บทบาทการเรียน การสอน e-Learning ในประเทศไทย


บทบาทการเรียน การสอน e-Learning ในประเทศไทย

 

บทบาทการเรียน การสอน e-Learning ในประเทศไทย

             สังคม เทคโนโลยีสารสนเทศ IT (Information Technology) ได้มีวิวัฒนาการและ การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ตามลำดับ ขณะนี้ก็จะมีวิถี ของการพั ฒนาการเปลี่ยน แปลงไปอย่างรวดเร็วและซับ ซ้อนมากกว่ายุคใดๆที่ผ่าน มา ซึ่งทั้งนี้ต้องระดม สมอง สรรพกำลังทั้งมวลเพื่อที่จะให้เกิดการพัฒนา ประเทศ เพื่อการ เตรียมความ พร้อมสำหรับการแข่งขันในเวทีโลก ประเทศไทยได้ เตรียมความพร้อม เข้าสู่ศตวรรษที่ 21 แล้ว โดยมีการปรับเปลี่ยน เทคโนโลยีโดยเฉพาะเทคโนโลยี สารสนเทศที่มีผลต่อภาคธุรกิจการศึกษา สังคม ซึ่งเน้นการให้ความสะดวกในด้านการบริหารจัดการ และให้เกิด ความคล่องตัวต่อ การดำเนินงานไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน จึงได้วางนโยบาย e-Thailand ขึ้น เพื่อเปิดประตูสู่การพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ได้เน้นนโยบายหลักทางด้าน สังคมเพื่อลด ช่องว่างทางสังคม เปิดเสรีทางการค้าอิเล็กทรอนิกส์ นโยบายระหว่าง ประเทศ ผลัก ดันโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ หนึ่งในนโยบายของ e-Thailand คือการส่งเสริมพัฒนาสังคม สิ่งที่ควรจะคำนึงถึง ก็คือ e-Education เป็นการให้ การศึกษาแก่มนุษย์ให้มีความรู้ความสามารถในด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำมาปรับใช้ในทุกส่วนงานในวงการไอทีซึ่งมี การนำ หลักการ 2 ประเภทใหญ่ๆดังนี้คือ

              e-MIS ด้านการบริหารงาน เป็นการนำไปใช้ ด้านการบริหารงานและการจัดการ ศึกษา เน้นด้านการจัด พิมพ์ เอกสาร ทำฐานข้อมูล การประมวลผล เพื่อจัดทำสารสนเทศทาง การ ศึกษา สำหรับการประกอปการตัดสินใจของผู้บริหารในทุกระดับ
             e- Learning เป็นการนำไอทีไปใช้ในด้านการส่งเสริมประสิทธิภาพด้านการ เรียนการ สอนใน หลากหลายรูปแบบ เช่น การนำมัลติมีเดียมาใช้เป็นสื่อการสอนของครู/ อาจารย์ให้ นักเรียนเรียนรู้ค้นคว้าด้วยตนเอง ด้วยการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเตอร์ เน็ตการเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม การนำไอทีมาใช้เพื่อการ เรียนการ สอนของ e-Learning ในยุคปัจจุบัน เป็นการใช้ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทั้งที่เป็น เครื่องเดียวเรียกว่า stand-alone หรือการเรียก ผ่านเครือข่ายเชื่อมโยงสู่ อินเตอร์เน็ต เพื่อการ ค้นคว้าหาข้อมูลแลกเปลี่ยนความรู้ บนเครือข่ายซึ่งที่ผ่านมาเรา ใช้สื่อการเรียนการสอนในรูปแบบของสื่อ ประสม (Multimedia) ใช้ในการนำเสนอลงบนแผ่นซีดี-รอมโดยใช้ Authoring Tool ทั้ง ภาพและเสียงเพื่อเกิดการปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ให้กับผู้เรียนซึ่ง สื่อ เหล่านี้มี แนวโน้มที่จะได้รับความสนใจสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ปัญหาที่ประสบก็ คือเนื้อหา ที่มีอยู่ไม่ ตรงตามหลักสูตรการศึกษานอกจากนี้ยังมีการละเมิดลิขสิทธิ์ทำ ให้ผู้ผลิต ไม่ สามารถพัฒนาสื่อได้อย่างมีคุณภาพ ในระยะแรกๆเราได้มีการใช้สื่อ ใน หลายประเภทเพื่อการติดต่อรับ-ส่งข้อมูลทาง ด้านการศึกษาที่เรียกว่า การเรียนทางไกล แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

              - การเรียนการสอนทางไปรษณีย์ ถือว่าเป็นยุคแรกเริ่มของการเรียนการสอนทาง ไกล มีการับ-ส่งบทเรียนผ่านทางไปรษณีย์ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลามาก ใน การ ติดต่อกันแต่ละครั้ง จึงเป็นอุปสรรคอย่างมากในการเรียนรู้เพราะเอกสาร อาจสูญ หายระหว่าง ทางได้

              - การเรียนการสอนผ่านทางวิทยุ กระจายเสียง เรามีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการ ศึกษา เป็นเครื่องมือที่เชื่อมต่อไปยัง ภูมิภาคทั้งที่เป็นของกระทรวงศึกษาธิการ ทบวง มหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาหลายแห่ง

              - การเรียนการสอนผ่านทาง โทรทัศน์และเครือข่ายดาวเทียมของกรมการศึกษา นอก โรงเรียน กรมสามัญศึกษาที่ร่วมกับมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาว เทียม ไทย คม สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ที่กล่าวมาทั้ง หมดนี้เป็น วิธีการของการเรียนการสอนที่เราเคยใช้กันมา จนถึง ปัจจุบันก็ยังมีการ ใช้อยู่ แต่ด้วยปัจจุบันไอทีเข้ามามีบทบาทอย่าง มาก เราสามารถ ติดต่อกับคน ทั้งโลก สามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลได้เพียงปลาย นิ้วสัมผัสบนเครือ ข่ายอินเตอร์ เน็ต เป็นขุมความรู้อันมหาศาล ด้วยวิทยาการเพื่อใช้ในการ พัฒนาองค์ ความ รู้ อันเป็นแหล่งทรัพยากรที่เปี่ยมด้วยคุณค่ามากมาย ดังนั้นการปรับ รูป แบบ การเรียนการสอนในรูปแบบ e-Learning จึงเกิดขึ้น อีกทั้งพระราช บัญญัติ การ ศึกษาแห่งชาติยังสนับสนุนการเรียนการสอนแบบนี้อีกด้วย

              e-Learning เป็นการเรียนการสอนผ่านทางคอมพิวเตอร์และเครือข่าย อินเตอร์เน็ตการ ศึกษาที่ นิยมกันมากในขณะนี้คือ Web Base Learning การ เรียนแบบนี้ ผู้เรียนสามารถ เรียนที่ไหนก็ได้ เวลาใดก็ได้ไม่มีข้อ จำกัด รูปแบบการ เรียนการสอน การเรียนการสอนทางไกล (Distance Education) เป็นการเรียนการสอน ที่ ประยุกต์เทคโนโลยีหลายๆอย่าง เช่น ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การ ประชุมทาง ไกลชนิดภาพและเสียง รวมถึงเอกสารต่างๆเพื่อเข้าถึงผู้เรียนที่อยู่ห่าง ไกล แบบมหาวิทยาลัยออนไลน์ เรียกว่า Online University หรือ Virtual University* เป็นระบบการเรียนการสอนที่อยู่บนเครือ ข่ายใน รูปเว็บเพจ มีการสร้างกระดาน ถาม-ตอบ อิเล็กทรอนิกส์ (Web Board) การเรียนการ สอนผ่านทางอินเทอร์เน็ตและเว็บเพจ (Online Learning, Internet Web Base Education) เป็นการนำเสนอ เนื้อหาและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน และผู้สอนโดยเน้นสื่อประสมหลายๆอย่างเข้าด้วยกัน มีการสร้างสภาวะ แวดล้อมที่ ประสานงานกัน ให้ผู้เรียนและผู้สอนเข้าถึง ฐานข้อมูลหลายชนิดได้ โดยผู้ เรียน ต้องควบคุมจังหวะการเรียนรู้ด้วยตนเองให้เป็น และเลือก เวลา สถานที่ใน การเรียน รู้ โครงข่ายการเรียนการสอนแบบอะซิงโครนัส (Asynchronous Learning Network: ALN) เป็นการเรียนการสอนที่ต้องมีการติดตามผล ระหว่างผู้เรียนกับผู้ สอน โดยใช้การทดสอบบทเรียน เป็นตัวโต้ตอบ เครื่องมือช่วยเหลือการ เรียน การสอนแบบ e-Learning เทคโนโลยีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอิน เทอร์เน็ตจะ ช่วยให้การเรียนการ สอนแบบ e-Learning ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด เรา สามารถนำซอฟแวร์ที่ เกี่ยว ข้องกับการเขียนเว็บเพจ การส่งอีเมล การใช้ Search Engine Newsgroup การ ใช้ http, ftp หรือ โปรแกรมทางด้าน Authoring Tool เช่น FrontPage, Macromedia Dreamweaver เป็นต้น การสร้าง Web Board ไว้ถาม- ตอบ สิ่งที่ควร คำนึงถึงการเรียนการสอนแบบ e-Learning ในบ้านเราก็คือ คน องค์ ประกอบที่สำคัญที่จะทำให้รูปแบบ พัฒนาไปในทิศทางใด จากกรณีศึกษาโรงเรียน จิตรลดา ผู้ช่วยอาจารย์ ใหญ่ฝ่ายประถมศึกษา อาจารย์มีนา รอดคล้าย บอกว่า ระยะแรกๆต้องให้ความรู้ทางเทคโนโลยี แก่บุคลากร โดยเฉพาะผู้บริหาร ต้องให้ ท่านเห็นความสำคัญและเข้าใจในเทคโนโลยี ว่าไม่ได้ยาก อำนวย ความสะดวก สบายให้เราอย่างไร เป็นต้น อันดับต่อมาก็คือ ผู้ พัฒนาหลักสูตรและ เนื้อหาวิชา ผู้ พัฒนาระบบ ผู้ช่วยสอนและที่ปรึกษาทางการเรียน ประโยชน์ที่ได้รับ เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน โดยใช้สื่ออุปกรณ์ และคลังความรู้ที่มี อยู่บน อินเตอร์เน็ต เพื่อสนับสนุน การเรียนการสอนของครูและนักเรียน เกิด เครือข่ายความรู้ ที่สามารถแลกเปลี่ยนความรู้และวัฒนธรรมซึ่งกันและ กันบน อินเตอร์เน็ต ข้อมูลจะมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ สะดวกและรวด เร็ว ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สามารถสืบค้นวิชาความรู้ไดด้วย ตนเอง โดยมีการให้ คำ ปรึกษาและชี้แนะโดยครู/อาจารย์ ลดช่องว่างระหว่างการ ศึกษาในเมือง และชนบท สร้างความเท่าเทียมกันและ กระจายโอกาสทางการศึกษาให้ เด็กชนบทได้ รู้เท่าทัน เพื่อสนับสนุนนโยบายและ การพัฒนาระบบเทคโนโลยีการศึกษา และเครือ ข่ายสารสนเทศ เพื่อความสอด คล้องและสนับสนุน การปฏิรูปการศึกษา ตาม พ.ร.บ.การ ศึกษาแห่งชาติ พ. ศ.2542

 

นำเสนอบทความโดย กองบรรณาธิการ สาร NECTEC

 

หมายเลขบันทึก: 213250เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2008 15:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท