คุยเรื่อง KM ที่มหาชีวาลัยอีสาน


Tacit Knowledge กับ Explicit Knowledge เนื่องจากธรรมชาติของความรู้สองประเภทนี้มีความแตกต่างกัน การจัดการจึงต้องใช้วิธีการที่แตกต่างกัน

     มหาชีวาลัยอีสาน

 

         หลังจากพิธีเปิด ค่ายกิจกรรม เพื่อนพึ่งเพื่อน ณ มหาชีวาลัยอีสาน ในอาคาร กรมราษฎรส่งเสริม สถาบันฟื้นฟูศักยภาพภูมิปัญญา ก็เป็นการนำเสนอ วิธีแปลงจินตนาการออกมาให้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่สนุก สบายๆ ด้วยการฟังกบร้องเพลง  ที่สร้างบรรยากาศสนุกๆ เมื่อกบตัวเขียวตาโตออกมาร้องบอกว่า ในวันที่สดใส ฝนตก รุ้งสีสวยเปรียบเสมือนเข็มขัดที่คาดเอวท้องฟ้าให้แปลกตา คุณตาโตร้องบอกว่าในวันเช่นนี้ เราจะทำอะไรกันบ้าง จะทำอะไรก็ให้รีบๆทำ ..เพลงสนุกด้วยท่าทางการ์ตูนจึงเบิกโรงเบิกใจในช่วงแรก แล้วตามด้วยการนำเสนอ Power Point หัวข้อเรื่อง บทบาทมหาชีวาลัยอีสาน ทำงานร่วมกับลูกหลานในวันนี้ ประกอบด้วยหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้  ทำไมถึงมีวันนี้  วันนี้เป็นอย่างไร   ทำไมถึงมาที่นี่   เรามาทำอะไรกันที่นี่  ที่นี่มีอะไรให้เราทำ  เราจะทำกันอย่างไร  โดย ท่านเจ้าสำนัก : ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์  ตามที่ได้ นำเสนอด้วยรูปไปแล้ว 

           หลังจากอิ่มหนำสำราญกับอาหารกลางวันแล้วก็ถึงคิว การนั่งคุยเรื่อง KM.ธรรมชาติในมิติภูมิปัญญาสาระแห่งความพอเพียง โดยจอมยุทธกระบี่สายฟ้า  ดร.แสวง รวยสูงเนิน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ดร.อรรณพ วราอัศวปติ รองประธานอนุกรรมการการจัดการความรู้ มมส ดร.สุทธิดา แจ่มใส คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  โดยมี อาจารย์อุทัย อันพิมพ์   ศิษย์สำนักมหาชีวาลัยอีสาน  เป็นผู้ดำเนินรายการ

   

เนื่องจากเป็นผมเป็นคนเดียวที่มามหาชีวาลัยอีสานเป็นครั้งแรก ก็เลยได้รับเกียรติ  ให้พูดก่อน (ที่จริงถูก B ตาม 6B ของท่านจอมยุทธไร้กรอบมากกว่า เพราะผู้ดำเนินรายการเป็นลูกศิษย์ของจอมยุทธอีกสองท่านที่เหลือ )  ผมเลยได้โอกาสพูดเรื่องง่าย ๆ ให้นิสิตกลุ่มนี้ฟัง  เพื่อให้ได้รับพื้นฐานเรื่องของ ประเภทของความรู้ ที่ในวงการจัดการความรู้ (Knowledge Management) นิยมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท         ความรู้ประเภทที่หนึ่ง เรียกกันว่า ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ที่เป็นความรู้ที่เห็นได้ชัดเจนเป็นรูปธรรม เป็นความรู้ที่ได้มาจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ผ่านกระบวนการวิจัย พิสูจน์มาแล้ว  และนำมาเผยแพร่ในรูปของเอกสาร รายงาน  หนังสือ ตำรา และ สื่อต่าง ๆ  ส่วน ความรู้ประเภทที่สอง เรียกว่า ความรู้ที่ฝังลึกในตัวคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้มาจากการปฏิบัติ เป็นสิ่งที่เห็นได้ไม่ชัด บางคนเรียกว่าเป็น ภูมิปัญญา หรือ เคล็ดวิชา  เป็นเทคนิคเฉพาะตัวของผู้ปฏิบัติแต่ละคน ซึ่งผลการวิจัยในต่างประเทศสรุปว่า สัดส่วนความรู้สองประเภทนี้ ส่วนที่เป็น ความรู้ชัดแจ้ง นั้นจะเห็นได้ง่าย คล้ายกับส่วนยอดภูเขาน้ำแข็งที่โผล่พ้นน้ำ แต่ความรู้ส่วนที่เป็น ความรู้ฝังลึกอยู่ในตัวคนนั้น มองไม่เห็นเหมือนกับส่วนของภูเขาน้ำแข็งที่จมอยู่ใต้น้ำ ซึ่งมีปริมาณมากกว่าส่วนที่พ้นน้ำมาก (ดูรูป)   tacit vs explicit knowledge 

       เนื่องจากธรรมชาติของความรู้สองประเภทนี้มีความแตกต่างกัน การจัดการจึงต้องใช้วิธีการที่แตกต่างกัน และในโลกแห่งความเป็นจริง ความรู้สองประเภทนี้มีการแปรเปลี่ยนสถานะภาพระหว่างกันตลอดเวลา เหมือนรูปภาพที่ท่าน อาจารย์ ดร. ประพนธ์ ผาสุกยืด ได้เคยนำเสนอไว้

    

ผมพูดเรื่องความรู้ที่เป็น Explicit และ Tacit ก็เพื่อให้เห็นชัดถึงคุณลักษณะที่แตกต่างระหว่างความรู้ทั้ง 2 ประเภท เพื่อที่เราจะได้ “จัดการ” ความรู้เหล่านั้นด้วย “วิธีการ” ที่แตกต่างกันออกไป”   

    อ่าน “เต๋าแห่ง KM” - ใน Explicit มี Tacit ใน Tacit มี Explicit ของท่านได้ที่นี่
   http://gotoknow.org/blog/beyondkm/37255 
    อ่าน “ความแตกต่างระหว่างความรู้ที่เป็น Explicit กับ Tacit” ของท่านได้ที่นี่
 
http://gotoknow.org/blog/beyondkm/36844 

หมายเลขบันทึก: 85075เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2007 20:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 เมษายน 2018 12:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ได้ความรู้มากครับอาจารย์
  • ผมก็จัดค่ายแนวนี้มานานพอสมควร
  • ได้ความรู้จากที่นี่
  • ขออนุญาต  นำบางอย่างไปใช้บ้างนะครับ

KM แบบธรรมชาติ ..คิดว่าคงได้ลิ้มลองรสแบบเป็นธรรมชาติอย่างแท้จริง ครับ

  • อ่านกิจกรรมต่อได้ ในบันทึกนี้ ครับ
  • ยินดีมากครับที่ทาง
    P
    เห็นว่ามีประโยชน์ และ สนใจนำไปใช้ต่อได้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท