วิธีการควบคุมวัชพืชในนาข้าวโดยไม่ใช้สารเคมี ตอนที่ 1


โรงเรียนชาวนา มูลนิธิข้าวขวัญ ค้นพบเทคนิคการควบคุมวัชพืชในนาข้าวแบบหว่าน นำตรม โดยการไม่ใช้สารเคมี”

 

โรงเรียนชาวนา มูลนิธิข้าวขวัญ   ค้นพบเทคนิคการควบคุมวัชพืชในนาข้าวแบบหว่าน นำตรม  โดยการไม่ใช้สารเคมี


เก็บปัญหามาแก้ไข

       โรงเรียนชาวนาของมูลนิธิข้าวขวัญ   ซึ่งเปิดทำการสอนกับเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกร  ลด ละ เลิก  การใช้สารเคมีในการเกษตร    ลดต้นทุนการผลิต   เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม   ลดหนี้สิน  และสามารถพึ่งพาตนเองได้     หลักสูตรที่ใช้มี 3 หลักสูตร ได้แก่  หลักสูตรแรกเรียนเรื่องการจัดการศัตรูพืชโดยระบบชีววีธี    หลักสูตรนี้นักเรียนชาวนาเขาได้เรียนรู้ถึง พิษภัยและอันตรายของสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร      เทคนิคและความรู้ที่นักเรียนชาวนาจะต้องเรียนรู้ได้แก่พืชสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่น  เพื่อนำมาใช้ทดแทนสารเคมีที่เคยใช้    ร่วมทั้งการเรียนรู้ถึงระบบนิเวศน์ ประเภทและชนิดของแมลงที่อยู่ในแปลงนา   ปล่อยให้แมลงในแปลงนาควบคุมกันเอง      หลักสูตรที่สองการปรับปรุงบำรุงดิน   นักเรียนชาวนาได้เรียนรู้ถึง  ประโยนช์ของอินทรียวัตถุ ที่มีในท้องถิ่น  เริ่มที่การไม่ทำลายอินทรียวัตถุไม่เผาฟาง  ใช้จุลินทรีย์   น้ำหมักฮอร์โมนสูตรต่าง ๆ  ใช้ลาดและฉีดพ่นแปลงนา      ส่วนหลักสูตรที่สามนั้น  เรื่องการพัฒนาพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับระบบเกษตรกรรมยั่งยืน    ในหลักสูตรนี้นักเรียนชาวนาได้เรียนรู้ถึงการคัดเลือกและการเพาะปลูกข้าวจากข้าวกล้อง    เพื่อนำไปปลูกเป็นข้าวพันธุ์ต่อไป   ในหลักสูตรนี้นักเรียนชาวนาได้เรียนรู้ถึงวิธีการผสมพันธุ์ข้าว  เพื่อการพัฒนาข้าวให้ได้ข้าวสายพันธุ์ใหม่ตามที่ต้องการ   การพัฒนาพันธุ์ข้าวนั้นเป้าหมายเพื่อว่าเมื่อมีข้าวสายพันธุ์ที่ดีที่ไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยเคมี  มีความต้านทานโรคแมลง    และเป็นพันธุ์ที่คุณภาพดี
          จากหลักสูตรโรงเรียนชาวนาของมูลนิธิข้าวขวัญ ดูเหมือนว่าไม่มีสารเคมีในเส้นทางการทำนา   แต่รูปแบบและวิธีการทำนาที่ต้องทำนาแบบหว่านน้ำตรมนั้น  ทำให้เกษตรกรต้องพึ่งพาสารกำจัดวัชพืชอยู่   การทำนาที่ไม่ใช้สารกำกัดวัชพืชนั้นมีอยู่วิธีเดียวคือการทำนาดำ   ซึ่งเป็นวิธีกรทำนาที่เคยทำมาในสมัยก่อน  ที่อาศัยน้ำฝน  ใช้แรงงานการเตรียมดินจากควาย   ใช้แรงงานการปักดำจากสมาชิกในครอบครัวเพราะคนในสมัยนั้นอยู่กันแบบครอบครัวใหญ่และมีลูกมาก   ต่างกับสมัยทุกวันนี้ การทำนาต้องรีบทำให้ทันกับการส่งน้ำมาของระบบชลประทาน    พันธุ์ข้าวก็เปลี่ยนจากข้าวนาปีมาเป็นข้าวนาปรัง  แรงงานการเตรียมดินใช้รถไถสามารถเตรียมได้วันละหลายไร่   แรงงานในครอบครัวที่จะทำนามีน้อย    รูปแบบการทำนาจึงเปลี่ยนมาเป็นการทำนาแบบหว่านน้ำตรม  ซึ่งจะต้องใช้สารกำจัดวัชพืช 
 
สารเคมีกำจัดหญ้า
         สารเคมีกำจัดวัชพืชที่เกษตรกรใช้มี อยู่  2  แบบ  คือแบบคุมการงอกของเมล็ดหญ้า
เกษตรกรจะฉีดพ่นหลังจากหว่านข้าว 2-3  วันต้นข้าวงอกแล้ว   สารเคมีชนิดทำหน้าที่คลุมที่ผิวหน้าของดิน ทำให้เมล็ดวัชพืชไม่สามารถงอกได้  แต่ฤทธิ์ของสารคุมหญ้าจะอยู่ได้ไม่นาน ประมาณ 4-5 วัน ก็จะหมดฤทธิ์   หรือถ้าหากแปลงนาแห้งมากดินในแปลงนาแตกระแหง มีร่องดินแตกเมล็ดหญ้าจะงอกขึ้นมาได้     และถ้าหากมีฝนตกหลังฉีดพ่นสารเคมี หญ้าจะขึ้นมาได้    
ส่วนการกำจัดหญ้าแบบที่สองนั้นเกษตรกรจะใช้แบบคุมและฆ่าหญ้า   สูตรนี้จะทำหน้าที่คุมเมล็ดหญ้าไม่ให้งอกและทำหน้าที่ฆ่าต้นหญ้าที่งอกแล้วให้ตาย   เกษตรกรจะทำการฉีดพ่นเมื่อข้าวอายุประมาณ 5-7  วัน  สารเคมีคุมและฆ่านี้จะมีผลหลังจากฉีดพ่นต้นหญ้าที่งอกแล้วใบจะไหม้และตาย   และมีผลกับต้นข้าวเช่นกันเพราะจะทำให้ปลายใบของข้าวไหม้   ต้นข้าวจะเหลือง

ต้นทุนการใช้สารเคมีกำจัดหญ้า
          เกษตรกรจะใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช  มากน้อยแตกต่างกัน ตามปริมาณของวัชพืชที่ขึ้นในแปลงนา   ซึ่งปกติจะใช้อย่างน้อยที่สุด  2  ครั้ง  ได้แก่ครั้งที่สารเคมีคุมการงอกของวัชพืช  ซึ่งใช้หลังหว่านข้าวได้ 2-3  วันก่อนที่วัชพืชในแปลงนาจะงอกขึ้นมา    ซึ่งราคาของสารเคมีจะมีราคาที่แตกต่างกัน  อยู่ระหว่าง  400- 600  บาท   ฉีดพ่นได้ประมาณ  5 ไร่  คิดเฉลี่ยไร่ละ  100  บาท  ค่าแรงฉีด 40 บาท/ไร่   ฉีดครั้งที่ 2  สารเคมีคุมและฆ่าวัชพืช  ฉีดหลังหว่านข้าว 6-7  วัน    วัชพืชในแปลงนางอกแล้ว  สารเคมีจะไปทำลายวัชพืชทำให้ใบไหม้    ราคาขวดละ  400-500 บาท   ฉีดพ่นได้ประมาณ  5 ไร่เช่นกัน  ค่าแรงฉีดไร่ละ 40  บาท      รวมต้นทุนค่าสารเคมีกำจัดวัชพืชขั้นต่ำจะอยู่ระหว่าง   275 บาท/ ไร่  และถ้าหากว่ายังมีวัชพืชในแปลงนา   เกษตรกรก็จะทำการกำจัดอีดรอบ  ต้นทุนก็จะเพิ่มขึ้นอีก 
ปริมาณการนำเข้าสารกำจัดหญ้า
          ตารางที่ 1 ปริมาณสารออกฤทธิ์ และมูลค่าการนำเข้าสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ของประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2520-2543   ช่วงทุก 5 ปี(Sirisingh,1998)

ปี
สารฆ่าแมลง
สารฆ่ารา
สารฆ่าวัชพืช
สารกลุ่มอื่นๆ
รวม
 
ปริมาณ (ตัน)
มูลค่า(ล้านบาท)
ปริมาณ (ตัน)
มูลค่า (ล้านบาท)
ปริมาณ (ตัน)
มูลค่า (ล้านบาท)
ปริมาณ (ตัน)
มูลค่า (ล้านบาท)
ปริมาณ (ตัน)
มูลค่า (ล้านบาท)
2520
2,806
345
1,131
59
2,874
170
44
7
8,832
581
2525
2,890
673
1,683
132
2,983
461
94
23
7,650
1289
2530
5,881
806
4,530
288
3,967
570
247
88
14,625
1,752
2535
6,098
1,425
3,513
441
8,450
1,707
418
208
18,479
3,781
2540
7,526
2,095
4,588
817
14,403
3,285
610
201
27,127
6,398
2543
6,875
2,000
4,931
1119
17,506
3,841
2,140
323
31,452
7,283

          จากข้อมูลในตารางพบว่าในช่วงเวลาดังกล่าวปริมาณ และมูลค่าการนำเข้าสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์เพิ่มตามลำดับ  ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2535 พบว่าสัดส่วนการนำเข้าสารฆ่าแมลงมีมากที่สุด รองลงมาคือสารฆ่าวัชพืชและสารฆ่าเชื้อราตามลำดับ แต่หลังจากปี พ.ศ. 2535  เป็นต้นมามีการนำเข้าสารฆ่าวัชพืชมากที่สุดรองลงมาได้แก่ สารฆ่าแมลงและสารฆ่าเชื้อราตามลำดับ     ในปี พ.ศ. 2543 มีปริมาณการนำเข้าสารฆ่าวัชพืชคิดเป็นร้อยละ 55.7 ของปริมาณนำเข้าสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ทั้งหมด รองลงมาได้แก่สารฆ่าแมลง สารฆ่าเชื้อรา และสารอื่นๆ โดยมีปริมาณคิดเป็นร้อยละ 21.9 15.7 และ 6.8 ตามลำดับ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการนำเข้าสารฆ่าวัชพืชมากขึ้นคือ ส่วนหนึ่งการขาดแรงงานในภาคเกษตรเนื่องจากมีการย้ายแรงงานเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้น ทำให้ค่าจ้างในการกำจัดวัชพืชด้วยแรงงานคนสูงกว่าการใช้สารเคมี ดังนั้นเกษตรกรจึงหันมาใช้สารเคมีมากขึ้นเพื่อลดต้นทุนในการผลิต    ส่วนเหตุผลหนึ่งที่ทำให้มีการใช้สารกำจัดวัชพืชมากขึ้น    น่าจะมาจากการเปลี่ยนวิธีทำนาเปลี่ยนไป  เมื่อมีระบบน้ำชลประทานทำให้การทำนาของเกษตรกร    เปลี่ยนจากนาปีมาเป็นนาปรัง
สารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดใดที่การใช้มาก
ตารางที่ 2 ชนิด ปริมาณสารออกฤทธิ์ และมูลค่าของสารฆ่าวัชพืช 10 อันดับแรกที่นำเข้าในปี พ.ศ. 2542

สารฆ่าวัชพืช
ปริมาณ(ตัน)
มูลค่า (ล้านบาท)
Glyphosate
6,772
1,185
2,4-D
3,248
311
Atrazine
979
153
Paraquat
875
383
Butachlor
804
94
Diuron
481
125
Alachlor
434
45
Propanil
434
86
Butachlor + propanil
358
87
Thiobencarb
333
62

  โปรดติดตามต่อ ในตอนหน้า  ว่านักเรียนชาวนา เขามีเทคนิค  และเรียนรู้อย่างไรจึงจะแก้ไขการควบคุมวัชพืชโดยไม่ใช้สารเคมี

บันทึกโดย เหรียญ ใกล้กลาง (คุณอำนวยข้าวขวัญ)

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 30572เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2006 10:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท