จะรู้ได้อย่างไรว่าเกิดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดในแปลงนา


มีเกษตรกรบางพื้นที่ได้รับความเสียหายจากการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวอย่างต่อเนื่อง

จะรู้ได้อย่างไรว่าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมาแล้ว 

 ณ วันนี้ต้องยอมรับกันว่า 1-2 ปีติดต่อกันมา มีเกษตรกรบางพื้นที่ได้รับความเสียหายจากการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี2553 นี้ในจังหวัดกำแพงเพชร มีเกษตรกรที่ได้รายงานขอรับการช่วยเหลือจากทางจังหวัดและอปท.มีจำนวน  ถึง 27,482 ราย รวมพื้นที่ที่ได้รับการช่วยเหลือประมาณ 605,253 ไร่ 

 

      สถานการณ์ในปัจจุบันนี้ ทำให้ผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ต่างให้ความสำคัญและเฝ้าคอยระวังว่าเมื่อไรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะเกิดการระบาดในแปลงนาของเกษตรกรอีก จากการลงไปปฏิบัติงานของKM TEAM จังหวัดฯด้านการป้องกันและกำจัดเพลี้ยกรโดดสีน้ำตาลในนาข้าวพบว่า ก็มีเกษตรกรส่วนหนึ่ง ต่างเฝ้าระวัง โดยสังเกตว่าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเกิดระบาดได้อย่างไร ก็พอจะนำมาบอกกล่าวให้ฟังดังนี้ 

 

         วิธีการที่1. คอยสังเกตดูแสงไฟ ที่มีหลอดไฟติดอยู่ตามเสาไฟฟ้าใกล้แปลงนา หรืออยู่ในชุมชนต่างๆว่าตอนพลบค่ำจะมีเพลี้ยกระโดดสี้น้ำตาลมาเล่นแสงไฟมีปริมาณมาน้อยเพียงใด ก็เป็นตัวชี้วัดได้ดีตัวหนึ่ง ก่อนที่จะตัดสินใจแก้ไขปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งลงไป

  

Large_0010798

   ปริมาณเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมาเล่นแสงไฟ

 

        วิธีการที่2. ในแปลงนาที่มีการวางกับดัก เช่นใช้ขวดน้ำเปล่า ที่ดัดแปลงทำการเจาะ เพื่อนำกากน้ำตาลเทลงไว้ในก้นขวด พอประมาณ แล้วนำไปปักหลักแขวนไว้ตามแปลงนา แล้วคอยสังเกตว่ามีตัวแมลงศัตรูข้าวโดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลลงมาอยู่ในขวดที่มีกากน้ำตาลนี้หรือไม่ 

 

Large_0010803

                     การใช้กับดักที่ปราชญ์ชาวบ้านได้ทดลองใช้ได้ผล

 

 

        วิธีการที่3. การลงไปสำรวจโดยใช้สวิงโฉบแมลง โดยทำการสุ่มตรวจในแปลงนาของเกษตรกร โดยเฉพาะที่กลุ่มศูนย์ข้าวชุมชนทำเป็นแปลงติดตามสถานการณ์ รวมทั้งการลงไปสุ่มตรวจดูเฉพาะตัวเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตามกอข้าวว่ามีเกินกว่าระดับเศรษฐกิจหรือไม่

 

Large_0010799 

 เกษตรกรลงโฉบแมลงศัตรูในแปลงนา

 

 

Large_0010800

     ลงสุ่มตรวจนับปริมาณเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในแปลงนา

 

Large_0010801

นักส่งเสริมมืออาชีพลงสุ่มที่กอข้าวกับเกษตรกร

 

         ทั้ง 3 วิธีดังกล่าวข้อสำคัญเกษตรกรที่ทำนา จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการติดตามสถานการณ์ว่าเพลี้ยกระโดดระบาดในแปลงนาหรือมันเกิดขึ้นอย่างไร จากการดำเนินการที่ผ่านมาเราจะพบในกลุ่มศูนย์ข้าวชุมชน ที่มีอยู่ในชุมชนต่างๆของจังหวัด โดยเฉพาะกลุ่มที่มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนมาแล้ว ก็ต้องยอมรับว่าได้ผลระดับหนึ่ง แต่ก็ยังมีความจำเป็น ที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องยังจะต้องหาวิธีการ หาโอกาสลงไปปฏิบัติงานร่วมกับชุมชนและสนับสนุนเพื่อให้ชุมชนได้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องต่อไป

Large_0010802

                    การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ต.เขาคีริส อ.พรานกระต่าย

 

       วิธีที่4. การสร้างและพัฒนาปราชญ์ชาวบ้านที่เป็นแกนนำเครือข่ายการเรียนรู้ โดยภาครัฐ คอยหาเวทีให้เขามีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน คอยให้กำลังใจโดยลงไปพูดคุยเยี่ยมชมผลงาน โดยลงไปถึงแปลงนาของเกษตรกร ซึ่งเกษตรกรแกนนำเหล่านี้ล้วนมีความรู้และประสบการณ์ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นอย่างดี  และพร้อมยอมรับองค์ความรู้ใหม่ๆไปทดลองในการปฏิบัติจริงในแปลงนาของตนเองควบคู่กันไป  ซึ่งก็มีเกษตรกรหลายรายที่สามารถต้นทุนการผลิตข้าวได้ไม่น้อยกว่า10 เปอร์เซ็นต์ สำหรับกิจกรรมที่ลดได้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่นกิจกรรมที่เกษตรกรสามารถผลิตและใช้เอง ได้แก่ การคัดเลือกพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีไปปลูก การลดปุ๋ยเคมีโดยผลิตปุ๋ยอินทรียที่ทำเอง รวมทั้งการใช้สารสกัดชีวภาพจากสมุนไพร การผลิตและใช้เชื้อราบิวเวอเรีย และเชื้อราเมตตาไรเซียม เป็นต้น

 

       ณ.วันนี้เราต้องยอมรับความจริงกันว่า การที่หลายฝ่ายต้องการที่จะให้เกิดการแก้ไขปัญหาการป้องกันการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวอย่างยั่งยืนให้ได้ หน่วยงาน องค์กรภาคี ที่เกี่ยวข้อง ต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง กำหนดพื้นที่เป้าหมายของแต่ละชุมชนให้ชัดเจน มีการวางแผนดำเนินการร่วมกัน สำคัญที่สุดต้องขอความร่วมมือจากอปท.และชุมชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการถึงจะมีความสำเร็จได้ ท้ายสุดต้องให้ชุมชนเป็นผู้บอก. 

 

เขียวมรกต

26 กย.53

 

 

หมายเลขบันทึก: 398538เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2010 17:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เป็นประโยชน์มากครับ จะร่วมเผยแผ่ครับ

ขอบคุณมาก

รู้ตอนเห้นข่าวในทีวี...

เอ..นี่มันภาพแปลงนาเรานี่หว่า..ตายหมดแล้ว 555

-สวัสดีครับคุณเขียวมรกต..

-สบายดีนะครับ.. -มาเติมความรู้เรื่อง "เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล" ครับ..

-ส่งเพชรฆาต มาช่วยปราบ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลด้วยครับ...

-ขอบคุณครับ

  • ขอบคุณท่านอาจารย์ราชิต
  • ที่แวะมาทักทายกันและลปรร.
  • ยินดีมากครับอาจารย์
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทายก่อนอาหารเที่ยงค่ะ....พร้อมกับนำเมนูโปรดมาฝากกันค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                              

  • ขอบคุณท่านเกษตรอยู่จังหวัด
  • ที่แวะมาลปรร.กันเสมอมา
  • ขอให้มีความสุขกับการทำงานนะครับ
  • ขอบคุณอ.เพชรน้ำหนึ่ง
  • ที่แวะมาทักทายกันและให้กำลังใจเสมอมา
  • ขอให้มีความสุขกับการทำงานนะครับ
  • อยากจะทราบผลแปลงทดสอบพันธุ์ที่ต้านเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
  • ขอบคุณล่วงหน้าครับอ.
  • ขอบคุณน้องบุษรา
  • สำหรับของฝากน่ากินจังเลย
  • ขอให้มีความสุขกับงานที่ทำนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท