เด็กไทบ้าน : "สิ่งที่มีชีวิตทางสังคม" ที่ผมอยากให้ชาวค่ายได้รับรู้และเรียนรู้อย่างจริงจัง


ผมเชื่อและเข้าใจอยู่ตลอดเวลาว่า เด็ก ๆ ในหมู่บ้านเป็นเสมือนเป็นสิ่งที่มีชีวิตทางสังคม

<p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ทุกครั้งที่นิสิต  หรือองค์กรนิสิตต้องออกค่ายอาสาพัฒนา   ผมมักจะมีคำถามกับพวกเขาอยู่เสมอว่า  นอกจาก ค่ายสร้าง   แล้ว   พวกเขามีทิศทางการจัดกิจกรรมในทำนองอื่น ๆ อีกหรือไม่   ซึ่งหมายถึงค่ายที่เน้นกระบวนการไปสู่การ สร้างคน  เป็นสำคัญ</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>     <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมไม่ขวางห้ามให้พวกเขาจัดกิจกรรมในลักษณะของการสร้างโน่น สร้างนี่  ไม่ว่าจะเป็น สร้างอาคารเรียนอเนกประสงค์,  สร้างห้องสมุด, สร้างห้องสุขา,  สร้างสนามกีฬา  หรือแม้แต่การสร้างสนามเด็กเล่น</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>

     

อันที่จริง,  สิ่งเหล่านี้ผมไม่ขวางห้าม หรือทัดทานมากนัก   แต่ก็ย้ำคิดว่า   สิ่งเหล่านั้นเป็นความต้องการอันแท้จริงของชุมชนหรือไม่  และชุมชนเป็นส่วนหนึ่งในการที่จะดูแล  ต่อยอด  ในสิ่งที่สร้างขึ้นมากน้อยอย่างไรเป็นที่ตั้ง  !

    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">นอกจากนี้   ผมยังย้ำนักย้ำหนาว่า   นอกจากวิถีของ ค่ายสร้าง  แล้ว   ผมอยากให้นิสิตได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ไปสู่คน  หรือชุมชนอย่างชัดเจนมากกว่านี้  อาทิเช่น  การมุ่งให้นิสิตได้จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน   หรือหมู่บ้านในมิติต่าง ๆ  อันได้แก่   ชื่อบ้านนามเมือง,  เรื่องเล่าคุณธรรมประจำหมู่บ้าน,  เรื่องสถานที่สำคัญของชุมชน,  เรื่องประเพณีวัฒนธรรม  รวมถึงคติชนและวรรณกรรมพื้นบ้านก็ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ผมไม่ละเลยที่จะ  (ฝาก)  บอกกล่าวไปกับชาวค่ายทั้งหลายทั้งปวง</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>

   

และสิ่งเหล่านี้ยังสามารถนำมาเปิดเวทีเสวนา  หรือแม้แต่การทำหนังสือเรื่องเล่า ท้องถิ่นของเรา   ให้ชุมชนได้ศึกษาจากรุ่นสู่รุ่นสืบต่อกันไป

 

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ประเด็นที่ผมฝากไปกับชาวค่าย,  ล้วนเป็นเสมือน  ภาพสะท้อน  (reflection)  ของสังคมที่พวกเขาควรให้ความสำคัญต่อกระบวนการเรียนรู้   นั่นคือ  กระบวนการของการนำไปสู่การเรียนรู้เรื่องคนและการเรียนรู้รากเหง้าทางวัฒนธรรมของชุมชนอย่างน่าสนใจ</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>

  

  

เกี่ยวกับเรื่องค่ายที่เป็นการสร้างคนนั้น,  ผมมักจะหยิบยกประเด็นของเด็ก ๆ  ในหมู่บ้านมาเป็นกรณีศึกษาเสมอ   กล่าวคือ   ผมมักกระตุ้นเร้าในชาวค่ายหันไปให้ความสำคัญของการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก ๆ  ในหมู่บ้าน  หรือที่เรียกกันโดยภาษาพื้นถิ่นว่า  เด็กไทบ้าน   โดยชี้ประเด็นไปในทำนองว่า   ขณะที่การสร้างวัตถุยังคงต้องดำเนินไปอย่างไม่รู้จบ  เราก็สามารถสร้างกิจกรรมอื่น ๆ  ขึ้นในค่ายได้เช่นกัน  ซึ่งได้แก่กิจกรรมการเสริมสร้างการเรียนรู้ของเด็ก ๆ  ในรูปแบบต่าง ๆ 

ใครที่เคยไปออกค่ายอาสาพัฒนาในชนบทย่อมประจักษ์แจ้งว่า    ถึงแม้ค่ายสร้างจะถูกจัดขึ้นในบริบทของโรงเรียนหรือชุมชนก็ตาม   แต่ก็มักมีบรรดาเด็กนักเรียนเจ้าของพื้นที่แวะวนมาเป็นส่วนหนึ่งของชาวค่ายอยู่อย่างไม่ว่างเว้น  ขึ้นอยู่กับว่า  ชาวค่ายทั้งหลายมีกิจกรรมใดให้พวกเขาสัมผัส, ละเล่น,  หรือแม้แต่การเป็นเรี่ยวแรงในการงานภาคสนามบ้างหรือไม่เท่านั้นเอง    

 

ดังนั้น  ผมจึงพบว่า   ชาวค่ายมักจะมีกิจกรรมให้เด็กไทบ้านที่เข้ามาวิ่งเล่นในบริบทของค่ายนั้น ๆ  เข้าร่วมกิจกรรมแตกต่างกันไปตามวิถีแห่งการคิดของแต่ละองค์กร   บางค่ายก็จัดกิจกรรมให้เด็ก ๆ  ได้เขียนรูปภาพในเรื่องต่าง ๆ   บ้างสอนหนังสือ   บ้างเล่านิทาน  บ้างจัดกิจกรรมนันทนาการแลกขนม  หรือไม่ก็จัดกิจกรรมให้เด็ก ๆ  พาเที่ยวชนชุมชนของพวกเขาเองก็มี ฯ...

 

   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">กิจกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นกิจกรรมเสริมที่เกิดขึ้นใน ค่ายสร้าง   แต่ผมยังไม่มีโอกาสได้เห็นหรือสัมผัสจริงถึงกิจกรรมที่เป็นลักษณะเช่นนั้นอย่างเต็มรูปแบบ,   ผมถือว่า  กิจกรรมเหล่านี้   เป็นกิจกรรม สร้างคน  ที่น่าสนใจอย่างมาก   โดยเฉพาะการได้จัดกิจกรรมกับเด็กไทบ้าน   ยิ่งถือว่าเป็นกลไกสำคัญของการนำไปสู่การเรียนรู้ชุมชนที่น่าสนใจ   อีกทั้งยังมีอาณิสงส์ช่วยให้เด็ก ๆ  ได้เรียนรู้วัฒนธรรมอันเป็น ตัวตน  ของบ้านเกิดของพวกเขาในอีกทางหนึ่ง</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>

     

ผมเชื่อและเข้าใจอยู่ตลอดเวลาว่า  เด็ก ๆ  ในหมู่บ้านเป็นเสมือนเป็นสิ่งที่มีชีวิตทางสังคม (social being)  ที่มีข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับชุมชนอยู่ไม่น้อยและการเรียนรู้ชุมชนนั้น ๆ  ก็สามารถ (ร่วม)  เรียนรู้ผ่านปากคำและวิถีชีวิตของเด็ก ๆ  ได้เช่นกัน  เพราะเด็กในหมู่บ้านก็เป็นเสมือนผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key informant)  ของหมู่บ้านนั้น ๆ  อยู่แล้ว

 

   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">อย่างไรก็ดี,  ถ้ามองว่าสังคมไทยเป็นเหมือนโลกใบใหญ่   หมู่บ้านทุกหมู่บ้านก็เป็นโลกใบเล็กที่ซ้อนอยู่ในโลกใบใหญ่ใบนั้น   และหมู่บ้านก็เป็นสถานที่  หรือพื้นที่ (space) ที่ควรค่าต่อการเรียนรู้และเข้าใจเป็นยิ่งนัก  โดยการเรียนรู้พื้นที่ในโลกใบเล็กใบนั้น   ก็สามารถขับเคลื่อนผ่านกระบวนการอันหลากหลาย  ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ  การร่วมเรียนรู้ผ่านวิถีของเด็ก ๆ  ผู้ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งอันสำคัญของโลกใบเล็ก  (ในโลกใบใหญ่ที่ชื่อ ประเทศไทย  อันเป็นที่รักของเรา  !)</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>

   

 

จวบจนบัดนี้,  ผมยังเฝ้าฝันและไม่เคยสิ้นหวังต่อการที่จะขับเคลื่อนให้ชาวค่ายได้หันไปให้ความสำคัญต่อการทำค่ายในแบบ ค่ายคน  หรือ สร้างคน  มากกว่าสร้างวัตถุสถานใด ๆ  หากแต่ก็ยังต้องลองผิดลองถูกอยู่ไม่น้อยกับสิ่งที่ตนเองได้ขบคิดอยู่อย่างไม่ปล่อยวาง   เพียงเพราะต้องการเห็นค่ายเกี่ยวกับเด็ก ๆ  ในหมู่บ้านได้ยกฐานะจาก พระรอง  ของค่ายมาเป็น พระเอก  ของค่ายอย่างเต็มรูปแบบเสียที

 

   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">แล้วท่านละครับ...  พอที่จะให้คำแนะนำอันใดกับผมได้บ้างว่า   ค่ายสำหรับ  เด็กไทบ้าน   ควรจะออกมาในรูปลักษณ์เช่นใดดี  ?   </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมมีความใฝ่ฝันที่จะทำค่ายเด็ก ๆ  ในหมู่บ้านในทำนองนี้อย่างเต็มรูปแบบ  และยังเฝ้าฝันอย่างไม่ลดละ !</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> </p></span>

หมายเลขบันทึก: 98699เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2007 21:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)
สวัสดีครับ
P
  • ขอบคุณครับที่แวะมาทักทาย
  • เมื่อครู่แวะไปทักทายแล้ว  ยอมรับด้วยความสัตย์จริงว่าภาพสะท้อนที่สื่อออกมานั้นชัดเจนและเป็นผลึกความคิดที่อัดแน่นด้วยความรู้อย่างเต็มที่
  • ส่วนประเด็นของผมก็เพียงต้องการสะท้อนว่า  ค่ายอาสาใน มมส  แทบไม่มีค่ายใดเจาะจงลงไปสู่ตัวนักเรียนอย่างเต็มที่ 
  • ถ้าจะมีก็เป็นเพียงกิจกรรมเสริมในค่ายเท่านั้น
  • แต่ผมอยากให้นิสิตหันมาวิเคราะห์และสังเคราะห์กันอีกสักครั้งว่า ... ที่เป็นอยู่ - เป็นอยู่อย่างไร และจะไปในทิศทางใด

 

ผมมีความใฝ่ฝันที่จะทำค่ายเด็ก ๆ  ในหมู่บ้านในทำนองนี้อย่างเต็มรูปแบบ  และยังเฝ้าฝันอย่างไม่ลดละ

  • สวัสดีครับ
  • ผมเห็นด้วยกับกิจกรรมในฝันของพี่แผ่นดินครับ
  • หากมีกิจกรรมดีดีแบบนี้เกิดขึ้นจริง ๆ ผมขอร่วมแบ่งปันประสบการณ์และความรู้สึกดีดีด้วยคนนะครับ
สวัสดีครับ
P

บทบันทึกดีๆ ผมขอคัดลอกบางส่วนนะครับ ไป

http://gotoknow.org/blog/mrschuai/98057

ขอบคุณมากครับ

เข้ามาเยี่ยมเยือนค่ะ คิดจะเขียนถึงชาวค่ายในเรื่องนี้เหมือนกันแต่เมื่อเขียนลง

ในบล็อกไปได้ครึ่งทางก็ต้องลบทิ้งไม่เขียนมันค่ะ

น้ำเคยเป็นชาวค่ายในยุคที่พอจะได้กลิ่นไอของรุ่นที่เพิ่งออกมาจากป่า

สมัย ๖ ตุลาฯ ถัดจากนั้นมา๒๐ กว่าปี ค่า่ยอาสาพัฒนาชนบทในมหาลัยของนักต่อสู้แห่งหนึ่งกลับทำกิจกรรม

แต่เพียค่ายสร้างอีกด้านหนึ่งก็เข้าร่วมกับประชาชนในการ

ต่อสู้เรียกร้องกับฝ่ายรัฐบาล แม้จะรักค่ายนี้มาก อยู่ได้เพียง๑ ปี ก็เกิดความคิดที่ตกผลึกด้วยตนเองว่า

ค่า่ยสร้างที่เราทำนั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้ตอบสนองความต้องการของชาวบ้านอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ยังขัดแย้งกับอุดมการณ์ของค่ายเองที่พยายามต่อต้านวัตถุนิยม

แต่นักศึกษาและรุ่นพี่และรุ่นน้องหลายยังยึดติดกับค่า่ยสร้าง

ด้วยเหตุผลที่ว่าถ้าเราไม่มีรูปธรรมให้ชาวบ้าน ชาวบ้านอาจจะไม่ให้เราเข้าพื้นที่่ก็้ได้ 

ตอนนั้นรู้สึกแปลกแยกและถอยตัวเองออกมาจากค่ายที่ดูดี มีอุดมการณ์ แต่ขัดแย้งทั้งกิจกรรมและวิถีชีวิตคนค่าย  แต่การทำงานค่ายในยุคนั้นได้สอนให้เรามีวิธีคิดและมุมมองที่แตกต่างออกไปจากสังคม

และยังคิดถึงค่ายที่สร้างความคิดให้เราเสมอ 

 

 

 

  • ตามเข้ามาเยี่ยมค่ายที่ดี ๆ น่าชื่นชม
  • เห็นด้วยกับ "ค่ายสร้างคน ..คนสร้างค่าย"
  • คนไม่ลูกสาว ถ่ายแต่ภาพเด็กผู้หญิง (พี่ก็ไม่มีลูกสาว) ว่าแต่เขา.....อิเหนาเป็นเองค่ะ
  • ที่ม.อเริ่มบันทึกทรานซ์สคริปกิจกรรมตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 นี้ค่ะ
  • หลายค่ายของชาวมหาวิทยาลัยมักจะทำเพื่อตอบสนองความต้องการของคนจัดค่ายมากกว่าความต้องการที่แท้จริงของพื้นที่
  • หรือหากแม้เป็นความต้องการที่แท้จริงของคนในพื้นที่แต่ก็เป็นความต้องการอย่างฉาบฉวย
  • ดังนั้นสิ่งที่ชาวค่ายไปสร้างไว้ในหลายสถานที่ก็กลายเป็นอนุเสาวรีย์ที่ปราศจากการใช้งาน
  • การสร้างค่ายคน  เพื่อให้คนไปสร้างงาน  อันนี้น่าสนใจครับ...เพราะมันน่าจะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนได้

        ผมได้ยิงสิ่งที่พี่กำลังบอกกับทุกๆคนอยู่นานมากทีเดียว  แต่ผมก้อไม่มีความสามารถพอที่จะทำสิ่งที่พี่กำลังบอกเราอยู่ได้  เพราะเนื่องจากผมไม่สามาถทำค่ายแบบนี้ได้กระมัง  แต่ผมก้อจะรอดุเหมือนกับที่พี่รอดุว่าจะมีคนทำในสิ่งที่พี่ใฝ่ฝันหรือไม่  ผมจะรอและให้กำลังใจพี่ว่าอย่างน้อยพี่ไม่ได้รอคนเดียว  ยังมีน้องสภาคนนี้รอเป็นเพื่อน

      " ประวัติศาสตร์หมู่บ้าน : วรรรกรรมที่ถูกลืม "

    " เด็กไทบ้าน : ปัญญาชนที่ไร้ตัวตนของคนค่าย "

เยี่ยมเลยครับพี่เรา...เด็กไทบ้าน...ที่เราเฝ้ามองจากชุมชนที่ก่อเกิดจากเด็กที่ชาวค่ายไปสร้าง...

สวัสดีครับ
P

 

บันทึกนี้  เพียงต้องการสะท้อนภาพกิจกรรมของนิสิตเท่านั้นเอง  โดยเจาะจงไปที่กิจกรรมเกี่ยวกับเด็กนักเรียนที่มักถูกมองข้าม  เพราะส่วนใหญ่ก็มุ่งไปสู่การทำค่ายสร้างเป็นที่ตั้ง

นั่นคือ  ความฝันที่ยังอยากจะทำให้เป็นจริง... เมื่อวันนั้นเดินทางมาถึง   แน่นอนว่า ..นายสายลม  จะเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมนั้นอย่างแน่นอน

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ ... สมัยเมื่อเป็นนักศึกษาก็เป็นชาวค่ายมาก่อนค่ะ ... สมัยนั้นก็ไม่ได้คิดอะไรมาก รู้แต่เพียงว่าออกไปทำกิจกรรม เพื่อช่วยชาวบ้านสร้างโน่นนี่ เพื่อฝึกตนเองในการทำงานร่วมกับคนอื่น

และเมื่อมามองย้อนกลับ สิ่งที่เป็นเป็นประสบการณ์ในการออกค่ายนั้น มีประโยชน์ต่อตัวผู้ออกค่ายมากๆค่ะ ... และจะมีประโยชน์มากๆ ..ตามแนวความคิดของคุณแผ่นดินค่ะ...คนสร้างค่าย ค่ายสร้างคน...

ส่งน้องหยกจากเด็กรักป่า เข้าประกวด  อิอิ 

ไม่อยากเชื่อเลยว่า  นี่คือการสบตากันครั้งแรก

ขณะที่พี่หนิงกำลังลองลองกล้องจากมือถืออ่ะค่ะ  เพราะว่าช่วงนี้กล้องcannon ixus คู่ชีพ  เดินทางไปเฝ้าพระอินทร์ก่อนแล้วค่ะ

  • สะดุดใจจังกับหัวข้อนี้ เป็นความหมายดีๆ ของวิธีคิดที่จะสรรสร้างสิ่งดีงามให้กับคนรุ่นใหม่ ทรัพยากรที่มีค่ายิ่งของเราทุกคนจริงๆ
  • ตามความคิดเห็นของแหววนะคะ ในธรรมชาติของมนุษย์ทั่วๆ ไป คนเราจะเรียนรู้ด้านรูปธรรมได้เร็วกว่านามธรรม อยู่แล้วค่ะ ดังนั้น เราทุกคนจึงนึกถึงวัตถุ และเรียนรู้ได้ก่อนเรื่องของใจ เหมือนกับเวลาที่เรารู้จักคน ก็เห็นภาพลักษณ์ที่มองเห็นและพิจารณาวิเคราะห์ออกมา ก่อนที่จะได้ศึกษาอย่างถ่องแท้ ลึกซึ้งถึงซึ่งภายในจิตใจ เฉกเช่นเดียวกัน เด็กๆ ที่ยังอยู่ในวัยเรียน เมื่อในยามออกค่าย พวกเขายังอ่อนในวัยที่จะนึกถึงด้านจิตใจในเชิงลึก จนถึงขั้นจิตวิญญาณไม่เหมือนบรรดาผู้ที่มีอายุอานามขั้น เรา -ท่านทั้งหลาย เรื่องของใจ เรื่องของการเรียนรู้ที่จะสร้างเด็กให้เรียนรู้ในสิ่งที่ดีงาม ซึ่งต้องเข้าถึงความเป็นเด็กในแต่ละบริบทนั้นค่อนข้างยาก ซับซ้อน ถ้าจะให้เรื่องราวดีๆ นี้เกิดกับค่าย คงต้องใส่เรื่ององค์รวม เรื่องของจิตวิญญาณ เรื่องของความเป็นหนึ่งเดียวของธรรมชาติในจักรวาลนี้ เรื่องของรักและเมตตาจิต หรือธรรมะให้พวกเขาได้เรียนรู้มากๆ หรือไม่ก้อ ต้องมีผู้ที่มีวัยหรือความถึงพร้อมด้านนี้เป็นแม่แบบหรือพี่เลี้ยงเพื่อหล่อหลอมและสร้างวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นกระมัง...
สวัสดีครับ 
P

ก่อนอื่นขอบคุณมากครับที่คัดลอกข้อเขียนผมไปหลายกระบวนความ,  ทำเอาผมปลื้มไปทั้งวันเลยทีเดียว

และผมเข้าไปติดตามอ่านแล้ว  ก็ราวกับตรงนั้นคือชุมชนวาทะ...ที่ล้วนเป็นพลังชีวิต  และเป็นทัศนะแห่งโลกและชีวิตที่น่าสนใจอย่างมากมายมหาศาล

ขอบคุณอีกครั้ง  ครับ !

สวัสดีครับ
P

ผมมีความสุขที่ได้เขียนถึงเรื่อง "ค่าย"  เสมอ  เพราะทุกครั้งที่เขียนในทำนองนี้  จะมี "คอค่าย"  รุ่นต่าง ๆ แวะเวียนมาให้กำลังใจและทิ้ง  "รอยทางความคิด"  ไว้อย่างน่าชื่นชม   บ้างเป็นมิตรเก่า บ้างเป็นมิตรใหม่  แต่ทุกท่านก็เหมือนกันตรงที่มีความเป็น "ค่าย"  เต็มล้นอยู่ในหัวใจทั้ง 4  ห้อง

...

ไม่ว่ายุคสมัยใดผมก็ยังพูดซ้ำอยู่อย่างไม่รู้จบว่า งานค่าย  ทั้งค่ายสร้างและค่ายสอนที่เน้นกระบวนการตรงไปยัง "คน"  นั้น  ล้วนยังเป็นอีกวิถีของการหาคำตอบให้กับชีวิตและสังคมอยู่อย่างมหาศาล  คำถามหลายคำถามถูกถามจากคนเมือง  แต่คำตอบนั้นกลับล่องไหลอยู่ในหมู่บ้านอันไกลโพ้น

....

ค่า่ยสร้างที่เราทำนั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้ตอบสนองความต้องการของชาวบ้านอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ยังขัดแย้งกับอุดมการณ์ของค่ายเองที่พยายามต่อต้านวัตถุนิยม

แต่นักศึกษาและรุ่นพี่และรุ่นน้องหลายยังยึดติดกับค่า่ยสร้าง

ด้วยเหตุผลที่ว่าถ้าเราไม่มีรูปธรรมให้ชาวบ้าน ชาวบ้านอาจจะไม่ให้เราเข้าพื้นที่่ก็้ได้ 

.....

จากข้อความที่ขออนุญาตหยิบยกมากล่าวซ้ำนั้น  ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง  เป็นข้อสังเกต หรือแม้แต่เป็นภาพสะท้อนที่ฉายให้เห็นถึงปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นจริงอยู่อย่างหนึ่ง  นั่นก็คือ  ค่ายสร้าง  เป็นรูปธรรมที่ชาวบ้านแตะต้องได้อย่างง่าย ๆ  ไม่ต้องอธิบายอะไรมาก  และเป็นสิ่งที่ชาวบ้าน (อาจ)  ต้องการเร่งด่วน  เพราะถ้าให้รองบประมาณจากภาคส่วนต่าง ๆ  ก็ยิ่งจะเลื่อนลอย  และไร้จุดหมาย  ..ดังนั้น  ชาวบ้านจึงขานรับในเรื่องเหล่านี้  แต่จะยั่งยืน ต่อยอดหรือไม่  นั่นคือคำถามที่เป็นคำถามประวัติศาสตร์ที่ยังต้องถามและยังไม่มีคำตอบที่สำเร็จรูปอยู่จนบัดนี้

สำคัญที่ว่า ... เรามีการติดตามค่ายนั้นมากน้อยอย่างไร   ซึ่งประเด็นนี้ผมให้ความสำคัญมาก  และที่  มมส.  จึงมักกลับไปยังพื้นที่ค่ายอย่างน้อยถึง 2  ครั้ง

เหนือสิ่งอื่นใด .. ผมจะบอกกล่าวต่อนิสิตว่า  ให้ถือจะว่าวัตถุสถานที่สร้างในค่ายเป็นแต่เพียง "เครื่องมือ"  ของการนำพาเราไปสู่การเรียนรู้และร่วมเรียนรู้กับชุมชน  เพราะหากคิดจมปลักอยู่แต่งานภาคสนามของการปลูกสร้างวัตถุ  ก็เท่ากับเราได้ตกลงไปในกับดักทางคามคิดของโลกวัตถุนิยมอย่างไม่รู้ตัว, เหมือนกัน

...

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ พี่อัมพร
P

พี่อัมพรได้ไปร่วม UKM  หรือเปล่าครับ...

...

ก่อนอื่นขอแสดงความยินดีและชื่นชมในการขับเคลื่อนทรานสคริปกิจกรรมได้สำเร็จนะครับ.   ตอนนี้ผมจะเสนอเข้าสู่กรรมการบริหารมหาวิทยาลัย  เพื่อประกาศบังคับใช้กับนิสิตรหัส 50 ...

...

ไปค่ายทุกครั้ง   เจอเด็กผู้หญิงก็ได้แต่นั่งยิ้ม ..และยิ้ม  ..อยากมีลูกสาว  แต่ก็เกินแก่วันเวลาอันควรแล้วล่ะครับ

สวัสดีครับ  อ.ขุน
P

ผมขออนุญาตไม่เอ่ยคำใด  เพราะถ้อยคำของอาจารย์สะท้อนชัดเจ๋งมาก ...จึงขออนุญาตนำมาผลิตซ้ำอีกหน ..ดังนี้

  • หลายค่ายของชาวมหาวิทยาลัยมักจะทำเพื่อตอบสนองความต้องการของคนจัดค่ายมากกว่าความต้องการที่แท้จริงของพื้นที่
  • หรือหากแม้เป็นความต้องการที่แท้จริงของคนในพื้นที่แต่ก็เป็นความต้องการอย่างฉาบฉวย
  • ดังนั้นสิ่งที่ชาวค่ายไปสร้างไว้ในหลายสถานที่ก็กลายเป็นอนุเสาวรีย์ที่ปราศจากการใช้งาน
  • การสร้างค่ายคน  เพื่อให้คนไปสร้างงาน  อันนี้น่าสนใจครับ...เพราะมันน่าจะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนได้

ขอบคุณมากครับ...

สวัสดีครับ  ..น้องสภา

พี่ว่าได้เวลาที่เราจะต้องมาร่วมเขียนบันทึกร่วมกันแล้วกระมัง...สุ่มเสียงและมุมมองของเราก็น่าสนใจ, มีความรู้และตกผลึกอยู่ในระดับที่ไม่ขี้เหร่เลยนะ

....

ดีใจที่จะไม่ต้องรอคอยเรื่องเหล่านี้อย่างเดียวดายอีกต่อไป ...(ขอบใจมากน้องรัก)

....

ประวัติศาสตร์หมู่บ้าน : วรรรกรรมที่ถูกลืม "

" เด็กไทบ้าน : ปัญญาชนที่ไร้ตัวตนของคนค่าย "

....

วาทกรรมข้างต้น คิดได้เยี่ยมมาก..และน่าต้องถกคิดในเวทีกิจกรรมเราอย่างจริงจังเสียแล้ว..

ใช่ครับ..

P

เด็กไทบ้าน ..มีชีวิตและมีพลังอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว  ขาดก็แต่โอกาสและพลังจากภายนอกที่เข้าไปหนุนส่งอย่างเท่าเทียมกับผู้อื่น

ขอบคุณครับ...

ขอให้กล้าที่จะมีตัวตนในการทำงานต่อไป

ขอบพระคุณ อ.แป๋ว มากครับที่แวะมาเติมเต็มในบันทึกนี้
P
paew 
.

ในเรื่องของค่าย  ผมมองว่ามองได้หลายมิติ  แต่ที่แน่ ๆ คือ "คนสร้างค่าย - ค่ายสร้างคน"  อย่างแน่นอน  สิ่งที่ได้รับจากค่ายถ้าไม่ใช่ความรู้ในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชน   คนค่ายก็ย่อมได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับคนอื่นทั้งที่เป็นเพื่อนและชาวบ้านเหมือนกัน

ค่าย...มีคำตอบเสมอสำหรับชีวิตของคนหนุ่มสาวในรั้วมหาวิทยาลัย,  (ผมคิดเช่นนั้นนะครับ)

ขอบคุณเจ้หนิงมาก
P

ดูเด็กจะไม่เขินเลยนะครับ...กล้าเล่นกับกล้องมาก  นั่นแสดงว่าเด็กสนิทกับเจ้  เป็นกันเองและมีความกล้าแสดงออกที่ดี...

ขอบคุณครับ

 

สวัสดีครับ

P

ผมอ่านทัศนะของคุณพชรวรัตน์ฯ  แล้ว  รู้สึกได้เลยว่าเป็นทัศนะที่หยั่งลึกลงในเนื้อในแห่งงานค่าย หรือแม้แต่งานอื่น ๆ  อย่างน่าชื่นชม

เรื่องของวัตถุเป็นรูปธรรมที่กลายมาเป็นสัมผัสแรกที่ง่ายต่อการสร้างค่าย  เฉกเช่นกับที่อาจารย์ได้เปรียบเปรยไว้อย่างคมคาย  ว่า   คนเราจะเรียนรู้ด้านรูปธรรมได้เร็วกว่านามธรรม อยู่แล้วค่ะ ดังนั้น เราทุกคนจึงนึกถึงวัตถุ และเรียนรู้ได้ก่อนเรื่องของใจ เหมือนกับเวลาที่เรารู้จักคน ก็เห็นภาพลักษณ์ที่มองเห็นและพิจารณาวิเคราะห์ออกมา ก่อนที่จะได้ศึกษาอย่างถ่องแท้ ลึกซึ้งถึงซึ่งภายในจิตใจ

ขณะที่การทำงานของผมก็ไม่ถึงกลับทัดทาน  หรือห้ามมิให้นิสิตได้จัดกิจกรรมในทำนองนั้น  แต่จะพยายามกระซิบบอก  บรรยาย,  บอกเล่าอยู่เป็นระยะ ๆ  เพื่อให้นิสิตได้ทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง  และถึงแม้ต้องไปสร้างค่ายวัตถุสถานใด ๆ  ก็ต้องไม่ลืมให้ความสำคัญกับการสร้างคน  ซึ่งหมายถึง ตัวเอง, เพื่อน, และชาวบ้าน

ขอบคุณมากครับ....ที่ช่วยให้บันทึกของผมดูแจ่มชัดขึ้นเท่าตัว

น้องหยกบอกว่า  อนาคตอยากเป็นผู้อำนวยการค่ายฯที่เด็กรักป่าค่ะ  อิอิ
  • พี่อัมพรไม่ได้ไปร่วม UKM  พี่เมตตาส่งรายชื่อไปแล้ว แต่พี่ติดภาระงานประจำ เปิดหอพักนักศึกษาเป็นนักศึกษาที่มาจากแดนไกลเป็นส่วนใหญ่ บางคนยังไม่ได้จองหอพักบ้าง  ที่บ้านไม่มี NET บ้าง
  • บริการผู้ปกครองบ้าง
เจ้...
P

ถ้าน้องหยกบอกเช่นนั้น,  เห็นทีพี่หน่อยจะสบายเพราะมีลูกมือคนเก่งมาช่วยผ่อนแรงได้มากโข...

เด็กงดงามเสมอ...

บริการ  คือ งานของเรา...

P

 

และการบริการนั้นคือการพลีหัวใจต่องานอันเป็นที่รัก...

ผมเคารพ,และนับถือเสมอ...

เป็นกำลังใจให้นะครับ

เป็นสิ่งเป็นความจริงในปัจจุบันนะ

สวัสดีครับ

P
ปัจจุบัน... คือ ความเป็นจริงที่สะท้อนให้เห็นภาพของอดีตและเป็นเสมือนคำพยากรณ์ไปสู่อนาคตได้เหมือนกัน  และที่สำคัญคือการย้ำเตือนให้เราได้รู้สึกตัวเสมอว่าสภาวการณ์ที่แท้จริง ณ จุดที่เป็นอยู่เป็นเช่นไร  และดำเนินไปในทิศทางใดบ้าง
เป็นความจริงในปัจจุบัน...จริง ๆ ...ครับ
ขอบพระคุณครับ.
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท