"การเขียน" ลดความรุนแรง (ครูควรอ่าน) ... (มหัศจรรย์แห่งการเขียน)


ประเด็นที่สำคัญที่สุดที่ช่วยแก้ไขปัญหาความรุนแรงให้กับเด็ก ๆ และโรงเรียนนี้ได้ก็คือ "การเขียน" นี่เองครับ

อีกบทหนึ่งที่อยากนำเสนอจากหนังสือ "มหัศจรรย์แห่งการเขียน" ของคุณหมอวิธาน ฐานะวุฑฒ์ ซึ่งเป็นบทที่พูดถึงประโยชน์ของการเขียนที่สามารถลดความรุนแรงทางจิตใจของนักเรียนที่ก้าวร้าวและมีปัญหาได้

 

บทที่ ๑๖ เขียนลดความรุนแรง

 

เขียนลดความรุนแรง

 

ค่อนข้างจะเป็นเหตุการณ์ที่สอดคล้องกันอย่างพอดิบพอดีอีกเหตุการณ์หนึ่งสำหรับผม

ในช่วงเดือนมิถุนายน ๒๕๕๑ หลังจากที่ผมได้เริ่มนำ "การเขียน" เข้ามาใช้กับ "กระบวนการเรียนรู้" ในเวิร์กช็อปเกี่ยวกับ "Transformative Coaching"

หลังจากนั้นไม่นานนัก ประมาณช่วงเดือนตุลาคม ๒๕๕๑ ผมก็ได้มีโอกาสชมภาพยนตร์เรื่องนี้ คือ "Freedom Writes" ในเคเบิลทีวี

 

 

(http://www.movies-wallpapers.net/Movies/Freedom%20Writers/Freedom%20Writers-06.jpg)

 

 

ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้สร้างขึ้นมาจากเรื่องจริง ๆ ที่เกิดขึ้นในโรงเรียนแห่งหนึ่งในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเรื่อง "ความรุนแรง" เรื่องเชื้อชาติทีเกิดขึ้นในโรงเรียน เด็กผิวสีไม่ว่าจะเป็นผิวดำ ผิวเหลือง หรือละติน ต่างก็มีชีวิตอยู่อย่างไม่ปลอดภัย จึงต้องตั้งเป็นแก็งต่าง ๆ เพื่อความอยู่รอดของตัวเองบนความรุนแรงที่เด็ก ๆ หลายคนต้องเสียชีวิตไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

และคุณครูจี (Erin Gruwell) ที่ต้องเผชิญกับ "เด็กต่างสีผิว" เหล่านี้ในห้องเรียน

เธอใช้ "หัวใจ" ที่มุ่งมั่นดีงามด้วยความรักของเธอฟันฝ่าอุปสรรคเหล่านั้นได้อย่างน่าทึ่ง คุณครูจีนำ "การเขียน" มาใช้ในกระบวนการสอนของเธอในชั้นเรียนค่อนข้างมาก และก่อตั้งเป็นชมรม "Freedom Writers"

ใช่ครับเธอใช้ "การเขียน" เป็นแกนหลักในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงให้กับเด็ก ๆ เหล่านี้

เธอยังเขียนหนังสืออีกหลายเล่มที่ถ่ายทอดเรื่องราวที่เกิดขึ้น เล่มหนึ่งในจำนวนนั้นคือหนังสือที่ชื่อว่า "The Freedom Writers Diary" ซึ่งผมได้สั่งซื้อมาอ่านและใช้เป็นหนังสืออ้างอิงสำหรับการเขียนหนังสือเล่มนี้ด้วย

 

 

(http://img.audible.com/audiblewords/content/bk/bkot/000651/t4_image.jpg)

 

....

ในช่วงเริ่มต้น เธอได้ขอให้นักเรียนมี "สมุดบันทึกประจำตัว" ไว้เขียนเรื่องราวของตัวเอง ความคิดความรู้สึกที่เกิดขึ้นในแต่ละวันของพวกเขาและส่งสมุดบันทึกเล่มนี้ไว้ให้เธออ่านทุก ๆ วัน

ผมประทับใจมาก เพราะ "สมุดประจำตัว" ของครูจีช่างเหมือนกันกับ "สมุดบันทึกการเดินทาง" (Journal of my Journey) ที่ผมให้ผู้เข้าร่วมในเวิร์กช็อปมีไว้คนละเล่ม

ในช่วงแรกเด็ก ๆ ก็ต่อต้าน หลายคนไม่ยอมเขียน ไม่ยอมร่วมมือ แต่เมื่อปล่อยเวลาผ่านไปและเด็ก ๆ ได้เรียนรู้ว่า การเขียนได้ช่วยทำให้พวกเขาค่อย ๆ รู้สึกดีขึ้นเรื่อย ๆ

อย่างน้อย เด็ก ๆ ก็รู้สึกว่า มีคุณครูจีที่สนใจอ่านเรื่องราวของพวกเขา จากเดิมที่พวกเขาเหมือนคนนี่ถูกทอดทิ้งและไม่มีใครในสังคมแยแสสนใจพวกเขา

จากนั้นเธอก็จะมีกิจกรรมต่าง ๆ ในชั้นเรียน และทุก ๆ ครั้ง เธอจะให้นักเรียน "เขียนบันทึก" ถึงสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้

ถ้าชมภาพยนตร์เรื่องนี้ทั้งหมด แม้จะมีรายละเอียดอื่น ๆ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่น่าสนใจแต่เราจะเห็นได้ว่า

ประเด็นที่สำคัญที่สุดที่ช่วยแก้ไขปัญหาความรุนแรงให้กับเด็ก ๆ และโรงเรียนนี้ได้ก็คือ "การเขียน" นี่เองครับ

 

.......................................................................................................

 

มหัศจรรย์แห่งการเขียนจริง ๆ ครับ มหัศจรรย์แห่งความคาดไม่ถึงของสิ่งที่ได้จาก "การเขียน"

 

บุญรักษา นักเขียนลดความรุนแรงทุกท่านครับ ;)

 

.......................................................................................................

 

ขอบคุณหนังสือที่เกี่ยวกับการเขียนดี ๆ ...

วิธาน ฐานะวุฑฒ์, นพ.  มหัศจรรย์แห่งการเขียน.  กรุงเทพฯ: ศยาม, 2554.

 

หมายเลขบันทึก: 437550เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2011 16:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

อาจารย์หลายๆ ท่านใน GotoKnow และ Learners.in.th เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ ค่ะในเรื่องการให้นักเรียนเขียนบันทึกลงบล็อกเพื่อถ่ายทอดการเรียนรู้ค่ะ เช่น อาจารย์โรส อาจารย์ beeman อาจารย์แหว๋ว และ อาจารย์พระปภังกรณ์ เป็นต้นค่ะ

ว้าว มหัศจรรย์ อีกแล้วนะคะ เห็นด้วยอย่างยิ่งยวดค่ะ การเขียนช่วยจรรโลงและเยียวยา

ช่วงนี้ไม่มีอารมณ์ได้เขียน แต่ยินดีและดีใจที่ได้อ่าน อ.เสือโหด อารมณ์ดี๊ ดี จังชวงนี้ :)

ขอบคุณครับ คุณ Poo แฟนพันธุ์แทะ ;)...

เมื่อก่อนไม่มีคอมฯ

ก็เน้นเรื่องการคัดลายมือ การเขียนในรูปแบบต่างๆ แต่พอมีคอมฯเข้ามาพากันไปหมดทั้งครูทั้งเด็ก5555 ไม่เว้นแม้กระทั่งผู้บริหารตาติดจอโน๊ตฯ

ตอนนี้ แม้แต่บันทึกการอ่านต้องบังคับให้ทำกัน

ผอ.ก็บังคับครูให้เขียนหุหุเดือนหนึ่งต้องบันทึกส่งผอ. 10 เรื่อง

เป็นผอ.ก็สบายเนอะไม่ต้องทำไรสั่งยันเต

ส่วนเด็กนี่ก็ขี้นอยู่กับศักยภาพและความสามารถของครูประจำชั้นและครูภาษาไทยว่าจะใช้วิธีการไหนให้เด็กเขียนบันทึกการอ่านส่งให้ได้มากคนและมากเรื่อง

แต่ก็ไม่ได้เรื่องได้ราวหรอกพอสิ้นภาคเรียนไปเก็บก็ได้ห้องละไม่กี่คน

เชื่อว่าการเขียนจะลดความรุนแรง..ในใจเด็ก

ถ้าครูให้ความสำคัญกับงานเขียนของเขา

แต่จะลดความรุนแรงได้มั๊ย..ถ้า

ครูวิจารณ์งานเขียนของเขาอย่างรุนแรง

สร้างงานเขียนแปรเปลี่ยนอารมณ์ ลดความขัดแย้งและรุนแรง

ขอบคุณสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กรณีศึกษาของคุณครู วิญญาณ ครับ

มีกฎข้อหนึ่ง คือ "การเสริมแรง" หากเป็น "การเสริมแรง" เชิงบวก สมควรทำอย่างยิ่ง แต่หากเป็น "การเสริมแรง" ทางลบ ไม่ควรทำอย่างยิ่งเช่นกัน

ขอบคุณครับ พี่คุณครู ครู ป.1 ;)...

ขอบคุณมากครับ คุณ SANTIRAT HATYAINAI ที่ได้แวะมาเยี่ยมบันทึกนี้ ;)...

"การเสริมแรง" ทางลบ.... ความหมายเป็นนัย ๆ นะคะ อ.วัส อิ อิ

การเสริมแรง หรือ Reinforcement ครับ เลขาฯ noomam lek ;)...

การเสริมแรงใช้ตอนที่ "ครู" สอน "นักเรียน" ไม่ว่าจะเป็นสอนโดยตรง หรือสอนผ่านสื่อการเรียนการสอน "ครู" จะต้องทำการเสริมแรงบวกเสมอ เช่น การชมเชย หรือ ให้กำลังใจ

และ "ครู" ไม่ควรเสริมแรงลบโดยเด็ดขาด เช่น ด่าทอ ต่อว่า เพราะจะทำให้นักเรียนมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อเนื้อหาวิชา ต่อกระบวนการเรียน หรือ ต่อตัวครูเอง ส่งผลให้นักเรียนเรียนไม่จบ หรือ ออกกลางคัน

ด้วยเหตุฉะนี้ตามหลักวิชา และความเป็นมนุษย์นี่เลยล่ะครับ เลขาฯ noomam lek ;)...

ขอบคุณสำหรับบันทึกดีๆนี้นะคะ การเขียนช่วยได้หลายๆอย่างค่ะ...

สวัสดีค่ะ

ชอบมากค่ะการเขียนเพื่อลดความรุนแรง เป็นคำแนะนำที่เป็นประโยชน์กับครูมากค่ะ...

".....และ "ครู" ไม่ควรเสริมแรงลบโดยเด็ดขาด เช่น ด่าทอ ต่อว่า เพราะจะทำให้นักเรียนมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อเนื้อหาวิชา ต่อกระบวนการเรียน หรือ ต่อตัวครูเอง ส่งผลให้นักเรียนเรียนไม่จบ หรือ ออกกลางคัน...."

จะขอนำไปแนะนำต่อค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

คนไม่เป็นครูขออ่านด้วยนะคะ 

ยินดีและขอบคุณครับ พี่คุณครู เมียวดี ;)...

ยินดีและขอบคุณมากครับ ท่าน ศน.ลำดวน ;)...

พี่ คิม นพวรรณ เป็นครูตลอดชีวิตครับ

ดังนั้น จึงควรอ่าน อิ อิ

อ๋อ.... นู๋นึกว่าหมายถึง...

เลขาฯ noomam lek ... "การเขียน" เป็นกระบวนการเรียนรู้ทางวิชาการจริง ๆ ครับ

ใช้รักษาได้สารพัดโรค หมายถึงอย่างนั้นแหละ ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท