ครูเพื่อศิษย์....เติมเต็มให้กัน


ครูอ้อย ได้เล่าให้เพื่อนครูเพื่อศิษย์ในกลุ่มฟังว่า.....การจัดการเรียนรู้  ของแต่ละโรงเรียนนั้น  ย่อมขึ้นกับหลายๆอย่างประกอบกัน  อันได้แก่บริบท และวิสัยทัศน์ของโรงเรียน

*****

โรงเรียน ที่ครูอ้อยสอนอยู่นั้น เป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ ในเขต กทม.มีความพร้อมทางด้านปัจจัย  เสียส่วนใหญ่  นอกจากเรื่อง  ตัวของนักเรียนและความเป็นอยู่เท่านั้น ที่แตกต่างกันมาก

*****

ครูอ้อย วิเคราะห์โดยกายภาพแล้ว  นักเรียนมีความแตกต่างกัน  ทั้งด้านสติปัญญา สังคม  เศรษฐกิจ  ดังนั้น  การจัดการเรียนรู้  ของครูอ้อย ต้องนำปัจจัยเหล่านี้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  โดยคิดว่า......ปิดรอยรั่ว  จึงจะเก็บอะไรๆๆต่อไปได้ดี

*****

ครูอ้อย ใช้แนวความคิดของท่าน ผอ.ที่กล่าวเสมอๆๆว่า  หากเราคิดถึงความแตกต่าง  เราจะทำอะไรได้สำเร็จเสมอ  เพราะ  จะไปคาดการณ์ ให้เป็นแบบนั้นแบบนี้ไม่ได้  ด้วยมีความแตกต่างมาเป็นเหตุ

*****

ครูอ้อย  ใช้แนวความคิด  เกี่ยวกับ  การเรียนรู้มีการพัฒนากันได้  พัฒนาทุกด้าน  เป็นหน้าที่เรา ที่เป็นครูผู้จัดการ  ต้องให้เกิดการพัฒนา ครบทุกด้าน  โดยเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษ  ที่ต้อง  พัฒนาทั้ง 4 Skills คือ  การฟัง  การพูด  การอ่าน และการเขียน

*****

ก่อนการจัดการเรียนรู้  ครูอ้อยจะต้องวิเคราะห์ ไปพร้อมๆๆกันคือ  วิเคราะห์ผู้เรียน และวิเคราะห์หลักสูตร

*****

ครูอ้อยฟัง ครูเพื่อศิษย์ ท่านอื่น ว่า  จัดการเรียนรู้ไปแบบไม่ต้องสนใจหลักสูตร  ครูอ้อยกลัวจะไม่มีคำตอบไปยัง สมศ.ที่มาประเมินคุณภาพภายนอก  ดังนั้น  ครูอ้อยจึงต้องวิเคราะห์หลักสูตร  เพื่อจัดทำผลงานทางวิชาการ ครูเชี่ยวชาญด้วย....มีเหตุผลไหมคะ

*****

Large_gr3030

 

*****

การวิเคราะห์ผู้เรียน  ครูอ้อยเคยเขียนมานานแล้วเรื่องนี้สำคัญมาก  เพราะ การรู้เรื่องของเขา เราก็จะทำการได้ดี  เหมือน รบร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้ง  รู้เขารู้เรา

*****

ทั้งสังเกต ทั้งทำแบบสอบถามความคิดเห็น ทั้งเขียนแสดงความคิดเห็น  ให้รู้กันไปเลยว่า....ท่านคือใคร  ฉันคือใคร  ด้วยคะแนนภาคความรู้ ที่ออกมา 3 กลุ่มคือ  A  B  และ  C

*****

เมื่อนักเรียนรู้จักกัน  ครูรู้จักกับนักเรียน  ครูวิเคราะห์หลักสูตร  จัดการเรียนรู้ ตามความสนใจของนักเรียน  ตามกลุ่มคละความสามารถ  เพื่อกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความเป็นผู้นำ และ ผู้ตาม  การเรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยใช้แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่  ทั้งห้องสมุด และ อินเทอร์เน็ต

*****

นักเรียนทำงานด้วยกัน  ตามความสามารถที่ได้กำหนดบทบาทกัน  เกิดการทำงานร่วมกันอย่างสมบูรณ์ ไม่ละทิ้งงานกลางคัน  และสามารถนำเสนอผลงานได้สมบูรณ์ ทั้งเนื้อหา และความคิดสร้างสรรค์  ใช้ความสามารถทาง ICT ที่มีอยู่ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม  นำไปใช้เกิดประโยชน์ แก่คนอื่น

*****

ผู้ปกครองก็มีส่วนที่ช่วยเหลือนักเรียน ให้ผลงานนั้นสมบูรณ์  มากยิ่งขึ้น   กิจกรรมที่ครูอ้อยเล่านี้  จึงมีชื่อว่า......เติมเต็มให้กัน

*****

มีการยอมรับกัน  ให้เกียรติกัน  มีมารยาทในการแสดงออก  ซึ่ง  นักเรียนจะทำคุณสมบัตินี้ไปใช้  เมื่อเขาเติบโตและเข้าสู่สังคมชีวิตจริง  การเติมเต็มให้กัน  จึงมีประโยชน์ และเป็นแนวคิด ประกอบกิจกรรม ที่ทำให้สังคมนี้ เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน

*****

เห็นด้วยไหมคะ

หมายเลขบันทึก: 455342เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2011 21:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • เห็นด้วยครับ! โดยเฉพาะต้องดูบริบทตัวเอง และความแตกต่างระหว่างบุคลลของผู้เรียน 
  • ขอบคุณข้อคิดเห็นดีๆในเรื่องกระบวนการจัดการเรียนรู้นี้ครับ

สวัสดีค่ะ น้อง

Ico48

ยังมีอะไรอีกมากที่ ครูเพื่อศิษย์แบบเรา ต้องทำ  จริงไหมคะ

ดีใจ ที่พบน้อง ที่พี่ศรัทธามานานแล้ว

ขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณค่ะ มาสนับสนุนแนวคิดดีๆเช่นนี้ที่ลงสู่การปฎิบัติจริงที่ส่งใจ ถึงใจ ระหว่างครูและลูกศิษย์ค่ะ

สวัสดีค่ะ พี่ใหญ่

Ico48

นักเรียนได้แลกเปลี่ยนมุมชีวิตของตนที่เลือกไม่ได้  เขายอมรับสภาพ และดำเนินชีวิตของเขาอย่างดีที่สุด  โดยมีการเติมเต็มให้กัน  หากตัวเองรู้จักตัวเองดี ก็จะรู้จักเพื่อน และจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข  ในสังคมน้อยๆๆวันนี้ ต่อไป จะเป็น สังคมใหญ่ๆๆ ที่เราควรปลูกฝัง แนวความคิดนี้ให้กับเด้กรุ่นใหม่ ต่อไป

น้องอ้อยได้รับการเสนอชื่อเป็นครูสอนดีด้วยไหมเนี่ย...ครูเพื่อศิษย์แบบนี้เข้าหลักเกณฑ์ครูสอนดีเลยนะ

สวัสดีค่ะ  พี่ชาย  ที่คิดถึง 

Ico48

ครูอ้อยได้อ่าน หลักเกณฑ์ของ  ครูสอนดี ต้องมี คนเสนอชื่อ  ที่โรงเรียนของครูอ้อย มีแต่คนเก่ง  ไม่ต้องห่วงเลย  ครูอ้อย ขออยู่แบบเบื้องหลัง  มีความสุขกว่า ค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท