การเรียนรู้อิงถิ่นฐาน : ๔. ชุมชนเรียนรู้ออนไลน์เวทีคนหนองบัวกับการเรียนรู้อิงถิ่นฐาน


เวทีได้ศึกษากรณีตัวอย่างจากเวทีคนหนองบัว ทั้งจากสื่อออนไลน์โดยตรง ชุดสื่อนิทรรศการ และการนั่งสนทนาของผู้มีบทบาทเป็นผู้ริเริ่ม อีกทั้งใช้เป็นกรณีตัวอย่างในการสาธิตให้เห็นถึงความสามารถในการเรียนรู้และปฏิบัติได้ด้วยตนเอง โดยท่านพระอาจารย์มหาแล อาสโย(ขำสุข) และพระอธิการโชคชัย ซึ่งนอกจากเป็นที่ประทับใจมากแล้ว พระคุณเจ้าทั้งสองก็สะท้อนคิดให้เครือข่ายคุณครูและโรงเรียนได้เกิดกำลังใจในการปฏิบัติเพื่อให้ความรู้และสร้างปัญญาเป็นทาน

รวมทั้งเป็นโอกาสในการเชื่อมโยงชุมชน โรงเรียน และผู้นำทางด้านศาสนธรรม ให้สามารถระดมสรรพกำลังเพื่อพัฒนาการศึกษาเรียนรู้แก่เด็กและประชาชนด้วยกันในแนวทางใหม่ๆ.

หมายเลขบันทึก: 451584เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2011 09:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2013 23:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

การเดินทางของมนุษย์ที่ไม่ลืม "รากเหง้า" คือ ที่มาของตัวเอง

ถือว่าเป็นผู้มีความกตัญญูต่อแผ่นดินเกิดครับท่านพี่ ;)...

เจริญพรอาจารย์วิรัตน์

ในวันนั้นไปถึงสี่แยกหนองบัวก็เพลพอดี พอลงรถก็มองหาร้านหารแถวๆท่ารถ เมื่อหาร้านอาหารไม่พบ เลยโทร.เข้าเบอร์ดร.วิรัตน์ที่อาจารย์ณัฐพัชร์ให้ไว้เมื่อก่อนเดินทาง

สักครู่อาจารย์สืบศักดิ์ ปฏิสนธิ์ ก็มารับไปที่โรงเรียนหนองบัว ได้ฉันอาหารเพลฉลองศรัทธาที่ทางโรงเรียนจัดถวาย

ฉันอาหารเสร็จเข้าห้องประชุม เจอแม่อาจารย์วิรัตน์ ได้แค่ทักทาย ยังไม่ทันได้สนทนาอะไรเลย โยมก็ขอตัวกลับเสียก่อน

                  
                   แม่อาจารย์วิรัตน์ คำศรีจันทร์ ห้องประชุมบุณฑริก โรงเรียนหนองบัว

เวทีคนหนองบัว ทำให้ได้พบแม่อาจารย์วิรัตน์ ครั้งนี้เป็นครั้งสองแล้ว ในครั้งแรกนั้นเมื่องานงิ้วหนองบัวที่ผ่านมา(มีนาคม ๒๕๕๔)

ได้ทราบข้อมูลมาจากคนรู้จริงว่าข้อมูลความรู้ชุมชนหนองบัวอันมากมาย ที่บันทึกไว้ในเวทีคนหนองบัวนั้น มาจากคุณแม่ท่านนี้นั่นเอง(อย่างนี้ต้องเรียกว่าผู้อยู่เบื้องหลังแห่งความสำเร็จอันแท้จริง)

เห็นแล้วก็ประทับใจทั้งคุณลูกและคุณแม่

 

ช่วงที่ให้คุณครูลองฝึกปฏิบัติเปิดบล็อกเขียนบันทึก พอใครสมัครได้สำเร็จ จะได้ยินเสียงการแสดงความดีใจด้วย เห็นท่านอธิการโชคชัย แนะนำขั้นตอนการสมัครอย่างตั้งใจ เมื่อสมัครได้แล้ว ท่านอธิการก็ให้กำลังใจสมาชิกใหม่ทั้งด้วยวาจาและด้วยการออนไลน์สดๆ ทั้งๆที่ก็นั่งใกล้ๆกันนั่นแหละ

                    
                    
                    
                     Large_nong_bua_school_network_2
                     ภาพล่างสุดนี้จากไฟล์ดร.วิรัตน์

                    
                     
                    

 

สวัสดีครับอาจารย์ Wasawat Deemarn ครับ
งานนี้เป็นอย่างอาจารย์ว่าเลยละครับ รู้สึกโชคดีจริงๆที่มีโอกาสได้ทำ มันเหมือนกับได้ทำหลายอย่างในเวลาเดียวกันได้แสดงความกตัญญูต่อถิ่นฐานบ้านเกิด ความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ ความกตัญญูต่อโรงเรียน แล้วก็ได้ร่วมมือกับน้องๆที่ต้องเป็นคนสร้างคน สร้างลูกหลานให้กับหนองบัวและกับสังคม ได้พาชาวบ้านและคนเก่าแก่ของชุมชนให้มาเจอกัน ได้นั่งคุยกัน เป็นการได้ใช้แรงกายแรงใจอีกครั้งหนึ่งที่ให้ความอิ่มเอิบใจมากจริงๆ

กราบนมัสการท่านพระอาจารย์มหาแลครับ
แม่มีเกร็ดความรู้มากมาย แล้วก็ช่างจดจำผู้คนได้เยอะแยะครับ พวกคาถาไหว้ข้าว ไหว้ยุ้งฉาง ไหว้แม่โพสพนี่ก็มีครับ แม่กับคนเฒ่าคนแก่ รวมทั้งมัคนายก เคยจดๆไว้แล้วก็นำมาถ่ายทอดให้ผมอยู่เป็นระยะๆเหมือนกันครับ

เห็นคณะคุณครูเปิดบันทึกของตัวเองได้ก็รู้สึกดีใจไปด้วยนะครับ เป็นทำประสบการณ์ตรงให้กับตนเองที่จะสามารถนำไปสอนเด็กๆได้เป็นอย่างดี ขออนุโมทนาบุญกับพระคุณเจ้าและท่านพระอธิการโชคชัยมากเลยนะครับ

ขอบคุณค่ะ หากเริ่มต้นด้วยการร่วมกันปลูกจิตสำนึกในการเห็นคุณค่าของการพัฒนาท้องถิ่น บนรากฐานของทุนทางสังคม และช่วยกันขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง ย่อมเกิดผลสัมฤทธิ์เชิงประจักษ์อย่างแน่นอน ขอให้กำลังใจค่ะ

ขอบพระคุณครับพี่ใหญ่ครับ
หากได้มีโอกาสถอดบทเรียนทีละด้านเป็นระยะๆ ประสบการณ์ของหนองบัวก็จะเป็นแนวทางให้กับแหล่งอื่นๆของประเทศได้มากทีเดียวนะครับ เป็นการค่อยๆคิดค่อยๆทำจากการระดมความร่วมแรงร่วมใจกันเอง แล้วเข้าไปเสริมกำลังและขยายผลทุนเดิมทางด้านต่างๆที่มีอยู่ในพื้นที่ ทั้งสังคมวัฒนธรรมท้องถิ่น ตัวเมืองหนองบัว โรงเรียนประจำอำเภอ เครือข่ายโรงเรียนในฝันหนองบัว-นครสวรรค์ โรงเรียนศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง โครงการอนุรักษ์พันธุ์พืชหายาก โครงการในพระดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การมีเวทีคนหนองบัว ซึ่งแง่หนึ่งก็เหมือนมีเวทีประชุมแบบออนไลน์ ซึ่งทำให้สามารถปรึกษาหารือและแขวนความคิดต่างๆเพื่อติดต่อสื่อสารกันได้อยู่ตลอดเวลานี้ช่วยได้มากอย่างยิ่งครับ gotoknow.org ในความหมายนี้ ต้องนับว่าเป็น Social lab ที่ช่วยในการ connect กลุ่มปัจเจกที่มีความสนใจต่อส่วนรวมและถิ่นฐานบ้านเกิดตนเอง ให้สามารถมีกำลังคิดและทำสิ่งต่างๆด้วยตนเองได้

สวัสดีค่ะอาจารย์วิรัตน์ แวะมาส่งลิงค์คุณครูในเครือข่ายครูโรงเรียนในฝันกับการเรียนรู้อิงถิ่นฐานค่ะ ...

ครูต้นเทียน : สุนันทา แข็งแรง >> แลหน้าวิถีโลก มองย้อนวิถีไทย : ยุ้งข้าวหายไปไหน >> http://www.gotoknow.org/blog/totien2/451128
ครูสุชาติ นุ่มมาก (ครูไพศาลี) >> http://www.gotoknow.org/media/files/741961
ครูวิกานดา >> http://www.gotoknow.org/profiles/users/krunongbt
ครูนัทธมน หลีจู จาก รร.หนองดู่  >> http://www.gotoknow.org/profiles/users/leejus
ครูภัทรานิษฐ์ อิ่มศิล จาก รร.วังบ่อวิทยา >> http://www.gotoknow.org/blog/krupay/450941
ครูสุภาวดี ประสิทธิพร  >> http://www.gotoknow.org/profiles/users/supavade
ครูภานิณี เภา สุขโชคพานิช >> http://www.gotoknow.org/profiles/users/panine

ไปรวบรวมมาได้อย่างไรล่ะครับเนี่ยอาจารย์ณัฐพัฐร์
ผมเห็นแต่ของคุณครูต้นเทียนกับครูน้อง น่าจะมีอีกใช่ไหมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท