สรุปผลการดำเนินงานกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) (ตอนที่ 2)


                                ๓.๒ โครงการส่งเสริมการทำความดี

                                () โครงการแผนที่คนดีเรื่องดี - แกะรอยแผนที่ตามหาคนดี ๑๐๐ ตัวอย่าง  เผยแพร่ทางโทรทัศน์  หนังสือและวีซีดี

                                ()  สานฝัน ๘๐ ความดีถวายในหลวง ๘๐ คน ๘๐ เรื่องราวของตัวอย่างผู้ด้อยโอกาสและผู้พิการของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

                                ()  ประกาศเชิดชูเกียรติเยาวชนดีเด่นแห่งชาติและผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน  ประจำปี ๒๕๕๐ ๑๑สาขากิจกรรม  จำนวน ๑๕๖ ราย

                                ()  ประกาศเกียรติคุณบุคคล  องค์กร  และสถานประกอบการดีเด่นด้านสนับสนุนผู้พิการ  ประจำปี ๒๕๕๐จำนวน ๓๓ ราย

                                ()  ประกาศเกียรติคุณอาสาสมัครดีเด่นของชาติประจำปี ๒๕๕๐ จำนวน ๑๗๙ ราย  และองค์กรที่มีกิจกรรมทางสังคมดีเด่น ๑๕องค์กร

                                ๓.๓  สนับสนุนแผนงานส่งเสริมชีวิตมั่นคงปลอดอบายมุข   ร่วมมือกับศูนย์คุณธรรม  มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ  และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  ดำเนินโครงการใน จังหวัดนำร่อง (น่าน,ตราด,พัทลุง,นครราชสีมา และ กรุงเทพมหานคร)  เพื่อสร้างความรู้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนแม่บทส่งเสริมชีวิตมั่นคงปลอดอบายมุข พ.ศ.๒๕๕๐-๒๕๕๒

                ๔. ขับเคลื่อนทางด้านกฎหมาย

                เพื่อให้ยุทธศาสตร์สังคม สามารถดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในระยะยาว จึงได้ผลักดันการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

                                ๔.๑ พระราชบัญญัติที่ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติแห่งชาติ  จำนวน ฉบับ

                                ()  พระราชบัญญัติการเคหะแห่งชาติ (ฉบับที่ )  พ.ศ.๒๕๕๐

                                () พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่   ) พ.ศ.๒๕๕๐

                                (๓)   พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว  พ.ศ. ๒๕๕๐

                                (๔) พระราชบัญญัติการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ  พ.ศ.๒๕๕๐

                                (๕) พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม (ฉบับที่ )  พ.ศ.๒๕๕๐

                                (๖)  พระราชบัญญัติพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ  พ.ศ.๒๕๕๐

                                (๗)  พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน  พ.ศ.๒๕๕๐

                                (๘)  พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์  พ.ศ.๒๕๕๐

                                ๔.๒ พระราชกฤษฎีกาที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  จำนวน  ฉบับ  

                                พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ) พ.ศ.๒๕๕๐

                                ๔.๓ ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน ฉบับ

                                (๑) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ  พ.ศ.๒๕๕๐ 

                                (๒) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมสภาองค์กรชุมชน  พ.ศ.๒๕๕๐

                                (๓) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมสถาบันครอบครัว  พ.ศ.๒๕๕๐

                                (๔) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมกิจการสตรี  พ.ศ.๒๕๕๐

                                (๕) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติ  พ.ศ. ๒๕๕๐

                                ๔.๔ (ร่าง) พระราชบัญญัติที่อยู่ในระหว่างขั้นตอน/กระบวนการ  จำนวน ฉบับ

                                () ร่างพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. ...(สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)

                                () ร่างระราชบัญญัติส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ  พ.ศ. ... (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับคืนจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)

                                () ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมประชาสังคมเพื่อการพัฒนา พ.ศ. ... (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับคืนจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)

                                () ร่างพระราชบัญญัติฟื้นฟูชุมชนและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชายแดนภาคใต้  พ.ศ. ...  (สำนักงานเลขาธิการ  คณะรัฐมนตรี)

                                (๕) ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการกองทุนซะกาต  พ.ศ. ...  (สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)

                                () ร่างพระราชบัญญัติปราบปรามวัตถุยั่วยุพฤติกรรมอันตราย  พ.ศ. ... (สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)

                                (๗) ร่างพระราชบัญญัติคนขอทาน พ.ศ...(สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา) 

                                (๘) ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมสถาบันครอบครัว  พ.ศ. ....  (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับคืนจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)

                                                                         ฉายแนวคิดไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

                                              รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 

                                                                               ผ่านบทเรียนแห่งการทำงาน

                นับจากการเข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สิ่งแรกที่คิดคือ งานพัฒนาสังคมควรมียุทธศาสตร์อย่างไร เพราะการทำงานของรัฐบาลควรเน้นนโยบายและยุทธศาสตร์ โดยรัฐมนตรีควรบริหารงานเชิงยุทธศาสตร์ จึงได้หารือกับผู้ทรงคุณวุฒิ จนสรุปเป็นยุทธศาสตร์ ๓ ด้าน คือ ยุทธศาสตร์สังคมไม่ทอดทิ้งกัน ยุทธศาสตร์สังคมเข้มแข็ง และยุทธศาสตร์สังคมคุณธรรม โดยทั้ง ๓ ด้าน ต้องเกี่ยวข้อง สนับสนุน และปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน 

                จากยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ จึงสามารถแปรเป็นนโยบาย แนวทาง รวมถึงมาตรการได้อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นผลให้ผมและทีมงานร่วมกันพัฒนาแนวทางและมาตรการตามยุทธศาสตร์สังคม ๓ ด้านในเวลาต่อๆมา

                ตลอดระยะเวลา ๑ ปีเศษของการทำงาน ผลงานที่ประทับใจมากที่สุดคือ การที่เราได้คิดและทำเชิงยุทธศาสตร์ จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งระบบคิดและระบบทำของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมถึงการจัดให้มีกลไกในระดับจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พัฒนาสังคมเป็นรายจังหวัด ซึ่งกระจายกลไกนี้ไปถึงระดับท้องถิ่น และเน้นการทำงานที่ท้องถิ่นและชุมชน เป็นตัวตั้ง โดยทุกฝ่ายได้ประสานความร่วมมือกัน 

                การทำงานของกระทรวงตามแนวยุทธศาสตร์ และมีกลไกการกระจายพลังออกไปถึงจังหวัดและท้องถิ่น และมีการรวมพลังในแต่ละจังหวัดและท้องถิ่น จนเกิดการขับเคลื่อนร่วมกันนั้น  ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ซึ่งเป็นการพัฒนาสังคม รวมถึงสวัสดิการสังคมที่ครอบคลุมและบูรณาการในทุกๆเรื่อง รวมถึงสวัสดิการสังคมที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มคนต่างๆ ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญ อันได้แก่ เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ ผู้สูงอายุ และครอบคลุมการพัฒนาครอบครัว การพัฒนาสตรี ตลอดจนการพัฒนาชุมชน และการพัฒนาที่อยู่อาศัย ฯลฯ   

                ถือว่าการทำให้การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมถึงระบบสวัสดิการต่างๆเกิดพัฒนาการแบบ กระจายกว้างลงสู่ฐานราก และบูรณาการทั้งเชิงกลุ่มคนและเชิงประเด็น ซึ่งถือเป็นผลงานที่น่าพึงพอใจ แต่ไม่ใช่ว่าทุกอย่างจะดีไปหมดหรือเสร็จสิ้นสมบูรณ์ แต่อย่างน้อยจะเป็นการปูพื้นฐานเรื่องการวางโครงการ จัดกลไก ดำเนินมาตรการต่างๆไปในทิศทางที่มีพลังมากขึ้น เข้มแข็งมากขึ้น สร้างสรรค์มากขึ้น และควรจะมีความมั่นคงยั่งยืนมากขึ้น ทั้งหมดนี้รวมถึงการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนที่เพิ่มขึ้นจากในอดีต โดยเฉพาะการเพิ่มงบประมาณการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม จากเดิมที่ได้เพียงปีละ ๖๐ ล้านบาท มาเป็น ๔๗๐ ล้านบาท ในปี ๒๕๕๐ และยังคงได้รับในจำนวนใกล้เคียงกัน คือ ๔๕๐ ล้านบาท ในปี ๒๕๕๑ 

                นอกจากการจัดสวัสดิการสังคมแล้ว การพัฒนาชุมชน ได้ส่งเสริมขบวนการชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง โดยทำให้ฐานที่มีอยู่แล้ว เกิดการขยายฐานและเสริมสร้างสิ่งใหม่ เช่น การส่งเสริมและขยายผลเกี่ยวกับการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน การมีระบบสวัสดิการชุมชนให้เดินหน้าไปได้ดียิ่งขึ้น ขณะที่การพัฒนาที่อยู่อาศัย ได้คลี่คลายปัญหาวิกฤตที่สะสมมาจากอดีต โดยการสร้างสรรค์ทิศทางใหม่ รวมถึงการมีแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัย   

                และสิ่งที่ได้ปูพื้นฐาน วางแนวทาง ตลอดจนงบประมาณต่างๆ ถือเป็นแนวทางที่ควรจะสานต่อ โดยเฉพาะการกระจายพลังไปที่จังหวัดและท้องถิ่น ตลอดจนการสนับสนุนให้รวมพลัง ณ จังหวัดและท้องถิ่น เป็นการรวมพลังหลายฝ่ายและหลายด้าน น่าจะเป็นหนทางที่นำสู่การสร้างความเข้มแข็ง รวมถึงการสร้างความสามารถในการจัดการร่วมกันของชุมชน ประชาชน หน่วยงาน และองค์กรต่างๆ ให้เป็นไปในทางของการรวมพลังสร้างสรรค์ให้ดียิ่งขึ้น เพราะจะเป็นการสร้างฐานรากที่แข็งแกร่ง และความสามารถที่ฐานราก โดยเฉพาะความสามารถในการจัดการร่วมกัน ซึ่งจะเป็นการสร้างสังคมที่เข้มแข็งอย่างแท้จริง

                ชุมชน จึงถือเป็นฐานรากที่สำคัญของสังคม ฉะนั้นการมีชุมชนเข้มแข็ง สามารถจัดการตนเองในเรื่องต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สุขภาพ สวัสดิการ คุณธรรมและจริยธรรม จะถือเป็นฐานรากที่แข็งแรง และกระจายอยู่ทั่วทั้งสังคม เป็นฐานรากเล็กๆ แต่เมื่อรวมกันแล้วจะสามารถค้ำยันสังคมให้มีความเข้มแข็งมั่นคง จึงถือว่างานพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน เป็นงานที่สำคัญมาก เพราะเกี่ยวข้องกับทุกเรื่อง และเกี่ยวข้องกับชีวิตคน ชุมชนจึงเป็นที่บูรณาการของทุกอย่างในสังคมได้อย่างดี       

 

                                                                               ฉายแนวคิด พลเดช ปิ่นประทีป

                                       รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

                                                                                   ผ่านบทเรียนแห่งการทำงาน

                ในฐานะเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ช่วง ๕ เดือนแรก  และฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ช่วง ๑๐ เดือนหลัง  ผมมีโอกาสได้ช่วยในการบริหารนโยบายและกำกับดูแลการดำเนินงานเชิงยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  เพื่อรองรับยุทธศาสตร์สังคมแห่งชาติอย่างต่อเนื่องและค่อนข้างเต็มตัว  แต่ด้วยข้อจำกัดทางด้านระยะเวลาการทำงานที่มีเพียงแค่ 15 เดือน  จึงต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษใน ๖ ภารกิจหลัก  ซึ่งขอสะท้อนมุมมองส่วนตัวดังต่อไปนี้

๑. การพัฒนากฎหมายสำคัญให้เป็นเครื่องมือการทำงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

                เนื่องจากการแก้ปัญหาสังคมและการพัฒนาประเทศเพื่อความมั่นคงของมนุษย์นั้นมีมิติที่ซับซ้อน  มีความเป็นพลวัตรสูง  ต้องอาศัยระยะเวลาและการประสานร่วมมือระหว่างกระทรวงและหน่วยงานที่หลากหลายมาก  การมีกฎหมายเชิงส่งเสริมจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการทำงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  

                แต่ด้วยเหตุที่กฎหมายไทยที่มีอยู่ส่วนใหญ่ยังคงให้น้ำหนักกับบทลงโทษ  สำนักคิดและสถาบันทางกฎหมายในปัจจุบันจึงคุ้นชินต่อกฎหมายที่ออกมาเพื่อบังคับลงโทษมากกว่ากฎหมายในเชิงส่งเสริมสนับสนุนสังคมให้มีกระบวนการเรียนรู้และจัดการปัญหาด้วยตนเอง  อันเป็นกระบวนทัศน์ใหม่

                อย่างไรก็ตามในภาพรวมการทำงาน ๑๕ เดือนที่ผ่านมา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีผลงานการพัฒนากฎหมายอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ  กล่าวคือ สามารถผ่านพระราชบัญญัติรวม ๘ ฉบับ,  พระราชกฤษฎีกา ๑ ฉบับ  และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ๕ ฉบับ  

                โดยแม้ว่า (ร่าง) พระราชบัญญัติที่ถือเป็นกฎหมายเชิงยุทธศาสตร์ ๔ ฉบับ  อันได้แก่  (ร่าง) พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน,  (ร่าง) พระราชบัญญัติส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ,  (ร่าง) พระราชบัญญัติส่งเสริมประชาสังคมเพื่อการพัฒนา  และ (ร่าง) พระราชบัญญัติส่งเสริมครอบครัว  จะไม่สามารถออกเป็นกฎหมายได้  แต่คณะรัฐมนตรีก็ยังคงเห็นความสำคัญให้ออกเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  สำหรับเป็นเครื่องมือในการทำงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นการทดแทน  ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่ง

                อย่างไรก็ดี   แนวคิดและความพยายามในการยกร่างและผลักดันเสนอกฎหมายทุกฉบับ  โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของสังคม  โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายและภาคีที่เกี่ยวข้องโดยตรงนั้น  ได้สร้างความตื่นตัว  ความสนใจจากสาธารณะและสื่อมวลชนอย่างกว้างขวาง  ทั้งยังกระตุ้นให้เกิดการสร้างโจทย์ต่อหน่วยงานด้านกฎหมาย  ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนว่า  ถึงเวลาหรือยังในการปรับกระบวนทัศน์และวัฒนธรรมการออกกฎหมาย  โดยให้ความสำคัญต่อกฎหมายเชิงส่งเสริมให้มากขึ้น  อย่างเท่าเทียมกับกฎหมายเชิงควบคุม  บังคับและลงโทษที่มีอยู่แล้วเป็นจำนวนมาก

หมายเลขบันทึก: 162480เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2008 13:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 18:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

กระผมมีความรู้สึกประทับใจกับแนวคิด "การปรับกระบวนทัศน์และวัฒนธรรมการออกกฎหมาย  โดยให้ความสำคัญต่อกฎหมายเชิงส่งเสริมให้มากขึ้น  อย่างเท่าเทียมกับกฎหมายเชิงควบคุม  บังคับและลงโทษ" เพราะการส่งเสริมที่เหมาะสมย่อมนำมาซึ่งความมีคุณภาพของทุกสิ่ง และทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกใบนี้ก็ควรมีความสมดุลย์จึงจะทำให้เกิดความยั่งยืน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท