ศิลปะกับดุลยภาพแห่งชีวิต


 

           วันเสาร์ที่ ๑๗ พ.ค. ๕๑ ผมไปร่วม “เวทีจิตตปัญญาเสวนา” ครั้งที่ ๑๓  ที่จัดโดยศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล   จัดที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา   โดยมีวิทยากรคือ คุณอนุพันธุ์ พฤกษ์พันธ์ขจี จิตรกรและนักศิลปะบำบัด โรงพยาบาลสมิติเวชศรีนครินทร์ เป็นผู้บรรยาย เรื่อง “ศิลปะบำบัด ... คืนความสมดุลแห่งชีวิต”    http://www.ce.mahidol.ac.th/upload_update/6.pdf    ทำให้ผมได้เติมความรู้ความเข้าใจศาสตร์ด้านศิลปะ   ที่ชีวิตผมค่อนข้างมืดบอด        
         ผมมีความเข้าใจว่า ศิลปะเป็นเครื่องมือลับผัสสะให้คม   ลับวิธีการสื่อสาร และรับสาร สาระที่ลึก   ที่สื่อสารโดยวิธีอื่นได้ยากหรือไม่ได้   เพราะเป็นการสื่อสารสิ่งที่เป็นความรู้สึกหรือนามธรรมออกมา  
         คุณอนุพันธุ์ พฤกษ์พันธ์ขจี หรือครูมอส มีวิธีนำเสนอที่เก่งมาก  เราได้เรียนรู้พื้นฐานศาสตร์ที่ใช้ทำความเข้าใจมนุษย์ เรียกว่าวิชา มนุษยปรัชญา (Anthroposophy) ที่มีการพัฒนาขึ้นในเยอรมัน โดย Rudolf Steiner http://en.wikipedia.org/wiki/Rudolf_Steiner  ปราชญ์ชาวออสเตรีย ที่เป็นผู้ริเริ่มการศึกษาแนว วอลดอร์ฟ นั่นเอง    กล่าวได้ว่า มนุษยปรัชญา เป็นศาสตร์ที่อธิบายพัฒนาการของเด็กเป็นขั้นตอน อย่างสมดุล   ความไม่สมดุลทำให้เกิดความผิดปกติ   และนี่คือรากฐานของศิลปะบำบัดที่คุณอนุพันธุ์ พฤกษ์พันธ์ขจี ไปเรียนมาจาก Stutgart, Germany
         คุณมอสได้ให้หนังสือภาพ “The Voice of Seasons” ผมมาหนึ่งเล่ม   เป็นจิตรกรรมแนวเอ๊กซเพรสชั่น จัดพิมพ์โดยสถาบันเกอเธ่   ผมได้เอาปกและรูปตัวอย่างมาลงไว้ด้วย

AAR การเข้าร่วมเสวนาของผม


ต้องการไปเรียนรู้เรื่องศิลปะบำบัด    อยากรู้ความเกี่ยวข้องกับจิตตปัญญาศึกษา
ได้รู้ลึกไปถึงรากฐานที่มาของศาสตร์นี้แนวเยอรมัน
ผมสนใจว่าเราน่าจะมีเป้าหมายใช้ศิลปศึกษายกระดับจิตใจ ยกระดับศักยภาพของความเป็นมนุษย์ ของคนไทยทั้งประเทศ เน้นที่เยาวชน   ผมเชื่อว่าถ้าเราใช้การเรียนรู้เชิงศิลปะอย่างถูกจริตหรือถูกธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ จะทำให้ผู้คนเป็นคนดี คนเต็มคน คนสมดุล ยิ่งขึ้น   และจะทำให้การเรียนรู้วิชาการดีขึ้นด้วย    ผมอยากมีส่วนเข้าไปผลักดันเรื่องนี้
ผมได้รู้จัก พญ. พัชรินทร์ สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง, Therapeutic Art Specialist  แห่ง ศูนย์ศิลปะเพื่อการบำบัดเยียวยาและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ หรือ hUMAN Center (art_as_therapy(at)gmail.com)   ซึ่งตั้งอยู่ใกล้อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ   ได้ความรู้เรื่องการใช้ศิลปะช่วยแก้ปัญหาเด็กพิเศษเพิ่มขึ้น   คุณหมอพัชรินทร์รู้จักกับครูมอสมาก่อนแล้ว และกล่าวชมครูมอสซึ่งอายุเพิ่ง ๓๑ ปี ว่าก้าวหน้าอย่างน่าชื่นชม
ผมมีข้อเสนอแนะต่อผู้จัดการเสวนาว่า น่าจะมอบหมายให้ทีมของศูนย์จิตตปัญญาศึกษาคนหนึ่งทำหน้าที่สรุปโยงสาระในการเสวนาเข้ากับจิตตปัญญา ใช้เวลาเพียง ๔ – ๕ นาทีก็พอ   ถือเป็นการฝึกไปในตัว และช่วยให้ผู้ฟังเห็นความสำคัญและความเชื่อมโยงของจิตตปัญญา

 

วิจารณ์ พานิช
๑๗ พ.ค. ๕๑

         

ต่อไปนี้เป็นการจดเพื่อช่วยความจำของผม ด้วย PDA    ข้อความจึงกระท่อนกระแท่น ไม่สละสลวย

บันทึกระหว่างการประชุม  
     มนุษยปรัชญา antroposophy   รากเหง้าของมนุษย์    มนุษย์กับศิลปะ   primitive picture 11,000 ปี   วาดก่อนไปล่าสัตว์ หรือก่อนไปรบ   แสดงความศักดิ์สิทธิ์  
     ศิลปะบรรพการเกี่ยวข้องกับศาสนา  จิตวิญญาณของมนุษย์และโลกเบื้องบน

มีบทความเรื่องศิลปะบำบัดในนิตยสารรักลูก ปี ๒๕๕๐ อ่านได้ที่ http://www.elib-online.com/doctors50/child_art001.html
 
Anthroposophy มนุษยปรัชญา
     ทฤษฎีสีของ Goethe   วงจรสี 1781 ก่อน Newton.  See and sense   สีกับ soul 
     Rudolf Steiner 1861 - 1925
     Head : thinking, age 14-21  ควรจัดประสบการณ์ความคิดให้เด็ก
     Heart : feeling age 7-14 ลำตัว  หัวใจ ใช้ความรู้สึก
     Hand : willing เจตจำนง  การกระทำ age 0-7 พัฒนาตัวเองโดยการเล่น เกิดการพัฒนา ทุกส่วน

Body ร่างกาย
Soul  ดวงจิต
Spirit จิตวิญญาณ

ศิลปะบนความหมายของคนทำงานศิลปะ
  Express from think
  Express from soul/feeling ดวงจิต
  Express from will

ศิลปะ Impressionism : express from soul/feeling  วาดความประทับใจแรกที่เห็น   เห็นจากภายใน ไม่จำเป็นจะต้องเหมือนจริง

ศิลปะ Expressionism เยอรมัน Felix Goll : Triklang  วาดจาก will พลังเจตจำนง 

Express from think Philippe Stark  : Juicy sarif  
 
     การพัฒนาดวงจิตของมนุษย์ ดูจากพัฒนาการของศิลปะ

ศิลปะเด็ก Art Education มองแง่มนุษยปรัชญา
     กิจกรรมศิลปะที่เหมาะสมกับวัย  สร้างจิตใจที่สมบูรณ์  รร. วอลดอร์ฟ  
     อนุบาล เล่นล้วนๆ  เล่นกับสี  ข้ี
ผึ้ง
     ป. ๑  ควรเริ่ม รร สีเป็นอันดับแรก    วางสีห้องเรียนแต่ละชั้น   ยังไม่มีหัวข้อ   แต่ให้วาดภาพสีน้ำ    ให้รู้สึกสีทีละน้อย  เริ่มจาก ๓ สี   รร จากความรู้สึกของตัวเอง    สื่อสีด้วยคำกิริยา และคุณศัพท์ 'สีเหลืองที่สว่างจ้า'    ไม่ใช่ 'สีเหลืองเหมือนพระอาทิตย์'  
     เด็กที่ตื่นก่อนวัย   ทางจิตวิญญาณ นำไปสู่ความป่วย  
     ป ๔ ตื่นจากโลกของตัว   สนใจโลกภายนอก   สอนศิลปะ ตรรกะ  สว่าง มืด

Curative Education การศึกษาเพื่อการบำบัด  Special need education
     ประสานการศึกษา กับการบำบัดไว้ในห้องเรียนปกติ
     ป่วยที่ดวงจิต 

การบำบัดคือ
     สร้างการ ปป ภายใน   สร้างสมดุล

ศิลปะบำบัด ๗ อย่าง
     คืนความสมดุลแห่งชีวิตด้วยศิลปะ

การวาดภาพเพื่อการบำบัด Therapeutic painting
     การวาดภาพส่งผลต่อร่างกายในภาพรวม   ส (color)  การวาดเส้น (drawing)  ฟอร์ม - รูปทรง (form)   และเนื้อหาของการวาดภาพ (painting)
    ?ความแตกต่างระหว่างคน 
     ความรู้สึกเมื่อสัมผัสกับสี   รร เรื่องสีโดยการฟังไม่ได้  
  สีน้ำเงิน อยู่กับข้างใน 
  Geometric form - ตรรกะ
  Charcoal - ความสว่างกับความมืด
  Pastel ความนุ่มนวล  
  Form drawing - ความเคลื่อนไหว สมดุล
  ลีลาเส้น
  Element
  Brauhaus ศิลปะเพื่อพัฒนามนุษย์

  ศิลปะบำบัดเป็นกระบวนการ 
การใช้ ศิลปะบำบัดกับเด็กประเภทต่าวๆ
๑.   เด็กพิเศษ ออทิสติค  แอสเอร์เกอร์  ดาวน์
๒.  มีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ
๓.  มีปัญหาสังคม
๔.  มะเร็งระยะสุดท้าย
๕.  มีบาดแผลทางใจ เช่นสึนามี

ขั้นตอน
  - แพทย์วินิจฉัย
  - นักศิลปะบำบัด ศึกษาประวัติ วินิจฉัย
  - ทำศิลปะบำบัด อย่างน้อย 24 สัปดาห์
  - ร่วมประเมินผลโดย ผปค  แพทย์  นักศิลปะบำบัด และนักจิตวิทยา

Case study
          เล่ากรณีเด็กชายเยอรมันอายุ ๑๒ ปี ที่เกิดมามีธรรมชาติเปิดรับภายนอกมากไป จนไม่มีสมาธิ    ไม่สามารถอยู่กับตัวเองได้   ใช้การวาดภาพบำบัดจนเด็กสามารถมีสมาธิอยู่กับตัวเองได้    ผมชอบวิธีที่ครูมอสวิเคราะห์ธรรมชาติของเด็กคนนี้มาก 

?ศิลปศึกษาเพื่อพัฒนาการเด็กของเด็กปกติ  
อัจฉริยภาพเติบโตได้จากธรรมชาติ
วิจิตร พึ่งเกษม

ศิลปะพัฒนาดุลยภาพของชีวิต ที่ มม ปีที่แล้ว   มีการวัดผลด้วย  **ขอให้มาเล่า

พญ. พัชรินทร์ สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง 

คุณอนุพันธุ์ พฤกษ์พันธ์ขจี

บรรยากาศในห้องเสวนา

อีกมุมหนึ่งของบรรยากาศในห้องเสวนา

ปกหนังสือภาพ The Voice of Seasons

ภาพชื่อ My Angel พ.ญ.พัชรินทร์ สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง

   
                           
                 

 

หมายเลขบันทึก: 184804เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2008 16:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

"ศิลปะเป็นสิ่งมหัศจรรย์ มีชีวิตอยู่ในตัวเอง เช่น ดนตรี ทำไมเวลาเราร้องเพลง หรือเล่นดนตรีแล้วมีความสุข ทำไมเวลาเราวาดรูปแล้วจึงมีสมาธิ วาดได้นานแบบไม่มีเบื่อ นั่นคือ ความมหัศจรรย์ที่มีอยู่ในศิลปะ การที่เด็กได้ทำศิลปะนั้น จะเป็นการช่วยหล่อหลอมและปรับจิตใจ เพราะศิลปะเป็นเรื่องของความรู้สึก (Feeling) เป็นเรื่องของการพัฒนาจิตใจ ดังนั้น เครื่องมือที่รักษาจิตหรือพัฒนาจิตให้ดีขึ้นก็คือศิลปะ”

.........ขอขอบคุณที่ทำให้มองเห็นสิ่งมหัศจรรย์ค่ะ

อาจารย์หมอสกลเขียนบันทึก จิตตปัญญาเวชศึกษา ไว้เยอะทีเดียวค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท