แบบใดจะดังกว่า?


จากนั้นลองถามว่าถ้าทดลองอย่างที่นักเรียนว่ามานี้ อะไรคือตัวแปรต้น อะไรคือตัวแปรตาม เสียงพูดต้องดังเท่ากันทุกครั้งมั้ย คนพูดน่าจะเป็นคนเดียวกันมั้ย คนฟังล่ะ? ผลัดกันฟังหรือฟังด้วยคนคนเดียวจะดีกว่า ผมใช้คำถามเหล่านี้ ซักซ้อมการควบคุมตัวแปร ในการทดลองที่นักเรียนแต่ละกลุ่มจะต้องทำต่อไป เพื่อพิสูจน์ความคิดตัวเอง

สักสองสัปดาห์ก่อน สอนชั้น ม.1 กลุ่มวิชาเลือก สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม วิชา เริ่มต้นโครงงานวิทยาศาสตร์ จุดประสงค์เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้วิธีการและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นการปูพื้นฐานให้นักเรียนสามารถคิดและลงมือทำโครงงานวิทยาศาสตร์ได้ด้วยตนเอง

วันนี้นักเรียนเตรียมอุปกรณ์อะไรก็ได้ ที่จะนำมาใช้ในการทำโทรศัพท์อย่างง่าย ซึ่งผมบอกให้นักเรียนเตรียมล่วงหน้า ตั้งแต่เมื่อเรียนสัปดาห์ที่แล้วแล้ว ผมสังเกตเห็นนักเรียนเตรียมเชือกฟางบ้าง ด้ายบ้าง เส้นเอ็นบ้าง ถ้วยโฟมบ้าง แก้วพลาสติกบ้าง ฯลฯ ค่อนข้างจะพร้อมเพรียง มีบางกลุ่ม บางคน ที่ไม่ค่อยรับผิดชอบ ค่อยๆเตือนบ้าง ดุบ้าง ลงโทษบ้าง คงอย่างนี้แหละ นักเรียนเรา..ความแตกต่างมีจริง

ผมตั้งคำถามกับนักเรียน“โทรศัพท์ที่เรากำลังจะทำกัน อะไรบ้างที่จะทำให้มีเสียงดังชัดเจน...ดังกว่า?นักเรียนช่วยกันคิด และช่วยกันตอบ ความยาวของสายโทรศัพท์ ความตึงของสายโทรศัพท์ ชนิดของสายโทรศัพท์ ชนิดของหูฟัง ขนาดของหูฟัง ฯลฯ

“จะต้องทดลองอย่างไร เพื่อพิสูจน์ว่าที่เราคิดนั้นเป็นจริง” ผมยกตัวอย่างคำตอบของนักเรียนคนหนึ่งซึ่งบอกว่า โทรศัพท์จะดังชัดเจนกว่า เพราะชนิดของหูฟัง มาให้นักเรียนทั้งชั้นช่วยกันออกแบบการทดลอง

จากนั้นลองถามว่าถ้าทดลองอย่างที่นักเรียนว่ามานี้ อะไรคือตัวแปรต้น อะไรคือตัวแปรตาม เสียงพูดต้องดังเท่ากันทุกครั้งมั้ย คนพูดน่าจะเป็นคนเดียวกันมั้ย คนฟังล่ะ? ผลัดกันฟังหรือฟังด้วยคนคนเดียวจะดีกว่า ผมใช้คำถามเหล่านี้ ซักซ้อมการควบคุมตัวแปร ในการทดลองที่นักเรียนแต่ละกลุ่มจะต้องทำต่อไป เพื่อพิสูจน์ความคิดตัวเอง

ผมใช้วิธีพวกนี้หรือคล้ายๆกันนี้ สอนนักเรียนกลุ่มนี้ มาจนเกือบครบปีการศึกษาแล้วครับ เหลือไม่ถึงเดือนเอง... สำหรับการเรียนวิชานี้ครั้งล่าสุด เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ผมอดชื่นชมนักเรียนทุกคนในชั้นดังๆ ต่อหน้า ด้วยความจริงใจ(มิใช่เป็นแค่การให้กำลังใจ)ไม่ได้ว่า“นักเรียนรู้จักตัวแปรดีขึ้นมากเลย การทดลองที่นักเรียนช่วยกันคิดขึ้นมา ถูกต้องเกือบทั้งหมด”

หมายเลขบันทึก: 239718เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2009 22:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

กิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยการทดลอง ขาดกันไม่ได้เลยคะ..เด็กๆ เรียนรู้ได้เร็ว ดูเด็กๆมีความสุขกับการเรียนมากคะ ชื่นชมกิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบนี้คะ

  • สวัสดีค่ะ
  • กิจกรรมนี้ สมัยเด็ก ๆ ชอบมากสนุกดี
  • ไม่น่าเชื่อยังคงใช้ได้ดีในปัจจุบัน สมัยก่อนใช้กระป๋องนมค่ะ
  • ขอให้มีความสุขนะคะ
  • นำมุมมองความรักมาฝากให้คิดในเดือนแห่งความรักค่ะ

  • ใช่ครับ!..เด็กมีความสุขกับการเรียนอย่างนี้
  • ขอบคุณครูแอนครับ
  • ยังใช้ได้ครับ..เด็กๆ สนุก เพลิน(เล่นปนเรียน)
  • ขอบคุณ lovefull ครับ

ในสมัยผม ก็ใช้กระป๋องเหมือนกันครับ ยังจำได้กระป๋องนมตราเรือใบ ขอบคุณครับ

  • จำแม่นครับ..กระป๋องนมตราเรือใบ !
  • ขอบคุณ Col.boonyarit ที่เข้ามาเยี่ยมชมและร่วมแสดงความคิดเห็นครับ

สวัสดีค่ะครูธนิตย์

  • บทความนี้ ทำให้นึกถึงตอนเรียนวิทย์ฯสมัยเด็กๆเลยค่ะ
  • วิทยาศาสตร์มีอะไรที่น่าติดตามและค้นหา ทำให้ชอบเรียนการทดลอง สนุกและมีเหตุมีผล
  • ตอนเด็กก็ใช้แก้วกระดาษเจาะรูร้อยเชือกเป็นโทรศัพท์ ทดลองกัน
  • ดูนักเรียนของอาจารย์น่ารัก...และสนุกกับการเรียนจังค่ะ.
  • คนสอนเก่งก็อย่างนี้แหละ...
  • แวะมาเยี่ยมค่ะ.

                                            

  • ถ้านักเรียนได้ลงมือทำเอง ทดลองเอง..จะสนใจดีครับ
  • ขอบคุณผึ้งงานครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

น่าสนุกดีจัง ตอนเด็กๆ ก็เคยทำโทรศัพท์เล่นในชั่วโมงวิทยาศาสตร์ค่ะ

สมัยดาวใช้แก้วโค้กที่เป็นเหมือนเทียนเคลือบน่ะค่ะ...เกิดไม่ทันกระป๋องนมตราเรือใบ อิอิ

ว้าว เด็กๆ ต้องรื้อโต๊ะกันแบบใช้พื้นที่เต็มที่เลย หนุกหนานนะคะ สมัยโน้นปูใช้กระป๋องนม ชัดเจน แจ๋วดังรอบทิศค่ะ 5 5 ว๗

เเล้วควรใช้หูฟังเป็นอะไรดีคะ กระป๋องนมข้นหวานหรือเเก้วพลาสติก??

ใช้ตัวกลางอะไรเสียงถึงผ่านได้ดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท