สรรพปัญญา นานาจิตตื่นรู้


สรรพปัญญา นานาจิตตื่นรู้

สำหรับตัวทฤษฎีว่าด้วย multiple intelligences นั้น บางรสนิยมอาจจะไม่ชอบ หาว่าพยายามไป "แบ่งส่วน" คน หรือ ความฉลาด ปัญญาอีกแล้วหรือ แล้วนี่จะทำให้เกิดอะไรขึ้น จะลดความเป็น "องค์รวม" ลงหรือไม่ เราทุบให้แตกเป็นส่วนๆ คิดวิเคราะหฺทีละชิ้นเล็กทีละชิ้นน้อย ฯลฯ

หรืออีกประเด็นก็คือ หากเรามี intelligence เรื่องนี้ แล้วไม่ต้องไปพยายามทำอย่างอื่น อย่างนั้นจะเป็นการ "ละเลย ไม่หล่อเลี้ยง" ตัวตนของเรา หรือ subpersonalities หรือไม่ (ใน voice dialogue ของ Hal & Sidra Stone?)

ก็คงจะแล้วแต่มุมมอง แต่คำถามที่น่าสนใจก็คือ มองอย่างไร เพื่อใช้อย่างไร มากกว่า

เพราะมี หรือไม่มี multiples intelligences เราก็มีชีวิตอยู่ และใช้สิ่งนี้อยู่ทุกวี่วัน จะเรียกชื่อว่าอะไร ก็คงจะไม่เปลี่ยน "คุณภาพ" ของสิ่งที่เราเรียกไปได้

การมองแยกส่วน ว่า "ปัญญา" พอจะจัด categorized ได้หรือไม่ เป็นกระบวนการเพื่อเอื้ออำนวย หรือ facilitate คนที่มีหน้าที่สอน และคนที่กำลังจะเรียน ให้มีความเข้าใจ background ของตนเองให้ดีมากขึ้นเท่านั้น เหมือนการทำความเข้าใจ ศึกษา Learning Styles ของ Anthony Gregorc เช่นกัน

8 intelligences

  1. Musical
  2. Linguistic
  3. Mathematic/logistic
  4. Kinetic/body movement
  5. Spatial
  6. Interpersonal
  7. Intrapersonal
  8. Naturalist
  9. (8 and 1/2) Existential
  10. (not counted as in current book) Spiritual

แต่ละประการ กว่าจะถูกจัดเป็นหมวด จะต้องผ่านขั้นตอนทางการวิจัยจัดหมวดหมู่เสียก่อน และมี "ข้อบ่งชี้" ว่าลักษณะที่กำลังพูดถึง สามารถจัดเป็น intelligences ได้ด้วย

เพื่อเป็นการยุติรรม (และเพื่อความเข้าใจ) Howard Gardner (in Frames of Mind: The Theory of Multiple Intelligences 20th-anniversary edition, 2004) ได้อธิบายข้อบ่งชี้ หรือ criteria of an Intelligence ไว้ 8 ประการ ได้แก่

  1. การที่สามารถแยกหน้าที่ออกมาได้ชัดเจน เมื่อมี spared and specific brain damages หรือ มีอาการบางพิสัยแสดงตนออกมาเมื่อการกระทบกระเทือนสมองจำเพาะส่วน เป็นการบอกเป็นนัยถึง specific formula ที่ข้อมูลบางลักษณะถูกจับกลุ่ม วิเคราะหฺ แปลผล ออกเป็น trait อย่างหนึ่งเป็นพิเศษ
  2. การเกิดปัญญาที่พิเศษจำเพาะ ในกลุ่มคนที่เป็นโรค หรือมีสภาวะทางจิต เช่น ในกลุ่ม Idiot savants, prodigies, หรือบางสภาวะ ที่ความสามารถพิเศษ ที่ unique ของแต่ละคน คนไข้กลุ่มนี้ ทีขาดหน้าที่ของสมองไป แต่ปรากฏว่าจะมีการ gain special specimens เป็นกรณีพิเศษได้ เช่น เด็ก autistic บางรายอาจจะมี photographic memory (จำภาพยนต์เรื่อง Rainman ได้ไหมครับ ที่ Dustin Hoffman เป็นคนไข้ autistic และ Tom Cruise เล่นเป็นน้องชาย)
  3. การได้แยกแยะการสร้างตัวกระตุ้นหลัก หรือ set ของการรับรู้ข่าวสาร ได้แก่ ข้อมูลขาเข้าบางลักษณะ (input) ตรงนี้เป็น idea ที่ต่อยอดออกไปเป็น Artificial Intelligence นั้นเอง แต่ตอนที่ Gardner เขียน ผมเข้าใจว่าเขากำลังอธิบาย หรือพยายามที่จะจัดโครงสร้าง ข้อมูลประเภทต่างๆ อาทิ เพลง ดนตรี ตัวเลข ภาษา และการ process ข้อมูลเหล่านี้
  4. มีหลักฐานการพัฒนาการของ quotient นี้ตั้งแต่เริ่มต้น นอกจาก development หรือ พัฒนาการแล้ว เรายังมีภาวะ "expert หรือ end-state performance" ได้ด้วย กล่าวคือ มี Hierachy ของการพัฒนาสติปัญญา ตั้งแต่ มือหัดใหม่ (novice) ไปเป็น ผู้ทำเป็น (skilled worker) ไปจนถึงระดับเซียน (expert) แม้ว่าบางทีเซียนเท่านั้นจึงจะสามารถมองเห็นเซียนด้วยกันได้ (คนธรรมดาๆ ไม่ทราบอรหันต์เป็นอย่างไร เป็นต้น)
  5. มีหลักการพัฒนาการแล้ว ก็ต้องมีหลักฐานวิวัฒนาการในประวัติศาสตร์ ที่เราอาจจะสืบค้นหาได้ เช่น เสียงเพลงของสัตว์ประเภทนก ที่เป็น social communication และสืบทอดต่อๆไปใน chain of evoluation ส่วนสัตว์ชั้นต่ำลงมา ก็ยังไม่มีการสืบทอด chain of intelligence ชนิดนี้ เป็นต้น
  6. พิสูจน์โดย experimental psychological tasks
  7. พิสูจน์หรือสนับสนุนโดย psychometric findings
  8. สามารถจัดระบบสัญญลักษณ์ในการอธิบายการทำงานได้ (ตรงนี้เคยมีคนวิจัยบอกว่า "มนุษย์เป็น สัตว์ภาษา Linguistic beings " ที่สังคม (ไม่ใช่ individual นะครับ) ไปได้ไกลสุด ก็ติดตรงนี้แหละ การวิวัฒน์ของ ภาษา) ตรงนี้ผมคิดว่า Gardner ไม่ได้ตั้งใจจะให้มีบริบทจำกัดของ intelligence แต่ "ตั้งใจ" จะบ่งชี้ถึง กรอบ ที่คนส่วนใหญ่ จะเจอ เวลาที่จะนำเอา intelligence form ไปใช้ในทางปฏิบัติ ว่าเรายังไม่ได้ ถึงที่สุดของขอบเขต แต่ถึงที่สุดของการสื่อสารมากกว่า

จาก criteria 8 ประการนี้เอง ที่ภายหลังการพยายาม document spiritual intelligence เกิดปัญหาขึ้น และจนในเล่ม 2006 คือ The New Horizons Gardner ขอดึงเอาไว้ก่อน และ ให้แค่ "ครึ่ง type" ของ Existential Intelligences หรือ Intelligence of the BIG question คาเอาไว้แค่นั้น (คือเอาไปคิดต่อนะครับ ไม่ได้แปลว่าหมดแล้ว) นับว่าเป็นเรื่องค่อนข้างยาก ที่บาง issue จะครบทุก criteria ก่อนที่ Gardner จะยอมบรรจุลงไปใน Intelligences category (ถ้าจัด GARDNER เป็นอะไรใน Learning Style ของ Gregorc ตะแกต้องเป็น severe abstract sequential แน่นอน !!!)

ผมจะลองแจกแจง intelligences ทั้ง 8 ประการครึ่งออกมาก่อน แล้วจะพิจารณาว่า ในแต่ละหมวดควรจะเขียนแยกโดยพิศดารดีไม่ดี (ใน original book ของ Gardner แต่ละ intelligence จะมี 1 บทของตนเอง!!)

MUSICAL INTELLIGENCE

ตอนที่ Yehudi Menuhin อายุ 3 ขวบ พ่อกับแม่พาไปดูคอนเสิร์ต San Francisco Orchestra เมื่อหนูน้อย Menuhin ได้ยินเสียง violin ของ Louis Persinger เข้าเท่านั้น เหมือนอะไรเข้าสิง ยืนยันรบเร้าขอ violin เป็นของขวัญวันเกิด และนอกเหนือไปจากนั้น คือ ขอให้ Louis Persinger เป็นคนสอนด้วย !! (ผมจำไม่ได้แล้วว่าตอนผม 3 ขวบ ขออะไรพ่อแม่ แต่แน่ใจว่าไม่ใช่อะไรทำนองนี้!!!!) และความประสงค์ทั้งสองอย่างก็ถูก granted ตอนที่หนูน้อย Menuhin อายุได้ 10 ขวบ เขาก็ได้กลายเป็น international performer ไปเรียบร้อย

musical intelligence ของเมนูฮิน แสดงออกมา ตั้งแต่ก่อนที่เขาจะจับ violin หรือเรียน violin เสียอีก การที่หนูเมนูฮิน มีปฏิกิริยาอันทรงพลังเมื่อได้ยิน เสมือนกับว่า เขาได้มีการถูกตระเตรียมทางชีวภาพในบางวิธี เพื่อที่จะรับรู้ ดนตรี เป็นวิถีชีวิตของเขา

เมื่อพิจารณา criteria of intelligence ก็ปรากฏว่าสมองด้านขวามีบทบาทเกี่ยวข้องค่อนข้างมากในเรื่องดนตรี แม้ว่าจะไม่ชัดอย่างของเรื่องภาษาก็ตาม อย่างไรก็ดี พยาธิสภาพบางตำแหน่งของสมอง ก็มีรายงานว่าทำให้เกิด amusia หรือ selective loss ของความสามารถทางดนตรีได้

Bodily-Kinesthetic Intelligence

เจ้าหนุ่ม 15 ปี Babe Ruth กำลังเล่น catcher (เข้าใจว่าคล้ายๆเบสบอล) เห็นเพื่อนร่วมทีมกำลังตี "ลูกมหัศจรรย์" อยู่ (terrific beating) เขาก็ระเบิดหัวเราะ และตะโกนแซว  pitcher ครูผู้ฝึก สองพี่น้อง Mathias เลยออกมาพูดว่า "เก่งนักเหรอ เอ้า ไปเป็น pitcher หนุ่ม Ruth อึกอัก "แต่ผมไม่เคยเป็นเลย ไม่เคยตีมาก่อนด้วย แม้แต่ครัง้เดียวนะโคช!"

Ruth เดินไปที่ตำแหน่ง pitcher แล้วก็เริ่มรู้สึกแปลกๆเกิดขึ้นในร่างกาย เกิดความสัมพันธ์เชื่อมโยงตัวเขา เนินคนตี ไม้ตี เขารู้สึกว่า "นี่แหละที่เขาเกิดมาเพื่อ นี่แหละคือพื้นที่ ที่อยู่ของเขาบนโลกใบนี้" นี่คือที่มาของ Legendary hitter Babe Ruth

แม้ว่าการเคลื่อนไหวร่างกายเป็น "ความสามารถพื้นฐาน" แต่ เป็นที่ชัดเจนว่า มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงของระบบการเคลื่อนไหวของร่างกายที่ซับซ้อน ที่สามารถขยายความสามารถให้สูงมากขึ้น เมื่อเพิ่มการควบคุม การตอบสนองที่เหมาะสมบางอย่างเข้าไปให้สมบูรณ์ การวิ่งไปข้างหน้าด้วยความเร็ว 30 km/hr เตะบอล หลบคนสะกัด และส่งลูกไปตกตรงที่ที่ต้องการ หลบคนที่บังอยู่ 3-4 คน ได้ทุกครั้ง ทำให้คน "บางคน" เท่านั้นที่เป็น elite athelic ในวงการ ลองถาม David Beckham, Zedan, หรือ Michael Jordan ดู

Logical-Mathematical Intelligence

บาร์บารา แมคคลินทอก Nobel-Prize laureate สาขาวิชาแพทย์หรือสรีรวิทยา สำหรับผลงานของเธอเรื่อง microbiology พลังในการ deduction และ การสังเกต การสร้างความเชื่อมโยง เป็น logical-mathematical intelligence ที่ชัดเจน

ครั้งหนึ่งที่เธอกำลังทำ lab พบว่าการปลูกข้าวโพด ที่พยากรณ์ว่าจะเป็นหมัน 50% นั้น พบว่าเป็นหมันไปแค่ 25-30% เธอหงุดหงิดมาก เดินออกจากแปลง กลับห้องนั่งคิด ปั๊บเดียว เธอแทบจะกระโดดจากโต๊ะ ตะโกน "Eureka คิดออกแล้ว! คิดออกแล้ว! ชั้นรู้แล้วว่าอีก 30% มาได้ไง" แล้วเธอก็นั่งลง เขียนขยุกชยิกมาเริ่มตั้งแต่ต้น เป็นสมการที่ซับซ้อนมาก แต่ในที่สุดก็ออกมาเป็นผลลัพธ์ เป็นคำตอบ

ประเด็นก็คือ เธอรู้คำตอบ "ก่อน" ที่จะนั่งคิดคำนวณ และบันทึกแสดงลงกระดาษ เธอคิดออก "ภายในหัว" ของเธอเอง

เราพบว่าสมองส่วนภาษาที่ fronto-temporal lobe นั้นมีอิทธิพลมากในด้านการทำ logical deduction หรือการคิดตรรกะสัมพันธ์ (น่าจะมีคำจำเพาะนะครับ ต้องถามนักคณิตศาสตร์มั้ง) และในส่วนสมองการมองเห็นช่องว่าง (visiospatial area) ที่ parieto-frontal lobe นั้น จะทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณ (calulation)

ที่น่าสนใจมากสำหรับ logical-mathematic intelligence ก็คือ ในขณะที่ในที่สุด เราก็จะสามารถพิสูจน์ทางสมการ ทางการแก้โจทย์ออกมาได้คำตอบเหมือนอย่างที่พวก genius ทำ แต่ตอนที่พวก genius หรืออัจฉริยะทำ หรือ เกิด Aha!!-idea นั้น ทำยังไงก็ไม่มีใครทราบ cognitive scientist อาจจะชอบ/ม่ชอบคำ "Intuition หรือ ฌานทัศนะ" แต่นั่นดูเหมือนเป็นสิ่งที่ได้เกิดขึ้น แต่จะเรียกว่าอะไรก็ตาม Gardner เชื่อว่ากระบวนการที่เกิดขึ้น และแก้ปัญหาในลักษณะนี้ เป็นการทำงานใน mode ของ Logical-mathematic intelligence นั่นเอง ข้อที่พอจะ "ปลอบประโลม" คนที่เหลืออยู่ก็คือ อย่างน้อย มันก็จะมีสมการ การแก้ไขปัญหา เหลือให้เขาทำความเข้าใจ และค่อยๆฝึก ค่อยๆ train ให้เร็วขึ้น เข้าใจมากขึ้นสำหรับตนเองได้ ทำให้มิติของ intelligence มิตินี้ เป็นที่น่าสนใจสำหรับคนที่สอน หรือฝึก มากที่สุดสาขาหนึ่ง

Linguistic Intelligence

ตอนอายุได้แค่ 10 ขวบ T.S. Eliot ก็เริ่มเขียนแมกกาซืน ชื่อ Fireside ซึ่งทั้งฉบับ เขาเป็นคนเขียนเอง ตอนที่ Eliot หยุด 3 วันเป็นวันพักผ่อน เขาเขียนออกมาอีก 8 issues แต่ละฉบับจะมีทั้ง บทกวี เรื่องผจญภัย คอลัมภ์ซุบซิบ และบทความตลกขบขัน

เราหลายๆคนคงจะเคยอ่าน เพชรพระอุมา ของพนมเทียน ศิลปินแห่งชาติ เป็นหนังสือนิยายที่เชื่อว่าน่าจะยาวที่สุดเรื่องหนึ่ง และเขียนยาวนานกว่า 25-26 ปี จึงจบ คนอ่านๆไปจนบางคนเสียชีวิตไปก่อนก็มี แฟนพันธุ์แท้ก็จะได้ชื่นชมเพชรน้ำเอกของวรรณกรรมไทยครบบริบูรณ์ได้

ในสมองเรามีพื้นที่ที่เรียกว่า Broca's area หรือ พื้นที่ 41, 42 Broadmann's areas เป็นที่ที่ผลิตการเชื่อมร้อยคำ ภาษา และแสดงออก การพิการเฉพาะที่บริเวณนี้ คนไข้สามารถ "เข้าใจ" แต่จะ "ไม่สามารถแสดงออก" ได้

ภาษานั้นมีหลาย expressions เช่น ภาษามือของคนหูหนวกที่จัดเป็นระบบอีกแบบหนึ่ง ถ้าเราจำตอนเด็กๆได้ บางทีเด็กๆก็จะคิด "ภาษาพิเศษ" มาประกอบการเล่น คนเดียว หรือเป็นกลุ่ม linguistic intelligence สามารถทำงานผ่าน inputs หลากหลายรูปแบบ และออกมาทาง outputs หลากหลายช่องทาง

Spatial Intelligence

การเดินเรือไปตามชายฝั่งของชาวประมง เป็น intelligence แบบหนึ่งเช่นกัน การใช้ตำแหน่งดวงดาว ตำแหน่งเกาะ กระแสน้ำ สภาพอากาศ สีของน้ำ เป็นเสมือนป้ายบอกทาง ภาพแผนที่ในใจ (mental map) ของนาวิเกเตอร์ หรือผู้นำทาง (navigator) ประกอบกันจากหลายๆข้อมูลมารวมกัน ทำให้สามารถปรับทิศทางการเดินเรือ กำลังเครื่องยนต์ หรือการปรับใบเรือตามกระแสลม

สมองที่บังคับความสามารถส่วนนี้อยู่ที่ middle regions ของเปลือกสมองข้างขวา (cerebral cortex)  โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณด้านหลังของเปลือกสมองข้างขวา จะทำหน้าที่แปล วิเคราะห์ "ช่องว่าง" spatial เมื่อมีพยาธิภาพบริเวณนี้ เกิดผลที่น่าสนใจหลายอย่าง ไม่สามารถกลับรถได้ ไม่รู้ทิศ ไม่สามารถจดจำใบหน้า หรือ ทิศทางกลับบ้านได้ มองไม่เห็น ความเชื่อมโยง ของรายละเอียดต่างๆ

ตรงนี้ไม่ใช่แค่ การมอง เพียงอย่างเดียว ยกตัวอย่างคนตาบอด ที่ spatial intelligence ไม่ได้ผ่านการมอง แต่ผ่านการสัมผัสแทน การคลำ สัมผัส แปลมาเป็นระยะทาง แปลเป็นรูปร่างหน้าตาของสิ่งที่สัมผัส tactile modality เป็นอะไรที แทนที่ visual modality ไปในการเกิด spatial intelligence

Interpersonal Intelligence

คนบางคน มีความสามารถ "เข้าถึง" คนอื่นๆ ได้อย่างมหัศจรรย์ เป็นทั้ง gift และ trainable systems นักการขายมือดี ที่มาบรรยาย หรือฝึกอบรมการขาย ก็เป็นกลุ่มหนึ่ง แต่ก็จะพบ genius หรือ expert ที่ไม่ทราบว่าทำอย่างไร ก็ไม่สามารถจะเลียนแบบได้ขนาดนั้น เพราะเขาดูเหมือนจะสามารถไป "นั่งอยู่กลางดวงใจ" คนได้จำนวนมาก และเสมอ

นักการเมือง ก็จะมี skill ที่มีพลังในการโน้มน้าวสูงมาก (persuasive power) นักเล่นกล สามารถที่จะโน้มน้างคนให้สนใจตำแหน่งบางตำแหน่ง เพื่อกลบเกลือน tricks ของตนเอง หรือแม้กระทั้งเกิด delusion จาก power of suggestion การชี้นำอย่างลึกซึ้ง ทรงพลัง

นักเลี้ยงเด็ก ก็จะมีความสามารถพิเศษ ที่ทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัย รู้สึกผ่อนคลาย เวลาอยู่ด้วยใกล้ๆ

Gardner ตั้งข้อสังเกตว่า intelligence ชุดนี้ คนที่มีดูเหมือนว่าสามารถที่จะสังเกต เข้าถึง และเข้าใจ ความแตกต่างเฉพาะคน ของ อารมณ์ ความรู้สึก แรงบันดาลใจ ความตั้งใจ ของคนอื่นได้ง่ายๆ

ความสามารถด้านนี้ของนักการเมือง นักขาย ผู้นำ นักการตลาด นักบำบัด หรือผู้นำทางศาสนาจิตวิญญาณ ดูเหมือนจะอยู่ที่สมองส่วน frontal lobe เป็นบริเวณที่เมื่อถูกทำลาย "บุคลิกจะเปลี่ยนไปอย่างมาก" จะเห็นได้จากตัวอย่างเช่น Alzheimer's disease ที่เป็นการทำลายสมองส่วนหลัง ซึ่งจะเกิดความบกพร่องครอบคลุม spatial, logical, linguistic, computation functions แต่บุคลิกทางด้านสังคมมักจะ preserved ยังคงมีมารยาท มีการขอโทษ ขออภัยในข้อบกพร่องของตนเองได้ แต่ถ้าเป็น Pick's disease เป็น dementia ที่อยู่ที่ frontal lobe แล้วล่ะก็ บุคลิกทางสังคมก็จะแทบย่อยยับไม่เหลือหรอ

Intrapersonal Intelligence

เป็น intelligence ที่วัดค่อนข้างยากมาก ต้องอาศัย surrogate function ของ intelligence อื่นๆ ได้แก่ linguistic intelligence เราจึงจะพอจะประเมิน competencies ด้านนี้ได้บ้าง (แต่อาจจะไม่ท้งหมด)

เป็นความสามารถในการ เข้าใจตนเอง ซึ่งครอบคลุมหลายอย่าง เข้าใจอารมณ์ เข้าใจความคิด เห็นความต่อเนื่องเชื่อมโยง อ๋อ เราทำอย่างนี้ตอนนั้น เพราะกำลังรู้สึกแบบนี้ อย่างนี ต่อเรื่องนี้อยู่ เพราะกำลังคิดเรื่องนี้อยู่

เมื่อสมองส่วนด้านล่างของ frontal lobe ได้รับอันตราย อาการแสดงคือ irritable หรือหงุดหงิดรำคาญ อาจจะมี euphoria อารมณ์คึกคักครึกครื้นมาจากไหนก็ไม่รู้ ถ้ามี injury ตำแหน่งสูงขึ้นอีกนิดนึง คนไข้ก็จะมีอาการไม่รู้สึกรู้สม เชื่องช้า จนอาจจะเป็น apathy คือ ไร้อารมณ์ไร้ความคิดไปเลย ซึ่งเป็นอาการคล้ายๆโรคซึมเศร้า

เด็ก autistic เป็น prototype ของ อาการที่ intrapersonal intelligence impaired มากๆ เด็ก autistic ไม่เชื่อมโยงโลกภายนอกและภายใน ไม่ทราบตัวตนของเขา ไม่สามรถจะ refer ถึงตัวเองในแบบใดๆได้ ถึงแม้ว่าบางครั้งเด็ก autistic จะมีความสมารถด้านดนตรี ด้าน spatial ด้านกลไก แลอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่เรื่องของความสัมพันธ์ หรือเรื่องของผู้คน เป็นเด็กที่ไม่มีตัวตน

Naturalist Intelligence

สติปัญญาในการบ่งชี้ความต่าง ความเหมือนของ species ต่างๆของสัตว์ พืช สิ่งของ การจำแนกกลุ่มของชีวิต

ที่น่าสนใจคือ เด็กมี naturalist intelligence มากกว่าผ้ใหญ่ เคยไปดูหนัง Jurassic Park ไหมครับ ตอนนั้น หนังเรื่องนี้บูม ก็พากันไปดูทั้งบ้าน ลูกสาวผมอายุประมาณ 3-4 ขวบ หลังจากนั้น ก็เลยสะสมตุ๊กตา ไดโนเสาร์หลากหลายพันธุ์ ปรากฏว่าลูกสาวผมจำแนกพันธุ์ไดโนเสาร์ได้ดีกว่าภรรยาผมอย่างเห็นได้ชัด

ok เป็นตัวอย่างที่ยังบอกอะไรไม่ได้ แต่มีอื่นๆอีก เช่น การจำแนกไอ้มดแดง ยอดมนุษย์ อุลตราแมน เบอร์ต่างๆ ชื่อต่างๆ  Naturalist บางคนจำแนกได้ไม่เพียงแต่โดยการมองเท่านั้น ยังแยกได้โดยการฟังเสียง เช่น พันธุ์ปลาวาฬ พันธุ์นก มีนักธรรมชาติวิทยาชาวฮอลแลนด์คนหนึ่ง ชื่อ Greemat Vermij ตาบอด แต่ศึกษาธรรมชาติรอบตัวโดยการ สัมผัส

Existential Intelligence

บางที Gardner ก็เรียกว่า The Intelligence of big questions ทางตะวันตกมักจะเรียกเรื่อง ปรัชญา เรืองอภิปรัชญา การค้นหาความจริง สัจธรรมว่า Big Question รวมทั้ง จริยศาสตร์ หรือ Pure Goodness อะไรทำนองเดียวกัน

คำถามของ existential scholars อาจจะเป็น "เรามีชีวิตอยู่เพื่ออะไร?" "ทำไมเราต้องตาย?" "เรามาจากไหน?" "ตายแล้วไปไหน?" "ความรักคืออะไร?" ฯลฯ มีศัพท์อีกคำ ไม่แน่ใจว่าจะแปลว่าอะไร คือเป็น Transcend perception หรือเป็นเรื่องของ Transcendence

American Heritage Dictionary - Cite This Source
tran·scend       (trān-sěnd')  Pronunciation Key 
v.   tran·scend·ed, tran·scend·ing, tran·scends

v.   tr.
  1. To pass beyond the limits of: emotions that transcend understanding.
  2. To be greater than, as in intensity or power; surpass: love that transcends infatuation. See Synonyms at excel.
  3. To exist above and independent of (material experience or the universe): "One never can see the thing in itself, because the mind does not transcend phenomena" (Hilaire Belloc).

=========================================

 Online Etymology Dictionary - Cite This Source
transcend 

c.1340, from L. transcendere "climb over or beyond, surmount," from trans- "beyond" + scandere "to climb" (see scan (v.)). Transcendentalism first recorded 1803, in reference to the philosophy of Kant; applied 1842 to the religio-philosophical views of Emerson and similar New England thinkers. Transcendental meditation is recorded from 1966.


Online Etymology Dictionary, © 2001 Douglas Harper

=========================================

American Heritage Dictionary - Cite This Source

tran·scen·dent       (trān-sěn'dənt)  Pronunciation Key 
adj.  
  1. Surpassing others; preeminent or supreme.
  2. Lying beyond the ordinary range of perception: "fails to achieve a transcendent significance in suffering and squalor" (National Review).
  3. Philosophy
    1. Transcending the Aristotelian categories.
    2. In Kant's theory of knowledge, being beyond the limits of experience and hence unknowable.
  4. Being above and independent of the material universe. Used of the Deity.

สิ่งที่สนใจ และกำลังหาคำตอบจะเกินกว่าประสาทสัมผัสทั้งห้า

 กระนั้นก็ตาม เมื่อเอา 8 criteria ของ intelligence มาจับ ปรากฏว่า existential intelligence ค่อนข้างจะจัดได้ดีทีเดียว เรามี so-called expert ได้แก่ นักปรัชญา ผู้นำทางศาสนา หรือ นักการเมืองผู้ยิ่งใหญ่เป็นที่เคารพนักถือสักการะ เป็นแบบอย่าง เป็นสุดยอด มีอยู่ในทุกชาติ ศาสนา ทุกประเทศ ทุกฟอร์มรวมทั้ง ศิลปะ หรือแม้กระทั้งอะไรที่ธรรมดากว่านั้น คำถามประเภทของเด็กๆก็มีในหมวดหมู่เช่นกัน (กลุ่ม ทำไม ทำไม ทำไม)

ที่ Gardner ให้เป็นแค่ "ครึ่ง" ก็เพราะปัญหาการ map ไปบนสมองนั่นเอง มันเบลอๆ เปรอะๆไปกับส่วนอื่นๆ อาจจะเป็น subset อาจจะเป็น subset ของเรื่องอื่นๆ เช่น บริเวณ inferotemporal lobe ซึ่วเกี่ยวกับศาสนา และอะไรๆของ Big Questions ก็จะมาแถวๆบริเวณนี้ แต่อาจจะเป็นแค่ broad philosophical เฉยๆ หรือเป็น emotional ไปเลยก็ยังไม่แน่

ฉะนั้นขณะนี้ (2007) เราหยุดอยู่ที่ 8 1/2 intelligences ไว้ก่อน

หมายเลขบันทึก: 97968เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2007 23:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)
  • สวัสดีครับคุณหมอครับ
  • เข้ามารออ่านก่อนนะครับ เหมือนว่าข้อความขาดหายไปบางท่อนยังไม่สมบูรณ์นะครับ
  • มาเข้ามาใหม่อีกรอบนะครับ
บัญญัติ อัศวเลิศพานิช

เพิ่งได้มีโอกาสเข้ามาอ่านครับ  เป็นเรื่องที่น่าสนใจนะครับ  สำหรับเรื่องนี้ ซึ่ง เท่าที่มีโอากาสได้ติดตามอยู่ในเมืองไทยเองผมเคยอ่านถึงเรืองนี้เหมือนกันแต่ไม่ค่อย

ลงลึกถึงการนำมาใช้อย่างจริงจัง  หวังว่าจะได้อ่านที่อาจารย์เขียนเรื่องนี้อีกมากๆนะครับ

 

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์

 มีข้อขอเรียนถามค่ะ เพราะสนใจเรื่องนี้ค่ะ

  • ได้เคยมีการทดสอบรับรองทฤษฎีของ Howard Gardner บ้างไหมคะ 
  • และความฉลาดต่างๆเหล่านี้  ส่วนใหญ่มาจากพันธุกรรมใช่ไหมคะ

ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ 

ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ประเด็น เรื่อง "แบ่งส่วน การแบ่งแยก การจัดหมวดหมู่"

เพราะคุณสมบัติหนึ่งของปัญญามนุษญ์ คือ การสามารถ แยกแยะ เปรียบเทียบ ว่า สิ่งไหนดี สิ่งไหนไม่ดี มีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไร และสามารถรวม สังเคราะห์เป็น องค์ความรู้ใหม่ๆได้ 

ส่วนเรื่องการมองทั้งหมด หรือ องค์รวม ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งหรือเรื่องหนึ่งที่ต้องพิจารณา ควบคู่กันไป จะละทิ้งไม่ได้...

 

คุณสมพร  P ครับ

ผมเขียนไปๆ กำลังง่วงนอน สับปะหงกจนหัวเกือบโขก keyboard เลยเลิกดีกว่า กำลังมา edit ใหม่ครับ

สวัสดีครับ คุณบัญญัติ อัศวเลิศพานิช

ผมไม่แน่ใจเหมือนกันว่า มีการนำมาใช้ในประเทศไทยมากน้อยแค่ไหน แต่ครั้งแรกที่ผมอ่าน ก็รู้สึกน่าสนใจเอามากๆ ค่อยๆย่อย ค่อยๆละเลียดทานจน Gardner ออกเล่มใหม่มา เล่มแรกก็ยังไม่จบ พอดีคุณสมพร และคุณเบิร์ด มาจุดประกายใหม่ และพอดีตอนนี้มี blog แล้ว ก็เป็นโอกาสครับ อยากได้ความคิดแลกเปลี่ยนด้วยนะครับ ขอบพระคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียนครับ

สวัสดีครับ
P

ผลงานของ Gardner เป็น world inspired work เบยทีเดียวครับ โดยเฉพาะสำหรับ educator

Gardner ขณะนี้ (2006) เป็น John H. and Elizabeth A. Hobbs Professor วิชา Cognition and Education ที่มหาวิทยาลัย Harvard Graduate School of Education.

Gardner ได้รับรางวัลมากมายจากผลงานของเขาครับ ได้ MacArthur Prize Fellowship ตังแต่ปี 1981 เป็นชาวอเมริกันคนแรกที่ได้รางวัล University of Lousisville's Grawemeyer Award in Education ในปี 1990

เมือปี 2000 แกก็ได้รางวัล Guggenheim Fellowship หนังสือ classic ของแก คือ Frames of Mind นั้นมีคนนำไปดัดแปลงใช้ในระบบการศึกษา( ที่อืน) มากมาย ที่ Harvard University มี programme พิเศษ ที่เด็กจะถูกทดสอบ Aptitude tests ก่อน เพื่อค้นหาศักยภาพของเด็ก ก่อนที่จะเลือกเรียนวิชาอะไรๆ ทดสอบเสร็จ ครูแนะแนวก็จะมีข้อมูลเพิ่มเติมมาให้เด็กเลือก college ที่ตนเองอยากจะเรียนครับ 

สวัสดีครับ
P

เห็นด้วยครับในเรื่องการจัดการความรู้ และจัดการการเรียนการสอน

มันจะมีอุปสรรคอีกที่หนึ่งคือเรื่องการประเมิน ใช่ไหมครับ

การประเมินเป็นดาบสองคม และเราต้องใช้ให้ดีๆ มิฉะนั้นผลเสียถ้าท่วมท้นผลดี ก็น่าเสียดายอย่างยิ่ง

เมื่อเราทำการประเมิน จะเหมือนเดินบน slippery slope เราอาจจะแกว่งก้น (ขออภัย) กระแทกใครต่อใครกลิ้งตกเหวไปเมื่อไหร่ก็ได้

ประเมินอย่างไร

ประเมินเพื่ออะไร

ประเมินใคร

เมื่อไร

เป็นปัญหาตามมาในการจัดระบบการศึกษาทั้งสิ้น

ยังไม่ได้ตอบไปหนึ่งคำถามของคุณ
P

เรื่อง genetic influence นี่ มีความเกี่ยวข้องแน่นอนครับ แต่บอกว่า "ส่วนใหญ่" หรือ "ส่วนน้อย" ผมคิดว่าประเด็นนี้ยัง controversial หรือว่ายังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่

Nature versus Nurture

เป็นการเกิดมา หรือว่า การเลี้ยงดู? การพูดคุยเรื่องนี้ มีตั้งแต่เชิง academic pure จนไปถึง political correctness และ racism isssue ได้เลยทีเดียว

อย่างไร?

มีคนพยายามเชื่อมโยง คุณค่าบางประการ เข้ากับ genetic หรือ races ว่าเกี่ยวโยงกัน ขนาดที่เรียกว่า สีผิว เชื้อชาติ เข้ากับความดี เลว นั้นทีเดียว เป็น "ควันหลง" มาตั้งแต่ ฮิตเลอร์ กับเผ่าอารยัน ที่เหยีนดผิวอื่นมาเป็นชนชั้นต่ำ (ที่น่ากลัวก็คือ neo-NAZI ตอนนี้กำลังจะไม่ใช่ "ควันหลง" แล้ว เริ่มกลายเป็นกองไฟเล็กๆ) การที่ social wing หรือ left-wing parties ในยุโรปที่เป็นฝ่ายปกครองมาสิบกว่าปีเกือบยี่สิบปี มี immigrant จำนวนมาก เข้าประเทศ หน่วงเศรษฐกิจในภาครวมลง ภาษีถูกนำไปใช้ใน social welfare มากขึ้น ฐานของ right-wing (ซึ่งพวกหัวรุนแรงของ right-wing ก็ได้แก่ neo-Nazi, white-supremacist, BNP หรือ British National Party และ Paula's party ในออสเตรเลียเป็นต้น) ก็กำลังเติบโตขึ้น left-wing กำลังแผ่วลงๆ

ผมคิดว่าเราอาจจะไม่ต้องสนใจมากนักก็ได้กระมังครับ ว่า competency ไหนมาจาก gene ใคร เพราะนั้นเป็นสิ่งที่กำหนด แก้ไข ไม่ได้ แต่สิ่งที่เราทำได้คือ เราจะเลี้ยงดูเด็ก สอนเด็ก อย่างไร ไม่ว่าเขาจะเกิดมาจาก gene pool ไหน ก็ตาม เราจะ optimize เด็กแต่ละคนได้แค่ไหน อย่างเต็มที่ ผมคิดว่าเรื่องนี้น่าตื่นเต้นมากทีเดียว

 

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์

คำตอบชัดเจนมากค่ะ

แต่ท่านอย่ารำคาญนะคะ ถ้าบางทีดิฉันอาจจะถามอะไรเชยๆไป เพราะนิสัยเป็นคนskepticค่ะ

ดิฉันเห็นด้วยค่ะ ว่าอย่าไปสนใจสิ่งที่แก้ไม่ได้แล้ว คือ geneของเด็กว่าจะมาจากทางไหน

แต่ก็แค่อยาก เป็นแนวในการป้องกันค่ะ เช่น ดิฉันเคย บอกลูกชาย ว่า เขามีแนวโน้มจะได้พันธุกรรม คอเลสเตอรอลสูงมาจากคุณย่าและคุณพ่อ ทั้งๆที่ พยามดูแลตัวเอง ก็ตัวไขมันชนิดนี้ ร่างกายทำได้เองส่วนใหญ่ แล้วก็จริง เขาอายุ 30 ไขมันตัวนี้ 210แล้ว

แต่ไตรกลีเซอไรดิ์ต่ำ เลยมาใช้วิธีของAtkin ได้ผล ไขมันลดแล้วเหลือ190 นอกนั้น ปกติหมด แข็งแรงสุขภาพดี  แต่คุณย่าตอนนี้ 97ค่ะ

คือเราจะได้ หาทางหลีกเลี่ยง สิ่งไม่ดี ที่เรามีแนวโน้มจะได้รับมรดกอยู่แล้วให้น้อยลงค่ะ

อีกข้อหนึ่งค่ะ สังเกตว่า
  1. Linguistic
  2. Mathematic/logistic

ชอบไปด้วยกัน คือคนมักจะเก่ง 2 อย่างนี้คู่กันไหมคะ

และในบรรดา intelligences 8 อย่างนี้ มีอย่างไหนอีกที่มักจะจับคู่กันคะ

อาจารย์คงไม่รำคาญนะคะ เจอQuestionerแบบนี้

สวัสดีครับ
P

ไม่รำคาญ และไม่เชยครับ ทุกๆคำถามนั้นเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การพิจารณาไตร่ตรองทั้งสิ้น และผมก็เป็น sceptic เหมือนกันครับ แฮ่ะๆ

สิ่งที่ ดี/ไม่ดี นั้นเยอะมากจริงๆครับ ทั้ง biology, chemistry, physical, mental และหลายๆ traits ก็ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ในประเทศไทย เป็นแหล่งอุดมของ Thalassemia หรือโรคเม็ดเลือดแดงอายุสั้น วิธีที่เดียวที่จะทราบได้ว่า มี หรือ ไม่มี ต้องทำ gene maping ไม่นับโรคทางพันธุกรรมอื่นๆอีกนับไม่ถ้วน

พูดถึงเรื่องนี้ ต้องขยายต่อไปอีกหน่อย คือ Knudson's theory of TWO-HIT ครับ โรคหลายๆโรคจะตกอยู่ในกลุ่ม two-hit มากกว่า pure genetic เสียอีก คือว่า เซลล์ปกติเมื่อได้รับอันตรายเป็นครั้งคราว เราสามารถจะจัดการกับมันได้ครับ หรือไม่เซลล์นั้นก็จะฆ่าตัวตายไป (เพื่อชาติ น่ารักมากเลย) เรียกกระบวนการนี้ว่า apoptosis หรือ suicidal programme จนเลย threshold นี้ไป แล้วก็ยังรับ หรือ expose ต่ออันตรายเดิมๆ ก็กลายเป็นโรคในที่สุด ความหมายของ two-hits ก็คือ คนบางคน ทีพันธุกรรมบางอย่างผิดปกติ ทำให้กระบวนการแก้ไขป้องกันไม่แข็งแรง เมื่อรับ hit จากภายนอก ก็จะสามารถทนทานต่ออันตรายนี้น้อยกว่าคนอื่นๆ พันธุกรรมที่ผิดปกตินี้ก็คือ hit แรกที่มาแต่กำเนิด ในขณะที่คนธรรมดาๆต้องโดนอะไรมามากจึงเกิด hit แรกก่อน

ที่กล่าวมานี้ก็คือ โรคจำนวนมาก เราต้องไปดูแลที่ hit ที่สองเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ การกินดี อยู่ดี ออกกำลังกาย รักษาภูมิคุ้มกัน ฯลฯ ส่วนใครจะมี hit แรกแล้วหรือไม่ เป็นบุญทำกรรมแต่ง

การที่เรามี / ไม่มี gene คอเลสเตอรอลผิดปกติ ไม่ได้หมายความว่าเรากินได้ไม่ยับยั้ง เพราะ gene เราปกตินะครับ กินเข้าไปเยอะๆก็เป็นโรคไขมันในเลือดได้ทั้งนั้น และยังมี tracks อื่นๆ ที่จะลงเอยทางนี้ได้ ทั้งๆที่ track ไขมันโดยตรงปกติก็มี

ที่ต้องการจะสื่อก็คือ ไม่ว่าเราเกิดมาแบบไหน การดูแลร่างกาย จิตใจ (hit ที่สอง) สำคัญกว่าเยอะ มากกว่าการพยายามที่จะหา perfect gene pool มา คนที่มี gene เป็นโรคบางโรค อาจจะ carry genes นักปรัชญา นักวิทยาศาสตร์ ศิลปิน ระดับโลกอยู่ เราก็ไม่แน่ใจนะครับว่า จะเลือกอย่างไรดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่เราทราบมาว่า genes ทั้งหมดของมนุษย์นั้น มีแค่ 30000 กว่า genes เท่านั้น และคนเรามี gene ต่างจากลิงชิมแปนซีน้อยกว่า 5%

====================================

คำถามที่สอง

ชอบไปด้วยกัน คือคนมักจะเก่ง 2 อย่างนี้คู่กันไหมคะ

ตามทฤษฎีมีความเป็นไปได้ ปัญหาอยู่ที่ multifactorial effects ครับ เนื่องจาก competencies เหล่านี้ มักจะไม่ใช่ single gene เป็นตัวกำหนด สมมติ การเล่นเปียโน ต้องมีการเคลื่อนไหวของมือ หัวไหล่ คอ หลัง สายตา มีการรับรู้ทางหูและอารมณ์ มีการเชื่อมโยงโสตสัมผัส proprioception ของลำตัว ของนิ้วมือ เรากำลังพูดถึงระบบการทำงานของกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ (หลัง) กลาง (แขน คอ) และเล็ก (นิ้วมือ) และระบบข้อต่อหลายแบบ มี genes ที่อยู่คนละตำแหน่ง ห่างไกล คนละโครโมโซมกัน ซึ่งการถ่ายทอดเป็นอิสระจากกันพอสมควรมายุ่งเกี่ยว ผมพูดถึง linguistic area ที่ frontotemporal ที่เกี่ยวกับ deduction function แต่การคำนวณจะไปอยู่ที่ parietofrontal lobe ร่วมกับ Broca area อยู่ที่ base of frontal lobe ซึ่งเป็นคนละตำแหน่งกัน

ยังไม่นับ NURTURE EFFECT คือการเลี้ยงดู สภาพแวดล้อม ที่มีผลแน่นอน ถ้าไม่ถือสาการเอาภาพยนต์เป็น reference นะครับ หนังเรื่อง Hannibal หรือ series ของ Silence of the Lamb ที่ฆาตกรเป็นหมอ เป็นอัจฉริยาะทางการวาดรูป การทำอาหาร เป็นผู้เชี่ยวชาญศิลป วรรณกรรม แต่เป็น psychotic ที่มี anti-social รุนแรง ก็เป็นไปได้จากเหตุการณ์ตอนเด็ก จากชีวิตที่ "เจออะไรมามากเหลือเกิน"

เสริมเรื่องเบสบอลครับ

catcher คือตำแหน่งที่ทำหน้าที่รับลูกที่ขว้างมาจาก pitcher ครับ  โดยนั่งรับลูกอยู่หลังคนตี

P

อ่านๆ ไป....

ตอนแรกก็นำไปเทียบกับสำนักโน้น สำนักนี้ ...

พอใกล้ๆ จบ ก็นึกถึง ปรัชญาเวทานตะ  ....

เอกํ สตฺ วิปฺรา พหุธา  วทนฺติ ความจริงมีสิ่งเดียว แต่คนพูดกันไปหลากหลาย

เอกํ สตฺ วิปฺรา พหุธา กลฺปยนฺติ ความจริงมีสิ่งเดียว แต่คนเข้าใจไปหลายสิ่งหลายอย่าง

(มิใช่ ภาษาบาลี เป็นภาษาสันสกฤต)

เจริญพร

นมัสการหลวงพี่ชัยวุธครับ

จริงอย่างท่านว่าแล้วครับ

แต่ที่เขาแบ่ง คงเพราะเอาไปใช้คนละอย่างกระมัง เช่น เอาไปถ่ายทอด เอาไปสอน เอาไปเรียน เอาไปสมัครงาน รับสมัครงาน

 

สวัสดีค่ะ อ.สกล

มายิ้มดีใจที่อาจารย์เขียน Multiple  Intelligences ได้เยี่ยมนักค่ะ..เพราะทำให้หลายๆท่านตื่นตัวเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง ( ทั้งๆที่มี พรบ.การศึกษา ฯ ออกมาตั้งแต่ปี 2542 มั้งคะ ( ไม่แน่ใจ )..ที่ให้จัดการเรียนรู้แบบเอาผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง..จัดให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน แต่ก็ยังไม่ถึงไหน )..

ขอบพระคุณมากค่ะที่อาจารย์ช่วยกวนน้ำ ^        ^

 

ต้องขอบคุณ คุณเบิร์ด  P

ก่อนกระมังครับ เพราะเป็นคนเริ่มไว้ในกระทู้ของคุณเบิร์ดก่อน ไม่งั้นก็คงไม่ได้ฤกษ์เสียที

ปัญหาเรื่องการศึกษา คงจะต้องปรับที่ฐาน คือ ฉันทาคติ เสียก่อน ว่าตั้งแต่รากหญ้า ขึ้นไปถึงมันสมองเลย ในบรรดาหัวข้อประเด็นมากมายที่กนะเหี้ยน กระหือ ทำประชาพิจารณ์กันนั้น ผมว่าเรื่องนี้แหละที่อยากทำ ไม่ได้ต้องการ vote หรืออะไรทำนองนั้นหรอกนะครับ แต่ต้องการให้มีการตื่นตัวเรื่องนี้โดยทั่วถึง ยอมขายวัตถุมงคลเพื่องานนี้ก็ยอม (last resource)

Howard Gardner เขียนเรื่องน่าสนใจไว้ในอีกเล่มหนึ่ง คือ Changing Mind

7 Parameters ประกอบด้วย Reason; Research; Resonance; Representational Redescription; Resources and Rewards; Real World Events; และสุดท้ายคือ Resistances
ปกติเราจะใช้แต่ reason แต่ศาสตร์ทาง marketing บ่งบอกแล้วว่าพฤติกรรมมนุษย์นั้นมาทาง อารมณ์ มากกว่าเหตุผลเยอะ ดูท่าเราต้องทำให้เป็นเรื่อง emotional มากกว่านี้หน่อยรึเปล่า ก็ไม่ทราบนะครับ?

 

สวัสดีค่ะ

เข้าใจแล้วค่ะ ว่า

intelligence ถ่ายทอดเป็นอิสระจากกันพอสมควรไม่นับ NURTURE EFFECT คือการเลี้ยงดู สภาพแวดล้อม ที่มีผลแน่นอน

 พวกสถาปนิก งานเขียนแบบ  นี่นับเป็นSpatialนะคะ

    ดิฉันมีข้อสังเกตนิดนึง หลานชายดิฉันเอง มีพ่อแม่เป็นสถาปนิก ให้ลูกเข้าสาธิต ต่อมาพาไปเรียนดนตรีที่สยามกลการ ดิฉันก็ไปด้วย เรียนไป 1ปี ปรากฏว่า โรงเรียนบอกจบหลักสูตรแล้ว เพราะเรียนเร็วมาก ก็พาตระเวณไปหาที่เรียนใหม่ ต่อมาไม่นาน ไปชิงแชมป์เอเซีย ได้แชมป์มา 3 สมัย เขาขอไม่ให้มาสมัครอีก สอบเข้าคณะศิลปศาสตร์ที่จุฬาได้ที่ 1 จบมาได้เหรียญทอง
      แต่ แปลกที่เขา ทำอย่างอื่นไม่ค่อยเป็น ขับรถไม่ได้ จะใจลอย ไม่ค่อยทำอะไรเอง  นอกจากดนตรี ต่อมาจบปริญญาเอกเกียรติ์นิยมจากBirkley รายได้ดี
     คนที่เก่งมากๆในทางเดียวอย่างนี้ กับไม่ต้องเก่งอย่างใดอย่างหนึ่งมาก แต่ให้ทำอะไรได้หลายๆอย่าง อย่างไหนจะดีกว่ากัน ในความเห็นของอาจารย์คะ
      เลยนึกถึงคำพูดโบราณว่า ทำอะไร ขอให้รู้จริงซักอย่าง ก็ เอาตัวรอดได้แล้ว จะเข้ากับสมัยนี้ไหมคะ
สวัสดีครับ
P

ก็คงต้องตอบแบบที่ผมเชื่อและบอกน้องๆนักเรียนแพทย์เสมอๆว่า ใช้ชีวิตที่มีความหมาย ต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม จะกี่อย่าง กี่แบบ แบบเดียว หรือหลายทาง ก็ไม่เป็นไรกระมังครับ

ผมคิดเล่นๆ เราเคยพูดกันในกลุ่มมูลนิธิขวัญเมืองว่า มีชีวิตเพื่ออยู่รอด อยู่ร่วม และอยู่อย่างมีความหมาย จึงจะตอบสนองฐานกาย ฐานใจ ฐานความคิดได้ทั้งหมด

อยู่รอด นั้นก็เป็นระดับแรกๆครับ แต่ผมคิดว่าศักยภาพของคนอาจจะเกิดมาเพื่อหลายๆอย่างมากกว่าการอยู่รอดเพียงอย่างเดียว ดังนั้นบางคนก็ทำอะไรเพื่ออยู่ร่วม มีความรัก มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความเมตตากรุณา บางคนก็ถึงสามารถเสียสละความสุขส่วนตนเพื่อคนอื่นได้ ถึงตอนนั้น ก็จะกลายเป็นอยู่อย่างมีความหมาย

แต่ละปัจเจกบุคคลก็จะมีแนวทางวิถีชีวิตของตนเอง มีความหมายของชีวิตของตนเอง เกิดมาเพื่อวัตถุประสงค์อะไรบางอย่างที่ตนเองต้องเป็นคนตีความ และจัดการเอง

ใครคิดอย่างไรนั้น ก็คงจะคิดแทนลำบากเหมือนกันครับ

เข้ามาคุยอีกครั้งครับ อาจารย์ (ครั้งแรก เป็นชื่อจริง บัญญัติ ครับ ) 

เรื่อง multiple intelligence นั้นผมไปพบหนังสือเล่มหนึ่งในงานสัปดาห์หนังสือสองครั้งก่อน

ชื่อว่า สร้างพหุปัญญาด้วยโครงงาน ของ ดร.โกวิท ประวาลพฤกษ์  คิดว่าจะลองมาอ่านดูก่อน  เผื่อจะได้มีเรื่องมาพูดคุยกันอีก  ส่วนหนังสือของGardner นั้นเคยเห็นมีอยู่หลายเล่มที่ขายที่คุโนคินุยะ  แต่คิดว่าเกินสติปัญญาตัวเองไปหน่อย  ก็เลยระงับไปก่อน    

ผมกำลังสนใจ จะหาคำแปล NLP หรือ Neurolinguistic Programming ที่กำลังฮิตกันอยู่ เลยได้ความรู้อะไรเพิ่มไปเยอะมาก ขอขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท