่านอาจารย์ วัลลา ตันตโยทัย ได้กรุณาเขียนเล่าไว้ แล้วแปลกใจ

เพราะผมเชื่อว่า หัวข้อวิจัยใด ๆ ไม่เคยอิ่มตัว ครับ...

แต่...

...ตลาดสำหรับการตีพิมพ์ อิ่มตัวได้...

...คนที่ทำ รู้สึก "อิ่มถึงคอ"ได้...

...ความรู้สึกว่า "ทำไปก็ไม่คุ้ม" เกิดขึ้นได้...

...ความรู้สึกว่าตัวเอง "รู้ไม่ลึกพอ" ..เกิดขึ้นได้..

...ความรู้สึกว่า "ตัวเองไม่พร้อมสำหรับเรื่องนี้"..เกิดขึ้นได้

ถ้าคิดว่า ทำต่อ ก็ไม่คุ้ม แล้วจะถอย ก็คงไม่มีใครใส่ใจอะไรนัก

ไม่ใช่เรื่องแปลก

ใน 36 กลยุทธของพิชัยสงครามจีน การรู้จักถอย ก็เป็นสุดยอดกลยุทธ ที่เก็บไว้ใช้ได้ เป็นทางเลือกสุดท้าย

แต่ความล้ำลึกของความจริง ที่แสวงหาผ่านการวิจัย ผมไม่คาดว่าใครจะกล้าประกาศตัวว่า "หยั่งถึงก้นบึ้งของมันแล้ว" 

ผมเคยเล่าเรื่องเมื่อใช้ไวโอลินเล่นเชลโล ไว้ ซึ่งให้บทเรียนแก่นักดนตรีไว้บทหนึ่ง ว่า "ความจริงที่ลึกล้ำสุดหยั่งคาด สามารถซ่อนตัวอยู่ตรงหน้าเราได้นานกว่าที่เราจะกล้าเชื่อ"

 

 

คำสำคัญ (Tags): #วิจัย#ความจริง
หมายเลขบันทึก: 75796เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2007 17:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เยาวชนไทยยังขาดทักษะในการคิดโจทย์วิจัยหรือโจทย์ในการพัฒนาแนวคิดใหม่ๆ ค่ะ

การฝึกเขียน ฝึกอ่าน และ ฝึกฟัง จะเป็นตัวช่วยในการฝึกคิดที่ดีค่ะ

ขอบคุณอาจารย์จันทวรรณครับ...

  • ขาดทักษะ ก็มีส่วน
  • แต่ขาดทักษะ ไม่น่าห่วง
  • เรียน-ฝึกกันได้ ไอคิวระดับนั้นแล้ว
  • แต่ที่ขาด มักขาดทัศนคติว่า "โลกนี้ มีความจริงที่ลึกล้ำสุดหยั่งคาด รอเราอยู่ทุกย่างก้าว"
  • บางที..ที่เราขาดหนักหนา คือขาด "ความสามารถสงสัย"
  • ผมยัง สงสัย อยู่เหมือนกัน ว่า ความสามารถสงสัย เป็นสิ่งที่สอนกันได้หรือเปล่า..
  • ไม่รู้เป็นเพราะเด็กเดี๋ยวนี้โตมากับการกวดวิชาตาบ๊องแบ๊วอยู่หน้าจอวีดิโอหรือเปล่า...ที่ทำลายมิติด้านลึกของเด็กไทยไปหมด

ผมเองก็ไม่เคยทำวิจัยเสียด้วยสิ

ถ้าผมต้องทำนะ ผมจะทำสิ่งที่คนคิดว่าเป็นไปไม่ได้ ให้มันเป็นไปได้ ถึงจะไม่ได้ 100% แต่ให้มันได้เป็นรูปเป็นร่าง เป็นพื้นให้คนอื่นมาสานต่อ ก็ประสบความสำเร็จแล้ว 

ขอขอบคุณอาจารย์ wwibul...

  • จริงครับ...
  • ทักษะฝึกกันได้
  • แม้ความ "กล้าคิด" ก็งอกงามได้... ถ้ากล้าเพาะเมล็ดพันธุ์

 

สวัสดีค่ะอาจารย์ทุกท่าน

พอดีได้อ่านข้อความคิดเห็นของอาจารย์แต่ละท่านแล้วเห็นด้วย...แต่ปัญหาที่พบสำหรับผู้ที่มีหน้าที่ปฏิบัติงานในคลินิกเบาหวานนั้น...ไม่ใช่ทักษะด้านความสามารถสงสัยเพียงอย่างเดียวแต่มีปัญหาด้านการเข้าถึงข้อมูลวิชาการที่ถูกต้อง  Update สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง...ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ผู้ปฏิบัติพบเจอบ่อยๆ...และที่สำคัญการเริ่มต้นวิจัยเรื่องเบาหวานกลับกลายเป็นเรื่องไม่น่าสนใจสำหรับบางคน...ซึ่งบางครั้งอาจทำให้ต้องเปลี่ยนประเด็นหรือหัวข้อในการทำวิจัยค่ะ...

 

คุณ wanicha ครับ...

  • เรื่องความรู้สึกน่าสนใจ เป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ใช่เรื่องผิดปรกติ
  • ส่วนการเข้าถึงข้อมุลวิชาการ ปัจจุบันจะมีทั้งข้อมูลประเภทงานวิจัยที่เป็น "open access" คือ download ตรงมาอ่านได้ ไม่ต้องจ่ายเงิน ซึ่งแม้ไม่ครบถ้วนนัก แต่ผมเชื่อว่ามากพอสำหรับการใช้งานแบบเข้มข้น หรือในกรณีที่ต้องการสรุปอย่างย่อ และรวดเร็ว ก็อาจไปใช้บริการของ guidelines ที่ www.sign.ac.uk (มี Guideline เบาหวาน ด้วย) หรือ guideline.gov ซึ่งเข้าถึงง่าย
  • ปัญหาจึงอาจไม่ได้อยู่ที่การเข้าถึงเอกสาร แต่อาจอยู่ที่ภาษา...

 

คุณ wanicha ลองอ่านบันทึกนี้ดูนะคะ อาจได้ช่องทาง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท