เด็กสมองพิการคลายเจ็บคลายกังวล


จากกรณีศึกษาในบันทึก http://www.gotoknow.org/blog/otpop/461562 มาทดสอบสมมติฐานในการจัดโปรแกรมการฝึกกิจกรรมบำบัดที่บ้านพบความรู้ใหม่ที่น่าสนใจ

จากบันทึก เด็กสมองพิการเจ็บกายหรือเจ็บใจ ก็พบว่า เด็กเรียนรู้ประสบการณ์ที่เคยเจ็บปวดร่างกายที่ถูกยืดกล้ามเนื้อที่เกร็งกระตุกกับเจ็บใจที่บังคับให้อยู่ในท่าลดเกร็งขณะฝึกกระตุ้นพัฒนาการที่ รพ. แห่งหนึ่ง เมื่อเปลี่ยนมาฝึกกิจกรรมบำบัดกับ ดร.ป๊อป แต่มีการเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาเด็กที่ต่อเนื่องและปรับกระบวนการทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวในการดูแลตนเองและการเล่นจากง่ายสู่ยากตามความก้าวหน้าของการจัดโปรแกรมกิจกรรมบำบัดที่บ้านด้วยการฝึกให้คุณแม่และคุณตาร่วมกันคิดร่วมกันทำกับ ดร.ป๊อป ในโครงการหมออาสา...มาหานะเธอ มาตั้งแต่ ก.ย. 53 จนถึงปัจจุบันเกือบ 1 ปี แล้ว

ความเจ็บกายและเจ็บใจแสดงออกทางภาษาท่าทางที่ร้องไห้ ไม่ยอมร่วมมือ เริ่มลดลง สังเกตจากไม่มีน้ำตา ไม่มีหน้าแดง แต่จะถีบขาเตะให้ตัวมาชนผู้ฝึก เมื่อนำมาทดสอบสมมติฐานสองข้อตามบันทึกข้างต้น ก็ทำให้รู้ว่า การพักด้วยเสียงจังหวะดนตรีในท่านอนคว่ำโยกตัวช้าๆ จะช่วยลดอาการเกร็งและลดเสียงร้องไห้ลงบ้าง เมื่อมาฝึกองค์ประกอบของการรับความรู้สึกและการเรียนรู้เคลื่อนไหวร่างกายต่อเนื่อง (คลานเคลื่อนไปข้างหน้าพร้อมขาสองข้าง สลับขา และกลิ้งตัวอย่างละ 5 นาที โดยไม่มีเสียงจากผู้ฝึกและผู้ดูแล) สลับกับการพักผ่อนคลายอีก 5 นาที/อุ้มคุยกับคุณแม่อีก 5 นาที มีการแนะนำให้ใส่หูฟังเสียงดนตรีบ้างเพราะเสียงร้องไห้และเสียงอื่นๆ จะกระตุ้นซ้ำๆ ในวงจรของสมองโดยเฉพาะมีความไวของการได้ยินและการทรงท่า (เมื่อนึกขึ้นได้ก็ร้องซ้ำไปซ้ำมา หยุดไม่เกิน 2 นาทีเมื่อฟังเสียงที่ชอบ) ซึ่งก่อนหน้านี้ตรวจพบปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติที่เกี่ยวข้องกับความตึงตัวของกล้ามเนื้อคงเหลืออยู่ไม่สมวัย

วันนี้ ดร.ป๊อป ได้ลองเปรียบเทียบการฝึกในรูปแบบเดิมที่บันทึกไว้ ปรากฎว่า เด็กเรียนรู้ช่วยเคลื่อนไหวได้บ้าง (10% ของการออกแรงช่วยจากผู้ฝึกทั้งหมด) แม่ฝึกได้คล่อง เด็กร้องไห้ลดลง (30% จากเวลาที่ร้องไห้ทั้งหมด) เมื่อสอนท่านั่งไปยืน ทั้งแบบยันมือ แบบไม่ยันมือ และแบบคว้ามือคนอื่นข้างหน้า ก็เรียนรู้ได้ แต่จะร้องไห้มากขึ้น ไม่ยอมทำมากขึ้น แม้ว่าจะมีกิจกรรมการพักข้างต้น

ดร.ป๊อป จึงตั้งสมมติฐานว่า หากเปลี่ยนรูปแบบการฝึกนอกห้องคลินิก เช่น ฝึกท่านั่งไปยืนให้เป็นกิจกรรมการดำเนินชีวิตมากขึ้นโดยนั่งบนรถ แม่ขับรถจากคลินิกกิจกรรมบำบัดไปที่สวนใกล้เรือนไทยใน ม.มหิดล ปรากฎว่าอาจต้องปรับเทคนิคการจับข้อศอก แล้วนั่งพิงข้างขวาของเก้าอี้ และใช้ผ้าพันพันส้นเท้าซ้ายที่อ่อนแรงและเสี่ยงต่อการพลิกขณะยืน (สวมถุงเท้าและรองเท้า) ผลการฝึกดีเกินคาด  เด็กเรียนรู้ช่วยเคลื่อนไหวได้บ้าง (20% ของการออกแรงช่วยจากผู้ฝึกทั้งหมด) แม่ฝึกได้คล่อง เด็กร้องไห้ลดลง (50% จากเวลาที่ร้องไห้ทั้งหมด)    

บทเรียนที่มีคุณค่าจากการฝึกน้องกรณีศึกษานี่ทั้งเดือน (1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ 2 ชม. ต่อครั้ง) พบว่า การแนะนำกระบวนการฝึกแล้วสอนให้คุณแม่และคุณตาฝึกได้เองในสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติช่วยลดประสบการณ์ร้องไห้ด้วยความวิตกกังวลและความเจ็บกายใจ

หมายเลขบันทึก: 461695เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2011 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 23:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มีคุณค่ามากครับ

ขอบคุณที่มีโอกาสได้เรียนรู้ด้วยครับ

  • ตามมาเรียนรู้
  • ช่วยเด็กๆๆได้
  • ได้บุญมากเลย
  • เห็นเด็กๆๆร้องไห้แล้วสงสารครับ

ขอบคุณภาพสวยๆ จากท่านพี่ ดร.ขจิต ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท