นำชมวัดร่องขุ่น เชียงราย ตอน ๒


บ่อนี้เป็นบ่อ "นรก (hell)" น่าสังเกตว่า เสียงประกาศจากพระอุโบสถ (โบสถ์) วัดจะเตือนท่านผู้ไปเยี่ยมชมเสมอว่า "ห้ามลงไปในบ่อนรก" ไม่ทราบจะเป็นปริศนาธรรมว่า บ่อนี้ลงไปแล้วกลับขึ้นมาได้ยากหรือไม่

                          

ขอนำภาพวัดร่องขุ่น (Rong Khun) เชียงรายมานำเสนอต่อจากบันทึก "นำชม วัดร่องขุ่น(ห้ามบริจาค) ตอน ๑" ต่อ...

  • ท่านผู้อ่านที่ต้องการชม หรือดาวน์โหลดภาพใหญ่ (ขนาดประมาณ 50KB ซึ่งอาจใช้เวลาดาวน์โหลดบ้างถ้าใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วต่ำ)... โปรดคลิกที่แถบข้อความ " โปรดคลิกที่นี่..." ข้างใต้ภาพครับ...

    ภาพที่ 11:

    ภาพที่ 12:

    ภาพที่ 13:

    ภาพที่ 14: 

บ่อนี้เป็นบ่อ "นรก (hell)" น่าสังเกตว่า เสียงประกาศจากพระอุโบสถ (โบสถ์) วัดจะเตือนท่านผู้ไปเยี่ยมชมเสมอว่า "ห้ามลงไปในบ่อนรก" ไม่ทราบจะเป็นปริศนาธรรมว่า บ่อนี้ลงไปแล้วกลับขึ้นมาได้ยากหรือไม่

  • สมัยพุทธกาล... ครั้งหนึ่งท่านพระภิกษุเห็นนักโทษถูกจองจำด้วยขื่อ คา โซ่ ตรวน เชือก ฯลฯ ในเวลาเข้าไปบิณฑบาต เมื่อกลับมาวัดได้สนทนากันว่า เครื่องจองจำเหล่านี้หลุดได้ยากหนอๆ มีเครื่องจองจำที่ยิ่งกว่านี้หรือไม่

 

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า เครื่องจองจำที่ยิ่งกว่านี้ยังมีคือ นรกและเดรัจฉาน ซึ่งเป็นภพภูมิที่เป็นดุจเรือนจำ... เข้าไปแล้วหลุดออกมาได้ยาก

  • โปรดสังเกตว่า ในท่ามกลาง "มือสัตว์นรก" ที่ท่านอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์รังสรรค์ (= สร้าง) ขึ้นนี้... มี "บาตร" ด้วย

 

เรียนเชิญท่านผู้อ่านศึกษาพระไตรปิฎก และอรรถกถา... ยุคนี้เป็นยุคที่มีการแปลเป็นภาษาไทยพร้อม เช่น ฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัยมีจำหน่ายที่มูลนิธิฯ ข้างวัดบวรนิเวศวิหาร ฯลฯ

  • ถ้าเราอ่านพระสูตร... จะเห็นบันทึกของพระภิกษุชั้นเลิศใน "เถรคาถา" บันทึกของพระภิกษุณีอย่างเลิศใน "เถรีคาถา"... นี่เป็นแบบอย่างของท่านผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ

 

โลกนี้... ถ้ามีพระเอกนางเอกก็ย่อมมีผู้ร้ายเป็นธรรมดา บันทึกของภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี สิกขมานา (ผู้หญิงที่รอบวช)ในฐานะผู้ร้ายก็มีปรากฏใน "เปตคาถา (คาถาว่าด้วยเปรต)"

  • นักบวชในพระพุทธศาสนาที่ประพฤติปฏิบัติผิดมักจะมีลักษณะเฉพาะ เช่น ตายเป็นสัตว์นรก เปรต หรือเดรัจฉานที่อายุยืนมาก บางท่านมีจีวรลุกเป็นไฟเผาผลาญสรีระ "ข้ามพุทธันดร" หรือจากสมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งไปถึงสมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกพระองค์หนึ่ง

 

ขอเราพึงได้ประพฤติปฏิบัติดีในพระธัมมวินัยนี้... ขอเราอย่าได้ตกไปใน "เรือนจำ" ที่เข้าไปแล้วออกได้ยากเช่นนี้เลย...

    ภาพที่ 15:

    ภาพที่ 16:

    ภาพที่ 17:

    ภาพที่ 18:

    ภาพที่ 19:

    ภาพที่ 20:

     เรียนเสนอ:

แอ่ว(เที่ยว)เจียงฮาย(เชียงราย)แล้ว...

  • (1). เรียนเสนอให้หาโอกาสไปกราบพระบรมสารีริกธาตุที่วัดพระธาตุดอยตุง ทางขึ้นออกจะสูงหน่อย จอดรถไว้ข้างล่าง จ้างรถ 2 แถวที่เขาชำนาญทางขึ้นไปดูจะปลอดภัยกว่าครับ 
  • (2). เรียนเสนอให้หาโอกาสใส่บาตรที่เชียงราย... ลองเดินไปแถวๆ ตลาด ที่นั่นมีข้าว กับข้าว ขนม และผลไม้จำหน่ายในราคาไม่แพง ใส่บาตรที่เชียงรายไม่เหมือนที่อื่น... คนที่นี่ใจดี มากด้วยเมตตา

ผู้เขียนใส่บาตรครั้งก่อน (2542) ประทับใจมา 7 ปี ปีนี้มีโอกาสแอ่วเจียงฮาย (= เที่ยวเชียงราย) เลยถือโอกาสใส่บาตรอีก... ขอให้ท่านผู้อ่านโปรดได้รับส่วนแห่งบุญทั้งหมดที่ผู้เขียนได้ทำแล้ว ทำอยู่ และจะทำต่อไปทั้งหมดครับ...

  • (3). แนะนำให้แวะไปเที่ยวตลาดท่าขี้เหล็ก... ที่นั่นมี "คนไทใหญ่" เยอะเลย (พูดไทยได้ และพูดคำเมืองได้แบบคนเหนือ) มีรถรับจ้างนำเที่ยววัดพม่า (50 บาท

ท่านที่ต้องการชม หรือกราบไหว้พระรูปพระเจ้าบุเรงนองที่ท่าขี้เหล็ก... แนะนำให้เดินตรงไปจากด่านฝั่งพม่า พระรูปอยู่ทางซ้ายมือ เลยตลาดท่าขี้เหล็กไปนิดหน่อย

  • ท่านผู้อ่านท่านใดมีโอกาสทำบุญที่เชียงราย หรือท่าขี้เหล็ก... โปรดพิมพ์ข้อคิดเห็นมาที่ท้ายบันทึกนี้... จะขออนุโมทนาส่วนบุญของท่านบ้างครับ... สาธุ สาธุ สาธุ

     แนะนำให้อ่าน:

    ข่าวประกาศ:

  • ถ้าไม่มีความผิดพลาดทางเทคนิค...
  • ผู้เขียนจะเดินทางไปทำบุญที่ศรีลังกา วันที่ 20-27 กุมภาพันธ์ 2550...
  • ช่วงเวลาดังกล่าวคงไม่มีโอกาสแวะมาแลกเปลี่ยน หรือตอบคำถามท่านผู้อ่านครับ

    แหล่งที่มา:

  • ขอขอบพระคุณ (thank / courtesy of) > Nainat (translated by C. Katsura, Mae Far Luang University). Buddhist arts in Rong Khun Temple. Tripper: Difference in Chiang Rai (www.tripper-chiangrai.com) . January 2007. p.10-14. (e-mail address: [email protected]).
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐.
  • เชิญอ่าน "บ้านสุขภาพ" ที่นี่ > http://gotoknow.org/blog/health2you > อ่านบันทึกย้อนหลังได้ โดยการเลือกเดือนจากปฏิทินกิจกรรมทางขวามือของบล็อก
  • เชิญอ่าน "บ้านสาระ" ที่นี่ > http://gotoknow.org/blog/talk2u > อ่านบันทึกย้อนหลังได้ โดยการเลือกเดือนจากปฏิทินกิจกรรมทางขวามือของบล็อก
หมายเลขบันทึก: 77333เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2007 09:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ได้ไปดูของจริงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ฝีมือปูนปั้นอ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ สุดยอด จริง ๆ ค่ะ

ขอขอบคุณอาจารย์อัมพรจากหาดใหญ่และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • ขอขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียน

ร่องขุ่น...

  • วัดร่องขุ่นนี่... ผมเห็นครั้งแรกปี 2542 ตอนนั้นอบรมบริหารสาธารณสุขที่วิทยาลัยสาธารณสุขพิษณุโลก
  • อาจารย์ท่านจัดทัวร์ดูงาน-สำรวจจากพิษณุโลกถึงโรงพยาบาลท่าขี้เหล็ก
  • มาปีนี้... ก้าวไปไกลมาก และไม่เหมือนที่ไหนในโลก

อังกฤษ...

  • ท่านอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์สร้างวัดพุทธปทีปที่อังกฤษ... ที่นั่นใช้เวลา 4 ปี
  • วัดไทยแห่งหนึ่งที่เนปาล (ลุมพินี) ดูจะทำอุโบสถ (โบสถ์) สีขาวคล้ายวัดร่องขุ่นเหมือนกัน

อนุโมทนา...

  • ขอกราบอนุโมทนา และอนุโมทนาทุกท่านที่มีส่วนในการสร้างเสนาสนะถวายสงฆ์ครับ... สาธุ สาธุ สาธุ

ไปมาแล้วเมื่อ ปีที่แล้ว บางส่วนยังไม่เสร็จ...แต่วันนี้ได้ดูภาพที่คุณหมอนำมาฝากชื่นใจแทนคนไทยจริงๆ คะ   เห็นความตั้งใจของ อ. เฉลิมชัย อดทน มานะ บากบั่น และไม่ท้อ...ขอปรบมือและเป็นกำลังใจคะ

ขอขอบคุณอาจารย์จ๊ะจ๋าและท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • ขออนุโมทนาที่อาจารย์จ๊ะจ๋าชื่นชมท่านอาจารย์เฉลิมชัยครับ... สาธุ สาธุ สาธุ
  • การสร้างวัด หรือเสนาสนะถวายสงฆ์นับเป็นบุญ เป็นกุศลที่น่าอนุโมทนามาก
  • ขอแสดงความยินดีกับคนไทย และคนทั่วโลกที่ได้มีโอกาสเห็นวัดสวยงามเช่นนี้...

ขอขอบคุณ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท