Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

อุปนิสัยที่ 4 คิดแบบ ชนะ - ชนะ (Think win - win)


อุปนิสัยของผลประโยชน์ร่วมกัน (ใจกว้าง ไม่คิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตัว ยินดีต่อความสำเร็จของผู้อื่น)

หลักทัศนคติที่ดีในการดำเนินชีวิตหรือทัศนคติเชิงบวก (Positive  Attitude)

 เป็นเรื่องของทัศนคติในการทำงานและการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น มีแนวคิดว่า ถ้าครอบครัวได้ เราก็ได้ด้วย ถ้าองค์กรได้ เราก็ได้ด้วย แนวคิดเช่นนี้ทำให้เกิดความร่วมมือกัน แต่ถ้ามีความคิดแบบตนเองชนะ คนอื่นแพ้ ก็จะเกิดความขัดแย้งและการแข่งขันกัน

แนวคิดแบบชนะ - ชนะ เป็นแนวคิดในการแสวงหาผลประโยชน์ร่วมกัน ให้ความร่วมมือกัน  มีข้อตกลงหรือการแก้ปัญหาต่าง ๆ เป็นไปเพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ ไม่ใช่การแข่งขันชิงดีชิงเด่นกัน จึงเป็นเรื่องของทัศนคติเชิงบวกในการทำงานและการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น

แนวคิดชนะ- ชนะ  วางอยู่บนพื้นฐานของกรอบความคิดที่ว่า ยังมีที่ว่างสำหรับทุกคน ความสำเร็จของคนคนหนึ่งไม่ได้หมายความว่าจะต้องทำให้อีกคนหนึ่งล้มเหลวเสมอไปอุปนิสัยที่ 4 นี้ ต้องอาศัยความเป็นผู้นำอย่างมาก ผู้นำที่ดีนั้นต้องมองการณ์ไกล มีความคิดริเริ่ม กล้าตัดสินใจและมั่นคง นำทางได้ มีภูมิปัญญาและอำนาจซึ่งมาจากการเป็นคนที่เคร่งครัดในระเบียบวินัย  นอกจากนี้ ผู้เขียนยังได้กล่าวถึงแก่นแท้ของอุปนิสัย 3 อย่างที่จำเป็นต่อ กรอบความคิดแบบชนะ - ชนะ ได้แก่ ความซื่อตรง ความเป็นผู้ใหญ่ และความมีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

คนส่วนใหญ่จะคิดแบบว่า เราชนะนายแพ้ หรือเรายอมแพ้ให้นายชนะ หรือ เราไม่ได้นายก็ต้องไม่ได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่า มีความสูญเสียเกิดขึ้น  ดังนั้น   ทัศนคติแบบ ชนะ-ชนะ บอกไว้ว่า เรามีทางเลือกเสมอ และมีทางออกที่ดีสำหรับทั้งสองฝ่าย  คนที่มีแนวคิดแบบ win win นี้ต้องคุณลักษณะคือ ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น มีความน้ำใจ ใจกว้าง และมีวุฒิภาวะที่ดี

ในการลงมือทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย ให้แสวงหาผลประโยชน์สูงสุดที่เห็นพ้องต้องกันและการยอมรับในผลลัพธ์ด้วยความเต็มใจ  พยายามประสานผลประโยชน์และความสัมพันธ์ที่ทุกฝ่ายควรจะได้รับอย่างสูงสุดและดีที่สุด  การคิดแบบชนะ ชนะ  จะต้องอยู่ในแนวทางที่ว่าสิ่งที่ต้องการหรือทางเลือกมีมากมายหลายทางเลือก หลายวิธีการ  การพยายามชักจูง  ทำให้เกิดความกลัวหรือเป็นการเอาชนะ  ซึ่งการคิดแบบชนะชนะ  จะเน้นที่เราไม่ใช่  เฉพาะตัว ฉัน  ไม่ใช่การคิดแบบเห็นแก่ตัวเพื่อตนจะได้ฝ่ายเดียว

หลายสิ่งหลายอย่างไม่ได้เป็นไปอย่างที่เราต้องการ หลายคนไม่ได้คิดและเข้าใจอย่างเรา ก่อนตัดสินว่าเขาไม่เข้าใจเรา ไม่คิดอย่างเรา ลองนั่งลงฟังและตั้งคำถามเพื่อให้ตนเองเข้าใจเขาเสียก่อนว่า เหตุใดเขาจึงคิดและเข้าใจเช่นนั้น การฟังก่อนพูด และการเข้าไปนั่งในมุมเดียวกันกับเขา ก่อนจะชวนเขามานั่งดูเรื่องเดียวกันในมุมของเรา คือ การสื่อสารที่ดี

เทคนิคในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง คือ การสร้าง "บัญชีออมใจ" คือ การปฏิบัติตนต่อผู้อื่น ด้วยความมีน้ำใจ เอื้ออาทร ซื่อสัตย์ รักษาสัญญา เหมือนเป็นการออมเงินไว้ จะทำให้ความสัมพันธ์ของเรากับผู้อื่นเป็นไปด้วยดี ซึ่งความสัมพันธ์นี้ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "ช้าแต่เร็ว"  หมายความว่า การสร้างความสัมพันธ์ และความเชื่อมั่นต่อผู้อื่น ต้องใช้เวลา แต่เมื่อทำได้แล้ว ต่อไปเรื่องต่าง ๆ ที่จะทำด้วยกันก็จะง่าย เพราะต่างฝ่ายต่างมีความไว้วางใจ และเชื่อมั่นต่อกัน

บนเส้นทางสู่เป้าหมาย เราคงหลีกเลี่ยงความขัดแย้งไม่ได้ ส่วนใหญ่ความขัดแย้งมีผลมาจากความคิดที่แตกต่างกัน และคงไม่มีใครอยากเป็นผู้แพ้ เราเองก็เช่นกัน แต่ใครหลายคนหลงประเด็น โดยพยายามทำอะไรหลายอย่าง เพื่อให้มีแต่ผู้ชนะ แต่ความจริง แพ้-ชนะอยู่ที่ความคิด เราจึงต้อง คิดแบบชนะ-ชนะ  อย่าพยายามทำแบบชนะ-ชนะ

 เคล็ดลับ ความสุขไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ภายนอกแต่ขึ้นอยู่กับ วิธีคิดและวิธีที่คุณมอง  การที่เราจะชนะได้ ไม่จำเป็นต้องทำให้คนอื่นแพ้ เราสามารถมีชัยชนะไปพร้อมๆ กันได้ และที่สำคัญ วันนี้เราสร้าง "บัญชีออมใจ" กับใครไว้บ้างหรือยัง?  

 

   อ่านอุปนิสัยข้ออื่นได้ที่นี่ค่ะ  http://gotoknow.org/blog/the7habits

หมายเลขบันทึก: 293374เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2009 17:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อนุโมทนาด้วย ที่มีความตั้งใจ เป็นธรรมะทีดีมาาก

เป็นแง่คิดนำไปใช้ในการดำรงชีวิตของเพศฆาราวาสได้ดีที่เดียว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท