วิธีเรียนรู้ของนักศึกษาปริญญาเอก


        ผมได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยทักษิณ ให้เป็นอาจารย์ร่วมสอนวิชา "ยุทธศาสตร์การจัดการงานวัฒนธรรม และวัฒนธรรมกับการพัฒนา"      ในหลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมศึกษา     โดยมี ศ. ดร. สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ เป็นประธานผู้สอนในวิชานี้     และมี ศ. ดร. ปรัชญา เวสารัชช์ เป็นอาจารย์ผู้สอนอีกท่านหนึ่ง

        ศ. สุธิวงศ์ กำหนดให้ผมไป "สอน" เพียง ๒ ครั้ง     ในหัวข้อ "การสร้างหรือปฏิรูปกระบวนการวัฒนธรรมการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้  เพื่อดำรงอัตลักษณ์และปรับปรนการพัฒนาอย่างเท่าทันและสมสมัย" กับ "ยุทธศาสตร์การจัดการวัฒนธรรมในมิติต่างๆ เน้นการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และส่งเสริมการวิจัย"    
 
        ผมเดาว่า ศ. สุธิวงศ์ ต้องการให้ผมไปทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้เรื่อง "วัฒนธรรมการเรียนรู้" จึงรับปาก     โดยเรียนว่าผมไม่บรรยาย    นักศึกษาต้องค้นคว้าเอง และร่วมกันถกเถียงทำความเข้าใจหรือตั้งคำถามและช่วยกันหาคำตอบมาก่อน แล้วจึงนำมาเสนอในลักษณะของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  และร่วมกันตีความ ตอนผมลงไป ผมจะช่วยแนะนำ ตอกย้ำความชัดเจน ความเข้าใจของผม ความเชื่อมโยง และความครบถ้วนของประเด็นเหล่านั้น     พร้อมทั้งแนะนำให้ไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม   

       พรุ่งนี้ (๔ กค. ๔๙) ผมก็จะได้เห็นว่านักศึกษาเหล่านี้สามารถเรียนรู้ในแนวทางดังกล่าวได้หรือไม่    จนถึงวันนี้ผมไม่ได้รับการบ้านที่ผมบอกให้ส่งภายในวันที่ ๒๗ มิย. ๔๙    ที่จริงผมไม่น่าจะลงไป    เพราะนักศึกษาไม่รับผิดชอบตามที่ตกลงกัน

วิจารณ์ พานิช
๓ กค. ๔๙

       

หมายเลขบันทึก: 36861เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2006 09:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ

อาจารย์เพิ่มเติมข้อมูลจากกระบวนการให้อ่านด้วยนะครับ จะเอาไปปรับใช้กับนิสิตที่มหาสารคามอีกทอดหนึ่ง

ในฐานะที่ผ่านการฝ่าฟันกระบวนการเรียนปริญญาเอกมาเกือบ 4 ปีแล้ว ดิฉันขอร่วมแสดงความคิดเห็นฝากไปยังนศ.ปริญญาเอกในทุกที่ ดังนี้ค่ะ

ดิฉันเรียนรู้ว่า การเรียนปริญญาเอก คือ การเรียนรู้ปรัชญาของชีวิต ค่ะ
 
- เรียนรู้ที่จะค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
- เรียนรู้ที่จะมุ่งมั่นและสนุกในงานที่รักอย่างเต็มที่
- เรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับการเรียนแบบ กล้าแสดงออก กล้าคิด และ กล้าทำ
- เรียนรู้ที่จะต้องรับผิดชอบต่ออนาคตตนเองและประเทศชาติ
- เรียนรู้ที่คิดอย่างเป็นระบบ
- เรียนรู้ที่จะรู้จักคำว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และ มรรค
ซึ่งเป็นหลักวิทยาศาสตร์เพื่อการค้นคว้าวิจัย
- เรียนรู้ที่จะต่อยอดความรู้ของผู้อื่นเพื่อสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ
- เรียนรู้ที่จะเคารพในการเรียนรู้ของผู้อื่น
- เรียนรู้ที่จะเข้าใจว่าชีวิตทั้งชีวิตเราจะมุ่งงานวิจัยไปในด้านใด
- เรียนรู้ที่จะเชื่อมั่นในตัวอาจารย์ที่ปรึกษา
- เรียนรู้ที่สร้างและรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับครอบครัวของอาจารย์ที่ปรึกษา ฯลฯ

และ เรียนรู้ว่า ปริญญาเอกเป็นเรื่องที่ทุกคนไขว่คว้ามาได้ หากพร้อมที่จะ "เรียนรู้" คะ

 

ชอบความคิดเห็นของดร.จันทวรรณ คะ ขอฝากตัวเป็นศิษย์ด้วยคนนะคะ  ขอบพระคุณคะ

 

งั้นผมจะเรียนดีหรือไม่เรียนดี ในเมื่อ ทุกขณะการทำงานคือการเรียนรู้ และมีงานที่ให้เรียนรู้และพัฒนาอยู่ตลอดระยะทาง หรือว่า เรียนนอกระบบโดยไม่ต้องสนใจว่า ดร.หรือไม่ ดร.ดีล่ะนี่

"วัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ควรจะเป็นไม่ใช่การรอคอยให้ใครมาป้อนข้อมูลให้และเชื่อในข้อมูลนั้นดายไป"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท