โหน่ง อะเดย์ คิดอย่างไรกับนักศึกษาที่ใช้ของแบรนด์เนม ... (วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์)


ถ้าเรามี Self Esteem รู้สึกถึงคุณค่าในตัวเอง ผมว่าไม่ต้องใช้กระเป๋าใบละสามหมื่นหรอกครับ คุณถือกระเป๋าใบละสามร้อย หรือไม่ถืออะไรเลยก็ดูดีได้

จากที่เคยได้นำเสนอจากหนังสือ "มัชฌิมนิเทศ" ของคุณ โหน่ง อะเดย์ หรือ วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ ที่เป็นการถอดความและเรียบเรียงจากการเดินทางไปบรรยายพิเศษให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัย ๆ หนึ่ง

มีคำถามยอดนิยมที่เป็นอีกภาพสะท้อนค่านิยมใหม่ของเด็กไทยในเรื่อง "วัตถุนิยม" ที่กำลังระบาดภายในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ไม่เว้นแม้กระทั่งมหาวิทยาลัยยากจนข้นแค้นอย่างมหาวิทยาลัยผม

 

 

คำถามแรก ...

 

นักศึกษาเขียนคำถามลงกระดาษว่า ...

แล้วมีอะไรในชีวิตที่พี่โหน่ง "ติด" มั้ยคะ

 

 

คุณโหน่ง อะเดย์ ตอบว่า ...

ไม่ค่อยมีนะ ผมพยายามไม่ให้ชีวิตติดอะไร รู้สึกมันเป็นภาระไงไม่รู้ อย่างตอนนี้เขาติด BB กันใช่มั้ย วันก่อนเขาเชิญผมไปงานเปิดตัวแล้วให้ BB มาเครื่อง ผมก็เอาไปจับฉลากงานปีใหม่บริษัท ปรากฎว่า แม่บ้านได้ไป (คนฟังหัวเราะ)

ตอนนี้แม่บ้านผมใช้ Blackberry ขณะที่ผมยังใช้มือถือเครื่องละสามพันห้าอยู่เลย ก็ ... คิดว่าไม่มีอะไรนะฮะที่ติด อาจจะมีก็กาแฟมั้ง แต่ไม่กินก็ไม่ตายนะ

 

 

 

คำถามที่สอง ...

 

นักศึกษาเขียนคำถามลงกระดาษว่า ...

อยากรู้ว่า พี่โหน่งคิดยังไงกับนักศึกษาที่ใช้ของแบรนด์เนม

 

 

คุณโหน่ง อะเดย์ ตอบในคำถามที่สองว่า ...

ถ้ามีปัญญาใช้ก็ใช้ไปเถอะครับ ใครจะไปห้าได้ แต่เท่าที่ผมเห็น ส่วนใหญ่ไม่มีปัญญานะแต่มีตัณหา (คนฟังหัวเราะ)

เอาเป็นว่าเรื่องนี้ผมพอเข้าใจ เพราะผมก็เคยเป็นวัยรุ่นที่บ้าของแบรนด์เนมมาก่อน ผมเคยซื้อเสื้อยืดตัวละสามพันน่ะ โง่มั้ยล่ะ ใส่สามทีก็เบื่อแล้ว

ผมเดาว่า หลายคนใช้ของแบรนด์เนมเพราะอยากให้ตัวดูดี อยากเข้าพวกหรือได้รับการยอมรับ ซึ่งไร้สาระนะถ้าคิดอย่างนั้น การให้คนยอมรับเราโดยดูจากกระเป๋าที่เราถือ มันไม่มีค่าหรอกครับ แสดงว่า เราไม่มี Self Esteem คือ ไม่รู้สึกว่ามีอะไรดีอยู่ในตัว เลยต้องหาของที่คิดว่าจะทำให้เราดูดีขึ้นมาถือ หรือ มาสวมใส่

ถ้าเรามี Self Esteem รู้สึกถึงคุณค่าในตัวเอง ผมว่าไม่ต้องใช้กระเป๋าใบละสามหมื่นหรอกครับ คุณถือกระเป๋าใบละสามร้อย หรือไม่ถืออะไรเลยก็ดูดีได้

 

............................................................................................................................................

 

นักศึกษาหลายคนที่มหาวิทยาลัยผมก็มีค่านิยมการนับถือ "สัมภาระมียี่ห้อ" กันมากมาย วิธีการมองให้เห็น ก็คือ การดูที่การแต่งกายเป็นอันดับแรก รองลงมาให้ดูที่เครื่องประดับทั้งเป็นการเสริมสวย และเครื่องประดับที่ให้แขวน หอบ หิ้ว ห้อย คล้อง สวม ใส่

ด้วยประสบการณ์การเป็นครูมาหลายปี วิธีการมองเช่นนี้ชัดเจนเกิน 90 เปอร์เซ็นต์สำหรับการชี้ชัดลงไปว่า เขานับถือ "สัมภาระมียี่ห้อ" ที่ทำให้ดูว่า เหนือกว่าผู้อื่น

นักศึกษาภาคพิเศษ (ภาคค่ำ/ภาคเสาร์-อาทิตย์) มีพฤติกรรมเช่นนี้มากกว่านักศึกษาภาคปกติและนักศึกษา

เพื่อนผมบอกว่า เด็กพวกนี้มีทั้ง "โค" และ "เร"

(โค = โคโยตี้ / เร = เรยา)

เราไม่ได้มองเด็กในแง่ร้าย หรือ แง่ลบ แต่มันเป็นเช่นนั้นจริง ๆ ครับ

"วัตถุนิยม" เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมดเท่านั้น

 

ผมยังเคยคิดสโลแกนที่เห็นง่าย ๆ เลยว่า ...

"... กระโปรงสั้น มันสมองน้อย คอยวาสนา ตามหาสามี อยู่ได้ไม่กี่ปีก็เลิกรา ..."

 

สิ่งที่เกิดขึ้นมาในค่านิยมดังกล่าวนั้น ผมก็เห็นคล้อยไปตามคุณโหน่ง อะเดย์ เช่นกันว่า เพียงแค่การต้องการการยอมรับเท่านั้น

ครอบครัวของเด็กหลาย ๆ คน พ่อแม่หาเช้ากินค่ำเท่านั้น คิดแล้วก็สงสารพ่อแม่เขาเหลือเกินที่หวังจะได้เห็นลูกรับปริญญา ประสบความสำเร็จในชีวิต

มหาวิทยาลัยผม เด็กต้องหางานทำพิเศษ ร้อยละ 50 นะครับ ยากจนข้นแค้นทั้งนั้นแหละ ครอบครัวร่ำรวยก็มีปัญญาซื้อของพวกนี้ แต่ปัญหา คือ ครอบครัวก็แทบจะไม่มีเงินอยู่แล้ว แต่ยังพยายามหาของประดับพวกนี้อีก

 

เราก็รู้นะครับ มีทุกยุคทุกสมัยแหละ เด็กลักษณะนี้ เพียงแต่ว่า เราจะดูแลและคอยอบรมสั่งสอนเขาบ้างหรือเปล่า เท่านั้นเอง

หากผ่านวัยแสวงหา ไปสู่ วัยทำงาน อย่างรอดปลอดภัยก็แล้วไป

แต่หากตกร่อง ตกหลุมกิเลส ตัณหาไปเสียก่อนนี่ น่าเสียดายเหมือนกันนะครับ

เหมือนนรก แวะมากลั่นกรอง คนที่ทำตัวไม่ดี ให้หายไปจากสารบบ

 

แวะมาเล่าให้ฟังให้เป็นไปตามที่คุณโหน่ง ได้ให้ทัศนะไว้นะครับ ;)...

แลกเปลี่ยนกันได้ครับ

 

 

ขอบคุณ คุณโหน่ง อะเดย์ อีกครั้ง

ขอบคุณ หนังสือมัชฌิมนิเทศ อีกครั้ง

ขอบคุณ ทุกท่านที่ผ่านเข้าอ่าน อีกครั้ง

 

บุญรักษา คนที่อยากได้ประสบการณ์ใหม่ทุกท่าน ;)...

 

............................................................................................................................................

ขอบคุณหนังสือดี ๆ

วงศ์ทนง  ชัยณรงค์สิงห์.  มัชฌิมนิเทศ.  กรุงเทพฯ: อะบุ๊ก, 2553.

 

หมายเลขบันทึก: 456881เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2011 01:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีค่ะ

Ico64

ว่าจะไม่อ่านแล้วเชียว...เพราะแนวคิดไม่ค่อยเหมือนใคร...การที่นักศึกษาใช้ของแบนด์เนม เป็นเพียงการสนองความต้องการตามขั้นพัฒนาการระดับต้นๆในเรื่องของอาหารการกิน การแต่งกายเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่คือกลุ่มวัยรุ่น ...มีครอบครัว สังคม กลุ่มเพื่อน และบุคคลสาธารณะต่างๆ เป็นตัวกำหนดค่านิยม ทัศนคติ และการปฏิบัติตน ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกส่วนหนึ่งที่ทำให้กลุ่มวัยรุ่นในสังคมนั้นๆมีค่านิยม ทัศนคติและการปฏิบัติตนด้วยการใช้ของแบนด์เนม...เพื่อสนองความต้องการ...จะเห็นได้ว่าคุณโหน่ง อะเดย์ ก็ผ่านจุดนั้นมาแล้ว ยอมรับว่าเคยซื้อเสื้อยืดตัวละสามพันบาทใส่มาแล้ว ... เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญที่สุดของความเป็นมนุษย์คือต้องเคารพในเกียรติและศักดิ์ศรี ตามความแตกต่างของแต่ละบุคคล การให้การศึกษา การจัดสภาพสังคมที่ดีให้กับคนรุ่นหลังที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้าเป็นสิ่งที่ต้องทำ...ผู้ใหญ่แนะนำสิ่งดีๆและสามารถทำให้ดูเป็นแบบอย่าง... มองไปข้างหน้า... อย่ามัวค้นหาข้อบกพร่อง...เสียเวลาค่ะ 

ชอบ comment อ.พจนา "ผู้ใหญ่แนะนำสิ่งดีๆและสามารถทำให้ดูเป็นแบบอย่าง... มองไปข้างหน้า... อย่ามัวค้นหาข้อบกพร่อง...เสียเวลาค่ะ"

ตรงใจคะ

ของมีแบรนด์ พอถูกบริจาคเข้า goodwill จาก 3000 เหลือ 30 บาท...:-)

ของแบรนด์เนม เหรอคะ ==>  ไม่เคยยึดติด

แต่...ถ้าขึ้นป้าย sale หรือลงกะบะ เมื่อไหร่ ==> ไม่พลาด อิอิ

...อาจารย์เทวดาเคยเห็นสินค้าก๊อป เกรด A   B หรือ  C หรือเปล่าคะ  ราคาประหยัด แถวๆ ชายแดนมีเพียบเลยนิ....

หลายครั้งที่สินค้าแบรนด์เนมลดราคาในห้าง คุณภาพและราคา พอๆ กับซื้อตามตลาดทั่วไปหรือบางทีลดแล้วถูกกว่าไปซื้อสินค้าตามตลาดก็มีนะคะ แต่ถ้าดูแล้วแพงเกินไปก็ไม่ซื้อ(รอจนกว่าจะลดราคา) .... hahaha

อยากบอกว่า   หลายครั้งที่เจอสินค้าแบรนด์เนม ที่ดีมีคุณภาพและราคาพอไหว ส่วนใหญ่จะซื้อพวกที่จะต้องสวมใส่บ่อยๆ(ตลอดทั้งวัน)  หรือมีผลต่อสุขภาพ เช่น รองเท้า ค่ะ   *^_^*

เรียน อาจารย์ ดร. พจนา - แย้มนัยนา ;)...

เราไม่ได้มองเป็นข้อบกพร่องหรอกอาจารย์ ในฐานะคนเป็นครู ครูจะให้คำแนะนำให้เด็กได้เห็นคุณค่าที่ควรมีในตัวเองมากกว่าของที่จับต้องในภายนอกได้

คือ ไม่ได้ห้าม หากครอบครัวและตัวเขาเองมีปัญญาที่จะซื้อ แต่สำหรับเด็กที่มหาวิทยาลัยที่ครอบครัวพ่อแม่ลำบากและยากจนมาก แต่อยากมีเหมือนเพื่อน เหมือนดารา เหมือนคนมีเงินทั้งหลาย แบบนี้มันไม่ถูกต้อง

อย่างที่บอกอาจารย์ไว้ว่า เด็กที่มหาวิทยาลัยเกือบ 20,000 คน ต้องทำงานพิเศษร้อยละ 50

ไม่ได้ห้าม แต่ต้องสอน ... อีกทั้งผมสอนนักศึกษาครูในอนาคตอีกด้วย ยิ่งต้องสอนให้เขาเห็นว่า เขาคือต้นแบบในอนาคตครับ

อาจารย์ไม่ต้องห่วงว่า เราไม่ได้มองถึงวัยและพัฒนาการ เรามอง แต่ด้วยสิ่งที่เราเป็นครู เราควรให้คำแนะนำอย่างที่อาจารย์บอก ส่วนเขาจะเชื่อหรือไม่เชื่อ ก็เรื่องของเขา เมื่อใดก็ตามสิ่งที่เราพูดเป็นจริง หวังว่า เขาจะมีจิตสำนึกด้วยตัวเขาเอง หากไม่สายเกินไป

ใจเย็นนะครับอาจารย์


"ไม่มีใครเปลี่ยนใครได้ หากเจ้าตัวไม่เปลี่ยนเอง"

ขอบคุณครับ ;)...

คุณหมอบางเวลา CMUpal ;)...

เราไม่ได้ค้นหาข้อบกพร่องของเด็ก แต่เรากำลังจะให้คำแนะนำเขา

เรากำลังพูดถึงความพอเพียงและโอกาสอันสมควรมากกว่า

หากครอบครัวพร้อม ตัวเองพร้อม อยากซื้ออะไรก็ซื้อไป

แต่หากไม่พร้อมล่ะ ... ผมถึงได้ยกตัวอย่างนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยผม

สังคมในมหาวิทยาลัยต่างกันนะครับ ในระดับหลายอย่าง

เราอยู่เชียงใหม่ เราจะรู้กันดีอยู่ว่า มหาวิทยาลัยไหน ภาพรวมเป็นอย่างไร

หากมหาวิทยาลัยนี้นักศึกษามีรถขับมาเรียน ร้อยละ 50 ในขณะที่มหาวิทยาลัยผม ร้อยละ 5 แบบนี้พอมองภาพออกนะครับว่า เราควรหรือไม่ควรที่ใช้มัน

ดังนั้น คือ ไม่ได้ห้าม หากมีปัญญาที่ซื้อมัน ... แต่ครูก็ต้องสอนใช่ไหมครับ ยิ่งนักศึกษาครูก็ต้องยิ่งสอนใหญ่ เชื่อหรือไม่เชื่อก็อีกเรื่องครับ

ขออภัยครับ ครูยากจน พอ ๆ กับ นักศึกษาแหละ ;)...

นางฟ้า ชาดา น่ารักอีกแล้ว ... คนมีครอบครัว กับ คนยังไม่มี สงสัยจะคิดต่างกันหรือเปล่าครับ แต่ผมคิดเหมือนนางฟ้าหนา ;)...

หาก Sale ก็แวะดูบ้าง หากไม่ทำให้อดข้าวปลายเดือน ก็สามารถจะซื้อไหว หากอดข้าวก็คงเอาไว้คราวหน้า

ขอบคุณครับ ;)...

สวัสดีค่ะอาจารย์ หายไปนาน แวะมาทักทายค่ะ ชอบที่อาจารย์ว่า

"ไม่มีใครเปลี่ยนใครได้ หากเจ้าตัวไม่เปลี่ยนเอง"

และก็เชื่ออย่างนั้นด้วย ไม่เคยซื้อของแบรนด์เนมเลย (เพราะจน)

เคยซื้อเสื้อตัวหนึ่ง 500 บาท กลับมาถึงบ้านมัวแต่เครียด

หลายวันกว่าจะลืมไปได้ เฝ้าแต่ถามตัวเองว่าซื้อมาทำไม

มันแพง!!! กิกิ

สวัสดีครับ ลูกศิษย์ก้นกุฎิ ดอกหญ้าน้ำ ;)...

"ไม่มีใครเปลี่ยนใครได้ หากเจ้าตัวไม่เปลี่ยนเอง" มันเป็นสัจธรรมครับ

พอเพียง อย่างเพียงพอ ก็พอแล้วครับ

ขอบคุณครับ ;)...

ชอบ ๆ ค่ะ ลูกศิษย์ก้นกุฏิ เสียดายเกิดมาเป็นหญิง ไม่งั้นได้เกิดเป็นเด็กก้นกุฏิจริง ๆ เลยค่ะ

เป็นไปตั้งนานแล้วแหละ ดอกหญ้าน้ำ ;)...

ลูกศิษย์ที่ครูสามารถฝากผีฝากไข้ได้ ฝากสังคมไทยได้ครับ ;)...

ชอบฟัง การเดินทางของความคิดทาง 96.50 mhz. มีคุณโหน่งด้วย ความคิดที่อยากให้วัยรุ่นฟัง

แต่ไม่รู้จะมีช่องทางไหนที่วัยรุ่นจะมาฟัง มาอ่าน ตรงนี้ล่ะยากครับ

ขอบคุณที่แวะมาให้ทัศนะครับ ท่าน พ.แจ่มจำรัส ;)...

อาจารย์ค่ะ ฝากผีฝากไข้พอไหวค่ะ แต่ฝากสังคมไทยนี่ไม่แน่นะ เป็นแค่มดตัวเล็ก ๆ คงทำอะไรได้ไม่มากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท